ThaiPublica > เกาะกระแส > สถิติตั้งพรรคการเมืองใหม่ย้อนหลัง 20 ปี 257 พรรค กับการเลือกตั้ง 6 ครั้ง ไม่ถึงฝั่งฝัน ไร้เก้าอี้ในสภา

สถิติตั้งพรรคการเมืองใหม่ย้อนหลัง 20 ปี 257 พรรค กับการเลือกตั้ง 6 ครั้ง ไม่ถึงฝั่งฝัน ไร้เก้าอี้ในสภา

20 เมษายน 2018


99 คือตัวเลขของกลุ่มการเมือง ที่ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนพรรคแจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง( วันที่ 1 มีนาคม -18 เมษายน 2561) ตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ได้กำหนดเอาไว้

แต่กระนั้น ใช่ว่ากลุ่มการเมืองทั้ง 99 กลุ่ม จะกลายสภาพเป็นพรรคการเมืองได้ทั้งหมด เนื่องจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองได้ กำหนด “เงื่อนไข” อย่างเข้มข้นเพื่อให้พรรคการเมืองเป็นพรรคที่เข้มแข็งและเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างแท้จริง

นั่นหมายความว่า นับจากนี้เป็นต้นไปจำนวนการจัดตั้งพรรคการเมืองจะไม่มากเหมือนอย่างที่ผ่านมา

เมื่อย้อนสถิติการจัดตั้งพรรคการเมือง 20 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ใช้บังคับ พบว่า มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ถึง 257 พรรคดังนี้

ปี 2541 มีการจัดตั้งพรรคการเมือง 14 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย พรรคก้าวหน้า พรรคสันติภาพ พรรคศรัทธาประชาชน พรรคมหาราษฎร์ธิปัตย์ พรรคแรงงานไทย พรรคชาตินิยม พรรคชีวิตใหม่ พรรคพลังประชาชน พรรคเกษตรเสรี พรรคไทเป็นไท พรรคชาติประชาไทย พรรคประชารัฐ พรรคพลังมหาชน

ปี 2542 มี 16 พรรค คือ พรรคชาติสามัคคี พรรคอำนาจประชาชน พรรคเสรีไท พรรคกสิกรไทย พรรคไทยก้าวหน้า พรรควิถีไทย พรรคธัมมาธิปไตย พรรคสังคมใหม่ พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคสังคมไทย พรรคกฤษไทยมั่นคง พรรคชาวไทย พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคไทยช่วยไทย พรรคสยาม พรรคธรรมรัฐ

ปี 2543 มี 24 พรรค คือ พรรคเกษตรก้าวหน้า พรรคเพื่อฟ้าดิน พรรคสังคมประชาธิปไตย พรรครักชาติ พรรคเกษตรกร พรรคพลังใหม่ พรรคไทยพัฒนา พรรคพลังสามัคคี พรรคไทยมหารัฐ พรรคประชาสังคม พรรคชาวนาพัฒนาประเทศ พรรคแนวร่วมเกษตรกร พรรคพิทักษ์ไทย พรรคเผ่าไท พรรคถิ่นไทย พรรคนิติมหาชน พรรคพัฒนาสังคม พรรคพลังเกษตรกร พรรคไทยสามัคคี พรรคชาวไร่ชาวนาไทย พรรครักสามัคคี พรรคชาติเกษตรกรไทย พรรคพลังไทย พรรคสังคมประชาชน

ปี 2544 มี 4 พรรค พรรคพัฒนาไทย พรรคชาติประชาชน พรรคโบราณรักษ์ พรรคไทยรวมพลัง

ปี 2545 มี 11 พรรค คือ พรรครักษ์ถิ่นไทย พรรคนำไทย พรรคสังคมพัฒนา พรรคแผ่นดินไทย พรรคทางเลือกใหม่ พรรคความหวังใหม่ พรรคสร้างสรรค์ไทย พรรคไทยมหาชน พรรคไทยเสรี พรรคแก้ปัญหาชาติ พรรคเพื่อนเกษตรกรไทย

ปี 2546 มี 8 พรรค คือ พรรคเสรีธรรม พรรคธัมมาธิปไตย พรรคชาติประชาชน พรรคไทยพิทักษ์ไทย พรรคธรรมชาติไทย พรรคต้นตระกูลไทย พรรคพลังเสรีธรรม พรรคพัฒนาชาติไทย

ปี 2547 มี 12 พรรค คือพรรคสู้เพื่อไทย พรรคเสรี พรรครักษ์แผ่นดินไทย พรรคพลังเกษตรกร พรรครวมไทย พรรคประชาธรรม พรรคประชาชนไทย พรรครู้แจ้งเห็นจริง พรรคทางเลือกที่สาม พรรคแรงงาน พรรคพัฒนาสังคมไทย พรรคชาติพัฒนา

ปี 2548 มี 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคประชาชาติไทย

ปี 2549 มี 17 พรรค คือ พรรคประชาราช พรรคดำรงไทย พรรครวมพลังไทย พรรคสันติภาพไทย พรรคแรงงาน พรรคนิติศาสตร์ไทย พรรคพลังแผ่นดิน พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรครักเมืองไทย พรรคอาสามาตุภูมิ พรรคเสรีประชาไทย พรรคพลเมืองไทย พรรคเอกราช พรรคชาติสามัคคี พรรคสังคมไทย พรรคราษฎรรักไทย พรรคอยู่ดีมีสุข

ปี 2550 มี 33 พรรค คือ พรรคนำวิถี พรรคปวงประชาธรรม พรรคแนวสังคมประชาธิปไตย พรรคจงมีสยาม พรรคเสียงประชาชน พรรคสตรีเพื่อชาติ พรรคเพื่อไทย พรรครักษ์ไทย พรรคประชามติ พรรคอุดมรัฐ พรรคประชาชนก้าวหน้า พรรคไทยภูพาน พรรคดุลยภาพ พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคสหธรรม พรรคไทยร่ำรวย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคอธิปไตย พรรคสยามก้าวหน้า พรรคประชาชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคศิลปิน พรรคศรีสยาม พรรคภูมิพลังแผ่นดิน พรรคพัฒนาประชาธิปไตย พรรคสันติภาพชาวไทย พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน พรรคสยามสันติ พรรครักชาติ พรรครักษ์ชาติไทย พรรคคุณธรรม พรรคสังคมธิปไตย พรรคแทนคุณแผ่นดิน

ปี 2551 มี 13 พรรค คือ พรรคสาธารณชน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคอนาคตไทย พรรคเทียนแห่งธรรม พรรคอนุรักษ์นิยม พรรคธรรมาภิบาลสังคม พรรคสุวรรณภูมิ พรรคพลังไทย พรรคมาตุภูมิ พรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อประชาชน พรรคพอเพียง พรรคต้นตระกูลไทย

ปี 2552 มี 20 พรรค คือ พรรคเงินเดือนประชาชน พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคขัตติยะธรรม พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคแนวร่วมมาตุภูมิ พรรคพลังพัฒนา พรรคประชาธรรม พรรครวมไทยพัฒนา พรรคปวงชนชาวไทย พรรคการเมืองใหม่ พรรครัฐไทย พรรคคนไทยสามัคคี พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคภพไท พรรคสยามธรรมาธิปไตย พรรคพลังคนกีฬา พรรคประชาธิปไตย พรรคธรรมสังคม พรรคเทิดไทย พรรคแนวร่วมสังคมประชาธิปไตย

ปี 2553 มี 16 พรรค คือ พรรคนิติภูมิไทย พรรคเสรีนิยม พรรครักประเทศไทย พรรคไทยพอเพียง พรรคประชาสามัคคี พรรคเราเพื่อนกัน พรรคชาวนาไทย พรรคไทยเข้มแข็ง พรรคไทยทันทุน พรรคไทยมหารัฐพัฒนา พรรคไทยเพื่อไทย พรรคเพื่อธรรม พรรคไทยสร้างสรรค์ พรรคไทยเป็นสุข พรรคบำรุงเมือง พรรคพลานุภาพ

