ThaiPublica > Native Ad > Advertorial > การกลับมาของ TIJ Workshop 2019 กับ “หลักสูตรผู้นำแห่งอนาคต ด้านนิติธรรม” ที่ดีที่สุดของม.ฮาร์วาร์ดในเอเชีย

การกลับมาของ TIJ Workshop 2019 กับ “หลักสูตรผู้นำแห่งอนาคต ด้านนิติธรรม” ที่ดีที่สุดของม.ฮาร์วาร์ดในเอเชีย

17 ตุลาคม 2018


“เราต้องการสร้างผู้นำที่จะสามารถใช้หลักนิติธรรมกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหา”

Dr. David Kennedy ผู้อำนวยการจากสถาบัน IGLP แห่ง Harvard Law School กล่าวเรื่องนี้กับผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็น “ผู้นำรุ่นใหม่” จากหลากหลายสาขาใน TIJ Workshop for Emerging Leaders on The Rule of Law and Policy เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

อาจกล่าวได้ว่านั่นคือ ประโยคสั้นๆ ที่พอจะอธิบาย ที่มาของแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรระดับโลก TIJ Workshop for Emerging Leaders on The Rule of Law and Policy ขึ้นในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และ สถาบัน IGLP แห่ง Harvard Law School ที่เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2560 เวิร์กชอประยะสั้น 5 วัน ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาและสร้างเครือข่าย “ผู้นำรุ่นใหม่” ให้เป็น “ผู้นำแห่งอนาคต” ที่สามารถใช้ความรู้ด้านหลักนิติธรรมและประสบการณ์ที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระดับพลิกผัน (Disruption) แม้จะมีความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว แต่หลายๆ เรื่อง กรอบความคิดแบบเดิมและวิธีทำงานแบบเดิมอาจจะไม่สามารถหาทางออกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้

2 ปีที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จเมื่อมีผู้สมัครซึ่งเป็นผู้นำรุ่นใหม่จากทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้าร่วมหลักสูตรอย่างมากและมีความหลากหลาย ตั้งแต่นักกฎหมาย ผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม นักวิชาการ นักธุรกิจ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ที่มาจากกว่า 16 ประเทศทั่วโลก

นอกจากหลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรด้านนิติธรรมหลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในเอเชียของ Harvard Law School ที่มีสุดยอดคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลกในเครือข่ายของ IGLP แห่ง Harvard Law School มาให้ความรู้ด้วยเทคนิคการเรียนการสอนระดับโลกมีครบทั้งด้านวิชาการ แนวคิด และวิธีการใหม่ๆ แล้ว ประสบการณ์จากเครือข่ายซึ่งหาได้ยากจากโปรแกรมอื่นๆ ยังเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลักสูตรระยะสั้นนี้น่าสนใจ

สำหรับเนื้อหาสำคัญในหลักสูตรมุ่งเน้นทั้งในมิติของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิติธรรมและการพัฒนาทักษะในการจัดทำนโยบาย ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมในมิติต่างๆ ที่ให้ผู้อบรมสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการจัดทำร่างนโยบาย และเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาผ่านวิธีการเรียนใหม่ๆที่จะช่วยหาทางออกในประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจและสังคม

การกลับมาอีกครั้งของหลักสูตร TIJ Workshop for Emerging Leaders on The Rule of Law and Policy ในปีที่ 3 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-11 มกราคม 2562 จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปีนี้ที่ถือเป็นปีที่พิเศษ ที่จะมีใช้รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ ที่เรียกว่า “Problem Labs” เป็นเทคนิคการสร้างการเรียนรู้ การระดมสมอง อภิปรายใหม่ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การหาวิธีการที่ดีและรอบด้านที่สุด โดยเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ผลจาก Problem Labs จะถูกผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ โดย 6 ประเด็นสำคัญที่จะถูกหยิบยกเป็นโจทย์ในการระดมสมองใน Problem Labs ได้แก่

    1. ความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์และอาชญากรรม (Cyber Security & Crimes)
    2. เทคโนโลยีดิจิทัลและโอกาสใหม่ๆ (Digital Technology for New Opportunities)
    3. การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Access to Justice)
    4.การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion and Inequality)
    5. การต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption)
    6. การเสริมพลังผู้หญิง (Women’s Empowerment)
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(ซ้าย)และ Dr. David Kennedy ผู้อำนวยการจากสถาบัน IGLP แห่ง Harvard Law School (ขวา)

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ในฐานะผู้ริเริ่มหลักสูตรระดับโลกนี้ในประเทศไทย กล่าวว่า ความตั้งใจในการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมข้อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในมิติต่างๆจะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำหลักนิติธรรมไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้จริง และเป็นหนึ่งในความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

“ประเด็นหนึ่งที่สำคัญโดยเฉพาะกระบวนการจัดทำนโยบาย จะต้องสามารถสะท้อนภาพของบรรทัดฐานที่มีความแตกต่าง มาตรฐาน ความกังวลของผู้มีบทบาทในระดับโลก ไปจนถึงการเมืองท้องถิ่น และความต้องการของชุมชน และนั่นหมายความว่ายิ่งมีมุมมองที่หลากหลาย ก็จะยิ่งช่วยทำให้เวิร์กชอปนี้เป็นเหมือนแพลตฟอร์มให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อปลดล็อค และพยายามหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีการที่เหมาะสม คือ การเชื่อมโยงและการทำความเข้าใจ หลักนิติธรรมและกระบวนการจัดทำนโยบาย เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของเราต่อไป” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร TIJ Workshop for Emerging Leaders on The Rule of Law and Policy 2019 กำลังเปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครที่ https://tijforum.org ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยผู้ได้รับการคัดเลือกจาก TIJ และ IGLP จะมีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรและเครือข่ายผู้นำแห่งอนาคตด้านหลักนิติธรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย