ThaiPublica > เกาะกระแส > นายกฯยังไม่ตัดสินใจลงปาร์ตี้ลิสต์ รทสช. -มติ ครม.ล้ม “บ้านคนไทยประชารัฐ” 7 จว. โยกที่ดินทำโครงการอื่น

นายกฯยังไม่ตัดสินใจลงปาร์ตี้ลิสต์ รทสช. -มติ ครม.ล้ม “บ้านคนไทยประชารัฐ” 7 จว. โยกที่ดินทำโครงการอื่น

7 กุมภาพันธ์ 2023


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/
  • นายกฯวอน ปชช.ตรวจนโยบายหาเสียงนักการเมือง-ใช้เงินจากไหน
  • ยังไม่ตัดสินใจลงปาร์ตี้ลิสต์ “รวมไทยสร้างชาติ”
  • เผย “อนุทิน” เคลียร์ปมลูกพรรคปราศรัยพาดพิงแล้ว
  • ห้ามสมาชิก รทสช.หาเสียงพาดพิงคู่แข่ง
  • มั่นใจปีนี้ต่างชาติเที่ยวไทยทะลุ 30 ล้านคน
  • มติ ครม.ล้ม “บ้านคนไทยประชารัฐ” 7 จว. โยกที่ดินทำโครงการอื่น
  • รับทราบ ปชช.แห่ลงทะเบียนมหกรรมแก้หนี้ 4.4 แสนรายการ
  • ผ่านแผนจัดการขยะพลาสติก ตั้งเป้ารีไซเคิล 100% ในปี’70
  • คืนเงินกองถ่ายต่างชาติเพิ่มเป็น 20-30% สูงสุด 150 ล้าน
  • เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุม ครม. เสร็จสิ้น พลเอก ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และมอบหมายนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานข้อสั่งการ

    วอน ปชช.ตรวจนโยบายหาเสียงนักการเมือง-ใช้เงินจากไหน

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนได้เรียนในที่ประชุม ครม. ว่าห่วงใยเรื่องงบสวัสดิการที่ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นภาระงบประมาณมาก จึงบอกให้ระมัดระวังกันด้วยในการเพิ่มงบสวัสดิการต่างๆ ทั้งสวัสดิการข้าราชการ สวัสดิการประชาชน สถานศึกษา อาหารกลางวันของโรงเรียน ทั้งหมดมากกว่าล้านล้านบาทไปแล้ว แต่เงินที่จะเพิ่มจริงได้ไม่ถึงแสนล้านบาท

    “บางพรรคเสนอมา 8 แสนล้าน พรรคเดียวนะ ซึ่งผมไม่รู้ว่าเขาหาเงินจากไหนเหมือนกัน ให้ประชาชนรับทราบด้วยแล้วกัน ไม่งั้นงบประมาณรายจ่ายประจำมันลดหมด ถูกดึงมาตรงนี้หมดแล้วจะอยู่ได้อย่างไรประเทศไทย ผมไม่เข้าใจ กราบเรียนประชาชนให้พิจารณาด้วยแล้วกัน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า “หลายอย่างเราทำไปแล้ว มีผลสัมฤทธิ์กับประชาชนมากพอสมควร บางอย่างต้องไขต่อไปให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เราทำหลายอย่างในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทั้งเชิงโครงสร้าง เชิงกฎหมาย นี่คือการแก้ปัญหา ทุกรัฐบาลต้องทำอย่างนี้แหละ ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็เหมือนเดิมทุกอย่าง”

    ยังไม่ตัดสินใจลงปาร์ตี้ลิสต์ “รวมไทยสร้างชาติ”

    ผู้สื่อข่าวถามว่าได้ตัดสินใจลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ “ปาร์ตี้ลิสต์” พรรครวมไทยสร้างชาติเมื่อไหร่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “เดี๋ยวผมไปตัดสินใจของผมเอง ยังไม่รู้ เดี๋ยวตัดสินใจเอง ถึงเวลาก่อน ตอนนี้ยังไม่มีอะไรทั้งสิ้น ก็เรื่องในใจ ก็ในใจผมสิ จะมานอกใจได้อย่างไร ยังไม่ตอบ”

