ThaiPublica > สู่อาเซียน > เวียดนามมุ่งมั่นพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

เวียดนามมุ่งมั่นพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

5 เมษายน 2023


แม่น้ำส่งเตียน หนึ่งใน 9 แม่น้ำสาขา ที่จังหวัดเตี่ยนยาง ในสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง

ตามแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม นายกรัฐมนตรีฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission :MRC) ครั้งที่สี่ ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในวันที่ 5 เมษายน ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีสอนไซ สีพันดอน

MRC เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในปี 2538 ตามข้อตกลงแม่น้ำโขงระหว่างกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม ทำหน้าที่เป็นเวทีระดับภูมิภาคสำหรับความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงและการแบ่งปันความรู้

การประชุมสุดยอด MRC ครั้งที่สี่และการประชุมระหว่างประเทศจัดขึ้นที่เมืองหลวงของสปป.ลาว ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2566 การประชุมระหว่างประเทศของ MRC ซึ่งดึงดูดผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและระดับภูมิภาคในสาขาน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง พลังงาน อาหาร การขนส่ง แม่น้ำข้ามพรมแดน การจัดการลุ่มแม่น้ำ ธรรมาภิบาลและการพัฒนาเข้าร่วมนั้น จะหารือเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆและวิธีแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมสำหรับปัญหาที่แม่น้ำโขงและลุ่มน้ำอื่นๆเผชิญ

ภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หนึ่งในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตัวขึ้นจากแม่น้ำสาขาต่างๆ ของแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นการเดินทางสู่ทะเลในทิเบตและคดเคี้ยวเป็นระยะทาง 4,500 กิโลเมตร ผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และ เวียดนามตอนใต้

แม่น้ำโขงสร้างความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร รายได้ และพลังงานสำหรับประชากรประมาณ 70 ล้านคน ซึ่งการดำรงชีวิตในแต่ละวันมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแม่น้ำโขง และอาหารหลักสำหรับประชาชนคือ ข้าว ปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ

จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงมีประชากรปลาที่มีความหลากหลายมากเป็นอันดับสามของโลก ด้วยจำนวน 1,148 สายพันธุ์ และการประมงน้ำจืดในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างนั้นใหญ่ที่สุดในโลก โดยปลาที่จับได้ทั้งหมดประมาณ 2.3 ล้านตัน มูลค่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี

ส่วนปลายน้ำของแม่น้ำโขงไหลผ่านดินแดนทางตอนใต้ของเวียดนามและแยกออกเป็นปากแม่น้ำ 9 แห่ง (ปัจจุบันเหลือเพียง 7 แห่ง) ดังนั้นจึงมีชื่อในพื้นที่ว่า “Song Cuu Long” ซึ่งแปลว่า แม่น้ำเก้ามังกร

ด้วยตะกอนจำนวนมากที่ทับถมทุกปี ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นดินแดนที่เอื้อต่อการพัฒนาการเกษตรของเวียดนามมากที่สุด ลุ่มน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำสายนี้ทำให้พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแห่งนี้กลายเป็นยุ้งฉางที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

ปัจจุบัน ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีประชากรอาศัยอยู่ 17 ล้านคน และเป็นแหล่งผลิตข้าวมากกว่าครึ่งหนึ่งของเวียดนาม นอกจากบทบาทสำคัญในด้านการเกษตรของประเทศแล้ว แม่น้ำโขงยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของแม่น้ำที่เต็มไปสิ่งปลีกย่อยมากมาย

อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศที่ราบลุ่ม เวียดนามกังวลอย่างมากไม่เพียงแต่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำสายหลักของแม่น้ำโขงที่พอกพูนขึ้น มีภัยธรรมชาติมากขึ้น น้ำท่วม เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง คุณภาพน้ำและการเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน

เกาะ Con Lan พื้นที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งจังหวัดเตี่ยนยาง เวียดนาม

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่เวียดนามดำเนินการเพื่อยกระดับกรอบนโยบายการปรับตัวของประเทศ เป็นผลให้มีความคืบหน้าที่สำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับความยืดหยุ่นของชุมชนและความสามารถในการปรับตัว ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อเดือนที่แล้ว รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เจิ่น ห่ง ห่า ได้ลงนามในการตัดสินใจอนุมัติแผนงานทั่วไปของลุ่มแม่น้ำโขง (Cuu Long) ในช่วงปี 2021-2030 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2050 แผนงานมีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านน้ำ ในลุ่มแม่น้ำเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นหลักในการป้องกัน -ความมั่นคง และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

รวมทั้งจัดทำแผนงานเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม เสื่อมสภาพ และเน่าเสีย และสร้างระบบข้อมูลสำหรับภาคส่วน ตามกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศ

จากเอกสารที่ได้รับอนุมัติล่าสุด ภายในปี 2030 จุด(site)ตรวจสอบการไหลข้ามพรมแดนทั้ง 100% จะมีการตรวจสอบแบบเสมือนจริงและอัตโนมัติ ในขณะที่แหล่งน้ำระหว่างจังหวัดทั้งหมด จะมีการเปิดเผยต่อสาธารณะถึงการรับน้ำเสียและความสามารถในการรับน้ำ

นอกจากนี้ น้ำเสียจากชุมชนทั้งหมดจะต้องมีการบำบัดตามมาตรฐานของประเทศก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำและระบบระบายน้ำสาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จะได้รับการยกระดับและก่อสร้าง เพื่อสงวน ใช้ประโยชน์ ใช้ และพัฒนาแหล่งน้ำ โดยให้ความสำคัญกับ 28 ภูมิภาคย่อยที่ขาดน้ำจืด

ในด้านการเกษตร รัฐบาลเวียดนามกำลังพิจารณาโครงการปลูกข้าวคุณภาพสูงเฉพาะทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในพื้นที่ 1 ล้านเฮกตาร์

ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านในพื้นที่เฉพาะนี้จึงต้องได้รับการรับรองคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการ และคุณค่าทางอุตสาหกรรม กระบวนการเพาะปลูกของที่นี่ใช้วิธีการที่ยั่งยืน รวมถึงการลดการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ยาฆ่าแมลง และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พื้นที่เหล่านี้จะติดตั้งกลไกและมีโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกันซึ่งสามารถแปลงเป็นดิจิทัลเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้

โครงการมีเป้าหมายที่จะมีข้าวพันธุ์เฉพาะคุณภาพสูง 500,000 เฮกตาร์ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทั้งหมดในปี 2025 เท่ากับการปลูกข้าว 1 ล้านเฮกตาร์ต่อปี และผลผลิตข้าวทั่วไป 6.2 ล้านตัน กำไรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะสูงถึงกว่า 35% โดยที่ 80% ของฟางจะถูกรีไซเคิลและแปรรูปเพื่อใช้ต่อไป

ภายในปี 2030 พื้นที่นี้จะเพิ่มเป็น 1 ล้านเฮกตาร์ เท่ากับปลูกข้าวทั่วไป 2 ล้านเฮกตาร์ต่อปี และให้ผลผลิตข้าวทั่วไป 12.4 ล้านตัน กำไรเฉลี่ยของเกษตรกรจะอยู่ที่ 40% ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลง 20%

ในระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เวียดนามให้คำมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและหุ้นส่วน โดยเฉพาะประเทศใน MRC และกลไกความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาน้ำข้ามพรมแดนอย่างยั่งยืน รองนายกรัฐมนตรีเจิ่น ห่ง ห่า กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการทบทวนรอบกลางระยะกลาง ทศวรรษแห่งการดำเนินการ “น้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”(Decade for Action “Water for Sustainable Development) ในช่วงปี 2561-2565

สำหรับการแบ่งปันแนวทางที่ครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรมเพื่อความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำ รองนายกรัฐมนตรีเจิ่น ห่ง ห่า เสนอแนะให้เสริมสร้างกรอบกฎหมายระดับโลกและระดับภูมิภาค สำหรับการใช้และการจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดน การนำแนวทางธรรมชาติแบบบูรณาการมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนในฐานะหน่วยงานที่เป็นหนึ่งเดียวในการสร้างและดำเนินการตามแผน โปรแกรม และโครงการต่างๆ และเสริมสร้างกลไกการปรึกษาหารือที่โปร่งใสและเสมอภาคระหว่างประเทศ

เมืองหมีเทอ (My Tho) จังหวัดเตี่ยนยาง (Tien Giang) ซึ่งมีขนาด 170,000 เฮกตาร์ หนึ่งใน 13 เมืองที่อยู่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนาม
…………………….

Vietnam’ efforts for the sustainable development of the Mekong River

According to the Vietnamese Ministry of Foreign Affairs’s communique, Prime Minister Pham Minh Chinh will attend the fourth Mekong River Commission (MRC) Summit in Vientiane, Laos, on April 5, following the invitation of the Lao Prime Minister Sonexay Siphandone.

The MRC, an intergovernmental organisation established in 1995 following the Mekong Agreement among Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam, serves as a regional platform for Mekong-related cooperation and knowledge sharing.

The fourth MRC Summit and its International Conference are held in the capital from April 2-5. The MRC International Conference, which attracts global and regional experts in the fields of water and related resources, energy, food, transport, transboundary rivers, river basin management, governance and development, will discuss the latest knowledge and innovative solutions to issues facing the Mekong and other river basins.

As one of the world’s largest delta, the Mekong Delta Region is formed by the various tributaries of the mighty Mekong River which begins its journey to the sea in Tibet and winds its way for 4,500km through China, Burma, Laos, Thailand, Cambodia and Southern Vietnam. The Mekong River provides water, food, income and energy security for a population of about 70 million people, whose daily existence is closely linked to the Mekong, and for whom the staple diet is rice, fish and other aquatic animals.

According to the Mekong River Commission, the Mekong contains the world’s third most diverse fish population, with 1,148 species, and the inland fisheries of the Lower Mekong Basin is the world’s largest, with the total fish catch estimated at 2.3 million tons worth US$11 billion per year.

The downstream part of the Mekong River flows through the territory of Southern Vietnam and divides into 9 estuaries (now only 7 gates), so it is locally named as “Song Cuu Long”, meaning nine-dragon river. With a huge amount of sediment deposited every year, the fertile Mekong Delta is the most favorable land for the development of Vietnam’s agriculture. The alluvial flow from this river has made this delta region the largest granary of Vietnam. The Mekong River delta is currently home to 17 million people and supplying more than half of Vietnam’s rice production. Besides the important role in the country’s agriculture, Mekong is also a favorite destination for tourists to learn about the fussy river life.

However, as lowland country, Vietnam is very concerned not only effects of climate change but also about transboundary and cumulative impacts of hydropower projects on the mainstream of the Mekong River. There are more and more natural disasters, floods, extreme weather events, water quality and groundwater changes.

For decades, Vietnam has been working to improve the country’s adaptation policy framework. As a result, significant progress has been made to strengthen community resilience and adaptive capacity, reduce natural disaster risks, and limit climate change impacts.

Last month, Vietnamese Deputy Prime Minister Tran Hong Ha has signed a decision to approve the general planning scheme of the Mekong (Cuu Long) river basin for the 2021-2030 period with a vision to 2050. The planning scheme targets to ensure water security in the river basin to serve socio-economic development, ensure defence-security, and environmental protection.

It also includes the building of a roadmap to restore degraded, depleted, and polluted water sources; and construction a data system for the sector given the country’s digital transformation process.

As per the freshly approved document, by 2030, 100% of cross-border flow monitoring sites will be monitored virtually and automatically, while the entire inter-provincial water sources will have their waste water receiving and load capacity made public.

In addition, all urban waste water will be treated meeting national standards, before being discharged into water sources and public drainage systems. Facilities will be upgrade and constructed to reserve, exploit, use, and develop water sources, with 28 sub-regions lacking fresh water prioritised.

In term of agriculture, Vietnamese government is considering the project of 1 million hectares of high-quality, specialized, environmentally friendly rice in the Mekong Delta.

Accordingly, the rice seeds sown in this specialized area must be certified as to quality, nutrition value, and industrial value. The cultivation process here adopts sustainable methods, including minimizing the use of artificial fertilizers, pesticides and boosting the connection among stakeholders. These areas are mechanized and have consistent infrastructure that can be digitalized for traceability.

The project aims at having 500,000ha of high-quality, specialized rice in the whole Mekong Delta in 2025, equal to 1 million hectares of rice crop a year and a yield of 6.2 million tonnes of rough rice. The profit of rice growers will reach over 35 percent. 80 percent of straw is recycled and processed for further use.

By 2030, this area will have increased to 1 million hectares, equal to 2 million hectares of rice crop per year and a yield 12.4 million tonnes of rough rice. The average profit of farmers will have been 40 percent while the greenhouse gas emission will have dropped by 20 percent.

At the level of the Mekong region, Vietnam pledges to further enhance cooperation with international organisations and partners, especially countries within the MRC and Mekong-Lancang cooperation mechanism, to achieve sustainable cross-border water development goals, Deputy Prime Minister Tran Hong Ha has said when delivering a keynote speech on March 23 at the United Nations conference on mid-term comprehensive review on the Decade for Action “Water for Sustainable Development” for the 2018-2022 period.

Sharing comprehensive, inclusive and fair approaches to cooperation in water resource management, Ha suggested strengthening the global and regional legal frameworks for the use and management of trans-boundary water resources; adopting an integrated, nature-based approach to managing transboundary water resources as a unified entity in the building and implementation of planning, programmes and projects; and enhancing transparent and equitable consultation mechanisms among the countries.

หมายเหตุ
รายงานโดย พันธมิตรไทยพับลิก้าในเวียดนาม เนื่องในโอกาสนายกรัฐมนตรีฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission :MRC) ครั้งที่สี่ ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ประเทศลาววันที่ 5 เมษายน 2566

Reported by Thaipublica’s associates in Vietnam. Prime Minister Pham Minh Chinh and a high-ranking Government delegation of Vietnam to attend the fourth Mekong River Commission (MRC) Summit in Vientiane on April 5.