ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > ประธานาธิบดีไบเดนเชิญ 40 ผู้นำโลกร่วมประชุมสุดยอด Climate Change

ประธานาธิบดีไบเดนเชิญ 40 ผู้นำโลกร่วมประชุมสุดยอด Climate Change

28 มีนาคม 2021


ที่มาภาพ: https://www.aljazeera.com/news/2021/3/25/biden-holds-first-formal-press-conference-of-his-presidency

ประธานาธิบดีไบเดน เชิญ 40 ผู้นำโลกเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เชิญผู้นำระดับโลก 40 คนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศหรือ Climate ที่เขาจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 22 และ 23 เมษายน การประชุมสุดยอดผู้นำแบบออนไลน์จะถ่ายทอดสดให้สาธารณชนได้รับชม

ประธานาธิบดีไบเดนในวันแรกของการดำรงตำแหน่งได้ดำเนินการให้สหรัฐอเมริกากลับคืนสู่ข้อตกลงปารีส ต่อมาในวันที่ 27 มกราคมได้ประกาศว่า ในเร็วๆนี้จะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเพื่อกระตุ้นความพยายามของประเทศเศรษฐกิจหลักในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศจะเน้นย้ำถึงความเร่งด่วน และผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจากการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งจะเป็นก้าวสำคัญบนเส้นทางสู่การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (COP26) ในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่กลาสโกว์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายสำคัญของทั้งการประชุมสุดยอดผู้นำและ COP26 คือ การกระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะรักษาเป้าหมาย 1.5 องศาให้ได้ นอกจากนี้การประชุมสุดยอดจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของการตอกย้ำเป้าหมายด้านสภาพอากาศ ที่จะสร้างงานที่มีรายได้ที่ดี พัฒนานวัตกรรมนวัตกรรมเทคโนโลยี และช่วยให้ประเทศที่เปราะบางให้สามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร

ในช่วงการประชุมสุดยอด สหรัฐอเมริกาจะประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ที่สูง ซึงเป็นเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ(Nationally Determined Contribution) ภายใต้ข้อตกลงปารีส ในจดหมายเชิญ ประธานาธิบดีไบเดนได้เรียกร้องให้ผู้นำใช้การประชุมสุดยอด เป็นโอกาสในการวางแนวทางว่า ประเทศของตนจะมีส่วนร่วมในเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่แข็งแกร่งขึ้นได้อย่างไร

การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะจัดให้มีการประชุม Major Economies Forum ด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย 17 ประเทศที่รับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 80% และ GDP โลก

ประธานาธิบดีไบเดน ยังเชิญผู้นำประเทศอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ หรือกำลังสร้างแผนงาน เส้นทางที่เป็นนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ อีกทั้งผู้นำภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่งจะเข้าร่วมในการประชุมสุดยอด

แนวคิดหลักของการประชุมสุดยอดประกอบด้วย

  • กระตุ้นความพยายามโดยประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกในการลดการปล่อยก๊าซในช่วงทศวรรษที่สำคัญนี้เพื่อให้ไม่เกินอุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
  • การระดมทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปล่อยก๊าซที่เป็นศูนย์ และเพื่อช่วยประเทศที่เปราะบางรับมือกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ
  • ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นที่การสร้างงานและความสำคัญของการสร้างหลักประกันให้ชุมชนและคนงานทั้งหมดได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาดแบบใหม่
  • กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ อย่างมหาศาลและสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  • การจัดแสดงตัวอย่างระดับนานาชาติและนอกภาครัฐ ที่มุ่งมั่นในการฟื้นฟูสีเขียว และวิสัยทัศน์ที่เท่าเทียมกันในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส และการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลระดับชาติเพื่อผลักดันเป้าหมายและการปรับตัว
  • หารือเกี่ยวกับโอกาสในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปกป้องชีวิตและการดำรงชีวิต จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงของโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบต่อความพร้อม รวมทั้งหารือถึงบทบาทของการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติ ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ภายในปี 2050
  • รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวาระการประชุมสุดยอด ผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม การรายงานข่าวของสื่อ และการรับชมแบบสาธารณะจะเผยแพร่ให้ในสัปดาห์หน้า

    สำหรับผู้นำที่ประธานาธิบดีไบเดนเชิญเข้าร่วมในการประชุมสุดยอด ได้แก่
    1) นายกรัฐมนตรีแกสตัน บราวน์ จากแอนติกาและบาร์บูดา 2) ประธานาธิบดีอัลแบร์โต เฟอร์นันเดซ จากอาร์เจนตินา 3) นายกรัฐมนตรีสก็อตต์มอร์ริสัน จากออสเตรเลีย 4)นายกรัฐมนตรีชีค ฮาซินา จากบังกลาเทศ 5)นายกรัฐมนตรีโลเท เชริงจากภูฏาน 6)ประธานาธิบดีจาอีร์ โบลโซนาโร จากประเทศบราซิล 7) นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด จากแคนาดา 8)ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปีเญรา จากชิลี 9)ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จากสาธารณรัฐประชาชนจีน 10)ประธานาธิบดีอิวาน ดูเก้ มาร์เกซ จากประเทศโคลอมเบีย

    11)ประธานาธิบดีเฟลิกซ์ ชิเซเกดิ จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 12)นายกรัฐมนตรีเมตเต เฟรเดอริกเสน จากเดนมาร์ก 13)ออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป 14)ชาร์ลส์ มิเชล ประธานสภายุโรป 15)ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง จากฝรั่งเศส 16)ประธานาธิบดีอาลี บองโก ออนดิมบา จากประเทศกาบอง 17)นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล จากเยอรมนี 18)นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี จากอินเดีย 19)ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด จากอินโดนีเซีย 20)นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู จากอิสราเอล

    21)นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี จากอิตาลี 22)นายกรัฐมนตรีแอนดรูว์ โฮลเนส จากจาไมกา 23)นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ สึงะจากประเทศญี่ปุ่น 24)ประธานาธิบดีอูฮูรู เคนยัตตา จากเคนยา 25)ประธานาธิบดีเดวิด กาบูอา จากสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ 26)ประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ จากเม็กซิโก 27)นายกรัฐมนตรีจาซินด้า อาร์เดิร์น จากนิวซีแลนด์ 28)ประธานาธิบดีมูฮัมหมัด บูฮารี จากไนจีเรีย 29)นายกรัฐมนตรีเออร์นา โซลเบิร์ก จาก นอร์เวย์ 30)ประธานาธิบดีอันเดรส ดูดา จาก ประเทศโปแลนด์

    31)ประธานาธิบดีมูน แจ-อิน จากสาธารณรัฐเกาหลี 32)ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน จากสหพันธรัฐรัสเซีย 33)สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด จากราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย 34)นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง จากสิงคโปร์ 35)ประธานาธิบดีมาตาเมลา ซีริล รามาโฟซ่า จาก อัฟริกาใต้ 36)นายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ จากสเปน 37)ประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดดัน จากประเทศตุรกี 38) ประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดดัน จากประเทศตุรกี 39)ชีค คาลิฟา บิน ซายิด อัล นาห์ยัน จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 40)ประธานาธิบดีเหงียน ฝู จ่อง จากเวียดนาม