ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > CIMB เดินหน้าบนเส้นทางสู่แบงก์ขนาดกลาง-ขยับเข้าพื้นที่ดิจิทัล-2 ปีข้างหน้าเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุน

CIMB เดินหน้าบนเส้นทางสู่แบงก์ขนาดกลาง-ขยับเข้าพื้นที่ดิจิทัล-2 ปีข้างหน้าเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุน

21 ธันวาคม 2018


นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคาร พร้อมบุกดิจิทัลเต็มที่ในปีหน้า หลังจากลงทุนในคนและระบบอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2561 โดยปีนี้เป็นปีที่ 1 ที่ธนาคารเริ่มโครงการ Fast Forward เพื่อสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเป็นธนาคารขนาดกลางของระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นจาก Fast Forward อย่างเป็นรูปธรรมตอนนี้คือ ธุรกิจรายย่อยสามารถสร้างรายได้สูงถึง 66% ของรายได้รวมของธนาคาร

สำหรับความคืบหน้าของการก้าวสู่การเป็นธนาคารขนาดกลาง นายกิตติพันธ์กล่าวว่า ถ้าถามว่า ขณะนี้ซีไอเอ็มบีอยู่ตรงไหน ขอบอกว่าในช่วงที่เริ่มคุยแผนงาน 5 ปีได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกช่วงปี 2017-2018 ปัจจุบันก็อยู่ปลายๆของส่วนแรก ซึ่งปี 2017-2018 เป็นช่วงที่จัดบ้าน สะสางปัญหา คุณภาพหนี้ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเราตอบโจทย์ตรงนั้นด้วย Fast Forward”

“เมื่อดูจากสายงานรายย่อยคิดว่า ความคืบหน้าของโครงการมีเห็นอย่างเด่นชัด มีนัยสำคัญ ส่วนสายงานขนาดกลางก็พร้อม แต่เนื่องจากว่า เศรษฐกิจ คุณภาพหนี้ใน segment ที่มีอยู่ เราคงไม่กล้ากดคันเร่งเต็มที่ มิฉะนั้นต้องมานั่งแก้ไขปัญหาตามหลัง”

“สำหรับส่วนที่สอง ช่วงปี 2019-2020 ผมคิดว่าเป็นช่วงสำคัญมากๆในแผน 5 ปีของเรา เพราะเป็นปีที่เราเก็บดอกเก็บผลอย่างเต็มที่ของสิ่งที่เราเริ่มลงทุนไป เราทำมาครึ่งหนึ่งของโครงการ ปีหน้าทำที่เหลือ และเมื่อทำเสร็จหมด อยู่ที่การเปิดตัวของพวกนี้ แต่หากกระบวนการทำให้เร็วขึ้น เช่น สมติว่าโครงกรที่เปลี่ยนไปสามารถทำให้รายได้ให้เพิ่มขึ้นเท่าไร โครงการนี้ปีหน้ากับปีถัดไปเป็น 2 ปีที่มีความสำคัญมากๆ ถ้าเราทำได้ตามนั้น ผมคิดว่าเรา on track ที่จะเป็นธนาคารขนาดกลาง” นายกิตติพันธ์กล่าว

“ปีนี้ธนาคารลงทุนในคน สร้างทีม RM ของทั้งธุรกิจรายย่อย เอสเอ็มอี และPrivate Banking ควบคู่กับการลงทุนในระบบและเทคโนโลยี เรากำลังขยับไปสู่พื้นที่ดิจิทัลเพราะอนาคตอยู่ตรงนั้น ผมมั่นใจว่าเราจะเห็นรีเทิร์นจากการลงทุนในอีก 2 ปีข้างหน้า” นายกิตติพันธ์กล่าว

“แต่หากไม่สามารถเป็นไปตามนั้นจะด้วยเหตุประการใดก็แล้วแต่ ปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยภายในก็ดี ถ้าเป็นปัจจัยภายนอกก็ต้องบอกว่า ต้องใจเย็นๆ ช้าช้าได้พร้าเล่มงาม ก็ต้องดูตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะธุรกิจธนาคารอย่างที่ทราบกันดี บุ่มบ่ามมากก็มีสิทธิเจ็บตัว ไม่ใช่ผมไม่อยากบุ่มบ่าม แต่ก็กลัวเจ็บตัวเหมือนกัน”นายกิตติพันธ์กล่าว

“ถามว่าวันนี้เราอยู่ตรงไหน ผมว่าเราอยู่ปลายของส่วนแรก ถามว่าเราพอใจกับความคืบหน้าไหม ผมคิดว่าทุกอย่างที่เราก็ใกล้เคียงกับแผนงานที่ตั้งไว้” นายกิตติพันธ์กล่าว

นายกิตติพันธ์กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าของไทยหริอของโลก เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน มองแล้วไม่สามาารถเจาะจงไปที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งได้ แต่สำหรับประเทศไทมยในอดีต จะเห็นว่า ถ้ามองอัตราการเติบโตของสินเชื่อ เห็นได้ชัดเจนว่าถ้ามีการลงทืนของภาคเอกชนและภาครัฐในปริมาณสูง ก่อนหน้านี้ในปี 2012 การเติบโตของสินเชื่อสูงถึง 1.5-2 เท่าของจีดีพีตลอด จนปี 2013 เป็นต้นมาการเติบโตของสินเชื่อลดลงเหลือ 0.5 เท่าหรือต่ำกว่านั้นบ้าง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากมองแล้วปัจจัยทีมีผลต่อการลดลงคือ การลงทุน ดังนั้นโดยรวมปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อการเติบโตของธนาคาร

สำหรับการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่เกิดขึ้นทั่วโลกและไทยของภาคธนาคารนั้น ต้องบอกว่าจะชอบหรือไม่ชอบจะต้องหาทางอยู่กับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ทุกครั้งที่มีกฎเกณฑ์ใหม่ออกมา ก็มีการกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเรา เช่น กฎเรื่อง Market Conduct ที่ออกมาไมไ่ด้กระทบเฉพาะธนาคาร แต่กระทบทั้งอุตสาหกรรม แต่ธนาคารมีวิธีการทำงาน ในการทำธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลง เพราะต้องดูว่า เป้าหมายของการออกนโยบายของ Policy Maker คืออะไร เช่่น market conduct ต้องการให้ธนาคารหรือคนที่ทำหน้าที่ในการขายให้กับลูกค้า ทำหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม ให้ลูกค้าเข้าใจ และต้องมีกระบวนที่วัดว่าลูกค้ามีความเข้าใจมากขึ้น ในหลักการไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ ในหลักการเห็นด้วย แต่เราต้องใช้เวลาในการปรับตัว ซึ่งเข้าใจว่าหลังการประกาศใช้ market conduct ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการไปสำรวจแบบไม่เปิดเผย ก็พบว่ามีธนาคาร 2 แห่งไม่ผ่าน แต่ซีไอเอ็มบีได้รับการแจ้งว่าผ่าน

“ผมคิดว่าเรื่องนี้จริงๆ ทุกคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมต้องปรับตัวทั้งนั้น”

สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานของธนาคารและบริษัทในเครือปี 2561 ออกมาน่าพอใจ ธนาคารมีการเติบโตของสินเชื่อ 3.3% และรักษารดะดับของ NIM ไว้ที่ 3.77% ส่วนรายได้ 9 เดือนแรกเติบโตจาก 9.8 พันล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 10.1 พันล้านบาทปีนี้ กำไรสุทธิมีจำนวน 537 ล้านบาทเทียบกับ 544 ล้านบาทช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 6.1 พันล้านบาท หรือ 10.8% หลักๆจากการลงทุนในทรัพยากรบุคคล ระบบ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับดิจิทัล รองรับการบุกดิจิทัลเต็มที่ในปี 2562 เพื่อโอกาสของการขยายธุรกิจในอนาคต

ธุรกิจรายย่อย (Consumer Banking) รักษาระดับการเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจที่โดดเด่นปีนี้คือ สินเชื่อบุคคลมีหลักประกัน และสินเชื่อรถยนต์โดยบริษัท ซีไอเอ็มบีไทย ออโต้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ นอกจากนี้ปันี้ธนาคารขยับเข้าสู่พื้นที่ดิจิทัลแล้วและเตรียมตัวเปิดตัว 3 แอปพลิเคชั่นเร็วๆนี้ได้แก่ Mobile Lending, myCIMB และMy Prefered

Mobile Lending เป็นแอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้ลูกค้าสมัครสินเชื่อได้โดยตรงผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นกระบวนการ paperless ลูกค้าไม่จะเป็นต้องไปที่สาขา ช่วยให้ลูกค้าสมัครสินเชื่อได้เร็วขึ้นและติดตามผลได้ทันที ส่วน myCIMB เป็นโมบายแบงกิ้งของธนาคาร ซึ่งได้รับการพัฒนาให้สวยงามและใช้ง่ายขึ้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้ลูกค้าซื้อ-ขาย และสลับกองทุนแบบไร้รอยต่อ ขณะที่ My Prefered เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับกลุ่มลูกค้า CIMB Prefered ในการเลือกรับของรางวัลที่ตรงใจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์

ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางหรือพาณิชย์ธนกิจ(Commercial Banking) ธนาคารมองเห็นโอกาสที่จะบุกตลาดสินเชื่อกลุ่มเอสเอ็มอีขนาดเล็ก จึงได้จัดตั้ง Credit Center ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานและกลั่นกรองสินเชื่อเพื่อการอนุมัติที่เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน ได้ขยายทีม Relationship Manager( RM) ให้เพียงพอต่อการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดและรองรับการเติบโตในปีหน้า

ธุรกิจนาดใหญ่(Wholesale Banking) ธนาคารโดดเด่นในธุรกิจบริหารเงิน (Treasury) จาก structured notes ทีมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายขึ้นรวมทั้งออกตราสารดังกล่าวในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ สำหรับนักลงทุนที่ติองการลงทุนในเงินสกุลต่างประเทศ นอกจากนี้ธนาคารเตรียมที่จะพาลูกค้าไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเบื้องต้นจะเน้นผู้ออกตราสารกลุ่มประเทศในกลุ่ม ASEAN ทั้งนี้ธนาคารจะมุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ดีจากพันธมิตรต่างๆมานำเสนอ ให้ลูกค้าได้เลือกตามความพอใจ (Open architecture) ทั้งกองทุนในประเทศและกองทุนต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจลูกค้าธนบดีธนกิจ (Private Banking) ที่จะเป็นหนึ่งในเสาหลักสร้างการเติบโตให้ธนาคารในปีหน้าและอนาคตอีกด้วย หลังจากปีนี้ได้เปิดตัวทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญแล้ว ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่นั้นได้มีกาปรรับพอร์ตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและจัดกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารจะโฟกัสสำหรับแผนธุรกิจปีหน้า