    ถามต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังสามารถเป็นนายกรัฐมนตรี ได้อีก 2 ปี แต่เป็น ส.ส.ได้ 4 ปี แสดงว่าตัดสินใจเล่นการเมืองยาวหรือไม่ โดย นายกรัฐมนตรี สวนทันทีว่า “มันได้ไหม กฎหมายมันได้ไหม เป็นได้กี่ปีก็เท่านั้น จะไปแสดงอะไรของเธอ เธอคิดไปเรื่อย ผมขี้เกียจตอบ คำถามไม่เกิดประโยชน์ ไร้ประโยชน์ ตอบไปก็เท่านั้น”

    ปัดตอบกลุ่มสามมิตรย้ายพรรค

    ผู้สื่อข่าวยังถามถึงท่าทีของกลุ่มสามมิตรที่อยู่ในรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ รีบตอบทันทีว่า “ก็เรื่องของกลุ่มสามมิตรสิ เกี่ยวอะไรกับผมล่ะ”

    ถามต่อว่า กลุ่มสามมิตร ส่ง ส.ส.ไปเปิดตัวกับพรรคเพื่อไทย พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า “ก็เรื่องของเขา”

    และเมื่อถามว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยังคงยืนยันอยู่พรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “ไปถามท่านสิ ไปถามท่าน”

    อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า ในอนาคตจะมีรัฐบาลข้ามขั้วหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “ไม่มีอะไรทั้งนั้น ผมยังไม่คิดข้างหน้า เป็นเรื่องของการเลือกตั้ง”

    ยันไม่ให้คนต่างชาติลงคะแนนเลือกตั้ง

    พล.อ.ประยุทธ์ ตอบประเด็นกระแสข่าวการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ใช้จำนวนประชากรคนต่างด้าวเข้ามาร่วมด้วยว่า ปัจจุบันยังได้รับคำยืนยันว่าไม่มีการนำชาวต่างชาติมาลงคะแนนด้วย ทั้งนี้เป็นเรื่องเสนอว่าแต่ละพื้นที่มีชาวต่างชาติและแรงงานเท่าไร แต่สำคัญคือคนไทยต้องลงเลือกตั้ง ไม่มีประเทศไหนเขาให้คนต่างประเทศมาเลือกตั้งในประเทศตัวเอง

    เผย “อนุทิน” เคลียร์ปมลูกพรรคปราศรัยพาดพิงแล้ว

    ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอโทษกรณีลูกพรรคปราศรัยหาเสียงพาดพิงว่า โดย พล.อ.ประยุทธ์ ตอบสั้นๆ ว่า “ก็ไม่มีอะไร มาชี้แจงให้ฟังเท่านั้นเอง”

    ถามต่อว่า ต้องทำความเข้าใจกันหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “เข้าใจอะไรล่ะ หัวหน้าพรรคเขามีความคิดของเขาอยู่แล้ว”

    ห้ามสมาชิก รทสช.หาเสียงพาดพิงคู่แข่ง

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการหาเสียงของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งอาจมีการกระทบกระทั่งกันว่า “ผมไม่มีอะไร ผมคุยกับท่านปกติ ผมก็บอกว่าต่างคนต่างหาเสียงไป แต่ก็ระวังภาพรวมด้วยแล้วกัน เพราะพรรคที่ผมไปเป็นสมาชิก ผมก็สั่งไปแล้วว่าอย่าไปยุ่งกับใครเขา”

    กำชับ ส.ส. เข้าประชุมสภาฯผ่านร่าง กม.

