โปรเฟสเซอร์ คีชอร์ มาห์บูบานี คณบดีผู้ก่อตั้ง Lee Kuan Yew School of Public Policy แห่ง National University of Singapore และอดีตเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ประจำสหประชาชาติ ได้เขียนหนังสือ The Asian 21Century จากมุมมองในฐานะผู้สังเกตการณ์ระดับนานาชาติ ที่รอบรู้ครอบคลุมและเชิงลึกเกี่ยวกับพลวัตและความท้าทายระดับโลก โดยชี้ถึงบทบาทที่โดดเด่นของประเทศในเอเชียในศตวรรษ 21 เนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและจำนวนประชากรที่อายุน้อย
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เอเชียมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ รากฐานจากธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญในเศรษฐกิจเอเชียและเศรษฐกิจโลกมาเป็นเวลานาน
ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งขึ้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้ก่อตั้งบริษัทเหล่านี้เป็นผู้บุกเบิก โดยยอมเป็นผู้รับความเสี่ยง เพื่อทำให้กิจการครอบครัวเติบโตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และทำให้ประเทศก้าวหน้า จากการก้าวสู่บริษัทขนาดใหญ่ในภูมิภาคและระดับโลก
ในปัจจุบัน แม้ผู้ก่อตั้งธุรกิจเหล่านี้มักจะมีบทบาทในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ที่คอยดูแลกิจการ แต่ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากเหล่านี้ ตอนนี้นำโดยรุ่นที่สอง และกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่รุ่นที่สาม
ยูโอบี ธนาคารชั้นนำในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน มีรากฐานจากธุรกิจครอบครัวเช่นเดียวกัน โดยเริ่มดำเนินธุรกิจธนาคารมาตั้งแต่ปี 1935 จากการที่ วี เคง เชียง (Wee Kheng Chiang) เป็นผู้นำในการก่อตั้งร่วมกับกลุ่มนักธุรกิจรวม 7 คน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่(The Great Depression) เพื่อรองรับกลุ่มการค้าในประเทศสิงคโปร์
ตลอด 88 ปี แห่งความเป็นผู้ประกอบการที่เริ่มจากธุรกิจครอบครัว ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าในระยะยาว ทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกค้า ธนาคารยูโอบีที่ผ่านการส่งต่อธุรกิจจนอยู่ในมือรุ่นที่สาม ตระหนักและให้ความสำคัญของความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัว จึงได้ริเริ่มโครงการ Business Circle เพื่อสนับสนุนการเติบโตของทายาทรุ่นใหม่ของธุรกิจครอบครัวและสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งต่อเนื่อง
เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการ Business Circle เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนเจ้าของและทายาทรุ่นใหม่ สานต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและขยายตลาดสู่การเติบโตทั่วภูมิภาคอาเซียนภายใต้แนวคิด “Asean Next: Securing Future of Businesses” หลังจากที่โครงการ Business Circle ประสบความสำเร็จในสิงคโปร์
โดยมีนายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ นางอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย นาย เอริก เหลียน Head of Group Commercial Banking ระดับภูมิภาค นางโรซาลีน ลี Head of Enterprise Banking ร่วมให้ข้อมูล
จากรากฐานธุรกิจครอบครัวสู่ Business Circle เชื่อมเครือข่ายเชื่อมธุรกิจ
นาย เอริก เหลียน กล่าวว่า ยูโอบีทำธุรกิจมาครบรอบ 88 ปีในปีนี้ นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1935 โดย วี เคง เชียง ปู่ของ นายวี อี ชอง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี คนปัจจุบัน ซึ่งได้ส่งต่อมายังรุ่นพ่อ ก่อนที่จะมาถึงรุ่นปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของธนาคาร นอกจากจะมีการบริหารแบบมืออาชีพแล้ว ยังมีรากฐานของธุรกิจครอบครัวที่ฝังลึก ส่งต่อ DNA ครอบครัวมารุ่นต่อรุ่น “จึงมีความเข้าใจผู้นำแต่ละรุ่นอย่างดี”
“ยูโอบีมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปณิธานในการดำเนินธุรกิจครอบครัว เนื่องจากว่า ยูโอบี กรุ๊ป เติบโตจากรากฐานของผู้ประกอบการที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น กลุ่มยูโอบีในปัจจุบันบริหารงานโดยตระกูลวี (Wee Family) รุ่นที่สาม ดังนั้นจึงเป็นธนาคารของธุรกิจครอบครัว ที่เข้าใจถึงการดำเนินธุรกิจของ SME เพราะการสืบทอดต่อจากรุ่นสู่รุ่นมีความสำคัญ”
นายเอริกกล่าวว่า โดยทั่วไปมักจะบอกกันว่า ธุรกิจ SME ในรุ่นที่สามจะประสบปัญหาในการเติบโต ให้มากขึ้นให้ใหญ่ขึ้น ยูโอบีมี DNA ธุรกิจครอบครัวเช่นกัน เข้าใจและสามารถช่วยลูกค้าได้ ประกอบกับยูโอบีมีฐานธุรกิจยาวนาน ครอบคลุมทั่วอาเซียน บางประเทศเฉพาะในไทยจะครบ 25 ปีในปีหน้า ยูโอบีจึงมุ่งเน้นธุรกิจในภูมิภาคระยะยาว มีส่วนร่วมทั้งต่อสังคม ต่อประเทศ
ยูโอบี ต้องการที่จะเป็น One Bank of ASEAN ที่เชื่อมต่อกับธุรกิจกับอาเซียนและภายในอาเซียน เนื่องจากอาเซียนมีศักยภาพสูง โดยการค้าระหว่างอาเซียนด้วยกันเอง มีมูลค่าสูงถึง 650 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนแผ่นดินใหญ่ก็สูงถึง 650 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีพลวัตรด้วยประชากรรวมกันราว 650 ล้านคน ส่วนใหญ่ยังเป็นคนหนุ่มสาว มีความหลากหลาย แต่มีเอกลักษณ์ด้วยจุดแข็งทางเศรษฐกิจ ซึ่งเปิดโอกาสให้มากมาย
อาเซียนยังมีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านต้นทุน แรงงานวัยรุ่น และที่สำคัญมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ ผู้นำธุรกิจควรมองพิจารณาหาพันธมิตรทางธุรกิจ จากการที่ประสิทธิภาพและมีความสามารถ เพื่อขยายธุรกิจ เพื่อสร้างอนาคตของอาเซียน
“ที่สำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของอาเซียน มีสัดส่วนถึง 90% ในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน ยูโอบีจึงวางตำแหน่งเป็น One Bank for ASEAN เพื่อให้ประชาชนและธุรกิจ เชื่อมโยงกับอาเซียนและภายในอาเซียน” นายเอริกกล่าว
ธนาคารยูโอบีมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและมีสำนักงานมากกว่า 500 แห่งทั่วโลก ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมโยงธุรกิจและค้นหาโอกาสทั่วทั้งภูมิภาคได้ และการเชื่อมโยงถือเป็นจุดแข็งหลักข้อหนึ่งธนาคาร และด้วยเหตุนี้ จึงก่อตั้ง Business Circle ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาส และเป็นเวทีให้ SME รุ่นต่อไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจและสร้างธุรกิจด้วยตนเอง
นายเอริกกล่าวว่า Business Circle เปิดตัวครั้งแรกที่ สิงคโปร์ในปี 2562 ด้วยเป้าประสงค์ที่จะเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ของอาเซียน ให้เป็นเครือข่าย ที่สร้างโอกาสในการเติบโต เตรียมพร้อม สำหรับเศรษฐกิจในอนาคต และด้วยโครงการ Business Circle นี้ก็เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ ทายาทธุรกิจรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาว ได้เข้าร่วมเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนรู้จากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว รวมทั้งจากการสัมมนา และการจัดให้มีการเดินทางไปดูงานในต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นในประเทศอาเซียน
