ThaiPublica > เกาะกระแส > เก่าไป ใหม่มา (ตอนที่ 2): นวัตกรรมกระจุกตัว ดึง “ศักยภาพ” เศรษฐกิจไทยโตไม่เต็มที่

เก่าไป ใหม่มา (ตอนที่ 2): นวัตกรรมกระจุกตัว ดึง “ศักยภาพ” เศรษฐกิจไทยโตไม่เต็มที่

5 ตุลาคม 2017


มื่อวันที่ 17 กันยายน 2560 ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) และนายทศพล อภัยทาน หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยด้านเศรษฐกิจจริง PIER ได้นำเสนอรายงานวิจัย “เก่าไป ใหม่มา นวัตกรรมสินค้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย” หรือ “Structural Transformation in Thailand: A Perspective Through Product Innovation” ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2560 “เศรษฐกิจ คิดใหม่” (BOT Symposium 2017: Innovating Thailand)

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2560 ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) และนายทศพล อภัยทาน หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยด้านเศรษฐกิจจริง PIER ได้นำเสนอรายงานวิจัย “เก่าไป ใหม่มา นวัตกรรมสินค้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย” หรือ “Structural Transformation in Thailand: A Perspective Through Product Innovation” ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2560 “เศรษฐกิจ คิดใหม่” (BOT Symposium 2017: Innovating Thailand)

จากตอนที่ 1 งานวิจัยได้พบว่าประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ระบุว่าประเทศไทยไม่ได้ขาด “นวัตกรรม” ตรงข้ามประเทศไทยได้ยกระดับความซับซ้อนของการผลิตทั้งในระดับประเทศและระดับสินค้า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเติบโตได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่มีระดับความซับซ้อนของเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน คำถามคืออะไรเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ?

รายงานวิจัยได้พบว่าประเทศมีการกระจุกตัวของบริษัทสูง โดยในระดับกว้างพบว่าแม้ว่าการส่งออกจะคิดเป็นกว่า 70% ของจีดีพี แต่ในแง่จำนวนบริษัทพบว่ามี “บริษัททำธุรกิจส่งออก” เพียง 5.7% จากจำนวนบริษัททั้งหมด 400,000 บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยในปี 2558 ยิ่งไปกว่านั้นหากดูเฉพาะบริษัทส่งออก 5% ของบริษัทส่งออกที่ใหญ่ที่สุดได้ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 88.3% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และหากดูเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตจะคิดเป็น 78.9% ของการส่งออกทั้งหมด อนึ่ง การกระจุกตัวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากตลอด 14 ปีทีผ่านมา กล่าวอีกอย่างหนึ่ง มีบริษัทส่งออกคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากจากบริษัททั้งหมดและในบรรดาบริษัทส่งออกก็มีเพียงหยิบมือที่ขับเคลื่อนการส่งออกของประเทศ

หากดูถึงความซับซ้อนของสินค้าที่บริษัทส่งออกเหล่านี้ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตั้งแต่ซับซ้อนน้อยไปจึงถึงมาก จะพบว่าในแง่จำนวน มีเพียง 14% ของบริษัทส่งออกทั้งหมดที่มีความซับซ้อนของสินค้าในระดับสูง (และเพียง 18% หากนับเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต) และในแง่ของมูลค่าการส่งออกกลับมีการกระจายตัวมากกว่า โดยบริษัทส่งออกสินค้าที่มีความซับซ้อนสูงที่สุดส่งออกคิดเป็นประมาณ 20% ของมูลค่า และบริษัทที่มีความซับซ้อนรองลงมาแต่ละกลุ่มส่งออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 40%, 20% และ 20% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม  หากนับเฉพาะบริษัทที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5% ของแต่ละกลุ่ม พบว่าบริษัทเหล่านี้ส่งออกคิดเป็น 79-92% ของมูลค่าส่งออกแต่ละกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นการกระจุกตัวของบริษัทส่งออกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และหากมองในแง่ของนวัตกรรม โดยดูจากการส่งออกสินค้าใหม่ๆในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาจะพบภาพที่คล้ายกัน

ขณะที่หากมองภาพกว้างในระดับจังหวัดจะพบปัญหาของการกระจายตัวของนวัตกรรม โดยพบว่าจังหวัดที่มีความซับซ้อนของสินค้าที่ผลิตจะมีระดับรายได้ต่อหัวและการเติบโตของรายได้ที่สูงกว่า ซึ่งสะท้อนปัญหาว่านอกจากจังหวัดที่มีความซับซ้อนของสินค้ามากกว่าจะมีรายได้ต่อหัวมากกว่าแล้ว จังหวัดเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้เร็วกว่าจังหวัดที่มีความซับซ้อนของสินค้าต่ำกว่า และสร้างช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้มากขึ้นและอีกด้านหนึ่งกลายเป็นแรงฉุด ไม่ใช่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

จากข้อมูล 20 ปีตั้งแต่ปี 2538-2558 ได้สะท้อนภาพดังกล่าวออกมาเช่นกัน เหตุผลที่ทำให้ภาพของ “2-ประเทศไทย หรือ Two-Thailand” เกิดขึ้น เนื่องจากความเหมือนหรือเชื่อมโยงกันของสินค้าในเชิงพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรม จังหวัดที่มีกลุ่มก้อนของบริษัทที่สูงกว่า ย่อมดึงดูดบริษัทใหม่ๆเข้ามา ขณะที่จังหวัดที่มีกลุ่มก้อนของบริษัทน้อยกว่าจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รายงายวิจัยยังได้แสดงให้ว่าอะไรที่กำหนดการเพิ่มประเภทการผลิตสินค้าและโอกาสในการอยู่รอดของสินค้า โดยพบว่าการเพิ่มสินค้าของบริษัท บริษัทที่ใหญ่กว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า และมีความซับซ้อนมากกว่ามีโอกาสที่จะเพิ่มสินค้ามากกว่าบริษัทอื่นๆ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ผลิตสินค้าและส่งออกหลายสินค้ากลับมีโอกาสที่จะเพิ่มสินค้าน้อยกว่า

นอกจากนี้ สินค้าที่มีบริษัทอื่นๆผลิตจำนวนมากมีโอกาสที่จะถูกเพิ่มเข้ามาในการผลิตในบริษัทหนึ่งๆมากกว่า แสดงให้เห็นว่าการมีบริษัทที่ผลิตสินค้าบางประเภทอยู่จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทอื่นๆผลิตสินค้านั้นได้ง่ายมากขึ้น สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงในระดับของบริษัทที่มีความสำคัญต่อการขยายการผลิตสินค้า

และเมื่อดูความสำคัญของความเชื่อมโยงระดับประเทศและภูมิภาค พบว่าความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคมีความสำคัญต่อการเพิ่มและการอยู่รอดของสินค้าเช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนว่าการตัดสินใจเพิ่มหรือลดสินค้าที่จะผลิตไม่ได้เป็นไปอย่างสุ่ม แต่มีเส้นทางที่ขึ้นอยู่ความรู้ที่ตนเองหรือภูมิภาครอบข้าง โดยยิ่งสินค้ามีความซับซ้อนมากเพียงใด ก็ยิ่งต้องการความเชื่อมโยงที่มากขึ้น

ขณะที่ในระดับประเทศ โอกาสที่จะย้ายการผลิตจากสินค้าเดิมๆไปยังสินค้าใหม่ๆขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงและความซับซ้อนของสินค้าที่ประเทศนั้นผลิต ตำแหน่งของประเทศใน product space เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสามารถของประเทศที่จะขยายการผลิตไปยังสินค้าใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อความซับซ้อนของประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆความสำคัญนี้กลับลดลง เนื่องจากประเทศมี “ปัจจัยพื้นฐาน” ทีสมบูรณ์มากขึ้นและรองรับการผลิตสินค้าได้หลากหลาย และทำให้มีความสามารถจะผลิตสินค้าที่ออกห่างจากความรู้ที่ประเทศมีได้ง่ายขึ้น

ดูพาวเวอร์พ้อนท์ประกอบที่นี่