ปี 2554 มี 18 พรรค คือ พรรคคุ้มเกล้าไทย พรรคพลังมวลชน พรรคพลังสังคมไทย พรรคประชาชนชาวไทย พรรคอารยธรรม พรรครักแผ่นดิน พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรครักษ์สันติ พรรคเพื่อประชาชนไทย พรรคพลังชล พรรคพลังชาวนาไทย พรรคพลังแห่งธรรม พรรคสร้างไทย พรรคยางพาราไทย พรรคพลังสร้างสรรค์ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรครักชาวไทย พรรคแรงงานไทยสามัคคี

ปี 2555 มี 12 พรรค คือ พรรคสัจจานุภาพ พรรคพลังสหกรณ์ พรรครวมพลังใหม่ พรรคพลังท้องถิ่นไท พรรคอนุรักษ์สยาม พรรคไทยก้าวไกล พรรคพลังเครือข่ายประชาชน พรรคไทยรักชาติ พรรคถิ่นกาขาว พรรคชาติไทยก้าวหน้า พรรคชูชาติไทย พรรคพลังเศรษฐกิจไทย

ปี 2556 มี 27 พรรค คือ พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรคพลังอุดร พรรคพลังงานไทย พรรคเพื่อประชาธิปไตย พรรคเสียงประชาชน พรรคพัฒนาคุณภาพชีวิต พรรคไทยถาวร พรรครักไท พรรคชาติประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคเพื่อสันติ พรรคพลังประเทศไทย พรรคไทยรักธรรม พรรคเสรีรวมไทย พรรคอาสาสมัครไทย พรรครักษ์ธรรม พรรครวมพลังไทย พรรคเพื่อชาติ พรรคเพื่ออนาคต พรรคพลังไทยเครือข่าย พรรคชาติไทยสามัคคี พรรคพลังประชาธิปไตย พรรคภราดรภาพ พรรคพลังไทยรักชาติ พรรคเมืองไทยของเรา พรรคเพื่อชีวิตใหม่ พรรคเงินเดินประชาชน พรรคคนไทย

ปี 2557 มี 10 พรรค คือ พรรคปฏิรูปไทย พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย พรรครักท้องถิ่นไทย พรรคพลังเกษตรกรไทย พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย พรรคมหาประชาชน พรรคพลังพลเมือง พรรคเพื่อสหกรณ์ไทย พรรคเอกราชไทย พรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองจะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะ 2 ห้วงเวลา คือ หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังการรัฐประหาร และก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในแต่ละครั้ง

แต่ปรากฏว่า การเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง พรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมากกลับไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง หลายพรรคไม่มี ส.ส. ในสภาแม้แต่คนเดียว

เลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2544

มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครมาเป็นประวัติการณ์ถึง 43 พรรค แต่ในจำนวนนี้มีถึง 34 พรรคการเมืองที่ไม่ได้ ส.ส. แม้แต่เพียงเก้าอี้เดียว ประกอบด้วย พรรคประชากรไทย พรรคเกษตรมหาชน พรรคไทยมหารัฐ พรรคศรัทธาประชาชน พรรคชาวนาพัฒนาประเทศ พรรคพลังธรรม พรรคพลังเกษตรกร พรรครักสามัคคี พรรคไท พรรคก้าวหน้า พรรคแรงงานไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคสังคมใหม่ พรรคอำนาจประชาชน พรรคชาวไทย พรรคสันติภาพ พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคเอกภาพ พรรคกสิกรไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเผ่าไท พรรคเกษตรก้าวหน้า พรรคชาวไร่ชาวนาไทย พรรคไทยธรรมาธิปไตย พรรคไทยมั่นคง พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคพัฒนาสังคม พรรคไทยช่วยไทย พรรครวมสยาม พรรคประชาชน พรรคเกษตรเสรี พรรคพลังมหาชน พรรคสังคมไทย พรรคสหกรณ์ พรรคเกษตรกร พรรคพลังใหม่ พรรคแนวร่วมเกษตรกร พรรคพิทักษ์ไทย พรรคไทยสามัคคี พรรคชาติเกษตรกรไทย พรรคพลังไทย พรรคสังคมประชาไทย และพรรคชาติประชาไทย