แม้จะเปิดตัวในช่วงการระบาดของโควิด แต่เครือข่ายที่เชื่อมโยงใน Business Circle ก็ขยายใหญ่ขึ้น มีสมาชิกกว่า 1,000 คนแล้วทั่วทั้งภูมิภาค และหวังว่า Business Circle จะยังคงเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง ส่งต่อ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างโอกาส ในการสร้างเครือข่าย แบ่งปัน และเรียนรู้จากกันและกัน และที่สำคัญเป็นการสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว
ยูโอบีมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามาตั้งแต่ก่อตั้ง ลูกค้าบางรายใช้บริการธนาคาร แบบรุ่นกับรุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่รุ่นหนึ่ง มารุ่นสอง มีการเชื่อมต่อกับลูกค้า จึงสามารถที่จะขยายเครือข่ายลูกค้าได้อย่างดี ไม่เพียงในแวดวงภาคการเงินเท่านั้น แต่ในภาคอื่นๆด้วย ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆระหว่างกันของธุรกิจครอบครัวอีกด้วย
นายเอริกกล่าวว่า เมื่อมองไปที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน อาเซียน จะเห็นได้ว่าก็มีปัญหาอยู่บ้าง และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม อาเซียนมีประชากร 650 ล้านคน จีนมีประชากรกว่าพันล้านคน เงินลงทุนโดยตรงที่ไหลเข้าอาเซียนสูงถึง 500 พันล้านเหรียญสหรัฐ อาเซียนในฐานะกลุ่มเศรษฐกิจ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลก และยังเติบโตด้วยธุรกิจครอบครัวระดับประเทศ ทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย อาเซียนมีการพัฒนาต่อเนื่อง ขณะที่โลกเจอความท้าทาย อาเซียนกลับเติบโตสูงที่สุดในโลก ยูโอบีก็อยู่ในสถานะที่ดีที่จะช่วยสนับสนุน จึงต้องการที่จะใช้โอกาสนี้สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น และหวังว่า ในทายาทธุรกิจรุ่นที่สองนี้ จะช่วยให้มีการเชื่อมต่อเพื่อการเติบโตขึ้นไปอีก ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและมีความยั่งยืน
เครือข่ายรุ่นเดียวกันข้ามประเทศ
นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยราว 57% เป็นธุรกิจครอบครัว และมีมูลค่าตลาด(Market Capitalization)รวมกันสูงถึง 43% ของมูลค่าตลาดรวม และธุรกิจเหล่านี้มีส่วนในการจ้างงาน พัฒนาสังคมของประเทศ
จากการสำรวจของยูโอบีใน UOB Business Outlook Study 2023 พบว่า ธุรกิจ SME ในอาเซียนต้องการที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดย 9 ใน 10 ของผู้บริหาร ให้ความสนใจกับการมองหาโอกาสขยายธุรกิจไปต่างประเทศภายในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเหตุผลหลัก คือ เพื่อเพิ่มรายได้ แสวงหากำไร และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีทั้งในระดับนานาชาติและภูมิภาคให้แก่องค์กร ซึ่งตลาดที่ต้องการขยายไปได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย รวมถึงจีน และยังพบว่า 1 ใน 3 สนใจที่จะขยายธุรกิจไปนอกภูมิภาคเอเชียอีกด้วย แต่ก็มีความท้าทาย เนื่องจากไม่สามารถแสวงหาพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดความรู้ทางกฎหมาย กฎระเบียบ และภาษี ซึ่งยูโอบีอยู่ในสถานะที่ดี(well-positioned)ที่จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจได้
ยูโอบีเป็นธนาคารใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเครือข่ายทั่วอาเซียนและจีนที่สนับสนุนลูกค้าได้ โดยมี global relationship management framework ที่ช่วยสนับสนุนกิจการด้วยความเชี่ยวชาญในระดับโลก ตลอดจนยังมีบริการ Foreign Direct Investment Advisory Unit ที่ให้คำปรึกษาแนะนำในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎระเบียบ กฎหมาย ด้านบัญชี ในแต่ละประเทศอาเซียน โดยมีทีมคอยให้บริการใน 10 ประเทศอาเซียน
