ThaiPublica > Native Ad > บทความร่วมมือ > สังคมไทยไร้แร่ใยหิน (ตอนที่ 8) : อันตรายจากแร่ใยหิน ปัญหาใกล้ตัวในสังคมไทย

สังคมไทยไร้แร่ใยหิน (ตอนที่ 8) : อันตรายจากแร่ใยหิน ปัญหาใกล้ตัวในสังคมไทย

6 ตุลาคม 2014


คคส. ร่วมกับ Movies Matter จัดเทศกาลหนังเพื่อสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน อันตรายใกล้ตัวที่คนไทยหลายคนยังไม่รู้

แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับ Movies Matterจัดเทศกาลหนังเพื่อสุขภาพเรื่อง“Dust: The Great Asbestos Trial” ภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยเรื่องแร่ใยหินซึ่งเป็นคดีสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการเสวนาเรื่องมหันตภัยแร่ใยหิน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2557 ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ 2 สยามสแควร์

คุณยายวัยกว่า 80 ปีที่เห็นในภาพนี้คือ โรมานา บลาซ็อตตี พาเวซี ชาวเมืองคาซาเล มอนเฟอร์ราโต ประเทศอิตาลี ผู้สูญเสียทั้งสามี, น้องสาว, ลูกพี่ลูกน้อง, หลานชาย และลูกสาวของเธอเองให้แก่โรคเมโสเธลิโอมา(Mesothelioma - มะเร็งเยื่อหุ้มปอด) ซึ่งเกิดขึ้นจากการสูดดมและรับพิษของแร่ใยหิน (แอสเบสตอส) มาเป็นเวลานาน อันเนื่องจากเมืองของเธอนั้นเป็นที่ตั้งของ "อิเทอร์นิต" บริษัทและโรงงานแร่ใยหินยักษ์ใหญ่ของโลก ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/moviedomatter/photos/
คุณยายวัยกว่า 80 ปีที่เห็นในภาพนี้คือ โรมานา บลาซ็อตตี พาเวซี ชาวเมืองคาซาเล มอนเฟอร์ราโต ประเทศอิตาลี ผู้สูญเสียทั้งสามี, น้องสาว, ลูกพี่ลูกน้อง, หลานชาย และลูกสาวของเธอเองให้แก่โรคเมโสเธลิโอมา(Mesothelioma – มะเร็งเยื่อหุ้มปอด) ซึ่งเกิดขึ้นจากการสูดดมและรับพิษของแร่ใยหิน (แอสเบสตอส) มาเป็นเวลานาน อันเนื่องจากเมืองของเธอนั้นเป็นที่ตั้งของ “อิเทอร์นิต” บริษัทและโรงงานแร่ใยหินยักษ์ใหญ่ของโลก
ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/moviedomatter/photos/

ภาพยนตร์สารคดี Dust-The Great Asbestos Trial เขียนบทและกำกับโดย นิกโคโล บรูนา (Niccolo Bruna) และ อังเดร ปรานด์สตรอลเลอร์ (Andrea Prandstraller) ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับแร่ใยหิน ตั้งแต่การใช้แร่ใยหินที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน รัสเซีย ฯลฯ จนมีการผลิตแร่ใยหินเพิ่มมากขึ้นในโลก แต่จะเน้นกรณีการรับพิจารณาคดีของศาลครั้งแรกในเมืองตูริน (Turin) ประเทศอิตาลี เกี่ยวกับกรณีบริษัทข้ามชาติชื่อว่า “อิเทอร์นิต” (Eternit) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องของการเสียชีวิตของคนงานและชาวบ้านละแวกเมืองคาซาเล มอนเฟอร์ราโต (Casale Monferrato) เกือบ 30,000 ราย โดยใช้ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องของเหยื่อแร่ใยหินกว่า 800 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนของคนงานหลายสิบจากหลายพันคนที่ทำงานในโรงงานอิเทอร์นิตทั่วโลกมากกว่า 20 ปี ซึ่งไทยพับลิก้าได้นำเสนอไปแล้วใน DUST – The Great Asbestos Trial – การต่อสู้ของคนงานแร่ใยหินอิตาลี “คนที่นี่ตายกันก่อนอายุ 60 รึไง?”

