ThaiPublica > คนในข่าว > “ดยุกออฟยอร์ก” เล่าประสบการณ์ – ชี้แนะอาเซียนบ่มเพาะผู้นำธุรกิจ คนรุ่นใหม่คิดแบบผู้ประกอบการ ต้องมี Mentor-เชื่อมโยงสร้างพลังแตกต่าง รับปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

“ดยุกออฟยอร์ก” เล่าประสบการณ์ – ชี้แนะอาเซียนบ่มเพาะผู้นำธุรกิจ คนรุ่นใหม่คิดแบบผู้ประกอบการ ต้องมี Mentor-เชื่อมโยงสร้างพลังแตกต่าง รับปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

5 พฤศจิกายน 2019


เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุค ออฟ ยอร์ค แห่งสหราชอาณาจักร

สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพในจัดการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ASEAN Business and Investment Summit 2019 หรือ ABIS 2019 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

วันที่สองของการประชุม เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกออฟยอร์ก แห่งสหราชอาณาจักร ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวว่า การจัดงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนทราบดีว่าอังกฤษกำลังจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งไม่สามารถพึ่งพาการทำธุรกิจค้ารูปแบบเดิมได้ ต้องคิดและหาทางเลือกแบบผู้ประกอบการไว้หลายทางและต้องหาพันธมิตรใหม่

แนวคิดการจัดประชุม Empowering ASEAN 4.0 หรือ สร้างพลังอาเซียน 4.0 ครั้งนี้ใกล้เคียงสหราชอาณาจักร ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในหลายด้านทั้ง วิทยาศาสตร์, AI, อินเตอร์เน็ตออฟทิง และด้านอื่นๆ

เหตุผลที่การสร้างพลังมีความสำคัญมีหลายข้อ คือ เราต้องสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจ เราต้องส่งเสริมคนรุ่นใหม่ ผู้นำทางธุรกิจต่อไป เพื่อไม่ให้ทำผิดพลาดอย่างที่คนรุ่นเราได้ทำมา หรือกำลังทำอยู่ในขณะนี้

เมื่อมองจากความเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งในสิ่งที่เรากำลังส่งเสริม ต้องถามว่าเราจะทำอย่างไรบ้างเพื่อเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ เพราะการค้าของโลกขึ้นอยู่กับคนทำธุรกิจกับคนในอีกฝั่งหนึ่งของโลก

เมื่อมองย้อนกลับในช่วงที่ข้าพเจ้าเริ่มขับเฮลิคอปเตอร์ ก็มองว่า เป็นการดำเนินการเพื่อปกป้องการค้าทางทะเล แต่ภายหลังเมื่อออกจากกองทัพเรือมาทำหน้าที่ผู้แทนการค้าและการลงทุน ก็เริ่มเห็นโลกแห่งความเป็นจริงว่า โลกเคลื่อนด้วยความสัมพันธ์ ธุรกิจ และความไว้วางใจ

นับตั้งแต่นั้นข้าพเจ้าก็ตระหนักถึงสิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ ต้องทำให้แน่ใจว่าคนรุ่นต่อไปมีการเตรียมพร้อมที่ดี มีทักษะที่ดีกว่ารุ่นเรา เพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายได้

และตอนที่ข้าพเจ้าเริ่มเรื่องนี้ก็ไม่ได้ตระหนักว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อยู่ใกล้เข้ามาทุกขณะ และขณะนี้ก็เข้ามาถึงตัวแล้ว ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนโฉม การปฏิวัติอุตสาหกรรม

มีหลายฝ่ายประเมินว่า 80% ของงานที่ทำกันในทุกวันนี้จะชะงักงันด้วยเทคโนโลยี เทคโนโลยีใหม่ๆ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราต้องคิดนอกกรอบ

ข้าพเจ้าก็เริ่มคิดอีกว่าจะทำอย่างไรดี และจะทำอะไร บางทีอาจจะกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ คนรุ่นต่อไปได้คิด คิดเกี่ยวกับการศึกษา หาแนวทางที่จะสร้างพลังให้กับตัวเอง เราต้องทำให้คนรุ่นใหม่เชื่อ

ทั้งนี้เราไม่ได้เสริมความเข้มแข็ง แต่เราต้องบ่มเพาะคนด้วย โดยเราต้องมองไปที่เทคโนโลยี มองไปที่วิศวกร และเราต้องไม่ลืมศิลปะ เพราะศิลปะคือโอกาสที่จะสร้างสรรค์ การออกแบบก็มีส่วนเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคณิตศาสตร์ หากเราไม่รู้ไม่เข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ เราไม่มีทางก้าวไปไหนได้ไกล

ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากต้องการให้คนวัยหนุ่มสาวคิดแบบผู้ประกอบ คิดแบบองค์กรธุรกิจ เราต้องให้เขามีประสบการณ์ และใช้ชีวิตในภาวะแวดล้อมแบบนั้น

ในระดับการศึกษาขั้นต้นหรือชั้นประถม เราต้องสร้างการเรียนรู้ในเชิงการประกอบการหรือ enterprising play สร้างประสบการณ์เพื่อทำให้เข้าใจว่า ในอนาคต ต้องตระหนักและรับรู้ถึงความไม่แน่นอน ไม่ใช่ความเสี่ยง รวมทั้งต้องเข้าใจว่าความไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่

การสร้างประสบการณ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะทำให้ลดความวิตก ความกลัว

แนะ 3 ข้อ สร้างผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังคิดว่า จะรับมือกับความท้ายนี้อย่างไร แล้วมีคนมาบอกว่า ข้าพเจ้าควรจะทำตัวเป็นผู้สนับสนุนธุรกิจ ซึ่งข้าพเจ้าก็คิดว่าตัวเองมีความใกล้เคียง เป็นสิ่งที่คนแบบข้าพเจ้าควรจะทำ คือช่วยภาคธุรกิจ ทำตัวเป็นผู้สนับสนุน

ดังนั้นสิ่งแรกก็คือ เราต้องสร้างผู้ประกอบการตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน อันที่สอง ต้องส่งเสริมให้เขามีประสบการณ์ ที่มีความเป็นไปได้ที่จะประสบความล้มเหลว เพราะทุกคนในโลกธุรกิจรู้ว่า การล้มเหลวในบางสิ่งบางอย่าง และเข้าใจว่าต้องปรับตัวรองรับความต้องการของลูกค้า นั่นหมายความว่า ธุรกิจจะประสบความสำเร็จ

ในระบบการศึกษาของเรา เป็นอย่างนั้นโดยเฉพาะที่สหราชอาณาจักร เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ของความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว ดังนั้นเราต้องให้ประสบการณ์บางอย่าง ให้ล้มเหลวในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย

ข้าพเจ้ามีข้อเสนอแนะใน 3 ด้านด้วยกัน

เริ่มต้นจาก หนึ่ง การสร้างเสริมประสบการณ์ในระยะแรก สอง เป็นการตัดสินใจที่จะก่อตั้งธุรกิจ และสาม เมื่อตัดสินใจที่จะก่อตั้งธุรกิจ ขั้นต่อไปก็จะต้องเป็นทำให้ธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แต่ละขั้นตอนทุกคนในที่นี้ก็น่าจะรู้อยู่แล้วจากสิ่งที่ทำ ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับข้าพเจ้าจะบอกในสิ่งที่ทุกคนไม่รู้

แต่ในกระบวนที่จะหาแนวทางมาการสนับสนุนส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ก่อตั้งองค์กรขึ้นมา 2 องค์กร โดยองค์กรริเริ่มการมอบรางวัล รางวัลแรกคือ Inspiring Digital Enterprise Awards ที่จะมอบจะให้กับเด็กที่มีอายุ 7-11 ปี ที่มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล เพื่อที่จะสร้างความรับรู้ในดิจิทัล ซึ่งรางวัลนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน

อีกแง่มุมหนึ่งจากสิ่งที่ข้าพเจ้าทำ คือ ข้าพเจ้าเป็นคนที่ชอบการประสานงานความร่วมมือ ข้าพเจ้าเชื่อในการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ ดังนั้นข้าพเข้าจึงได้รวบรวมคนขึ้นมากลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนพอสมควรในอังกฤษ เพื่อการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะมีผลที่มากขึ้น ผลที่ดีขึ้นต่อคนอายุน้อย

ผลของการประสานความร่วมมือที่ข้าพเจ้าริเริ่มขึ้น นำคนกลุ่มหนึ่งมาทำงานร่วมกับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคธุรกิจดิจทัล ก็คือ ในขณะนี้มีคนอายุน้อย เยาวชนกว่าครึ่งล้านคนใช้แพลตฟอร์มในอังกฤษ และเรายังได้พัฒนาเข็มกลัดดิจิทัล (badge) ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้ทำไป 3 ล้านชิ้น

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของหลายโครงการ งานหลายด้านที่ข้าพเจ้ารับดูแลอยู่ โดยยังมีโครงการ Tycoon in School ทั้งหมดนี้ได้สร้างบรรยากาศของการสร้างเสริมประสบการณ์เพราะเยาวชน คนรุ่นใหม่ ต้องมีประสบการณ์

คนพันธุ์ใหม่ คนเก่งยังต้องการ Mentor

ในด้านที่สองการเริ่มต้นธุรกิจและการขยายธุรกิจ และเราจะสนับสนุนได้อย่างไร ซึ่งข้าพเจ้าได้ก่อตั้งโครงการ Virtual Pilot กำหนดเงื่อนไขเหตุการณ์ 1 เหตุการณ์ขึ้น โดยได้นำไปใช้ใน 64 ประเทศทั่วโลก ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มอีก 50 ประเทศรวมทั้งการประชุมในประเทศไทยครั้งนี้

หากเราจะช่วยผู้ประกอบการให้ก่อตั้งธุรกิจ เราต้องมองไปที่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา สิ่งหนึ่งนั้นคือ อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ หรือ barrier to entry มีอุปสรรค มีการตั้งกำแพงมากมาย ที่จะเข้าไปในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง มีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ เราสามารถสนับสนุนให้รัฐบาลไม่ต้องกำกับดูแลมากนัก เราสามารถสนับสนุนรัฐบาลให้คิดพิจารณาแนวทางที่จะเสริมสร้างธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้

ทุกธุรกิจต้องการที่จะขยายต้องการที่จะเติบโตอย่างเท่าเทียมกันเช่นนั้น เราจะต้องทำอย่างไร สำหรับข้าพเจ้า เราต้องมีความร่วมมือ การหาแนวทางที่เหมาะสมมาสนับสนุนคนให้ก้าวข้าม barrier to entry แล้วเราจะลดอุปสรรคนั้นได้อย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ข้าพเจ้ามีความเชี่ยวชาญ แต่การลดอุปสรรคนั้นมีตัวอย่างหลายกรณีให้เห็นมากมาย ซึ่งอุปสรรคเหล่านั้นสามารถยกเลิกหรือขจัดได้

เมื่อพูดถึงการใช้หลักเกณฑ์การกำกับดูแล ก็ต้องการดำเนินการให้สามารถยืดหยุ่นได้ ต้องมีโครงสร้างทางการเงินที่ยืดหยุ่น เพราะหากไม่มีเส้นเลือดมาสนับสนุน ธุรกิจไม่สามารถเจริญก้าวหน้าได้ เราจำเป็นต้องมีระบบบริการทางการเงิน ที่สร้างและรองรับธุรกิจ ต้องคำนึงการส่งเสริมความสามารถของธุรกิจ

นอกจากนี้ด้วยหน้าแฟนเพจ เราได้สร้างเครือข่ายที่กว้างขวาง สร้างคนพันธุ์ใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการ และเมื่อคิดถึงว่าหากมีผู้ประกอบทั่วโลก เราต้องตระหนักว่า ผู้ประกอบการจะหาช่องทางทำธุรกิจใหม่ได้เสมอ ซึ่งการได้ทำงานกับคนเหล่านี้ถือว่าเป็นเกียรติอย่างมาก เพราะพวกเขาให้แสดงให้ข้าพเจ้าได้เห็นอย่างชัดเจนถึงนวทางการการทำธุรกิจของพวกเขา

การดำเนินการในลักษณะนี้ เราต้องมีการก่อตั้งกลุ่มธุรกิจขึ้น สำหรับผมไม่ว่าผู้ประกอบเหล่านี้ฉลาดและเก่งแค่ไหนก็ยังต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาต้องการพี่เลี้ยง พวกเขาต้องการคำแนะนำ การให้คำปรึกษา หากไม่มีพี่เลี้ยง หรือ mentor หรือผู้ที่ให้คำปรึกษา ก็จะไม่เติบโต เช่นเดียวกับพวกคุณในห้องนี้ที่เป็นนักธุรกิจระดับโลก รู้ว่าหากมีใครคนหนึ่งที่สามารถหันไปปรึกษาได้ ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไป

ข้าพเจ้าตระหนักถึงเรื่องนี้ขณะที่ทำหน้าที่ควบคุมเรือ การที่จะสามารถพูดคุยกับใครสักคนได้ที่อยู่ในสถานะใกล้เคียงกับข้าพเจ้า สามารถให้คำแนะนำ ก็จะผ่านพ้นประสบการณ์ตรงนั้นมาได้ เป็นเรื่องที่ช่วยได้อย่างมาก ดังนั้น mentor จึงมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการ

การเชื่อมโยงทำให้เกิดความแตกต่าง

นอกจากนี้ยังมีอีกด้านหนึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า เราไม่ได้ให้เวลามากนัก นั่นคือ กระบวนการของธุรกิจ การจัดการ คนรุ่นใหม่หลายคนเก่ง ฉลาด มีความสามารถ แต่ไม่สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการอยู่คือ การส่งเสริมผู้ที่มีความรู้เหล่านั้นให้มาทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งอาจะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ คนที่มีความสามารถในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ไม่ได้มองตัวเองเป็นผู้ประกอบการ ทั้งที่โดยแท้จริงเขาเป็นผู้ประกอบการ พวกเขาต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพราะจะทำให้ทั้งระบบเติบโต

นอกจากผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องขจัดอุปสรรคแล้ว ยังต้องก้าวข้ามอุปสรรคนั้น แนวทางหนึ่งคือ การเข้ามีเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน และระบบการจำหน่าย และหากว่ามีแนวทางที่ดีในการเริ่มธุรกิจ ขยายธุรกิจก็จะยิ่งดี โดยเฉพาะจากภาครัฐ พบว่าทุกวันนี้มีรัฐจำนวนมากมีแนวทางที่ดี เปิดช่องทางพิเศษให้ผู้ประกอบการธุรกิจ ให้ทำสัญญากับภาครัฐ ด้วยการให้โอกาสคนเข้ามาในห่วงโซ่อุปทาน ระบบการจำหน่าย ธุรกิจนั้นจะเริ่มมีรายได้ เมิ่อเริ่มมีรายได้ ก็หมายถึงมีการเริ่มพูดถึงการลงทุน

ข้าพเจ้ายังพบว่า การเชื่อมโยงมีความสำคัญ การทำให้ผู้ประกอบการมีการเชื่อมโยงก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลดีที่แตกต่างจากเดิม โดยหากหากเราสามารถเชื่อมโยงธุรกิจได้ สิ่งที่จะไหลหมุนเวียนออกก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันการเชื่อมโยงทำได้ง่ายขึ้น การเชื่อมโยงนั้นจะทำให้เกิดความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดต่อธุรกิจ

องค์กรที่ข้าพเจ้าก่อตั้งขึ้น แนวคิด และเพจ เกิดมาจากความคิดที่ว่า เราต้องส่งเสริมและเตรียมพร้อมคนรุ่นใหม่ให้ดีกว่าที่เราเคยเป็น และด้วยความร่วมมือและเพิ่มพลังขึ้น อีกไม่มากนัก เราก็ได้แนวทางการดำเนินการในโลกดิจิทัล

เพจ หมายถึง พลังและความเชื่อมโยง และหากสามารถสร้างความเชื่อมโยง ธุรกิจก็จะก้าวหน้า

ข้าพเจ้าเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ว่าความร่วมมือกันอย่างแท้จริงและการทำงานด้วยกัน จะสร้างธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จได้ บางรายอาจจะประสบความสำเร็จเร็ว บางรายอาจจะต้องขยายขนาด เพื่อประสบความสำเร็จให้เร็วขึ้น

ความเป็นผู้ประกอบการ แนวคิดมีอยู่แล้ว เราเพียงแค่ลงมือทำ ต้องสนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้งหาวิธีการที่จะสนับสนุน

การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 มีความสำคัญต่อคนรุ่นใหม่ และเชื่อว่าสิ่งที่อาเซียนกำลังดำเนินการเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่กำลังเกิดขึ้นมีความสำคัญพอๆ กับในสหราชอาณาจักร และเชื่อว่ามีสิ่งที่เราทั้งสองฝ่ายสามารถเรียนรู้ระหว่างกันได้

ในทุกประเทศที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปเยือน นับว่าเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มีโอกาสได้พบกับคนที่สร้างแรงบันดาลใจ และสามารถทำให้โลกลุกเป็นไฟได้ด้วยการเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ และที่มากไปกว่านั้นภาคธุรกิจเองทำงานร่วมกันเพื่อช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจดีขึ้น และความท้าทายหนึ่งที่มองว่าจะทำให้ดีขึ้น สำหรับประชาคมธุรกิจในอาเซียน โอกาสมารออยู่ข้างหน้าแล้ว อีกทั้งมีความสามารถที่จะทำให้เกิดความแตกต่างมหาศาลแก่คนรุ่นใหม่คนรุ่นต่อไปด้วยการสนับสนุนพวกเขา ส่งเสริมเขา และสร้างความเชื่อมโยง

ข้าพเจ้าหวังว่า สหราชอาณาจักรจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอาเซียน ไม่เฉพาะอาเซียนโดยรวมเท่านั้น แต่กับแต่ละประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ที่ว่าคนรุ่นต่อไป คนรุ่นใหม่ในธุรกิจ ให้ความสำคัญกับที่อื่นนอกเหนือจากสหภาพยุโรปในปัจจุบัน การเชื่อมโยงกับธุรกิจระหว่างประเทศมีความสำคัญ