ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > Polar Vortex ปรากฏการณ์ ‘ลมวนขั้วโลก’ แช่แข็งเมืองในซีกโลกเหนือ

Polar Vortex ปรากฏการณ์ ‘ลมวนขั้วโลก’ แช่แข็งเมืองในซีกโลกเหนือ

22 กุมภาพันธ์ 2021


ที่มาภาพ: https://www.centraltrack.com/a-city-under-snow-as-seen-by-dallas-photographers/

ตั้งแต่เข้าสู่เดือนมกราคม ปี 2021 ทั่วโลกประสบกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างรุนแรงพร้อม ๆ กัน ในช่วง 2-3 เดือนมานี้พบว่าหลายประเทศประสบกับอากาศหนาวเย็นอย่างรุนแรง เช่นใน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย มองโกเลีย ญี่ปุ่น ยุโรป ไปจนถึงคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ Polar Vortex หรือ ปรากฎการณ์ลมวนขั้วโลก

ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมืองทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ตอนนี้กำลังเจอกับพายุหิมะขนาดใหญ่ที่ฝังเมืองไว้ใต้หิมะสูงกว่า 60 เซนติเมตร ขณะที่กรุงมาดริดของสเปนก็กำลังเจอกับอากาศที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี มีผู้เสียชีวิตจากอากาศหนาวแล้วถึง 7 คน ในเขตไซบีเรียของรัสเซียเองก็เจอกับอุณหภูมิต่ำกว่า -50 องศาเซลเซียสในหลายเมือง แม้ว่าไซบีเรียจะเป็นเขตที่หนาวเย็นอยู่แล้ว แต่ว่ามีอุณหภูมิเฉลี่ยช่วงหน้าหนาวเพียง -25 องศาเซลเซียสเท่านั้น

  • พายุหิมะถล่มทั่วสหรัฐฯ เท็กซัสหนักสุดเจอสภาพอากาศเลวร้ายรอบ 30 ปี
  • ในขณะเดียวกัน ประเทศแถบเอเชียก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ประเทศมองโกเลียเผชิญกับ “ซุด” (Dzud) สภาพอากาศหนาวจัดที่เกิดขึ้นหลังหน้าร้อนที่แห้งแล้ง ซึ่ส่งผลกระทบต่อชาวมองโกเลียจำนวนมากที่ยังใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเลี้ยงปศุสัตว์ อากาศหนาวไม่ได้เป็นอันตรายแค่กับมนุษย์เท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้เป็นเครื่องมือทำมาหากินอย่าง ม้า อูฐ แพะ ชาว หรือแกะ ที่ตายลงมากถึง 439,700 ตัว จากความหนาวเย็นและขาดอาหาร ซึ่งนับว่ามากเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงทั้งหมด 67.1 ล้านตัว ณ สิ้นปี 2020

    สัตว์เลี้ยงตายในมองโกเลีย ที่มาภาพ: https://www.npr.org/2019/07/29/737990796/the-deadly-winters-that-have-transformed-life-for-herders-in-mongolia

    ในเวียดนาม ที่ซา ปา ซึ่งมีความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด หล่าว กาย อุณหภูมิลดต่ำมากเป็นประวัติการณ์ที่ -1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 11 มกราคม ส่งผลให้หิมะตกและปกคลุมช่องเขา

    เวียดนามประสบกับหน้าหนาวที่เย็นมากกว่าปกติในปีนี้ ในเมืองหลวง กรุงฮานอย อุณหภูมิลดต่ำมาที่ 42 องศาฟาเรนไฮต์ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1977

    ในฮ่องกง ปลายเดือนมกราคม อุณหภูมิลดลงมาที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ทศวรรษ

    ที่จีนแผ่นดินใหญ่ ได้มีการออกประกาศเตือนสภาพอากาศหนาวเย็นแรกของปี 2021 ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมในหลายภูมิภาค โดยที่ชิงเต่า เมืองท่าเรือทางตะวันออกอุณหภูมิลดลงมาที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่กรุงปักกิ่งอุณหภูมิลดลงมาที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960s เมื่อวันที่ 7 มกราคม

    ในประเทศไทยก็สัมผัสได้ถึงอากาศเย็น ที่กรุงเทพ อุณหภูมิลดลงมาต่ำมากผิดปกติที่ 93 องศาฟาเรนไฮต์ ในวันที่ 24 มกราคม และลดลงอีกมาที่ 61 องศาฟาเรนไฮต์ในวัน 26 มกราคม

  • หิมะตกหนักในซาปา เวียดนาม นักท่องเที่ยวชอบใจ ชาวบ้านระทม
  • หิมะตกหนักที่ซาปา เวียดนาม ที่มาภาพ:
    https://e.vnexpress.net/news/news/vietnamese-amazed-at-snow-capped-northern-mountains-4219248.html

    ปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลก

    สำหรับประเทศในซีกโลกเหนือนั้น อากาศที่หนาวเย็นสุดขีดนี้มีชื่อเรียกปรากฏการณ์ว่า ลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับกระแสอากาศเย็นความกดอากาศต่ำบริเวณขั้วโลกเหนือ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับช่วงกลางคืนที่ยาวนานหลายเดือน ปราศจากแสงอาทิตย์ ทุก ๆ ปีในฤดูหนาว ซึ่งจะหายไปเมื่อเข้าสู้ฤดูใบไม้ผลิและก่อตัวขึ้นใหม่ช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคม

    เมื่อลมวนมีความเร็วและเสถียรมากพอ ลมจะทำให้ขั้วโลกเหนือกักความเย็นเอาไว้ที่ระดับต่ำกว่า 48 องศาเซลเซียส แต่เมื่อหากมีอะไรไปรบกวนกระแสลมหรือกระแสลมอ่อนตัวลงจะทำให้อากาศหนาวหลุดออกมาจากกระแสลมปกติ ทำให้เกิดพายุและเพิ่มโอกาสที่จะเกิดหิมะในพื้นที่ซีกโลกเหนือ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ยุโรปกับเอเชียมักจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นไปทั่วซีกโลกเหนือในตอนนี้

    ดร.ฮันนาห์ อัททาร์ด ศาสตราจารย์สาขาวิชาบรรยากาศศาสตร์ มหาวิทยาลัยการบินเอ็มบรี-ริดเดิ้ล ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่เธอคาดว่าจะเกิดอยู่แล้วในปีนี้ เนื่องจากเกิดอากาศอุ่นขึ้นแบบฉับพลันในบรรยากาศชั้นบนเหนือขั้วโลกเหนือ

    การอธิบายว่าปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกเกิดจากอากาศหนาวเย็นอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะแท้จริงแล้วเกิดขึ้นจากอากาศอบอุ่นเฉียบพลันที่เข้าไปทำให้ลมวนสูญเสียเสถียรภาพ ส่งผลให้อากาศเย็นที่ถูกกักอยู่ในลมวนหลุดออกมาในเขตละติจูดกลาง วงการบรรยากาศศาสตร์จะมีตัวชี้วัดที่เรียกว่า การสั่นของอาร์กติก (Artic Oscillation หรือ AO) สำหรับบอกว่าลมวน ณ ขั้วโลกเหนือยังกักอากาศเย็นไว้ได้มากแค่ไหน เมื่อค่า AO เป็นลบ จะเป็นการบอกว่ามีโอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกสูงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นอากาศอุ่นขึ้นฉับพลันที่เกิดขึ้นในขั้วโลกเหนือช่วงต้นมกราคมช่วยทำให้ค่า AO ลดลงมากขึ้นจากที่ติดลบอยู่แล้ว จึงนำไปสู่คำอธิบายของอากาศหนาวที่รุนแรงมากขึ้นในซีกโลกเหนือของปีนี้

    “สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อยากรู้คือ ปรากฏการณ์ที่อากาศอุ่นขึ้นอย่างเฉียบพลันนี้เกิดบ่อยขึ้น มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือไม่” ดร.แอน เกรท สตรัม-ลินด์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการดาวเทียมเอดีเด็ม-เอโอรัส (ADM-Aeolus) กล่าว

    “ตอนนี้อาจจะยังเร็วไปที่เราจะสรุปข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมเอโอลัส แต่เชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหนทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่การเข้าใจปรากฎการณ์แปลกประหลาดพวกนี้”

    รอบที่สองของปรากฎการณ์

    คำว่า “ลมวนขั้วโลก” (polar vortex) เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในสังคมมา เกือบหนึ่งปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสื่ออย่างโทรทัศน์ วิทยุ หรือกลายเป็นคำค้นหายอดฮิต ปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกเป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่นักบรรยากาศศาสตร์คาดว่าจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว ต่างกับการคาดการณ์ที่ว่าจะมีอากาศหนาวและหิมะปกคลุมพื้นที่ 48 รัฐของสหรัฐอเมริกา (ไม่รวมรัฐอลาสก้าและฮาวาย) แต่เกิดจากอากาศอบอุ่นที่เกิดขึ้นผิดฤดูกาลหรืออุ่นกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนใหญ่พบในตอนใต้ กลาง และตะวันออก

    ปรากฏการณ์ POLAR VORTEX เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2019 ในรัฐออนแทรีโอและรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในแถบตอนกลางและตะวันออกของประเทศต้องเผชิญกับพายุหิมะและอากาศหนาวเย็นจัด อุณหภูมิลดลง -30 องศาเซลเซียส และเกิดในสหรัฐฯแถบ Upper Midwest (เขตตอนกลางส่วนบน) และแถบ Mid-Atlantic (เขตตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่งผลให้เกิดอากาศหนาวเย็นจัดอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตในหลายรัฐ เช่น ไอโอวา อิลลินอยส์ มิชิแกน มินนิโซตา วิสคอนซิน อินดีแอนา เป็นต้น ในหลายเมืองอุณหภูมิลดลงจนสภาพอากาศเป็นแบบขั้วโลก เช่น เมืองพอนส์ฟอร์ด รัฐมินนิโซตา อุณหภูมิลดลง -66 องศาเซลเซียส เมืองชิคาโกอุณหภูมิลดลง -27องศาเซลเซียส

    ที่มาภาพ: https://www.washingtonpost.com/weather/2020/11/19/polar-vortex-start-winter/

    ลมวนขั้วโลกคือแกนกลางของชั้นบรรยากาศของขั้วโลกเหนือและใต้ ในแต่ละลมวนแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ลมวนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ที่เป็นชั้นล่างสุดที่มนุษย์อาศัยอยู่ กับลมวนในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ที่อยู่ด้านบน โดยทั่วไปแล้ว ลมวนชั้นล่างจะมีความแปรปรวนมากกว่า ส่วนลมวนชั้นบนจะสงบและค่อนข้างคงที่

    ลมวนทั้งสองชั้นส่งผลต่อกันและกัน ลมชั้นโทรโพสเฟียร์ด้านล่างที่รุนแรงกว่าจะช่วยล้อมอากาศหนาวเอาไว้ ในขณะที่ลมวนอ่อนด้านบนจะพยายามส่งอากาศหนาวไปยังเขตละติจูดกลาง

    ปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกส่งผลต่อเราได้อย่างไร?

    “สภาพอากาศในช่วงที่ลมวนขั้วโลกรุนแรงมาก ๆ ไม่น่าตื่นเต้นเท่าตอนที่ลมวนอ่อนตัวลง” ผศ.ดร.ฮันนาห์ อัททาร์ด จากสาขาวิชาบรรยากาศศาสตร์ มหาวิทยาลัยการบินเอ็มบรี-ริดเดิ้ล รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา กล่าว

    “เมื่อลมวนมีความเร็วประมาณหนึ่ง มันจะกักเก็บอากาศเย็นไว้ภายในขั้วโลก ทำให้อากาศเย็นไม่แผ่ออกไปยังเขตละติจูดกลาง”

    ปรากฏการณ์นี้จะส่งผลให้เกิดฤดูหนาวอันเลวร้าย

    “จากข้อเท็จจริงที่ว่าลมวนขั้วโลกควรจะมีความรุนแรง … ผมคิดว่าครั้งนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากอากาศที่อุ่นกว่าปกติที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม” นายจูดาห์ โคเฮ็น ผู้อำนวยการฝ่ายพยากรณ์อากาศ Atmospheric and Environmental Research กล่าว นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกด้วยว่า รูปแบบของปรากฏการณ์ลานีญาที่เป็นอยู่ในแปซิฟิกตะวันออกตอนนี้ อาจช่วยส่งเสริมให้ลมวนขั้วโลกยังคงความรุนแรงเอาไว้ได้

    “ฉันไม่เห็นหลักฐานอะไรที่ชี้ชัดเท่าไหร่ … ฉันคิดว่า (ลมวน) ตอนนี้มีความคงที่ดี และยังเก็บลมเย็นไว้ในขั้วโลกเหนือได้อยู่” ดร.อัททาร์ด กล่าว

    ในอีกแง่หนึ่ง รูปแบบของเอล นีโญอาจทำให้ลมวนสูญเสียรูปร่าง และทำให้อากาศหนาวเย็นแผ่กระจายไปยังพื้นที่ 48 รัฐ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดในปีนี้

    “ด้วยเอลนีโญ … ทำให้เกิด (สิ่งรบกวน) ที่ส่งความร้อนไปยังชั้นบรรยากาศด้านบนและทำลายปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลก” ดร.อัททาร์ดกล่าว “แต่ด้วยลานีญา จะทำให้ไม่มีความร้อนเพียงพอ (ต่อการรบกวน) ขนาดนั้น”

    ฤดูหนาวจะอบอุ่นในช่วงแรก แต่ว่าหลังจากนั้นยังคงไม่แน่นอน

    ศูนย์พยากรณ์อากาศภายใต้บริการสภาพอากาศแห่งชาติ (National Weather Service’s Climate Prediction Center) สหรัฐฯ เปิดเผยเลขอุณหภูมิที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้ กลาง และตะวันออกของสหรัฐฯ ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่สูงพอที่จะทำให้ไม่มีหิมะตก มีเพียงพื้นที่ราบทางภาคเหนือ พื้นที่แปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงเหนือ และรัฐอลาสก้าที่จะเจอกับอากาศหนาวมากกว่าปกติ

    ในการพยากรณ์อากาศจากปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกไปมากกว่า 2-3 อาทิตย์ข้างหน้าเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก จำเป็นต้องใช้หลายปัจจัยเข้ามาวิเคราะห์

    “การใช้ระบบพยากรณ์อากาศทั่วโลก (Global Forecast System) ยังสามารถพยากรณ์ได้แค่ในระดับสัปดาห์เท่านั้น” ดร.อัททาร์ดกล่าวเพิ่มเติม “เราพยากรณ์ลมวนขั้วโลกได้เพียงแค่ที่ระบบพยากรณ์สามารถทำได้เท่านั้น”

    ดร.อัททาร์ด ระบุว่า นักบรรยากาศศาสตร์สามารถพยากรณ์ปรากฏการณ์ลมวนในอนาคตที่ไกลกว่านี้ได้ แต่ว่าจะไม่มีความแม่นยำมากเพียงพอ

    “ตอนนี้กระแสลมวนค่อนข้างรุนแรง และดูท่าจะคงความเร็วไว้ประมาณนี้”

