ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > ซีไอเอ็มบีไทย วางโรดแมปสู่ “Digital-led Bank with ASEAN Reach”

ซีไอเอ็มบีไทย วางโรดแมปสู่ “Digital-led Bank with ASEAN Reach”

3 พฤศจิกายน 2020


นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี ที่ประกาศจะเป็น ‘the Leading Focused ASEAN Bank’ เพื่อ ‘ส่งมอบผลตอบแทนทางการเงินที่ยั่งยืน’ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงได้วางแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี โดยวาง Roadmap ที่จะก้าวไปสู่การเป็น ‘DIGITAL-LED BANK WITH ASEAN REACH’ คือ ธนาคารอาเซียนชั้นนำในไทย ใช้ดิจิทัลสร้างความต่าง พร้อมเดินหน้าแข่งขันเต็มตัวในสนามธุรกิจที่ธนาคารถนัดและมีจุดแข็ง ควบคู่ไปกับการใช้ต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแผนและเป้าหมายดังกล่าวจะนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกครั้ง

ธนาคารจะเน้นการเติบโตผ่านธุรกิจ 3 ด้านได้แก่ ธุรกิจรายย่อย ธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจบริหารเงิน รวมทั้งจะมุ่งเน้นการให้บริการดิจิทัลเพื่อก้าวสู่ดิจิทัลแบงก์ ขณะที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลิตภาพ

Digital Banking ของธนาคารมีธุรกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนผู้ใช้งานที่ active เพิ่มเป็น 80% จากเดิมอยู่ที่ 43% มาจากธุรกรรมโอนเงิน กองทุน สินเชื่อ และการชำระค่าสินค้าและบริการ จุดแข็งคือ สามารถสร้างความแตกต่างด้วยการจับมือกับพันธมิตรเพื่อปล่อยสินเชื่อบุคคลผ่านแอป ฉีกรูปแบบธนาคารเดิมๆ ที่ต้องปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางสาขาอย่างเดียว ก้าวต่อไปคือการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดธุรกิจ

ดิจิทัลแพล็ตฟอร์มรายย่อยของธนาคารประกอบด้วย 3 บริการหลักได้แก่ 1) การหาเงินฝาก การชำระเงิน โดยเน้นการเปิดบัญชีที่ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์หรือ E-KYC กับเครือข่ายพันธมิตร โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาของธนาคาร ทำให้ลูกค้าสะดวกและธนาคารไม่จำเป็นต้องมีสาขาจำนวนมาก

ขณะเดียวกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ลูกค้าหันไปใช้บริการดิจัลเพิ่มมากขึ้น และลดการใช้บัตรเอทีเอ็มลง ทำให้ธนาคารวางแผนที่จะปรับเปลี่ยนการขยายสาขา โดยเน้นในทำเลที่ลูกค้าเดินทางสะดวกมากขึ้น เช่น สาขาในห้างสรรพสินค้า

2) การให้สินเชื่อออนไลน์ ที่ผ่านมา ธนาคารให้บริการ personal cash ให้สินเชื่อกับพันธมิตรเพื่อซื้อสินค้าผ่านพันธมิตร และในอนาคตอาจะมีการนำเสนอสินเชื่อในแอปพลิเคชันของพันธมิตร

3) บริการบริหารความมั่งคั่ง โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้ให้ลูกค้าสามารถจองซื้อหุ้นกู้ในตลาดแรกได้ และในระยะต่อไปจะนำเสนอการซื้อขายหุ้นกุ้ฯในตลาดรอง รวมทั้งการซื้อขายกองทุน และในอนาคตอาจจะมีRobot Advisory เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ปัจจุบันลูกค้าดิจิทัลที่ active มีจำนวน 700,000 ราย

ด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์มีการเติบโต โดยปีที่ผ่านมา ได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว โดยมีพอร์ตสินเชื่อเติบโต25% เร็วที่สุดในตลาดและครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 อีกด้วย และจะยังรักษาความเป็นผู้นำตลาดนี้ไว้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ด้านสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ และสินเชื่อบุคคล ธนาคารได้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้า เมื่อลูกค้านึกถึงสินเชื่อรายย่อยลูกค้าจะนึกถึง ซีไอเอ็มบี ไทย ดังนั้นจะการให้สินเชื่อบุคคลจะเน้นบริการจากบริษัทลูกมากขึ้น ทั้งซีไอเอ็มบี ออโต และเวิล์ด์ ลีส

