ThaiPublica > ประเด็นร้อน > เลือกตั้งอย่างรับผิดชอบ 2566 > ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาล รธน. ชี้ขาด ปม ‘พิธา’ ญัตติซ้ำ – เลื่อนโหวตนายกฯรอบ3

ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาล รธน. ชี้ขาด ปม ‘พิธา’ ญัตติซ้ำ – เลื่อนโหวตนายกฯรอบ3

24 กรกฎาคม 2023


พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติ ส่งศาลรธน.วินิจฉัย เหตุมติรัฐสภาที่ห้ามเสนอชื่อ’พิธา’ เป็นนายกฯ รอบ 2 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พร้อมขอให้สั่งชะลอการเสนอโหวตนายก ไว้จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย  ขณะที่ 115 คณาจารย์นิติศาสตร์ 19 สถาบัน ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยกับมติของรัฐสภาที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ

หลังจากที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อรับความเห็นชอบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งสอง เพราะผิดข้อบังคับที่ประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 ทำให้มีผู้ร้องเรียนยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินว่าอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ส่งผลให้วันนี้ 24 ก.ค. 2566 พ.ต.ท.กีรป  กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้แถลงหลังจากที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติ โดยระบุว่าสืบเนื่องจากที่ประชุมของรัฐสภา ในวันที่ 19 ก.ค.2566 ได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับความแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272  โดยมีสมาชิกรัฐสภาเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นครั้งที่สอง แต่มีประเด็นโต้แย้งว่าการเสนอชื่อดังกล่าวเป็นการเสนอ “ญัตติ” ซ้ำ อันเป็นการต้องห้ามตามข้อบังคับในการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 หรือไม่

โดยข้อบังคับที่ 41 มีข้อกำหนดว่า “ญัตติ” ใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน ทำให้ประธานที่ประชุมรัฐสภา ได้ใช้ข้อบังคับที่ประชุมที่ 151 ข้อให้สมาชิกลงมติวินิจฉัยว่าเป็นการเสนอ “ญัตติ” ซ้ำหรือไม่  โดยที่ประชุม รัฐสภามีมติมติ 395 ต่อ 312 เสียงดออกเสียง 8 เสียงไม่ลงคะแนน 1 เสียง ทำให้การเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ครั้งที่สองเป็นการขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 จนไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวซ้ำได้อีกต่อไปในสมัยการประชุมนี้

หลังจากนั้น ได้มีสมาชิกรัฐสภา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปมีความสงสัยว่าการดำเนินการรัฐสภา ในกรณีดังกล่าวขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยได้ยื่นคำร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกรัฐสภาและประชาชน จำนวน 17 คำร้องเรียน

ทั้งนี้คำร้องดังกล่าวประกอบด้วย 2 ประเด็นสำคัญคือ ประเด็นแรก การกระทำของรัฐสภาที่ได้มีมติไม่ให้มีการเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองนั้นเป็นการกระทำที่เสนอ “ญัตติซ้ำ” และเป็นการการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

ประเด็นที่สองผู้ร้องเรียน มีความประสงค์ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำขอไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญออกมาตรการชั่วคราวเพื่อชะลอการให้ความเห็นชอบที่จะเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

พ.ต.ท.กีรป  กล่าวว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ติดตามข้อมูลและพบว่าในวันที่ 27 ก.ค.2566 ที่จะถึงนี้ รัฐสภาได้มีการประกาศว่าจะมีการเสนอให้มีการลงมติเห็นชอบในการเสนอชื่อบุคคลที่เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการนัดประชุมครั้งต่อไป เพราะว่ายังมีประเด็นข้อสงสัยว่าการมีมติในวันที่ 19 ก.ค. ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

ดังนั้น ในประเด็นที่หนึ่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการดำเนินการเพื่อที่จะพิจารณาเห็นชอบรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้  ซึ่งมิใช่การปฏิบัติในเรื่องของการเสนอ “ญัตติ” ตามข้อข้อบังคับของการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 เพราะว่าการเสนอรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นมีกำหนดไว้ เป็นการเฉพาะในรัฐรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ ซึ่งอยู่คนละหมวดกันกับในเรื่องการเสนอญัตติเข้าที่ประชุมรัฐสภา

“ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน ว่าการดำเนินการของรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค.2566 ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐและมีการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญตามมาตรา 88  มาตรา 159 ประกอบ มาตรา272  ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นร่วมกันว่าจะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่”

ส่วนประเด็นที่สอง พ.ต.ท.กีรป  กล่าว่า กรณีที่ผู้ร้องขอให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวเพื่อชะลอการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการชั่วคราวก่อนนั้น

“ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีลักษณะที่อาจจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญประกอบกับปล่อยให้มีการดำเนินการคัดเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว หากมีการดำเนินการต่อไปก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประเทศ และยากต่อการที่จะเยียวยาแก้ไข”

ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีความเห็นชอบร่วมกันว่าจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการ วิธีการ ชั่วคราวเพื่อขอให้ชะลอการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าการที่จะเสนอบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซ้ำในวันที่ 19 ก.ค.2566 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

พ.ต.ท.กีรป  กล่าวว่า ขอเวลาในการตรวจสอบคำร้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้องก่อนจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าจะมีการยื่นก่อนการนัดประชุมในวันที่ 27 ก.ค.2566 นี้

แถลงการณ์จาก 115 คณาจารย์นิติศาสตร์ 19 สถาบัน

เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับมติของรัฐสภาที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ

จากการลงมติของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมาในการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ “การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 159 เป็น “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 ซึ่งกำหนดว่า “ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน” การเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองจึงทำไม่ได้ นั้น

คณาจารย์นิติศาสตร์ตามรายชื่อข้างท้าย เห็นว่ามตินี้มีความไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายหลายประการ ดังจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

  1. “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 นั้น หมายถึง “ญัตติ” ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเท่านั้น ซึ่งข้อ 29 กำหนดว่า “ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน” ดังนั้น “ญัตติ” ที่ตกไปแล้วที่เสนอซ้ำไม่ได้จึงหมายถึง “ญัตติ” ตามข้อ 29 ที่ต้องการ ส.ส.รับรองเพียง 10 คน เท่านั้น

เหตุผลที่ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 ให้เสนอ “ญัตติ” ซ้ำไม่ได้ เพราะ “ญัตติ” ใช้เสียง ส.ส.สนับสนุนเพียง 10 คนเท่านั้น ถ้าเสนอซ้ำๆ ได้ แม้จะตกไปแล้ว จะทำให้มีญัตติซ้ำๆ มากเกินไป ซึ่งชอบด้วยเหตุผลที่ควรจะเสนอได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่งๆ

ส่วนการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 159 วรรคสอง บัญญัติว่า “ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งก็คือ 50 คน ไม่ใช่ต้องการ ส.ส.รับรองแค่ 10 คนดังเช่นการเสนอ “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 29 ดังนั้น การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจึงไม่ใช่ “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41

  1. ที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และมาตรา 272 ไม่ได้บัญญัติไว้แต่ประการใดว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมจะกระทำไม่ได้ ส่วนควรจะเสนอคนเดิมหรือไม่หรือจะเสนอกี่ครั้งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การที่รัฐสภาลงมติให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมได้เพียงครั้งเดียว เป็นการเอาข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่อาจที่จะกระทำได้
  2. ตามลำดับชั้นของกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายในลำดับต่ำกว่าไม่ว่าจะเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหาร รวมถึงข้อบังคับการประชุมรัฐสภาซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ในการประชุมของรัฐสภาและใช้กับรัฐสภาเท่านั้น ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หาไม่แล้วย่อมใช้บังคับมิได้ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 5 ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาจึงจะอยู่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้
  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่เป็นปัญหาเรื่องรัฐสภาการตีความข้อบังคับของตนเองโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้รัฐสภาจะสามารถตีความข้อบังคับของตนเองได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 151 แต่ต้องเป็นการตีความข้อบังคับโดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะข้อบังคับการประชุมรัฐสภาอยู่ในลำดับชั้นกฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ และแท้ที่จริงแล้วมติของรัฐสภาที่ตีความว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 และมาตรา 272 อยู่ในบังคับของข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 นั้นเป็นการ “ตีความรัฐธรรมนูญ” ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 159 และมาตรา 272 อยู่ใต้ข้อบังคับของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาหาได้มีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นไม่
  4. ผลของการลงมตินี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล แต่คือบรรทัดฐานที่ผิดพลาดของรัฐสภาในการพิจารณาญัตติที่เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ที่จากนี้ไปจะเสนอได้ครั้งเดียวทั้งหมด โดยไม่สนใจเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย และที่สำคัญที่สุดคือบรรทัดฐานที่เสียงข้างมากของรัฐสภาสามารถตีความข้อบังคับการประชุมของตนเองให้ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดได้