    ที่มาภาพ: https://www.ft.com/content/dc74a4fc-9b24-4e77-a8dd-c055f5e0c884

    ดร.เอมี่ บัทเลอร์ นักบรรยากาศศาสตร์ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ เห็นด้วยกับดร.อัททาร์ด แต่ว่าในช่วงกลางฤดูหนาวจะยังไม่ค่อยมีความแน่นอนอยู่บ้าง

    “การพยากรณ์อากาศรายฤดูในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนน่าจะเป็นไปตามนั้น อย่างน้อยก็น่าจะจนถึงเดือนมกราคม” ดร.บัตเลอร์กล่าว “พยากรณ์อากาศในปีนี้ชี้ว่าความเร็วของลมวนขั้วโลกในเดือนมกราคมยังน่าเป็นห่วงอยู่ แต่หลังจากนั้นในเดือมกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ลมวนน่าจะอยู่ในสภาพปกติดี”

    กล่าวคือ ในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ นายโคเฮ็น พูดถึงกระแสที่มีการพูดถึงบ่อยมากขึ้นในปีที่ผ่านมา ๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกที่ในตอนเดือนธันวาคมจะยังคงสภาพความเร็วไว้ แต่ว่าจะปล่อยความหนาวเย็นออกมาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

    นายโคเฮ็นยังกล่าวถึงการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลไซบีเรียนที่ทำลายสถิติอุณหภูมิต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เขาเชื่อว่าอากาศรอบ ๆ ชั้นบรรยา กาศที่มีความร้อนสูงขึ้น ประกอบกับความกดอากาศสูงในยุโรปและสแกนดิเนเวีย จะรบกวนลมวนขั้วโลกทำให้ลมวนเสียรูปร่างของตัวมันเองเร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสเสียงที่อากาศหนาวจากขั้วโลกเหนือจะแผ่ออกมา

    “จะเห็นได้ว่ามีคลื่นเกิดขึ้นรอบ ๆ ทวีปยูเรเชีย” นายโคเฮ็นกล่าวอธิบายกลุ่มความกดอากาศสูงต่ำที่เกิดขึ้นทั่วแผนที่สภาพอากาศยุโรปและเอเชีย เขากล่าวว่ารูปแบบคลื่นได้รับอิทธิพลจากทะเลที่กลายเป็นน้ำแข็งและพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุม

    “ยิ่งคลื่นพวกนี้รุนแรงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ลมวนขั้วโลกอ่อนลงเท่านั้น คลื่นที่รุนแรงมากจะมีพลังงานมาก และชั้นบรรยากาศขั้วโลกจะดูดซับพลังงานนั้น นำไปสู่อากาศที่อุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วของลมวนขั้วโลก” นายโคเฮ็นกล่าว

    ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เห็นพ้องว่าอากาศอบอุ่นจะเริ่มปกคลุมพื้นที่ 48 รัฐในช่วงต้นเดือนธันวาคม แต่ว่าในเดือนมกราคมจะพัฒนาไปในรูปแบบใดนั้นยังคงเป็นปริศนา อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวว่าฤดูใบไม้ผลิมีอาจจะอบอุ่นกว่าปกติ

    ที่มาภาพ: https://www.centraltrack.com/a-city-under-snow-as-seen-by-dallas-photographers/

    เชื่อมโยง Climate Change อย่างไร

    ปรากฏการณ์ ลมวนขั้วโลกแล้วสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร?
    ลมวนขั้วโลกไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่และองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Ocenic and Atmospheric Administration: NOAA) ให้ข้อมูลว่า คำนี้น่าจะเกิดขึ้นในปี 1853 แต่แถบอาร์กติกร้อนขึ้นเร็วกว่าพื้นที่อื่นของโลก 2-3เท่าโดยเฉลี่ย และการวิจัยเชิงสังเกตการณ์ที่มีมากขึ้นเชื่อมโยงแถบอาร์กติกที่อุ่นขึ้นนี้ กับอากาศร้อนจัดในฤดูหนาวในยูเรเซียและอเมริกาเหนือ ซึ่งเกิดมากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

    แต่นักวิทยาศาสตร์มีเครื่องมือใหม่ในการศึกษาปรากฏการณ์นี้ ดาวเทียมตรวจวัดลม Aeolus ของ องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) ได้เริ่มดำเนินการมากว่าหนึ่งปีแล้ว

    การเฝ้าดูลมรอบขอบลมวนขั้วโลก เป็นวิธีหนึ่งในการวัดและเฝ้าติดตามเหตุการณ์ ที่ทางอุตุนิยมวิทยาที่เรียกว่า “ภาวะบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์อุ่นขึ้นอย่างฉับพลัน” ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงเช่นเดียวกับที่พบในอเมริกาเหนือตอนนี้

    นายคอร์วิน ไรท์ นักวิจัยจาก Royal Society จากมหาวิทยาลัยบาธในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างลมในภาวะโลกร้อนอย่างกะทันหันไม่เคยตรวจวัดได้โดยตรงในระดับโลก จนถึงตอนนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้พัฒนาขึ้น โดยใช้การวัดจุด การวัดตามเส้นทางการบินของเครื่องบินที่แปลงเป็นภาษาท้องถิ่น โดยใช้การสังเกตอุณหภูมิ และโดยหลักแล้วคือโมเดลคอมพิวเตอร์

    “ขณะนี้เรากำลังสังเกตเหตุการณ์ลมวนขั้วโลก ซึ่งเราเห็นว่ามันแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกมวลอากาศหมุนหนึ่งรอบเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และอีกส่วนหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ” ดร.แอน เกรท สตรัม-ลินด์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์ของ Aeolus อธิบาย

    “การแยกออกเป็นสองส่วน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ทำให้มวลอากาศเย็นจากขั้วโลกสามารถไหลลงไปยังละติจูดที่ต่ำกว่าได้ง่ายขึ้น ในขณะนี้บางส่วนของอเมริกาเหนือดูเหมือนว่าจะประสบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่ายุโรป แม้ว่าเราจะได้เห็นเหตุการณ์ที่อากาศเย็นลงมาถึงทางใต้ค่อนข้างไกลในยุโรปในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งทำให้เกิดหิมะตกหนักในสเปน

    นอกเหนือจากการเฝ้าดูและวิเคราะห์ลมวนขั้วโลกในบางสิ่งที่ใกล้เคียงกับแบบเรียลไทม์มากขึ้นแล้ว ดาวเทียมยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของเราว่าคืออะไรและเป็นอย่างไร

    “สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อยากจะเข้าใจ ก็คือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์อุ่นขึ้นอย่างฉับพลัน อาจเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

    “ยังเร็วไปที่จะมีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูล Aeolus ของเรา แต่กำลังดำเนินการเพื่อให้ความกระจ่างว่า เหตุใดปรากฏการณ์ตามฤดูกาลนี้จึงเป็นเรื่องที่รุนแรงในบางครั้ง”

    ที่มาภาพ: https://www.nbcnews.com/science/environment/topsy-turvy-polar-vortex-brought-record-freeze-texas-rcna290

    ผลการศึกษาปี 2018 พบว่า อากาศหนาวจัดและหิมะตกในภาคตะวันออกของสหรัฐฯเป็นเรื่องปกติมากขึ้น เมื่อแถบอาร์กติกร้อนที่สุด ส่วนการศึกษาอื่นในปี 2020 พบว่า การละลายของน้ำแข็งในทะเลแบแรนตส์ และทะเลคาราเกี่ยวข้องกับลมวนขั้วโลกที่อ่อนลงตัวในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเคลื่อนย้ายไปอยู่เหนือยูเรเซีย ในเวลาเดียวกันน้ำแข็งในทะเลละลายใกล้กรีนแลนด์และแคนาดาตะวันออกมีความสัมพันธ์กับลมวนขั้วโลกที่อ่อนตัวลงตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่เคลื่อนไปทั่วยุโรป