    ทั้งนี้ มีคำถามว่า นายกรัฐมนตรี กำชับเรื่ององค์ประชุมสภาที่มีการล่มบ่อยครั้งหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “กำชับทุกครั้งแหละ ในการเข้าร่วมประชุม กฎหมายสำคัญก็มีอยู่ กฎหมายเรื่องการเมืองก็อีกเรื่องหนึ่ง ผมไปผูกขาเขาได้ไหมล่ะ โอเคนะจ๊ะ”

    สั่งศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้ถุงยางธรรมชาติ

    ด้านนายอนุชา รายงานข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ว่า นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการส่งออกถุงยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติในประเทศไทย ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้งาน พร้อมกำชับให้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับทีมนักวิจัย เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาชี้แจงและประชาสัมพันธ์ ให้ทุกประเทศที่มีความต้องการนำเข้าถุงยางจากประเทศไทยมีความเข้าใจถูกต้อง โดยเฉพาะผลข้างเคียงจากการใช้ถุงยางธรรมชาติ

    พอใจแนวโน้มต่างชาติขนเงินลงทุนมากขึ้น

    นายอนุชา กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี พูดถึงสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วไป โดยเฉพาะสถานการณ์อุตสาหกรรมในประเทศว่ามีการปรับตัวที่ดีขึ้นจากดัชนีต่างๆ อีกทั้งยังมีรายงานว่าแนวโน้มนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

    “ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาความเชื่อมั่นต่างๆ รวมถึงบรรยากาศที่จะให้ความมั่นใจกับนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ต้องมีการเฝ้าระวังเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะดิสรัปชั่น รวมถึงบูรณาการการทำงานข้ามกระทรวง ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันตามนโยบายของรัฐบาล” นายอนุชา รายงาน

    มั่นใจปีนี้ต่างชาติเที่ยวไทยทะลุ 30 ล้านคน

    นายอนุชา กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี มั่นใจสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2566 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20 ล้านคน ต่อมาได้ปรับเพิ่มเป็น 28 ล้านคน และล่าสุดนายกรัฐมนตรี มั่นใจว่านักท่องเที่ยวตลอดทั้งปีจะมากกว่า 30 ล้านคน

    นายอนุชา กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่มองว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวหรือการลงทุน และให้สนามบินดูแลความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อขยายการท่องเที่ยวไม่ใช่เฉพาะส่วนเมืองหลัก แต่กระจายไปถึงเมืองรองอื่นๆ ได้ด้วย

    สั่งเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่

    นายอนุชา รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ต่างๆ แต่ด้วยประสบการณ์ที่รัฐบาลมี และเป็นที่ยอมรับกับการจัดการโรคอุบัติใหม่ต่างๆ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวได้ แต่ได้มีการกำชับเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแล โดยเฉพาะการเตรียมระบบสาธารณสุขให้พร้อมเมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่

    วอนทุกหน่วยช่วยพีอาร์งานแข่งขันกีฬานานาชาติ

    นายอนุชา กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ว่าปัจจุบันประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติมากมาย โดยให้คนไทยทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬา รวมถึงเฝ้าระวังด้านสาธารณสุข

    แจงลงพื้นที่สมุทรสงคราม ช่วยแก้ปัญหา ปชช.

    นายอนุชา กล่าวต่อว่า “นายกรัฐมนตรี พูดถึงการลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังปัญหาในพื้นที่ ติดตามการขับเคลื่อนและการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เช่น การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคม การปรับปรุงแก้ไขระบบระบายน้ำ การรับฟังเกษตรกรทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มชาวประมง โดยรัฐบาลจะดำเนินการติดตามดูแลประชาชนทุกกลุ่ม และให้ทุกฝ่ายช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนโดยเร่งด่วน”

    มติ ครม. มีดังนี้

    นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกฯ และนางสาวทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกฯ ร่วมกันแถลงผลการประชุม ครม. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล (ซ้ายไปขวา)
    ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/

    แจง Q1/66 เบิกจ่ายงบฯแล้วกว่า 30%

    นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ไตรมาสที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2565 วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3.185 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 986,498.7599 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30.97 แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 873,288.5891 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.65 รายจ่ายลงทุน มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 123,449.3612 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.57 ทั้งนี้ ภาพรวมรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไตรมาสที่ 1 มีผลการใช้จ่ายงบประมาณสูงกว่าแผนและเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