นายสุธีร์ กล่าวว่า วันนี้ธนาคารได้พิสูจน์ให้เห็นถึงจุดแข็ง ของ ธุรกิจบริหารเงิน (Treasury) ธนาคารเป็นผู้นำตลาดทั้งในฐานะผู้บุกเบิกตลาดและผู้จัดจำหน่าย ความเป็น Market Maker ของดอกเบี้ยอ้างอิง THOR และหุ้นกู้ตลาดรอง และล่าสุดกับการขยับครั้งสำคัญโดยลูกค้าสามารถซื้อขายตราสารหนี้ผ่านแอปพลิเคชั่นได้แล้ว และกำลังจะเพิ่มบริการซื้อขายหุ้นกู้ตลาดรอง อัตราแลกเปลี่ยน และบริการคัสโตเดียนบนแอปเร็วๆ นี้

ธนาคารจะเน้นจุดเด่นธุรกิจบริหารเงินกับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับธุรกิจรายย่อยที่มุ่งไปในด้านดิจิทัลมากขึ้นโดยในด้านศูนย์รับฝากจะเน้นให้บริการครบวงจร ตั้งแต่ซื้อ ขายและเก็บรักษาหลักทรัพย์ รวมไปถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ Structured Product ไปสู่ผู้ซื้อ ซึ่งธนาคารติดอันดับต้นของผู้นำในการให้บริการมาตลอด

ในด้าน Structured Product ธนาคารมีส่วนแบ่งตลาด 24% มีส่วนแบ่งตลาด 12% ในการซื้อขายพันธบัตร และมีส่วนแบ่ง 11% ในการรับประกันการจำหน่ายตราสารหนี้ และหวังว่า ด้วยระบบดิจิทัลที่ลงทุนไว้จะ ทำให้ในปี 2021 ธนาคารจะติอันดับ 3 ในด้านตลาดรองตราสารหนี้ ด้านเงินตราต่างประเทศและศูนย์รับฝาก

ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ ยังคงจุดยืนในเป็นธนาคารเพื่ออาเซียน เน้นธุรกิจ CLMV ด้วยการสร้าง ASEAN Platform เดินหน้าสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเลิศ ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการพาลูกค้าไปเติบโตข้ามประเทศ และตั้งเป้าสร้างรายได้จากธุรกิจข้ามประเทศในสัดส่วนที่มากที่สุดของกลุ่มซีไอเอ็มบี

“ด้าน wholesale banking การมีอาเซียนแพล็ตฟอร์ม จะเสริมให้ธุรกิจเติยโตได้ดี เพราะกลุ่มซีไอเอ็มบีมีสาขาในภูมิภาคตั้งแต่อินโดนีเซียไปจนถึงจีน ที่ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจไทยขยายการลงทุนขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้ ประกอบกับการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม บริการที่รวดเร็ว และความเข้าใจลูกค้าทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย(cross-sale) ให้กับลูกค้าได้”

ในปี 2-3 ปีข้างหน้า ธนาคารจะมุ่งเน้นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น โดยคาดว่า อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้(cost to income ratio)ในปีนี้ จะต่ำกว่า 65% จาก 63.5% ในปีที่แล้ว ด้วยการจะโยกทรัพยากรจากกลุ่มธุรกิจที่ไม่สร้างรายได้มากนักไปทุ่มให้กับธุรกิจที่มีการเติบโต ส่วนด้านผลิตภาพจะเน้นให้ลูกค้าหันมาใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น เพราะธนาคารไ้ดลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานทางไอที

“นับจากนี้ CIMB THAI จะตอกย้ำจุดแข็งของตัวเองด้าน Treasury Retail Wealth Wholesale และก้าวไปสู่การเป็น ‘DIGITAL-LED BANK WITH ASEAN REACH’ CIMB THAI จะเปรียบเหมือนบ้านที่รวบรวมคนทำงานที่เก่งและเชี่ยวชาญ และเป็นธนาคารขนาดกลางที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด” นายสุธีร์ กล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน กลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีกำไรสุทธิ 1,467.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 464.5 ล้านบาท หรือ 46.3% จากปีก่อน มาจากรายได้การดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารทั้งส่วนหน้าบ้านหลังบ้านจะเฝ้าติดตามช่วยเหลือลูกค้าให้ทำธุรกิจได้เป็นปกติ โดยฐานะเงินกองทุนของธนาคารเข้มแข็งมาก BIS ratio เกือบ 20% สูงกว่าที่ทางการกำหนดไว้เกือบ 2 เท่า ผลประกอบการที่ดีขึ้นส่วนหนึ่งมาจากความสำเร็จจากการวางรากฐานของโครงการ Fast Forward การปรับกระบวนการทำงานทุก ๆ ด้าน และส่งผลต่อความก้าวหน้าอย่างเด่นชัดในวันนี้