    แนวโน้มนี้สร้างปัญหาทั้งสหรัฐฯ ยุโรปและแถบอาร์กติกเอง หน้าหนาวนี้ย่านละติจูดกลางได้ประสบกับการหยุดชะงักครั้งใหญ่ 3 ครั้ง ดร.เบรนดา เอคเวอร์เซล ผู้อำนวยการศูนย์ climate science และนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศแห่งกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่ตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ Union of Concerned Scientists ให้ข้อมูล

  • ในเดือนธันวาคม กระแสลมหมุน nor’easter ครั้งสำคัญเกิดขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ของไซบีเรีย และตามมาด้วยหิมะตกในมาดริดในช่วงต้นเดือนมกราคม
  • ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมากระแสลมหมุน nor’easter ได้พัดถล่มทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ และหิมะตกทำลายสถิติรอบ 113 ปีในเมืองหนึ่งในรัฐเพนซิลเวเนีย
  • ลมวนขั้วโลกในปัจจุบันปกคลุมกว่า 48 รัฐตอนล่าง พร้อมกับอุณหภูมิที่หนาวเย็นในทำนองเดียวกันในยุโรป
  • อย่างไรก็ตามความแปรปรวนนี้ มีผลกระทบในทางลบในภาคเหนือเช่นกัน ซึ่งอุณหภูมิที่อุ่นกว่าเฉลี่ยทำให้ชุมชนที่ต้องพึ่งพาน้ำแข็งในทะเลและกองหิมะในการล่าสัตว์และการขนส่ง ทำงานได้ยากขึ้น และเคยมีเรื่องราวของผู้คนที่ข้ามแม่น้ำน้ำแข็งเพื่อล่าสัตว์ แต่กลับติดอยู่อีกฟากหนึ่ง เพราะน้ำแข็งละลายอย่างไม่คาดคิด

    ที่มาภาพ: https://www.ecowatch.com/polar-vortex-definition-2650542435.html?rebelltitem=1#toggle-gdpr

    มีการถกเถียงกันในกลุ่มวิทยาศาสตร์ว่า อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นของอาร์กติกเป็นสาเหตุของสภาพอากาศหนาวเย็นของทางใต้ที่อยู่ออกไกลออกไปจริง หรือ หรือว่าทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เหตุผลข้อหนึ่ง คือ แบบจำลองสภาพภูมิอากาศไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างสองเหตุการณ์ หากแต่มีเหตุการณ์ใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

    “ สาเหตุหลักที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศไม่เห็นด้วย เนื่องจากข้อสังเกตดังกล่าวมีการชี้นำอย่างมากถึงความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุ และแบบจำลองชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเชื่อมโยง หากแบบจำลองได้รับการตรวจสอบหรือยืนยันข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น โดยการวิเคราะห์การสังเกตจะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์มากขึ้น” ยูดาห์ โคเฮน นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศกล่าว

    อย่างไรก็ตามดร.เอคเวอร์เซลกล่าวว่า แบบจำลองไม่สามารถทำนายขอบเขตของภาวะโลกร้อนในอาร์กติก ปัญหาก็คือ เป็นความท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างแม่นยำ ซึ่งหมายความว่าแบบจำลองของพวกเขาอาจพลาดปัจจัยสำคัญไป

    เรียบเรียงจาก
    Bone-chilling cold and a barrage of winter storms: Behind this crazy U.S. weather pattern
    What a ‘wrecked’ polar vortex means for winter-starved Americans
    The polar vortex is splitting in two, which may lead to weeks of wild winter weather
    Extreme ocean-effect snow buries parts of Japan beneath seven feet, with more coming
    Polar Vortex 2021: A New Look At The Icy Arctic Blast About To Hit
    Signs point to a strong polar vortex to start winter. Here’s what that may mean
    The Deadly Winters That Have Transformed Life For Herders In Mongolia
    440,000 farm animals killed in Mongolia harsh winterHow is the Polar Vortex Linked to Climate Change?