ส่วน 9 พรรคการเมืองที่มีผู้สมัครได้รับเลือกตั้ง มีดังนี้ พรรคไทยรักไทย 247 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 163 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 40 ที่นั่ง พรรคความหวังใหม่ 36 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนา 31 ที่นั่ง พรรคเสรีธรรม 14 ที่นั่ง พรรคราษฎร 2 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 1 ที่นั่ง พรรคถิ่นไทย 1 ที่นั่ง

พรรครัฐบาล 337 ที่นั่ง โดยมีพรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม 14 ที่นั่ง เป็นพรรคร่วมรัฐบาล

ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน มี 163 ที่นั่ง คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติพัฒนา พรรคราษฎร พรรคถิ่นไทย และพรรคกิจสังคม

การเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548

มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครทั้งสิ้น 25 พรรค โดยมี 4 พรรคที่มีเสียงในสภา คือ พรรคไทยรักไทย 377 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 96 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 25 ที่นั่ง และพรรคมหาชน 2 ที่นั่ง คะแนนที่ทิ้งห่างของพรรคไทยรักไทย ทำให้รัฐบาลไทยรัฐไทย กลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียว

ส่วนพรรคการเมืองอื่นที่ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก 21 พรรคนั้นประกอบไปด้วย พรรคกิจสังคม พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคประชาชนไทย พรรคคนขอปลดหนี้ พรรคธรรมชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชากรไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยช่วยไทย พรรคแรงงาน พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคกสิกรไทย พรรคทางเลือกที่สาม พรรครักษ์ถิ่นไทย พรรคเกษตรกร พรรคพลังธรรม พรรคกฤษไทยมั่นคง พรรคเผ่าไท พรรครักษ์แผ่นดินไทย พรรคเกษตรกรไทย และพรรคพลังประชาชน

การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549

มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครทั้งสิ้น 18 พรรค ประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคเกษตรกรไทย พรรคพลังประชาชน พรรคประชากรไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคไทยช่วยไทย พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคธัมธิปไตย พรรคคนขอปลดหนี้ พรรคเพื่อนเกษตรไทย พรรคสยาม พรรคพลังธรรม พรรครักษ์แผ่นดินไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคกิจสังคม พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคกฤษไทยมั่นคง และพรรคกสิกรไทย

ขณะที่ 3 พรรคฝ่ายค้านเดิม คือ ประชาธิปัตย์ ชาติไทย และมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550

มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 44 พรรคการเมือง โดยมีเพียง 7 พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง คือ พรรคพลังประชาชน 233 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 165 เสียง พรรคชาติไทย 37 เสียง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 เสียง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 เสียง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 เสียง และพรรคประชาราช 5 เสียง

โดยพรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยทุกพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภา เว้นเพียงพรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียวที่เป็นฝ่ายค้าน

ขณะที่พรรคการเมืองที่ผู้สมัครไม่ได้รับเลือกตั้ง มี 36 พรรค ได้แก่ พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคไทเป็นไท พรรคเกษตรกรไทย พรรคประชามติ พรรครักเมืองไทย พรรคไทยร่ำรวย พรรคพลังเกษตรกร พรรคพลังแผ่นดิน พรรคพัฒนาประชาธิปไตย พรรคประชากรไทย พรรคคุณธรรม พรรคดำรงไทย พรรคพลังแผ่นดินไท พรรคชาติสามัคคี พรรคเอกราช พรรคนิติศาสตร์ไทย พรรคนำวิถี พรรคมหาชน พรรคกฤษไทยมั่นคง พรรคสยามสันติ พรรคสยาม พรรคเผ่าไท พรรคเสียงประชาชน พรรคอุดมรัฐ พรรคกสิกรไทย พรรคเพื่อนเกษตรไทย พรรคแนวสังคมประชาธิปไตย พรรคประชาชาติไทย พรรครักษ์ไทย พรรคสังคมไท พรรคศรีสยาม พรรคราษฎรรักไทย พรรคแรงงาน พรรคสังคมธิปไตย และพรรคอยู่ดีมีสุข

การเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครทั้งสิ้น 40 พรรค โดยมี 11 พรรคที่ได้ที่นั่งในสภา คือ พรรคเพื่อไทย 265 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 159 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 34 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 ที่นั่ง พรรคพลังชล 7 ที่นั่ง พรรครักประเทศไทย 4 ที่นั่ง พรรคมาตุภูมิ 2 ที่นั่ง พรรครักษ์สันติ 1 ที่นั่ง พรรคมหาชน 1 ที่นั่ง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง

โดยพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคมหาชน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชล

ขณะที่อีก 29 พรรคการเมือง ไม่มีที่นั่งในสภา คือ พรรคประชาธรรม พรรคดำรงไทย พรรคพลังมวลชน พรรคไทยพอเพียง พรรคไทยเป็นสุข พรรคกิจสังคม พรรคไทยเป็นไท พรรคแทนคุณแผ่นดิน พรรคเพื่อฟ้าดิน พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรคการเมืองใหม่ พรรคเสรีนิยม พรรคชาติสามัคคี พรรคบำรุงเมือง พรรคกสิกรไทย พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคพลังสังคมไทย พรรคเพื่อประชาชนไทย พรรคประชาชนชาวไทย พรรครักแผ่นดิน พรรคประชาสันติ พรรคความหวังใหม่ พรรคอาสามาตุภูมิ พรรคพลังคนกีฬา พรรคพลังชาวนา พรรคไทยสร้างสรรค์ พรรคเพื่อนเกษตรไทย พรรคมหารัฐพัฒนา

การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

มี 53 พรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ พรรคชาติพัฒนา พรรคถิ่นกาขาว พรรครักประเทศไทย พรรคเสรีนิยม พรรคสหกรณ์ประชาธิปไตย พรรคภูมิใจไทย พรรคภราดรภาพ พรรคพลังประชาธิปไตย พรรคเพื่อสันติ พรรคชาติสามัคคี พรรคพลังประเทศไทย พรรคประชาสามัคคี พรรคกสิกรไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคแทนคุณแผ่นดิน พรรคพลังเครือข่ายประชาชน พรรคครูเพื่อประชาชน พรรคไทยมหารัฐพัฒนา พรรคพลังไทยเครือข่าย พรรคยางพาราไทย พรรคดำรงไท พรรครักษ์สันติ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคชาติประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคเมืองไทยของเรา

พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรคพลังไทยรักชาติ พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรครักไท พรรคเสียงประชาชน พรรคคนขอปลดหนี้ พรรคประชาสันติ พรรคอาสาสมัครไทย พรรคเพื่อชีวิตใหม่ พรรคประชากรไทย พรรคสร้างไทย พรรคประชาธรรม พรรคเพื่อประชาชนไทย พรรคพัฒนาคุณภาพชีวิต พรรคพลังชล พรรคเพื่อประชาธิปไตย พรรคมาตุภูมิ พรรคชาติไทยสามัคคี พรรคประชาราษฎร์ พรรคธรรมาภิบาล พรรคเพื่อชาติ พรรคเพื่อธรรม พรรคพลังคนกีฬา พรรคเงินเดือนประชาชน พรรคมหาชน พรรคไทยรักธรรม พรรคเพื่อแผ่นดิน

แต่ทว่าการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวถูกกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ขัดขวางหน่วยเลือกตั้งในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานครและภาคใต้ เนื่องจากเห็นว่าต้องทีการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ นำไปสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญกำหนด

ข้อมูลข้างต้นได้สะท้อนแล้วว่า พรรคการเมืองใหม่จะสามารถ “แจ้งเกิด” ในการเลือกตั้งได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งพรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่ในรอบ 20 ปีถึง 257 ได้ล้มหายตายจากจนเหลือเพียง 69 พรรคในปัจจุบัน ซึ่งยังไม่นับกับการที่พรรคเดิมจะต้อง “แต่งตัวพรรค” ให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ที่วางกติกา “ไม่ง่าย” จนพรรคการเมืองเดิมบางพรรคถึงกับประกาศต่อหน้านายทะเบียนพรรคว่า “ถอดใจ” ขอ “ทิ้งหัวเดิม” ไปจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่จะง่ายกว่า

สนามเลือกตั้งครั้งหน้าน่าจะสะท้อนปรากฏการณ์ของสังคมหลังยุคคสช.!!