ThaiPublica > สู่อาเซียน > ASEAN Roundup เวียดนามเตรียมนิคมอุตสาหกรรมรับ FDI

ASEAN Roundup เวียดนามเตรียมนิคมอุตสาหกรรมรับ FDI

18 ตุลาคม 2020


ASEAN Roundup ประจำวันที่ 11-17 ตุลาคม 2563

  • เวียดนามเตรียมนิคมอุตสาหกรรมรับ FDI
  • เวียดนามจะเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของอาเซียน
  • กัมพูชาลงนาม FTA กับจีนฉบับแรก
  • เมียนมาดึง FDI ได้ 25 พันล้านดอลลาร์ในกว่า 4 ปี
  • ฟิลิปปินส์ไฟเขียวประชาชนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ 21 ต.ค.
  • เวียดนามเตรียมนิคมอุตสาหกรรมรับ FDI

    ที่มาภา่พ:
    https://e.vnexpress.net/news/business/companies/japan-s-sumitomo-to-expand-two-industrial-parks-in-vietnam-3988508.html

    จังหวัดบิ่นห์ เยืองตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็น จุดหมายปลายทางการลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติในเวียดนาม
    มุ่งพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เพื่อรับกระแสการลงทุนโดยตรง(Foreign Direct Investment:FDI)ของต่างชาติที่เพิ่มขึ้น

    นิคมอุตสาหกรรมได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นับตั้งแต่ต้นปีนี้ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปแล้ว 146 พันล้านด่องเพิ่มขึ้น 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

    นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตนิคมอุตสาหกรรมเวียดนาม สิงคโปร์ แห่งที่ 3 ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว และพร้อมที่จะเปิดรับนักลงทุนในเร็วๆนี้

    นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ 1,000 เฮกตาร์นี้ ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 6.4 ล้านล้านด่อง จะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะรับเฉพาะโรงงานที่ทันสมัยและไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    เหงียน ทั่นห์ จุ๊ก รองประธานคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด กล่าวว่า นอกจากจะมุ่งไปที่อุตสาหกรรมสนับสนุนแล้ว จังหวัดจะมุ่งไปที่อุตสาหกรรมไฮเทค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มมูลค่า

    บิ่นห์ เยืองเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางของ FDI มีสัดส่วน 9.2% ของ FDI รวมของประเทศ

    ญี่ปุ่นเป็นนัลงทุนอันดับหนึ่งในบรรดา 65 ประเทศและเขตปกครองที่เข้ามาลงทุนในจังหวัด บิ่นห์ เยือง

    ฮิเดยูกิ โอกาดะ ประธานสมาคมธุรกิจญี่ปุ่นในเวียดนาม ในเมืองโฮ จิมินห์ ซิตี้ ให้ความเห็นว่า จังหวัด บิ่นห์ เยืองเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในเวียดนามในมุมองของธุรกิจญี่ปุ่น

    จังหวัด บิ่นห์ เยืองดึงดูดการลงทุน FDI มากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 9 เดือนแรกของปี โดยที่ราว 70% ลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรม

    ทางด้าน นายตรัน ก๊วก เฟือง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่า ทุกวันนี้เวียดนามยังคงอยู่ในสายตาของนักลงทุนว่าเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจ เนื่องจากการเมืองและเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม และมีข้อได้เปรียบในด้านที่ดินและทรัพยากรมนุษย์

    เศรษฐกิจยังคงเติบโตในปีนี้ แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการระบาดของไวรัสโควิด -19 ดังนั้นเวียดนามได้กลายเป็นตัวหลักสำคัญในช่วงการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่าในเอเชีย

    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภาคอุตสาหกรรม แปรรูป และเขตนิคมอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุน โดยทั่วประเทศ การลงทุนของต่างชาติในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจมีจำนวนถึง 517 โครงการ รวมมูลค่าลงทุน 8.5 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 9 เดือนแรก

    ในช่วงเดียวกันนั้น เวียดนามมีโครงการลงทุนของต่างชาติจำนวน 10,009 โครงการมูลค่ารวม 197.พันล้านดอลลาร์ โดยที่ 70% มีการใช้เงินดำเนินโครงการไปแล้ว และยังมีโครงกาลทุนในประเทศอีก 9,806 โครงการมูลค่าลงทุนรวม 2.34 พันล้านล้านด่อง(quadrillion VND)

    โครงการลงทุนในประเทศในเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรมมีจำนวน 442 โครงการรวมมูลค่าลงทุน 91 ล้านล้านดอลลาร์

    กระทรวงวางแผนและพัฒนาให้ข้อมูลว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน ธูรกิจในนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษมีผลการดำเนินงานรวม 135.7 พันล้านดอลลาร์ลดลง 3.5%ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สร้างงานได้ถึง 3.83 ล้านตำแหน่ง

    การส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมโดยรวมมีมูลค่า 10.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.7% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนมูลค่านำเข้า 87.2 พันล้านดอลลาร์ลดn 1.2%

    ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน ทั่วประเทศมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 366 แห่ง โดยที่ 279 เปิดดำเนินการไปแล้วส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก

    ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเลียบชายฝั่ง 19 แห่งรวมพื้นทั่ทั้งหมด 871,100 เฮกตาร์ โดยที่ 17 ได้จัดตั้งแล้ว

    จากการคาดการณ์ว่าจะ มีโอกาสเปิดรับคลื่นการลงทุนโดยตรงระลอกใหม่ เวียดนามได้ทำการประเมินก องทุนที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งมุ่งไปที่การเทรนนิ่งพนักงาน ส่งเสริมอุตlาหกรรม(supporting induatriala) รวมทั้งเชื่อมกับการลงทุนหลักๆ ขจัดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และปรับปรุงสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน

    เวียดนามจะเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของอาเซียน

    ที่มาภาพ:
    https://www.cntraveler.com/story/why-im-moving-to-the-country-my-parents-fled-decades-ago

    ในปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามคาดว่าจะสูงถึง 340.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ ส่งผลให้กลายเป็นประเทศที่มี ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากรายงาน แนวโน้มเศรษฐกิจโลก(World Economic Outlook ) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary Fund (IMF)

    รายงานระบุว่า เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ที่เศรษฐกิจขยายตัวในปีนี้ ที่ 1.6% และจะเติบโต 6.7% ในปีหน้า

    ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า ขนาดเศรษฐกิจของเวียดนามจะไต่มาที่อันดับ 4 ในปีนี้ แซงหน้าสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยประเมินว่า GDP จะมีมูลค่า 340.6 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่า GDP ของสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 337.5 พันล้านดอลลาร์ และ GDP มาเลเซียที่มีมูลค่า 336.3 พันล้านดอลลาร์ แต่เป็นรองประเทศไทยที่ GDP มีมูลค่า 509.2 พันล้านดอลลาร์ ฟิลิปปินส์ 367.4 พันล้านดอลลาร์ และอินโดนีเซีย 1.088 trillion USD.

    ส่วนรายได้ประชาชาติต่อหัว(GDP per capita) ไอเอ็มเอฟคาดว่า รายได้ต่อหัวของเวียดนามจะติดอันดับ 6 ของอาเซียน ด้วยจำนวน 3,497 ดอลลาร์ต่อคนในปีนี้ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ที่ 3,372 ดอลลาร์ ลาว 2,567 ดอลลาร์ กัมพูชา 1,572 ดอลลาร์ และเมียนมา 1,332 ดอลลาร์

    โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจประเทศสมาชิกอาเซียน 5 รายได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทยและเวียดนามคาดว่าจะลดลงเฉลี่ย 3.4% ขณะที่กลุ่มประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชียเศรษฐกิจจะลดลง 1.7%

    จีนยังคงเป็นเศรษฐกิจหลักเพียงแห่งเดียวที่คาดว่าจะเศรษฐกิจจะเติบโตในระดับ 1.9% ในปีนี้และสูงถึง 8.2% เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2021 สำหรับสหรัฐ ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจะลดลง 4.3 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้

    กัมพูชาลงนาม FTA กับจีนฉบับแรก

    ที่มาภาพ: https://www.khmertimeskh.com/50772558/china-cambodia-sign-free-trade-agreement-in-record-time-to-inject-impetus-to-economic-recovery/

    กัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement :FTA) กับจีนฉบับแรก เรียบร้อยแล้ว โดยมีนาย พัน สรสัก รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา และนายจง ซาน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีนเป็นตัวแทนร่วมลงนาม และมีสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และนายหวัง อี้ มุขมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน เป็นสักขีพยาน ระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายหวัง อี้

    การลงนามในข้อตกลง FTA แสดงให้เห็นถึงการเข้าสู่ยุคใหม่ของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม การร่วมกันสร้างประชาคมจีน – กัมพูชาที่มีอนาคตร่วมกัน ความร่วมมือในการสร้างเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจ และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

    การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่ากว่า 7.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 โดยที่จีนเกินดุลการค้ากว่า 6 พันล้านดอลลาร์ และด้วยข้อตกลง FTA ทั้งสองประเทศมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการค้าทวิภาคีเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2566

    นอกจากนี้ยังนับเป็นก้าวสำคัญในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี และคาดว่าจะส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีไปอีกระดับหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแก่ธุรกิจ ประชาชนของจีนและกัมพูชา ทั้งนี้คาดว่าข้อตกลง FTA จะได้รับการให้สัตยาบันโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศภายในต้นปีหน้า เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด

    เมียนมาดึง FDI ได้ 25 พันล้านดอลลาร์ใน 4 ปีครึ่ง

    เขตเศรษฐกิจพิเศษทิละวา ที่มาภาพ:
    https://www.gnlm.com.mm/singapore-tops-source-of-fdis-in-myanmar-in-2020-2021fy/

    สำนักงานคณะกรรมการการลงทุนและบริษัท(Directorate of Investment and Company Administration:DICA) เปิดเผยว่า เมียน มาดึง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน ที่ทำหน้าที่มาก 4.5 ปีได้ถึงกว่า 25 พันล้านดอลลาร์

    คณะกรรมการการลงทุน(Myanmar Investment Commission :MIC) ได้อนุมัติและเห็นชอบบริษัทต่างชาติจำนวน 1,032 รายในช่วงปีงบประมาณ 2016-2017 และปีงบประมาณ 2019-2020 โดยมีเงินลงทุนราว 25.186 พันล้านดอลลาร์

    ในปีงบประมาณ 2016-2017 มูลค่า FDIs จาก 158 กิจการรวม 6.9 พันล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ2017-2018 มูลค่า FDIs จาก 234 กิจการรวม 6.119 พันล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณย่อย 2018 มูลค่า FDIs จาก 89 โครงการรวม 1.94 พันล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ 2018-2019 มูลค่า FDIs จาก 298 กิจการรวม 4.5 พันล้านดอลลาร์ และในปีงบประมาณ 2019-2020 มูลค่า FDIs จาก 253 กิจการรวม 5.689 พันล้านดอลลาร์

    เงินลงทุนโดยตรงได้ไหลเข้าไปใน 12 ภาคธุรกิจประกอบด้วย นำ้มันและก๊าซ ขนส่งและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและท่องเที่ยว เหมืองแร่ ปศุสัตว์และประมง นิคมอุตสาหกรรม เกษตร ก่อสร้าง การผลิต และบริการอื่นๆ

    ภาคขนส่งและการสื่อสาร มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด รองมาคือ อุตสาหกรรมการผลิต และอสังหาริมทรัพย์ติดอันดับสาม

    ในบรรดา 51 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมา สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุด ตามมาด้วยจีน และ ฮ่องกง

    MIC ให้ความสำคัญของธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานมาก ดังนั้นในช่วงรัฐบาลทำหน้าที่ โครงการในประเทศและต่างประเทศจ้างงานคนในประเทศว่า 670,000 คน

    ธุรกิจเหล่านี้ได้สร้างงานกว่า 96,000 ตำแหน่งในปีงบประมาณ 2016-2017 จ้างงาน 110,000 ตำแหน่งในปีงบประมาณ 2017-2018 จ้างงานกว่า 53,000 ตำแหน่งในปีช่วงงบประมาณย่อย 2018, จ้างงานกว่า 180,000 ตำแหน่งในปีงบประมาณ 2018-2019 และ 210,000 ตำแหน่งงานในปีงบประมาณ 2019-2020

    ในปีงบประมาณ 2019-2020 สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุน FDI รายใหญ่สุดของเมียนมา

    บริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์ 20 แห่งนำเงินเข้ามาลงทุนในเมียนมา 1.85 พันล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงานและภาคการผลิต

    สิงคโปร์ครองตำแหน่งนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาร์ตั้งแต่ปี 2012 และยังเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสองในเขตเศรษฐกิจพิเศษทิละวา รองจากญี่ปุ่นนักลงทุนอันดับหนึ่ง

    ฮ่องกงเป็นนักลงทุน FDI รายใหญ่อันดับสองด้วยเงิน]’ทุนประมาณ 1.42 พันล้านดอลลาร์จาก 46 บริษัท ตามมาด้วยญี่ปุ่นที่ลงทุน 760 ล้านดอลลาร์ในเมียนมาร์

    เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 5.68 พันล้านดอลลาร์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2019 ถึง 30 กันยายน 2020 ในปีงบประมาณ 2019-2020

    ฟิลิปปินส์ไฟเขียวประชาชนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ

    ที่มาภาพ:
    https://www.rappler.com/nation/philippines-lifts-ban-non-essential-outbound-travel-october-21-2020

    คณะกรรมการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ฟิลิปปินส์ได้ ยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่จำเป็นและอนุญาตให้ชาวฟิลิปปินส์เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม

    ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่า 1) ผู้ที่จะเดินทางนั้นต้องมีผลตรวจโควิดเป็นลบ ในการตรวจก่อนเดินทางเป็นเวลา 24 ชั่วโมง 2) แสดงตั๋วเดินทางแบบไป-กลับ 3) มีประกันเดินทางและประกันสุขภาพที่คุ้มครองเพียงพอสำหรับผู้เดินทางด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว 3) ยอมรับในประกาศของสำนักงานตรวจคเข้าเมืองว่าการเดินทางมีความเสี่ยง

    และเมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศ จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขด้วยการกักตัวตามที่กำหนดจนกว่าจะมีผลตรวจเป็นลบ