ในปี 2563 ในการทดลองโครงการ Business Circle อย่างไม่เป็นทางการในไทย ได้นำธุรกิจไทย 7 รายเข้าร่วมงานเทคโนโลยีที่อิสราเอล ซึ่งมีธุรกิจไทย 3 รายได้จับคู่กับธุรกิจสตาร์ตอัพภายในงาน ในปี 2565 มีการจัดกิจกรรมเน็ตเวิร์กกิ้งไปแล้ว 2 ครั้งในสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจสิงคโปร์ได้พันธมิตรธุรกิจไทยในภาคการเกษตร อีกทั้งยังช่วยลูกค้าไทยให้ขยายธุรกิจไปอินโดนีเซีย
“ธนาคารเข้าใจถึงความมุ่งมั่นของทายาทรุ่นใหม่ที่ต้องการให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตไปข้างหน้า เพราะธนาคารยูโอบีเติบโตมาจากรากฐานของการเป็นผู้ประกอบการและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น โครงการ Business Circle ในประเทศไทยถือเป็นการนำความเชี่ยวชาญของธนาคารในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค ที่มีรากฐานที่หยั่งลึกในประเทศไทยมาสนับสนุนธุรกิจ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดอุปสรรคและเติมเต็มความต้องการทางธุรกิจให้แก่ลูกค้าของเราที่ต้องการเติบโตทั้งในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้าน ธนาคารพร้อมจะอยู่เคียงข้างธุรกิจในทุกๆ ก้าวของการเดินทางเพื่อผลักดันให้เกิดการขยายธุรกิจไปข้างหน้า”
นายตัน ชุน ฮิน กล่าวว่า มีคำพูดของคนจีนที่ว่า แค่เริ่มลงมือทำธุรกิจก็ยากแล้ว การที่จะทำให้สำเร็จหรือส่งต่อก็ยิ่งยากขึ้น การที่จะหาโอกาสใหม่ๆเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง โครงการ Business Circle จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ช่วยให้รู้ว่า มีใครทำอะไรใหม่ มีการแลกเปลี่ยน นอกเหนือจากการเรียนรู้การทำธุรกิจจริง
โครงการ Business Circle ไม่จำกัดประเภทธุรกิจที่จะเข้าร่วม เพียงแต่ต้องเป็นธุรกิจครอบครัว ที่สำคัญมีความตั้งใจที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ
สิ่งที่ธนาคารทำ คือ สร้างระบบนิเวศให้ทายาทรุ่นใหม่ ให้พบปะและเป็นเครือข่ายในรุ่นเดียวกันจากธุรกิจที่หลากหลายกันจากหลายประเทศ เพราะธุรกิจปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่รับต่อมาเท่านั้น แต่ต้องรู้ว่าอะไรที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในระยะต่อไป ยูโอบีจึงได้ลงทุนพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อให้มีการเชื่อต่อกันง่ายขึ้น รวมทั้งการเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นอยู่ในกระบวนการการทำธุรกิจ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคีัญที่ทายาทธุรกิจรุ่นสองสามารถที่จะแบ่งปันวิธีแหรือแนวทางการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนได้
นายตัน ชุน ฮิน กล่าวว่า อาเซียนที่มีประชากร 650 ล้านคนและเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง ธุรกิจ SME หลายรายกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ก็เชื่อว่าอาเซียนจะมีความเจริญรุ่งเรือง
Asean Next สร้างอนาคตด้วย 3 ด้านหลัก
นางอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่เปิดตัว โครงการ Business Circle มีสมาชิกร่วม 1,000 ราย ในปีนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากสิงคโปร์ให้เปิดตัว โครงการ Business Circle ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศที่สองตามสิงคโปร์ ส่วนปีหน้าจะเปิดตัวที่ มาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเชื่อมต่อทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ภายในภูมิภาคอาเซียนไปสู่การสร้างเครือข่ายและขยายโอกาสทางธุรกิจ
