ThaiPublica > คนในข่าว > คลอเดีย โกลดิน ศาตราจารย์ฮาร์วาร์ด รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ จากงานวิจัยช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ

คลอเดีย โกลดิน ศาตราจารย์ฮาร์วาร์ด รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ จากงานวิจัยช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ

10 ตุลาคม 2023


ที่มาภาพ: https://www.socialsciencespace.com/2022/12/claudia-goldin-on-the-gender-pay-gap/

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน Royal Swedish Academy of Sciences ได้มอบรางวัล Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences 2023 หรือรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2566 ให้กับ คลอเดีย โกลดิน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา จากค้นพบปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนความแตกต่างทางเพศในตลาดแรงงาน

รางวัลก่อตั้งขึ้นโดย อัลเฟรด โนเบล นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ ชาวสวีเดน

คลอเดีย โกลดิน เกิดปี 1946 ที่นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกปี 2515 จากมหาวิทยาลัยชิคาโก อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็น ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของ Henry Lee จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาและเป็นผู้อำนวยการร่วมของคณะทำงานด้านเพศในเศรษฐกิจที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา

คลอเดียเป็นผู้หญิงคนที่สาม ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของ Henry Lee ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

เอลินอร์ ออสตรอม(Elinor Ostrom) เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2009 ซึ่งเธอได้รับรางวัลร่วมกับโอลิเวอร์ อี. วิลเลียมสัน(Oliver E Williamson) สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับการกำกับดูแลเศรษฐกิจ

ในปี 2019 ศาสตราจารย์เอสเทอร์ ดูโฟล(Esther Duflo) จากสถาบันเอ็มไอที ได้รับรางวัลนี้ร่วมกับสามีของเธอศาตราจารย์อภิจิต บาเนอร์จี(Abhijit Banerjee) และศาตราจารย์ไมเคิล เครเมอร์(Michael Kremer) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สำหรับงานที่มุ่งเน้นบรรเทาความยากจนให้กับชุมชนยากจนในอินเดียและเคนยา

  • สามนักเศรษฐศาสตร์เอ็มไอที-ฮาร์วาร์ด คว้ารางวัลโนเบลจากงานวิจัยลดความยากจน หลังลงพื้นที่ทำโครงการจริง
  • คลอเดียเป็นผู้เขียนหนังสือหลายเล่มและเป็นที่รู้จักกันดีจากผลงานของเธอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสตรีในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    คณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า งานของคลอเดีย ทำให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดแรงงานผู้หญิง

    คลอดเดีย ซึ่งได้รับรางวัลสาขาเศรษฐศาสตร์ศาสตร์ในปีนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวที่ครอบคลุมครั้งแรกเกี่ยวกับรายได้ของผู้หญิงและการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน Popular science background: History helps us understand gender differences in the labour market ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยของเธอเผยให้เห็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง รวมถึงแหล่งที่มาหลักของความไม่เท่าเทียมทางเพศที่ยังมีอยู่

    ที่มาภาพ: https://www.eurekalert.org/multimedia/595434

    ผู้หญิงมีบทบาทน้อยมากในตลาดแรงงานโลก และเมื่อทำงาน พวกเธอก็มีรายได้น้อยกว่าผู้ชาย คลอเดียได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารสำคัญและเก็บรวบรวมข้อมูลกว่า 200 ปีจากสหรัฐอเมริกา ทำให้เธอสามารถแสดงให้เห็นว่า รายได้และอัตราการจ้างงานระหว่างเพศแตกต่างกันอย่างไร เพราะอะไร และเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

    คลอเดียแสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงานไม่ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลานี้ แต่กลับเป็นว่ามีขึ้นและมีลง(U-shaped curve) การมีส่วนร่วมของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วลดลงเมื่อเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมในต้นศตวรรษที่ 19 แต่จากนั้นก็เริ่มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของภาคบริการในต้นศตวรรษที่ 20

    คลอเดีย อธิบายรูปแบบนี้ว่า เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการพัฒนาบรรทัดฐานทางสังคมด้านความรับผิดชอบของผู้หญิงต่อบ้านและครอบครัว

    ที่มาภาพ: https://www.nobelprize.org/prizes/economic-sciences/2023/press-release/

    ในช่วงศตวรรษที่ 20 ระดับการศึกษาของผู้หญิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในประเทศที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่ ในปัจจุบันก็สูงกว่าผู้ชายอย่างมาก คลอเดียแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงยาเม็ดคุมกำเนิดมีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เพราะเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการวางแผนอาชีพ

    แม้จะมีความทันสมัย ​​การเติบโตทางเศรษฐกิจ และสัดส่วนของผู้หญิงที่มีงานทำเพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 20 แต่ช่องว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายแทบจะไม่ลดลงเป็นเวลานาน คลอเดียอธิบาย ว่า การตัดสินใจด้านการศึกษาซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำงานตลอดชีวิตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย หากความคาดหวังของผู้หญิงเกิดจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน เช่น แม่ที่ไม่ได้กลับไปทำงานจนกว่าลูกจะโตขึ้น พัฒนาการก็จะช้า

    ที่มาภาพ: https://www.nobelprize.org/prizes/economic-sciences/2023/press-release/

    ในอดีต ช่องว่างระหว่างเพศในด้านรายได้ส่วนใหญ่สามารถอธิบายได้ด้วยความแตกต่างในด้านการศึกษาและการเลือกอาชีพ อย่างไรก็ตาม คลอเดียได้แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างทางรายได้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน กลับเป็น ระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงในอาชีพเดียวกัน และส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อมีการคลอดบุตรคนแรก

    “การทำความเข้าใจบทบาทของผู้หญิงในด้านแรงงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคม ต้องขอบคุณการวิจัยที่ค้นพบใหม่ของคลอเดีย โกลดิน ซึ่งทำให้เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยซ่อนเร้นและอุปสรรคที่อาจต้องแก้ไขในอนาคต” ยาคอบ สเวนสัน ประธานคณะกรรมการรางวัลสาขาเศรษฐศาสตร์กล่าว

  • เบน เบอร์นันเก อดีตประธานเฟด คว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์