นอกจากนี้ภายในงานยังฉายสารคดีสั้น “มหันตภัยแร่ใยหิน” โดยทีมสารคดีกลางเมือง และการเสวนาโดยมีร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคณะกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 2, รศ.ดร.พิชญา พรรคทองสุข ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนางสมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย โดยมีนางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล เป็นผู้ดําเนินรายการ

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์   แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, รศ.ดร.พิชญา พรรคทองสุข  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, นางสมบุญ  สีคำดอกแค   สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, นายแพทย์วิชัย  โชควิวัฒน  รองประธานคณะกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 2, นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล(จากซ้ายมาขวา) ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/moviedomatter/photos/pcb.1486611794928645/1486611688261989/?type=1&theater
รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์   แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, รศ.ดร.พิชญา พรรคทองสุข  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, นางสมบุญ  สีคำดอกแค   สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, นายแพทย์วิชัย  โชควิวัฒน  รองประธานคณะกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 2, นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล(จากซ้ายมาขวา)
ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/moviedomatter/photos/pcb.1486611794928645/1486611688261989/?type=1&theater

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพกล่าวว่า ประเทศไทยมีการผลักดันเพื่อยกเลิกการใช้แร่ใยหินมาตั้งแต่ปี 2549 และมีมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง มาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ในปี 2554 แต่ปัจจุบันผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้วการยกเลิกแร่ใยหินในประเทศไทยก็ยังไม่สำเร็จ

นอกจากนี้ยังกล่าวว่า แร่ใยหินที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแอมฟิโบล กับไครโซไทล์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกหรือแบนการใช้แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลหมดแล้ว อนุญาตให้ใช้ได้แต่ไครโซไทล์ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 แต่ในขณะนี้ก็ยังพบว่าแร่ใยหินแอมฟิโบลมีการใช้อยู่ในประเทศไทย

สำหรับการทำงานเรื่องการผลักดันยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยที่ผ่านมาก ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมก็ให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไปศึกษาว่าแร่ใยหินอันตรายหรือไม่ ก็มีข้อสรุปว่าอันตราย แต่ก็ยังไม่เชื่อมั่น จึงส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุขศึกษาอีกครั้ง ซึ่งจากการศึกษา 1 ปีก็มีข้อสรุปว่าแร่ใยหินอันตราย และปัจจุบันเรื่องนี้ได้กลับมาที่กระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งซึ่งก็หวังว่าจะไม่ต้องมาพิสูจน์กันอีกแล้วว่าแร่ใยหินอันตรายหรือไม่

ด้านรศ.ดร.พิชญา พรรคทองสุข ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่า แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยเฉพาะมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เพราะฉะนั้นในวันนี้ไม่ต้องมาเถียงกันแล้วว่าใยหินอันตรายหรือไม่ แต่สำหรับประเทศไทยที่พบผู้ป่วยน้อยราย นั่นเพราะ มะเร็งดังกล่าวมีระยะฟักตัวของโรคนานประมาณ 40 ปี ทั้งปีเมื่อตรวจสอบประวัติผู้ป่วยมะเร็งย้อนหลังจากทะเบียนมะเร็งในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ 10 ฐาน ก็จะพบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอด แต่ในอดีตวินิจฉัยไม่พบสาเหตุของโรค เพราะแพทย์ยังขาดความเชี่ยวชาญหรือขาดความรู้เรื่องแร่ใยหิน

“ประเทศไทยใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ โดยร้อยละ 90 คือกระเบื้องหลังคาและฝ้าเพดาน ร้อยละ 9 คือ เบรค คลัทซ์ ซึ่งปัจจุบันมีสารทดแทนแร่ใยหินได้หมดแล้ว เช่น ไวนิล เซลลูโลส เส้นใยอะรามิด(aramid) เป็นเส้นใยทดแทนแร่ใยหินที่ใช้ทำวัสดุมุงหลังคาซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กถึง 5 เท่าโดยน้ำหนัก ฯลฯ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพก็ควรหันมาใช้สารทดแทน อีกทั้งการรื้อถอนอาคารเพื่อกำจัดวัสดุแร่ใยหินเหล่านี้ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของเส้นใย ซึ่งประเทศไทยต้องจัดทำคู่มือการรื้อถอนที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับที่ประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียมีคู่มือรื้อถอน” รศ.ดร.พิชญากล่าว

นางสมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า แรงงานมีสายป่ายสั้น เวลาเสียชีวิตก็ไปจัดงานศพที่ต่างจังหวัด แล้วญาติๆ ก็ไม่ติดใจว่าจะเสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงาน หรือเวลาเจ็บป่วยแพทย์ที่วินิจฉัยโรคก็ไม่เพียงพอ หรือกรณีโรคเหตุแร่ใยหินแพทย์ที่เชี่ยวชาญก็มีน้อยและกระจุกตัวอยู่ในเมือง ดังนั้นที่ผ่านมาจึงเรียกร้องให้จัดตั้งคลินิกโรคจากการประกอบอาชีพขึ้นมาตลอดเพื่อแก้ปัญหานี้ นี่คือสาเหตุหนึ่งว่า ทำไมประเทศจึงพบผู้ป่วยเหตุแร่ใยหินน้อยราย

ร่วมรณรงค์งดนำเข้า และยกเลิกใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ได้ที่ www.change.org

อ่าน “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” เพิ่มเติม