ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > อุตสาหกรรมผลิตภาพยนต์กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมผลิตภาพยนต์กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

29 พฤษภาคม 2014


ปัจจุบันหลายบริษัทหันมาสนใจนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน และทำธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น (Corporate Social Responsibility: CSR) ซึ่งหมายถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท ส่วนมากแล้วจะเห็นการทำงานของบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ก็มีอีกธุรกิจหนึ่งที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมไม่แพ้กัน นั่นคือธุรกิจการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์

กระแสปัญหา “โลกร้อน” ที่กำลังมาแรงส่งผลให้เกิดตัวอย่างหนังเพื่อความยั่งยืน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น The Amazing Spider-Man 2 (2014)ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโซนีที่เพิ่งเข้าฉายมาได้ไม่นาน ถือเป็นหนังฮอลลีวูดที่เป็นมิตร รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เนื่องจากมีการลดปริมาณขยะ ในการสร้างฉากภาพยนตร์ ก็ใช้อุปกรณ์เช่ายืม เช่น ไม้ เหล็ก และเศษแก้วที่มาจากการรีไซเคิลมากกว่า 490 ตัน หลังจากการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็บริจาคหรือนำกลับมาใช้ใหม่

ทีมาภาพ : http://img.gawkerassets.com/img/19deqnq2qf9e8jpg/original.jpg
ทีมาภาพ : http://img.gawkerassets.com/img/19deqnq2qf9e8jpg/original.jpg

มีการบริจาคอาหารให้บ้านพักรับรองของคนในท้องถิ่น 5,861 ราย ใช้ผลิตภัณฑ์สะอาด มีการใช้หิมะปลอมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหิมะนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบสามารถย่อยสลายได้ แทนการใช้หิมะปลอมที่มีส่วนประกอบจากน้ำมันและสารเคมี มีการใช้ขวดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (ประหยัดขวดน้ำไป 193,000 ขวด) การทำความสะอาดเสื้อผ้านักแสดงใช้ผงซักฟอกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีคราบน้ำมันและเชื้อเพลิงติดอยู่ในกรณีเสื้อผ้าของตัวแสดงแทนในฉากอุบัติเหตุ

โซนี่พิกเจอร์ยังมีส่วนร่วมกับโครงการ Earth Hour ซึ่งเป็นโครงการที่ลดการใช้ไฟของโลกเพื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยใช้สไปเดอร์แมนเป็นทูตเพื่อรณรงค์ประเด็นนี้ และถือเป็นซูเปอร์ฮีโร่คนแรกที่ได้เป็นทูตของโครงการ Earth Hour การรณรงค์นี้เกิดขึ้นเพื่อระดมทุนและกระตุ้นให้ประชาชนทั่วโลกเข้าร่วมในโครงการ นอกจากการรณรงค์ลดการใช้ไฟแล้ว สร้างเกมและทวิตเตอร์สำหรับเป็นเครื่องมือสื่อสารกับแฟนคลับของสไปเดอร์แมนเกี่ยวกับความยั่งยืนอีกอีกด้วย

“ความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการสร้างหนัง เพราะอุตสาหกรรมบันเทิงคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลมากในสังคม” เอมิลี โอเบรียน ผู้จัดภาพยนตร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกล่าว

นอกจากบริษัทโซนีแล้ว บริษัทค่ายหนังใหญ่อื่นๆ ก็มีการทำโครงการความยั่งยืนเช่นกัน ซึ่งผลที่ได้ก็เป็นที่น่าประทับใจ เช่น ดิสนีย์มีนโยบายสร้างหนังอย่างยั่งยืนทุกเรื่องนับตั้งแต่ปี 2010 เดอะโมชันพิกเจอร์ของสหรัฐฯ (The Motion Picture Association of America) และพนักงานสามารถลดขยะได้มากกว่า 73.4% ในปีที่แล้ว

การออกแบบอาคารเพื่อการผลิตก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน บริษัท ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ได้รับใบรับรองคุณภาพจาก LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) หรือระบบการให้คะแนนเพื่อประเมินระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง แสดงให้เห็นถึงอาคารที่มีการใช้ระบบไฟประสิทธิภาพสูง ใช้พลังงานลมเป็นหลักคิดเป็น 70% ของตึก และสิ่งที่เหลือจากการก่อสร้าง 84% นำไปใช้ใหม่และรีไซเคิลด้วย

ตึกของทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
ตึกของทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์

Building 105 LEED Seal_cropped (1)

ตัวชี้วัดก็มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์แห่งบริเตน หรือรางวัลบาฟต้า (BAFTA) มีโปรแกรมอัลเบิร์ต ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับคำนวนออนไลน์ว่ารายการทีวีหรือภาพยนตร์ต่างๆ นั้นผลิตคาร์บอนที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด โปรแกรมนี้สามารถคำนวณได้ว่าแก๊สเรือนกระจกถูกส่งออกไปที่ชั้นบรรยากาศเท่าใดซึ่งทำมาแล้วมากกว่า 1,000 บริษัทตั้งแต่ปี 2012 การทำงานเช่นนี้ช่วยกระตุ้นให้เหล่าผู้ถือหุ้นสนใจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด

ตัวอย่างเช่น ซีรีส์เรื่องดังของช่องบีบีซี เรื่อง Jonathan Creek ก็มีการใช้คลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร แทนการใช้ดีวีดีในการเก็บข้อมูล เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดขยะ

ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนของบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่ตัวบริษัทเองอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบริษัทซัพพลายเออร์ต่างๆ ด้วย เช่น บริษัทรับจัดแสงไฟ บริษัท Firefly และ Midas ใช้นวัตกรรมผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ บริษัทจัดเลี้ยงอาหาร Squid and Pear บริการอาหารจัดเลี้ยงแบบยั่งยืนและมีคุณค่าทางอาหาร อย่างเช่น บริษัท Firefly และ Midas และบริษัท Dres’d ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับซื้อและขายสินค้าที่ได้จากฉากภาพยนตร์

เมื่อมองภาพกระบวนการการสร้างรายการทีวีและภาพยนตร์แล้วพบว่า ต่างก็ใช้เทคโนโลยีและวิธีการต่างๆ เพื่อความยั่งยืน แต่เหตุใดจึงไม่ค่อยเห็นภาพหรือเนื้อหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในหนังและในจอทีวี ทั้งที่ขั้นตอนการผลิตรายการทีวีและหนังมีการดำเนินงานแบบยั่งยืน วงการบันเทิงขาดมือเขียนบทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่

มีตัวอย่างสารคดี หนัง และการ์ตูนสำหรับเด็ก เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นความยั่งยืนนี้ แต่เนื้อหาสำคัญยังไม่ปรากฏในหนังทุนใหญ่และตัวละครที่สำคัญ รวมถึงรายการทีวีดังๆ ในการแสดงพฤติกรรมง่ายๆ ของการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างการรีไซเคิล การประหยัดน้ำ และการซื้อสินค้ายั่งยืน

ในสหรัฐอเมริกา องค์กร Environmental Media Association: EMA ได้มอบรางวัลแก่หนังและรายการทีวีที่มีการให้ความสำคัญต่อประเด็นความยั่งยืนตั้งแต่ปี 1989 ตัวอย่างหนังที่ได้รับรางวัลชื่อดัง ได้แก่ Avatar (2010) และ The Day After Tomorrow (2004) ส่วนสารคดีที่ได้รับรางวัลชื่อดัง ได้แก่ Tie – Food Inc. and The Cove (2008) An Inconvenient Truth (2005) และ The Corporation (2003) สามารถดูรายชื่อหนัง สารคดี และละครที่ได้รับรางวัลได้ที่ EMA Awards

ในประเทศอังกฤษมีการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้และเข้าใจในประเด็นที่ซับซ้อนและสำคัญมาหลายปีแล้ว เช่น ความเข้าใจในโรคเอดส์ การคุกคาม การล่วงละเมิดสิทธิเด็ก และการถ่ายรูปโป๊เปลือย แต่มีส่วนน้อยที่พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่มีละครของบีบีซีเรื่องหนึ่ง คือ The Archersเป็นการพูดถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในอังกฤษเมื่อปีที่แล้วและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต แต่ก็ยังถือเป็นการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมที่น้อยมาก

คำถามที่เกิดขึ้นคือ โลกกำลังขาดคนเขียนบทประเด็นสิ่งแวดล้อมนี้ในรายการทีวีและหนังดังใช่หรือไม่? หรือมันเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้สร้างหนังจะขาดแรงผลักดันและความกล้าหาญที่จะบอกเล่าแก่ผู้ชม ซึ่งสาเหตุที่ขาดนั้นมาจากหลายปัจจัย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสาเหตุจากการเงินที่จะเข้ามาสนับสนุนและผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสำคัญ

แต่ความจริงก็คือว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว และเราก็อยู่ในสถานะที่จะติดสินใจทำหรือไม่ทำในแต่ละวัน จากการใช้สินค้าและสินค้าที่เราซื้อ การท่องเที่ยว และทุกๆ เรื่องในชีวิตของเรา

ที่มาข้อมูล

http://www.theguardian.com/sustainable-business/blog/climate-change-cinema-tv-screens
http://www.sustainablebrands.com/news_and_views/organizational_change/aarthi_rayapura/amazing_spiderman_2_great_power_comes_great_env
http://www.ema-online.org/ema-awards-recipients
http://www.bbc.co.uk/ariel/22689866
http://www.sony.net/SonyInfo/IR/financial/ar/2013/shr/pdf/AnnualReport_E.pdf

http://gei.21cf.com/what/2014/02/new-leed-certified-feature-edi.html