โครงการ Business Circle จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการสร้างคอนเนคชันกับสมาชิกข้ามอุตสาหกรรม ข้ามพรมแดน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกด้วยกันในทุกประเทศหลักที่ธนาคารยูโอบีดำเนินธุรกิจ
“โครงการ Business Circle เป็นการผลักดันทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ผ่านการสร้างเครือข่ายที่ไม่เฉพาะในไทย แต่เป็นการสร้างเครือข่ายครอบคลุมในประเทศต่างๆที่ยูโอบีมีสาขา โดยประเทศหลักได้แก่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน การที่เรามีสาขาที่ดำเนินการในประเทศเหล่านี้อย่างมั่นคงมาหลายปี ทำให้มีกลุ่มลูกค้าอยู่แล้ว ฉะนั้นการสร้างเครือข่าย ทำให้เกิดเครือข่ายที่กว้างขวางและสามารถที่จะรวบรวม ทายาทธุรกิจใหม่ทั้งของในไทยและเครือข่ายของอาเซียนเองได้ดี”
โครงการ Business Circle ในปีนี้มีขึ้นในแนวคิด Asean Next เพราะภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่เติบโตต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางภูมิภาค แต่อาเซียนยังขยายตัว ผลกระทบทางลบต่ออาเซียนน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ดังนั้นจึงเน้นไปที่ก้าวต่อไปของอาเซียน
นางอัมพร กล่าวว่า โครงการ Business Circle ขับเคลื่อนด้วยสามหัวข้อหลักที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า ได้แก่
การเชื่อมโยง (Connectivity) ทั้งการเชื่อมโยงในอาเซียนและนอกอาเซียน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆผู้ประกอบการต้องอยู่รอด
การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digitalisation) แพล็ตฟอร์มเข้ามาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนพื้นฐานธุรกิจของหลายอุตสาหกรรม หลายธุรกิจต้องปิดตัวในช่วงการระบาดของธุรกิจ ดังนั้นจะช่วยให้ทายาทธุรกิจนำเทคโนโลยีไปใช้ในองค์กร ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น
ความยั่งยืน (Sustainability) สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรม ทักษะในการบริหารองค์กร และแนวคิดในการดำเนินธุรกิจจากผู้บริหารและผู้ประกอบการชั้นนำที่ประสบความสำเร็จ เติบโตอย่างยั่งยืน
ในด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งที่ยูโอบีให้ความสำคัญมาตลอด ก็กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ลูกค้า SME ที่ดำเนินธุรกิจด้วยหลักความยั่งยืน ทั้ง SDG, ESG ได้ประเมินถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กรเป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีโอกาสในการขอสินเชื่อยั่งยืนหรือ green finance ได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการไทยที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมจาก Singapore Management Uniersity ที่จะจัดห้องเรียน การสัมมนา ตามแนวคิดของปี รวมทั้งรับฟังและการแบ่งปันความรู้จากตัวแทนในหลายอุตสาหกรรม ตลอดจนไปเยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสมาชิกที่ได้เข้าร่วมโครงการ
นางอัมพรเชื่อว่าโครงการ Business Circle จะตอบโจทย์เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาได้เห็นลูกค้า ทายาทธุรกิจรุ่นสองและรุ่นสาม เริ่มเข้ามา และอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของธุรกิจในประเทศไทย ที่รุุ่นพ่อแม่ส่งต่อองค์ความรู้ ส่งต่อความมั่งคั่งมายังรุ่นปัจจุบันโดยไม่สะดุด
เป้าหมายของ โครงการ Business Circle ในไทยจะมีสมาชิกเพิ่มเป็น 200 รายภายใน 3 ปี จากปัจจุบัน 65 ราย ที่ได้จากการเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่คาดว่าปิมาณธุรกิจจะโตไม่ต่ำกว่า 30%