คณาจารย์นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามรายชื่อข้างท้าย เห็นว่ามติของรัฐสภาในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ เป็นการเอาการเมืองมาอยู่เหนือหลักกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด จึงขอเรียกร้องให้รัฐสภายกเลิกมตินี้ หาไม่แล้วการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่มีหลักรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ยากที่จะดำเนินโดยปกติในประเทศไทยต่อไปได้

24 กรกฎาคม 2566

รายชื่อ

  1. กนกนัย ถาวรพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. กรกนก บัววิเชียร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  4. กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. กฤษฎา ใจแก้วทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  6. กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  7. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  8. กษมา เดชรักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  9. กษิดิศ อนันทนาธร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  10. กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  11. กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  12. กีระเกียรติ พระทัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  13. ขรรค์เพชร ชายทวีป มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  14. เขมชาติ ตนบุญ
  15. จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  16. เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  17. ชาคริต สิทธิเวช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  18. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  19. ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  20. ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  21. ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  22. ณัฐ สุขเวชชวรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  23. ณัฐดนัย นาจันทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  24. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  25. ดามร คำไตรย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  26. ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  27. ตรีเนตร สาระพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  28. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  29. ตามพงศ์ ชอบอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  30. ติณเมธ วงศ์ใหญ่ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  31. ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  32. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  33. ธนภัทร ชาตินักรบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  34. ธนรัตน์ มังคุด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  35. ธนัญชัย ทิพยมณฑล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  36. ธีทัต ชวิศจินดา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  37. ธีรยุทธ ปักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  38. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  39. นพดล ทัดระเบียบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  40. นพร โพธิ์พัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  41. นวกาล สิรารุจานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  42. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  43. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  44. นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  45. นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  46. นิฐิณี ทองแท้ นักวิชาการอิสระ
  47. นิรมัย พิศแข มั่นจิตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  48. นิสิต อินทมาโน อาจารย์สอนกฎหมายและนักวิชาการอิสระ
  49. เนรมิตร จิตรรักษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  50. บงกช ดารารัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  51. บุญญภัทร์ ชูเกียรติ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  52. ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  53. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  54. ปรีญาภรณ์ อุบลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  55. ปารณ บุญช่วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  56. ปารีณา ศรีวนิชย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  57. ปิยอร เปลี่ยนผดุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  58. ปิยากร เลี่ยนกัตวา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  59. ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  60. พงษ์พันธ์ บุปเก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  61. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  62. พลอยแก้ว โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  63. พลอยขวัญ เหล่าอมต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  64. พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  65. พัชร์ นิยมศิลป์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  66. พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  67. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  68. พินัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  69. พีรพล เจตโรจนานนท์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  70. เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  71. ภีชญา จงอุดมการณ์ สาขานิติศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  72. มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  73. มาติกา วินิจสร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  74. มาโนช สุขสังข์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  75. มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  76. ยศสุดา หร่ายเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  77. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  78. รุ่งโรจน์ สุวรรณสิชณน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  79. ฤทธิภัฏ กัลป์ยาณภัทรศิษฏ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  80. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  81. วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  82. วาทิศ โสตถิพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  83. วิทูรย์ ตลุดกำ
  84. ศรัณย์ จงรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  85. ศรัณย์ พิมพ์งาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  86. ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  87. ศุภกร ชมศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  88. โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  89. สกุนา ทิพย์รัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  90. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  91. สถาพร สระมาลีย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  92. สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  93. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  94. สมศักดิ์ แนบกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  95. สหรัฐ โนทะยะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  96. สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  97. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  98. สุทธิพงษ์ บุญพอ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  99. สุปรียา แก้วละเอียด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  100. สุรพี โพธิสาราช
  101. สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  102. สุรศักดิ์ บุญเรือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  103. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  104. สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  105. เสสินา นิ่มสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  106. อจิรวดี เหลาอ่อน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  107. อภินพ อติพิบูลย์สิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  108. อรพรรณ พนัสพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  109. อริศรา เหล็กคำ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  110. อัคคกร ไชยพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  111. อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  112. อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  113. อุดม งามเมืองสกุล มหาวิทยาลัยพะเยา
  114. เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  115. เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย