ThaiPublica > สู่อาเซียน > เอดีบี-Infrastructure Asia แห่งสิงคโปร์ จับมือหนุนอาเซียนใช้นวัตกรรมการเงินสีเขียวพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เอดีบี-Infrastructure Asia แห่งสิงคโปร์ จับมือหนุนอาเซียนใช้นวัตกรรมการเงินสีเขียวพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

3 ตุลาคม 2019


ข่าวประชาสัมพันธ์

เอดีบีและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infrastructure Asia) แห่งสิงคโปร์ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือในการสนับสนุนให้รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำแนวทางและนวัตกรรมทางการเงินสีเขียวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงินในภูมิภาคซึ่งต้องการเงินลงทุนมากกว่า 210 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2030 สัญญาดังกล่าวจะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการพัฒนาเชิงสถาบัน การเงิน และขีดความสามารถในการพัฒนาแผนงานและโครงสร้างพื้นฐานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

สัญญานี้เป็นการลงนามโดยนายราเมศ สุพราหมณ์ ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนาย เซธ ตัน กรรมการบริหาร หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย แห่งสิงคโปร์

นายราเมศกล่าวว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการเงินจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้น และต้องมีนวัตกรรมทางการเงินรวมทั้งแนวทางในการลดความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและจัดสรรการใช้งบประมาณของภาครัฐให้ดีขึ้น เพื่อที่จะกระตุ้นการการสนับสนุนทางการเงินจากภาคเอกชนและสถาบันที่เป็นพันธมิตร และสนับสนุนการพัฒนาสีเขียวและสะอาด ตลอดจนช่วยแก้ไขความท้าทายของการพัฒนา

ด้านนายเซธ กล่าวว่า โครงการที่มีองค์ประกอบทางการเงินและเทคนิคที่ดี รวมทั้งพันธมิตรที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือทางการเงินให้กับโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน และด้วยความร่วมมือกับเอดีบี หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชียจะทำงานภายใต้การหารืออย่างใกล้ชิดกับการเงินระหว่างประเทศ การเพิ่มความน่าเชื่อถือ และระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในสิงคโปร์เพื่อช่วยให้หน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจเข้าถึงแหล่งเงินภาคเอกชนมากขึ้น

สัญญาฉบับนี้จะช่วยให้เอดีบีและ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย ช่วยรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่นและภูมิภาค ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรับปรุงความสามารถขององค์กร ความสามารถทางการเงิน และการมีธรรมาภิบาล ในการพัฒนานวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานและโครงการสีเขียว

ทั้งนี้เอดีบีและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชียจะพัฒนา ห้องทดลงนวัตกรรมการเงิน( Innovative Finance Lab) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน เพื่อนำผู้มีส่วนได้เสียทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ รวมทั้งปรับปรุงความสามารถในการกำหนดนโยบาย และร่วมกันหาแนวทางในการปรับใช้นวัตกรรมและรูปแบบการเงินสีเขียวในโครงสรเ้างพื้นฐานของท้องถิ่น

Innovative Finance Lab จะเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างเสริมความสามารถของกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน (ASEAN Catalytic Green Finance Facility-ACGF) ที่ได้มีการลงนามไปในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ACGF เป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและโครงการเงินกู้เพื่อช้วยเหลือประเทศที่มีรายได้น้อย( Green and Inclusive Infrastructure Window)ที่ริเริ่มโดยรัฐบาลของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอดีบี และองค์กรการเงินเพื่อการพัฒนาชั้นนำภายใต้กองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน(ASEAN Infrastructure Fund)ที่ริเริ่มจัดตั้งในปี 2011 ด้วยวงเงิน 520 ล้านดอลลาร์เพื่อการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การขนส่ง น้ำ และโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองทั่วอนุภูมิภาค

กองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน มีเป้าหมายที่จะระดมทุนราว 1.3 พันล้านดอลลาร์จากหลายแหล่ง รวมทั้ง AIF, เอดีบี, สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Kreditanstalt fuer Wiederaufbau-KfW), ธนาคารพัฒนายุโรป(European Investment Bank), สาธารณรัฐเกาหลีใต้ และ สำนักงานฝรั่งเศสเพื่อการพัฒนา(Agence Française de Développement) ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว(Global Green Growth Institute) และ บรรษัทการลงทุนเอกชนในต่างประเทศ(Overseas Private Investment Corporation)

เอดีบี มุ่งมั่นที่จะทำให้เอเชียแปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน และยังคงเดินหน้าขจัดความจน ในปี 2018 ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินทั้งในรูปเงินกู้และเงินช่วยเหลือ 21.6 พันล้านดอลลาร์

เอดีบีก่อตั้งในปี 1966 มีสมาชิก 64 ประเทศซึ่ง 49 ประเทศอยู่ในภูมิภาคนี้