“เราอยากจะเห็นการทำธุรกรรมข้ามประเทศมากขึ้น ธุรกิจรายใหญ่ได้มีการทำธุรกรรมข้ามแดนไปเยอะมากแล้ว ธุรกิจขนาดกลางและขนาย่อมเองก็ต้องการขยายไปต่างประเทศ แต่มีหลายเรื่อง เช่น จะเลือกพันธมิตรทางธุรกิจอย่างไร มีอะไรที่ต้องเตรียมตัวต้องศึกษา ซึ่ง Business Circle จะให้คำตอบ”
โครงการ Business Circle เป็น community ที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวมาเจอกัน ซึ่งเมื่อเจอกันแล้ว ไม่เพียงเกิดธุรกิจกับธุรกิจหลักที่สร้างมาตั้งแต่รุ่นหนึ่งเท่านั้น แต่เกิดธุรกิจใหม่ระหว่างกันในรุ่นของทายาทธุรกิจกลุ่มนี้เช่นกัน จากแนวคิดใหม่ๆที่ได้จากการเแลกเปลี่ยน ดังนั้นโอกาสที่เกิดขึ้นไร้ขอบเขต
ธุรกิจ SME คือ ธุรกิจที่มี ยอดขาย 250-7,500 ล้านบาท
นางอัมพร กล่าวว่า ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิก โครงการ Business Circle เป็นลูกค้าเดิมที่จะได้รับคำเชิญจากธนาคาร โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นว่าเป็นทายากธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการบริหาร ตั้งแต่ 5-8 ปี และมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจไม่ว่าในหรือนอกประเทศ
ผู้เข้าร่วมโครงการ Business Circle จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมงานสัมมนาแบบเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการบริหารธุรกิจ และกิจกรรมเวิร์กชอปที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาและอุปสรรคที่ธุรกิจต้องเผชิญ อาทิ กลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางในการนำพาธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ธนาคารยังมีแผนที่จะจัดให้ผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางไปดูงานทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจและสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำองค์กรที่หลากหลายสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคต
ทายาทรุ่นใหม่เจอโจทย์ร่วม
นางโรซาลีน ลี Head of Enterprise Banking ให้ข้อมูลว่า ในบรรดาสมาชิกที่เป็นนักธุรกิจและทายาทธุรกิจรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน มีอายุเฉลี่ย 30-40 ปี และเป็นทายาทธุรกิจในรุ่นที่สาม ส่วนใหญ่เขามารับช่วงธุรกิจเมื่ออายุ 35 ปี และโครงการ Business Circle มีเป้าหมายจะเชิญสมาชิกในอายุไม่ถึง 45 ปี
ทายาทธุรกิจ SME ทั่วทั้งภูมิภาคมีประเด็นร่วมที่ไม่ต่างกัน ทั้งไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และที่อื่นๆ คือ หนึ่งจะแสดงให้รุ่นพ่อเห็นถึงฝีมือความสามารถได้อย่างไร สองจะดูแลผู้บริหารรุ่นแรกๆที่อยู่ตั้งแต่รุ่นพ่ออย่างไร สามจะปรับเปลี่ยนหรือปฏิวัติองค์กรอย่างไร เพื่อให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ
นางโรซาลีน กล่าวว่า การเข้าเป็นสมาชิก โครงการ Business Circle ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิก แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเองบางส่วน เช่น ค่าเดินทางไปดูงาน ขณะที่ธนาคารสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน
การที่ยูโอบีเน้นธุรกิจ SME เนื่องจากธนาคารได้ร่วมกับSingapore Management Uniersity และ และกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ก่อตั้ง UOB-SMU Asian Enterprise Institute สถาบันเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการขยายธุรกิจไปในภูมิภาคเอเชีย โดยให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้และประสบการณ์ในการวางแผนธุรกิจ ประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาแรงงาน และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นในการขยายธุรกิจไปในภูมิภาคเอเชีย