ThaiPublica > Sustainability > Sustainable Business > ยูนิลีเวอร์เดินหน้าลดใช้พลาสติก ชูโมเดลใหม่ธุรกิจ Refill-Reuse

ยูนิลีเวอร์เดินหน้าลดใช้พลาสติก ชูโมเดลใหม่ธุรกิจ Refill-Reuse

11 พฤศจิกายน 2020


ยูนิลีเวอร์เดินหน้าลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่(virgin plastic) ในบรรจุภัณฑ์ลงครึ่งหนึ่งและยกเลิกการใช้พลาสติกในปริมาณกว่า 100,000 ตัน ภายในปี 2025 ตามที่ประกาศไว้ในปีที่แล้ว

การประกาศเดินหน้าลดการใช้พลาสติกส่งผลให้ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายแรกที่ให้คำมั่นที่จะลดการใช้พลาสติกในทุกผลิตภัณฑ์ โดยภายในปี 2025 บริษัทตั้งเป้าจะลดการใช้พลาสติกใหม่ลงครึ่งหนึ่งด้วยการลดการใชพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ลงกว่า 100,000 ตันและเดินหน้าใช้พลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิล

ในปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์ รายงานความคืบหน้าของการลดใช้พลา่สติก ไว้ดังนี้

  • เพิ่มการใช้พลาติกที่ได้จากการรีไซเคิลพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว (post-consumer recycled plastic :PCR) ได้ราว 75,000 ตัน ซึ่งมากกว่าปริมาณรวมของพลาสติกที่ทิ้งไปถึง 10% นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากจากปี 2019 และเป็นความคืบหน้าที่ดีไปสู่เป้าหมายการใช้ PCR อย่างน้อย 25% ในปี 2025 ยูนิลีเวอร์คาดว่าการใช้ PCR จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 12 เดือนข้างหน้า
  • เปิดตัวนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการลดการพลาสติกอย่างจริงจัง เช่น ถังไอศครีมที่ทำจากกระดาษรีไซเคิล ซึ่งลดการใช้พลาสติกได้ถึง 4,500 ตัน
  • เดินหน้า การทดสอบ การเรียนรู้และการปรับเปลี่ยน รูปแบบธุรกิจให้เชื่อมโยงกับบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่และบรรจุภัณฑ์แบบเติม และขณะนี้ได้มีทีมงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อขยายการผลักดันด้านนี้ให้มากขึ้น ซึ่งยูนิลีเวอร์ได้แบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากรูปแบบธุรกิจที่มุ่งการนำกลับมาใช้และผลิตภัณฑ์แบบเติม
  • พัฒนาแผนงานแต่ละประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะช่วยในการเก็บรวบรวมพลาสติกและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มากกว่าที่จำหน่าย
  • จากการดำเนินงานทั้งหมดนี้ ยูนิลีเวอร์ จึงเดินหน้าสู่เป้าหมายการลดใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกใหม่นับตั้งแต่ประกาศความมุ่งมั่น

    อลัน โจป ซีอีโอ ของยูนิลีเวอร์กล่าวว่า “นิสัยการใช้แล้วทิ้ง และรูปแบบธุรกิจที่ใช้แล้วทิ้ง ยังคงมีผลต่อชีวิตของเราและทำลายโลกใบนี้ เราต้องอย่าละเลยกับมลพิษพลาสติก และเป็นเรื่องสำคัญที่เรา และทุกคนในอุตสาหกรรม ต้องเดินหน้า ลดปริมาณพลาสติกที่ใช้ และเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยเร็ว”

    คิดใหม่เรื่องบรรจุภัณฑ์

    ยูนิลีเวอร์ยังค้นแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้พลาสติกลงภายใต้ 3 กรอบแนวคิด คือ ใช้พลาสติกน้อยลง(Less plastic) ใช้พลาสติกที่ดีกว่า(Better plastic) และไม่ใช่พลาสติกเลย(No plastic)

    การใช้พลาสติกน้อยลง ยูนิลีเวอร์ได้นำบรรจุภัณฑ์แบบใหม่มาใช้ โดยได้ใช้กระดาษรีไซเคิลมาทำถังไอศครีมแบรนด์ Carte d’Or ขณะที่น้ำยาปรับผ้านุ่ม คอมฟอร์ตได้ปรับปรุงให้น้ำยาปรับผ้านุ่มแบบเข้มข้นสามารถใช้ได้ผลในปริมาณที่น้อยลงกว่ายี่ห้ออื่นในตลาดถึง 57% และใช้น้ำน้อยในการผลิตและลดขนาดของบรรจุภัณฑ์ลงด้วย ซึ่งประหยัดทรัพยากรและไม่สร้างขยะ ในฝรั่งเศส Signal ได้เปิดตัวแปรงสีฟันที่เปลี่ยนหัวได้ โดยด้ามแปรงเป็นโลหะส่วนหัวแปรงทำจาก PCR ซึ่งลดการใช้พลาสติกใหม่ลง 95% ส่วนแบรนด์ Love, Beauty and Planet ได้เปิดตัวแชมพูและครีมนวดผมแบบเข้มข้น ที่สามารถใช้ได้ในจำนวนครั้งเท่ากับขนาดปกติ แต่ใช้พลาสติกน้อยลง 50%

