ThaiPublica > สู่อาเซียน > “ภาคเอกชนไทย” เจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจ เตรียมพร้อมอาเซียนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ผลักดัน 4 เสาหลักเชื่อมโยง AEC

“ภาคเอกชนไทย” เจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจ เตรียมพร้อมอาเซียนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ผลักดัน 4 เสาหลักเชื่อมโยง AEC

2 พฤศจิกายน 2019


วันนี้(2 พฤศจิกายน 2562) สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพในจัดการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ASEAN Business and Investment Summit 2019 หรือ ABIS 2019 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งผู้นำประเทศ ผู้นำธุรกิจจากประเทศในอาเซียน ผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชนให้ความสนใจเข้าร่วมงานรวมกว่า 1,200 คน

โดยเวทีดังกล่าวถือเป็นเวทีคู่ขนานสำคัญของการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปีนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า ปี 2562 ไม่เพียงแต่เป็นปีสำคัญที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน และรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 เท่านั้น แต่ภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะองค์กรชั้นนำ ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ยังได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีเสวนาระดับนานาชาติภายใต้หัวข้อหลัก “สร้างพลังอาเซียน 4.0” เพื่อติดอาวุธทางปัญญาและปูแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในยุคที่เรียกว่า 4.0

“ผมเป็นคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับนิยามของคำว่า 4.0 ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน ได้ผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้น การค้า การส่งออก การลงทุนแบบ offline เพียงอย่างเดียว ไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ หรือ new business model ที่ผสมผสานระหว่างการค้า การลงทุน แบบ online และ offline ควบคู่กันไป ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแล้ว โดยมีนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบันเป็นตัวช่วยยกระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและจุลภาคของประเทศ เป้าหมายสำคัญ คือ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมนำการผลิตเพื่อสร้างห่วงโซ่แห่งคุณค่าและมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและการมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ดังนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในแนวทางการดำเนินการของรัฐบาล ขอกล่าวถึงสิ่งที่รัฐบาลไทยและภาคธุรกิจเอกชนได้ร่วมกันดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ดังนี้

ในมิติด้านความมั่นคง รัฐบาลไทยได้หารือกับภาคเอกชนในหลายเวที โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในมิติด้านความมั่นคง ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง (cross-cutting Issues) อาทิ ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางพลังงานและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนมีพันธกิจที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและทำให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นำปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมมาผนวกเข้าไว้ในนโยบายการสร้างความมั่นคงของประเทศ

ในมิติด้านเศรษฐกิจ การลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (Public and Private Partnership – PPP) ถือเป็นสิ่งที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งของความร่วมมือที่มีอยู่ในขณะนี้ การผลักดันโครงการ Eastern Economic Corridor หรือ EECโดยมีโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ (Megaprojects) ที่สำคัญ 4โครงการ ได้แก่ การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนที่สุดของการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนองคาพยพทางเศรษฐกิจของไทย อุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ รถยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง และเศรษฐกิจ BCG

ในมิติด้านสังคม ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น ในด้านหนึ่ง โครงสร้างประชากรของไทยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในเชิงบวกของคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และการสาธารณสุขของไทยที่มีมาตรฐานสูงในระดับสากล

ในอีกด้านหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากรเป็นปัจจัยเร่งให้ประเทศไทยต้องปรับตัวด้วยการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้เข้ามารองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการสร้างความสะดวกสบายในการเดินทาง การสร้างที่พักอาศัยเชิงอัจฉริยะ และการผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

“สิ่งที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะสำเร็จลงมิได้ หากขาดความร่วมมือจากภาคเอกชน ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการธนาคาร โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่ความเชื่อมโยงเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกประเทศจะต้องเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การเชื่อมโยงทางดิจิทัล การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับสังคมดิจิทัล และการส่งเสริมภาคธุรกิจ”

นอกจากนี้ ในยุคที่การค้าดิจิทัลขึ้นอยู่กับความรวดเร็วของการผลิต ช่องทางการกระจายสินค้า และการบริหาร การผสมผสานระหว่างการใช้ฐานการติดต่อผ่านดิจิทัลเพื่อกระตุ้นให้ปัจเจกบุคคลหรือผู้บริโภคเกิดความประสงค์ที่จะเข้ามาในห่วงโซ่อุปทานนั้น จำเป็นต้องใช้เครือข่ายการประกอบธุรกิจในประเทศและระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง โดยภาครัฐต้องช่วยสนับสนุนและหาวิธีการทำให้ขั้นตอนในด้านการติดต่อ การนำเข้า-ส่งออก และการบริการ มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

นอกเหนือจากการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางดิจิทัล รัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่สำคัญที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลักดัน คือ ACMECS RCEP และ GMS ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดสำคัญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบของความร่วมมือ คือ การเชื่อมโยงกับประเทศและเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งทางบก ทางทะเล และน่านฟ้า

บทบาทและความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนทวีความสำคัญอย่างต่อเนื่องในการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการพบปะหารือ การประชุมเสวนา และการนำเสนอข้อคิดเห็นในเชิงเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ให้กับภาครัฐบาลได้นำมาพิจารณาปรับใช้กับยุทธศาสตร์และแผนงานการดำเนินงาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชุมเสวนาที่จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อคิดเห็นในการประชุมสุดยอดในระหว่างสองวันนี้ อาทิ การหารือเรื่องอาเซียน 4.0 ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าของโลกการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย และการพัฒนาและเสริมสร้างพลังทางความรู้ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระบบการค้าและการลงทุนของโลก รวมถึงข้อเสนอแนะในการวางยุทธศาสตร์และแผนการรองรับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพร้อมให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีพลวัต สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะเศรษฐกิจของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลักดัน 4 เสาหลักเชื่อมโยง AEC

นายอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน

นายอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) กล่าวว่า ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน เวทีประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจ ASEAN Business and Investment Summit 2019 หรือ ABIS 2019 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้จึงถือเป็นเวทีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางความท้าทายใหม่ ขณะเดียวกันยังถือเป็นการยกระดับความร่วมมือและแสดงให้ประจักษ์ถึงการเป็นภูมิภาคที่โดดเด่นเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอาเซียน

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Empowering ASEAN 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศสมาชิกเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ในยุคดิจิทัล สอดคล้องกับแนวคิดหลักของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) ร่วมสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการดำเนินการของประชาคมอาเซียนในปี 2562 ประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ 1. Digital Infrastructure การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 2. Digital Connectivity การสร้างความเชื่อมโยงทางด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการค้า การลงทุนในอาเซียน 3. Human Empowerment and Development การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความสามารถใหม่และลดปัญหาการว่างงานในอาเซียน และ 4. MSME ผลักดันให้ผู้ประกอบการ MSME เข้าถึงนวัตกรรมและเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

“ASEAN 4.0 เป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ที่ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องตระหนักและปรับตัว เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัล กำลังเข้ามามีบทบาทและสร้างผลกระทบในอัตราเร่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ การเข้ามาแทนที่แรงงานทักษะต่างๆ ด้วยหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ที่จะมาทดแทนงานบริการของประเทศสมาชิกในอาเซียน ฯลฯ การจัดประชุมครั้งนี้เราจึงมองว่าจะทำอย่างไรที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้ตระหนักและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พลิกผัน สามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนอาเซียนและประชาคมอาเซียนได้มากที่สุด” นายอรินทร์กล่าว

“ประชาคมเศรษฐอาเซียนหรือ AEC ที่จะครบรอบ 5 ปีในปีค.ศ. 2020 เป็นชุมชนที่อายุน้อยมากซึ่งต้องการการดูแลและการเอาใจใส่ เช่นเดียวกับเด็กเล็ก ๆ นั้นควรจะได้รับความสนใจ ความอดทน ความเข้าใจและความรัก แน่นอนว่าเงินและทรัพยากรจํานวนมากจะต้องได้รับ แต่น่าเศร้า ที่เราเห็นว่าสนามเด็กเล่นเด็กเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดความเป็นมิตร ความปลอดภัยและการเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ สงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ เป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่ม การเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อาเซียนจะต้องรวมตัวและแข็งแก่รง ซึ่งอาเซียนจะรวมตัวกันได้อย่างแข็งแกร่ง จะต้องยึดมั่นรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแน่นแฟ้น รวมทั้งเป็นกระบอกเสียงและพลังเพื่อความสงบสุขของเศรษฐกิจโลก” นายอรินทร์

นาายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้จะมีผู้นำจากประเทศต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมแสดงความคิตเห็นในประเด็นเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปัญหาต่งๆ ที่ประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ การประชุม ABIS ในส่วนของภาคการเงินการธนาคารมองโจทย์ความท้าทายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยในยุคแห่งอนาคต ซึ่งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ ที่วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยกำลังเชิญอยู่ในขณะนี้ อันป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเติบโตและการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว

กลยุทธ์สำคัญในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบนิเวศทางการเงินในภูมิภาค และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ได้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินและสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เชื่อว่าความก้วหน้ำทางเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลดิจิทัลเพื่อจัดทำเครื่องมือด้านการเงินในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ 4R ได้ช่วยการทำธุรกรรมทาด้านการเงินสะดวก มีตันทุนที่ถูกลง และช่วยให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารก้าวไปสู่การให้สินชื่อที่ดูจากฐานขัอมูลเป็นหลักมากขึ้น (information Base Lending) เช่น AI และ Big Data ทำให้เกิดสินเชื่อและผู้ให้เชื่อในรูปแบบใหม่ การระดมทุนในรูปแบบ crowd funding และการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ผ่านตัวกลาง หรือ P2P เป็นตัน

“นวัตกรรมทางต้นการเงินใหม่ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการทางการเงินใหม่ที่จะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และรายย่อยในอาเขียนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคแห่งอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการความเชื่อมโยงด้านดิจิทัลที่จะทำให้การค้าภายในภูมิภาคอาเซียนเติบโตอย่างก้าวกระโตต” นายปรีดี กล่าว

สำหรับงานประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ABIS 2019 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ นอกจากจะได้รับการตอบรับความร่วมงานจากผู้บริหารระดับสูงขององค์การระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ยังได้รับเกียรติจากบรรดาผู้นำประเทศอาเซียนและผู้นำของบริษัทชั้นนำ ที่จะมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์แห่งอาเซียน อาทิ แอร์เอเชีย, แกร็บ, หัวเว่ย, โตโยต้า มอเตอร์, สิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่น, เอสซีจี, ธนาคารกรุงเทพ, เชลล์ (ประเทศไทย), มิตซูบิชิ, ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป และกลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ฯลฯ

ยังมีองค์ปาฐก (Keynote Speaker) สำคัญในงานที่จะช่วยฉายภาพผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากเทคโนโลยีที่พลิกผัน (Digital Disruption) และมุมมองสำคัญในมิติต่างๆ ต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน อาทิ Mr.Nobuhiko Sasaki ประธานคนใหม่ขององค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กับมุมมองการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในยุคดิจิทัล, Mr.Edward Zhou รองประธานคนรุ่นใหม่แห่งหัวเว่ย ประเทศจีน ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางแผนขยายตลาดต่างประเทศของหัวเว่ย กับมุมมองการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการสร้างความเชื่อมโยงด้านดิจิทัลของอาเซียน รวมไปถึงวิทยากรพิเศษ Femi Owolade-Coombes หรือ Hackerfemo อัจฉริยะ coding วัย 13 ปี ผู้ป่วยอาการผิดปกติของระบบประสาทที่หลงใหลการเขียนโค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ดิจิทัล เปลี่ยนโลก ด้วยการตั้งโครงการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล

ในจัดการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ABIS 2019 ตลอดทั้ง 2 วัน ยังมีหัวข้อสัมมนาสำคัญครอบคลุมประเด็นท้าทายของ ASEAN 4.0 ถึง 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. การส่งเสริมอาเซียนก้าวสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Advancing ASEAN 4.0 in Global Value Chain) 2. การสร้างเศรษฐกิจอาเซียนสู่ความยั่งยืน โดยอาศัยแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Sustainable ASEAN 4.0: Circular Economy) 3. การสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ที่เป็น MSME ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงิน (Next generation MSME access to Finance) 4. การปรับเปลี่ยนธุรกิจในอาเซียนเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการเสริมความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล (ASEAN Digital Transformation and Connectivity) 5. การเสริมสร้างสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความสามารถใหม่และลดปัญหาการว่างงาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (ASEAN Human Empowerment and Development) และ 6. การเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ประกอบการ MSME ในอาเซียน (ASEAN Mentorship for Entrepreneurs Network for MSMEs)