ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > สิ้นศตวรรษนี้อาจจะได้พบคริสต์มาสที่ไร้หิมะในอังกฤษ จากวิกฤติ Climate Change

สิ้นศตวรรษนี้อาจจะได้พบคริสต์มาสที่ไร้หิมะในอังกฤษ จากวิกฤติ Climate Change

11 ธันวาคม 2020


ที่มาภาพ:
https://www.theguardian.com/environment/2020/dec/07/snow-may-not-settle-in-most-of-uk-by-end-of-century-study-suggests

หิมะอาจจะไม่ตกในอังกฤษในสิ้นศตวรรษนี้ รายงานจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอังกฤษระบุ

การปั้นลูกบอลหิมะและรถเลื่อน สัญญลักษณ์การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสมีความเสี่ยงที่จะหายไปในปลายศตวรรษนี้ และจะไม่มีหิมะตกในหลายพื้นที่ของอังกฤษ เนื่องจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การคาดการณ์อย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมฤดูหนาวแบบดั้งเดิม เช่น การสร้างตุ๊กตาหิมะอาจหายไป หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกไม่ลดลง

รายงานการวิจัยซึ่งจะนำเสนอในรายการพาโนรามาของ BBC ในวันจันทร์ ชี้ให้เห็นว่า ทางตอนใต้ของอังกฤษส่วนใหญ่อาจไม่ได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่หนาวยะเยือกหรือต่ำกว่าศูนย์องศา ภายในทศวรรษที่ 2040 เนื่องจากสถานการณ์วิกฤติด้านสภาพอากาศ

หากแนวโน้มนี้ยังมีต่อเนื่อง เฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในระดับสูงมากและบางส่วนของสกอตแลนด์ตอนเหนือเท่านั้นจะมีอุณหภูมิหนาวเย็นระดับจุดเยือกแข็งภายในปี 2080

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเน้นว่า อุณหภูมิปีต่อปีมีความแปรปรวน และบางปีจะหนาวหรืออุ่นกว่าแนวโน้ม

ข้อมูลที่ได้นี้มาจากการคาดการณ์ที่ประเมินว่าการปล่อยมลพิษทั่วโลกจะยังคงเพิ่มขึ้น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่า แม้สถานการณ์จากการคาดการณ์นี้อาจไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็น่าเชื่อถือ หากการปล่อยมลพิษทั่วโลกลดลง อังกฤษสามารถหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ แต่อุณหภูมิเฉลี่ยยังคงเพิ่มขึ้น

ฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะประสบมากขึ้นเช่นกัน หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเร่งตัวขึ้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุพร้อมเน้นว่า ผลกระทบในระดับภูมิภาคจะไม่แตกกต่างกันไป

ดร.ลิซซี เคนดอน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของสำนักงานอุตุนิยมวิทยา กล่าวกับรายการพาโนรามาของ BBC ว่า…

“เรากำลังบอกว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้หิมะที่ตกมาลงมาบนพื้นดินส่วนใหญ่จะหายไปทั้งหมด ยกเว้นบนพื้นที่สูงสุด”

“ภาพโดยรวมคือ อบอุ่นขึ้นกว่าเดิม ฤดูหนาวที่ฝนตกชุก ฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งขึ้น”

“แต่ภายใต้ภาพนั้น เราจะพบเหตุการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น มีบ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ฝนก็ตกหนักขึ้น”

“มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ … ในช่วงชีวิตของเรา มันเป็นการเตือนให้ตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังพูดถึง”

ดร.เคนดอนกล่าวว่า อุณหภูมิที่สูงเกิน 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 วันติดต่อกันจะเพิ่มขึ้น 16 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2524 ถึง 2543

จากการวิเคราะห์ใหม่ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยา พบว่า การปล่อยมลพิษที่เพิ่มขึ้นอาจหมายถึงวันที่ร้อนที่สุดโดยเฉลี่ยในเฮส์ทางตะวันตกของลอนดอน โดยอุณหภูมิอาจถึง 40 องศาเซลเศซียสหรือ 104 องศาฟาเรนไฮต์ ภายในปี 2560

การวิเคราะห์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยายังชี้ให้เห็นว่า ฝนในฤดูหนาวอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 1 ใน 3 โดยเฉลี่ย หากไม่มียกระดับการลดการปล่อยก๊าซทั่วโลก แต่การคาดการณ์นี้มีความแน่นอนน้อยและปริมาณน้ำฝนอาจลดลงแทน