    ใช้พลาสติกที่ดีกว่า แนวทางนี้นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ความงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Dove ซึ่งได้ใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิล 100% ในอเมริกาเหนือและยุโรปซึ่งในด้านเทคนิคแล้วมีความเป็นไปได้ ส่วนแบรนด์อื่นที่ใช้พลาสติกรีไซเคิล 100% ได้แก่ Hellmann ซึ่งใช้กระปุกและขวดพลาสติกรีไซเคิลในอเมริกาเหนือ,ซอสถั่วเหลือง Bango ในอินโดนีเซีย และน้ำยาล้างจาน Sunlight ในอัฟริกาใต้ ในอิตาลี อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย เวียดนามและประเทศไทย ส่วนในเยอรมนี Seventh Generation ได้ใช้ขวดพลาสติกที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลในเมืองฮัมบวร์ก นอกจากนี้ไอศครีม Magnum จะเปิดตัวถังไอศครีมที่ทำด้วยพลาสติกที่เป็นฟู้ดเกรด(พลาสติกที่เหมาะสมในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มปลอดภัยต่อผู้บริโภค) ส่วน OMO จะเปิดตัวน้ำยาซักผ้าที่ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และสูตรใหม่ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงอย่างมาก เพราะขวดใหม่จะทำจากพลาสติกรีไซเคิล 50% และสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ 100% การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นใหม่ ‘Clean Future’ ของยูนิลีเวอร์ ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผลิตภัณฑ์ซักผ้าและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลง

    การไม่ใช้พลาสติก Seventh Generation ผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้านเปิดตัวของใช้ที่ไม่ได้ใช้พลาสติกเลยในกล่องกระดาษ ส่วนชาแบรนด์ PG Tips ใช้ถุงชาที่เป็นพลาสติกย่อยสลายได้ และจะยกลิกการใช้พลาสติกอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2021 ส่วนในชิลี ประสบกับความสำเร็จกับโครงการนำร่องที่เป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัพด้านความยั่งยืน Algramo ที่ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้านแบบเติมได้ผ่านแอปพลิเคชัน และบริการจัดส่งถึงบ้านด้วยรถจักรยานสามล้อ ทั่วเมืองซานติเอโก

    ที่มาภาพ: https://www.unilever.com/news/news-and-features/Feature-article/2020/our-progress-on-plastics.html

    ยูนิลีเวอร์ยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายรายเพื่่อช่วยในการรวบรวมและผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ผ่านหลายโครงการในหลายประเทศตั้งแต่ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รัสเซีย อฟริกาใต้ ประเทศไทย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และยังครอบคลุมการลงทุนโดยตรงกับการเป็นพันธมิตรในการเก็บขยะและแปรรูป สนับสนุนด้วยการซื้อพลาสติกรีไซเคิล และผ่านการสนับสนุนโครงการผู้ออกแบบอยางมีความรับผิดชอบ ซึ่งยูนิลีเวอร์รับภาระค่าใช้จ่ายโดยตรงสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

    ในอินเดีย ยูนิลีเวอร์ ร่วมเป็นพันธมิตรกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)ในการปกป้องความเป็นอยู่คนเก็บขยะนอกระบบและช่วยเหลือในการคัดแยก รวบรวมและรีไซเคิล ส่งผลให้มีพันธมิตรเพิ่มเป็นกว่า 33,000 ครัวเรือนและสามารถจัดเก็บขยะพลาสติกได้ 2,500 ตัน และในปีหน้าทีเป้าหมายที่จะขยายจำนวนครัวเรือนให้เข้าร่วมมากขึ้น

    ในอินโดนีเซีย ยูนิลีเวอร์ได้ช่วยเหลือชุมชนใน 18 เมือง ด้วยการพัฒนาระบบที่ทำให้ชุมชนสามารถรวบรวมขยะและขายขยะที่เก็บได้ ด้วยการใช้แพล็ตฟอร์ม ‘Google My Business’ ที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงทำเล ที่ตั้งของธนาคารขยะที่อยู่ใกล้ๆผ่านกูเกิลแมป ปัจจุบันมีธนาคารขยะ 424 แห่งที่สามารถค้นหาได้ในระบบดิจิทัล และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มธนาคารขยะในกูเกิลแมปเป็น 2,000 แห่งภายในสิ้นปี 2020 นี้

    ปฏิวัติสู่การเติมและการใช้ซ้ำ

    ในการรายงานความคืบหน้าครั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ยังได้แบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากรูปแบบธุรกิจที่หันมาใช้การเติม (refill)และการใช้ซ้ำ(reuse) โดยยูนิลีเวอร์ประสบความสำเร็จจากการนำรูปแบบการเติมชนิดเข้มข้นด้วยนวัตกรรมส่งตรงถึงบ้าน ของผลิตภัณฑ์ OMO และ Cif หลังจากเปิดตัวที่บราซิลในปี 2019 ประสบความสำเร็จอย่างมากมีผู้บริโภคหันมาใช้รูปแบบการเติมถึง 30% สำหรับขวดขนาด 3 ลิตร

    นอกจากนี้หลังเปิดตัวนำร่องในอังกฤษได้ 12 เดือน การให้บริการเติม Cif Ecorefills ประหยัดพลาสติกได้ถึง 171 ตันและส่งผลใหผู้บริโภคหลายแสนรายหันมาใช้ขวดฉีดสเปรย์ขวดเดิมแทนการซื้อขวดใหม่

    ยูนิลีเวอร์ยังคงทดลองหาสิ่งใหม่ในด้านการเติมผลิตภัณฑ์ภายในร้าน แม้การระบาดของโควิดทำให้โครงการนำร่องทั่วโลกต้องเลื่่อนออกไป แต่ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์ได้เปิดตัวจุดเติมผลิตภัณฑ์ในร้านที่ใหญที่สุดในยุโรป ทั้งผลิตภัณฑ์ซักผ้า ของใช้ส่วนบุคคลและชา

    ในวันที่ 20 ตุลาคม ทีร้าน Asda ย่านมิดเดิลตัน ในเมืองลีด ที่อังกฤษ ยูนิลีเวอร์ได้เปิดตัวโครงการนำร่องร้านเติมผลิตภัณฑ์ โดยร่วมเป็นพันธ มิตรกับ Beauty Kitchen ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน

    ที่มาภาพ:
    https://www.unilever.co.uk/news/press-releases/2020/unilever-launches-its-largest-refill-trial-in-europe.html

    จุดเติมผลิตภัณฑ์นี้ให้บริการ 7 ผลิตภัณฑ์ด้วยกันคือ Persil, PG Tips, Radox, Cif, Simple, Pukka และ Alberto Balsam ซึ่งรูปแบบเติมผลิตภํณฑ์มี 3 รูปแบบ นับว่าเป็นจุดเติมผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปสำหรับยูนิลีเวอร์ ในการที่จะทดสอบและเรียนรู้จากของจริง เพื่อทีจะเข้าใจถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค

    เครื่องเติมผลิตภัณฑ์พัฒนาโดย Beauty Kitchen เป็นเครื่องที่ไม่ต้องใช้มือแตะ แต่สแกนผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งน้ำยาซักผ้า สบู่เหลวล้างมือ แขมพูและครีมนวดจะถูกเติมลงในขวดโลหะ หรือสแตนเลสที่เตรียมไว้ให้ ลูกค้าที่เริ่มใช้ครั้งแรกจะได้รับขวดไป แต่ลูกค้ารายใหม่ใช้ขวดเดิมที่มีอยู่ได้ เมื่อเติมเต็มขวดแล้ว ลูกค้านำฉลากที่พิมพ์ออกมาบนขวดแลั้วนำไปชำระเงินที่แคชเชียร์ แต่คิวอาร์โค้ดนี้พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับขวดแต่ละขวดได้ ทำให้ยูนิลีเวอร์มีข้อมูลครบถ้วนทั้งการซื้อ การใช้และการเติมผลิตภัณฑ์ ของเศรษฐกิจหมุนเวียน

    จากส่งที่ได้เรียนรู้ ยูนิลีเวอร์ให้ความสำคัญกับระบบที่ง่ายและลดอุปสรรคของการเข้าถึง ให้ประโยชน์ที่มากขึ้นและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้อยที่สุด และเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและลดการใช้พลาสติกใหม่เร็วขึ้น ยูนิลีเวอร์จึงได้จัดตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะเพื่อขยายรูปแบบใหม่ของธุรกิจ

    เรียบเรียงจาก
    Our progress on plastics

    Unilever makes progress on its sustainable packaging goals

    Unilever Launches Its Largest Refill Trial in Europe