    ทั้งนี้ ผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณเป็น 6 ยุทธศาสตร์และ 1 รายการ ประกอบด้วย

      1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง วงเงิน 292,593.6677 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 58,774.7761 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.09 มีผลการใช้จ่าย(ก่อหนี้) จำนวน 74,302.5937 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.39 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 11.91 และ 8.69 ตามลำดับ

      2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน วงเงิน 397,239.2473 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 146,022.1212 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.76 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 239,930.9818 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.40 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 4.76 และ 26.32 ตามลำดับ

      3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ วงเงิน 544,455.5039 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 149,288.6645 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.42 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 162,767.7356 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.90 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 4.58 และ 4.18 ตามลำดับ

      4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม วงเงิน 767,403.0444 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 265,129.0095 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.55 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 271,754.3066 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.41 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 2.55 และ 1.33 ตามลำดับ

      5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วงเงิน 122,605.9595 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 22,606.0023 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.44 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 41,590.4537 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.92 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 13.56 และ 0.16 ตามลำดับ

      6 .ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ วงเงิน 658,184.6140 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 173,225.9830 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.32 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 180,291.6609 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.39 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 5.68 และ 6.69 ตามลำดับ

      และ 1 รายการ คือ รายการค่าดำเนินการภาครัฐ วงเงิน 402,517.9632 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 171,452.2033 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.59 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)จำนวน 171,526.6833 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.61 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 10.59 และ 8.53 ตามลำดับ

    นายกรัฐมนตรี กำชับให้มีการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด รวมถึงการวางระบบการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ทิ้งการติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ ระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ และภายหลังจากการใช้จ่ายงบประมาณ ตลอดจนให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขด้วย

    “นอกจากนี้ สำนักงบประมาณได้เสนอแนะให้หน่วยรับงบประมาณมีการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและเป้าหมายของมาตรการฯ ที่กำหนดไว้ ตลอดจนการกำหนดทิศทางแนวทางหรือปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างงบลงทุนรายการปีเดียวให้สามารถก่อหนี้ผูกพ้นให้เสร็จสิ้นทุกรายการภายในไตรมาสที่ 2 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของหน่วยรับงบประมาณ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยสำนักงบประมาณจะได้นำผลการเบิกจ่ายและการใช้จ่าย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป” นายอนุชากล่าว

    รับทราบ ปชช.แห่ลงทะเบียนมหกรรมแก้หนี้ 4.4 แสนรายการ

    นายอนุชา กล่าวว่าที่ประชุม ครม.รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 พร้อมมอบหมายให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินการในการกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุนของประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs)

    โดยกระทรวงการคลังได้ร่วมกับ ธปท. จัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ทั้งสิ้น 188,739 ราย คิดเป็นจำนวนรายการสะสม 413,780 รายการ และการจัดงานรูปแบบสัญจรทั้งในกรุงเทพมหานครและ 4 ภูมิภาค รวม 5 ครั้ง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสงขลา มีประชาชนและผู้ประกอบการขอรับบริการภายในงานจำนวน 33,859 รายการ จำนวนเงินประมาณ 23,286 ล้านบาท โดยมีการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง การสร้างรายได้ผ่านการสร้างอาชีพหรืออาชีพเสริม รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนด้วยการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง พร้อมสร้างความตระหนักรู้การบริหารจัดการด้านการเงินอย่างถูกต้องด้วย

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและธปท. มีแนวทางเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนเกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม โดยมีมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีระยะเวลาดำเนินมาตรการถึงสิ้นปี 2566 การจัดช่องทางเสริมเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ทางด่วนแก้หนี้ ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์สำหรับประชาชนที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ 2) หมอหนี้เพื่อประชาชน ซึ่งเป็นช่องทางให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครบวงจร และ 3) คลินิกแก้หนี้ ที่เป็นช่องทางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียจากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน นอกจากนี้ ธปท.จะเผยแพร่เอกสารทิศทาง (Directional Paper) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพื่อสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน รวมทั้งช่วยให้ทุกภาคส่วนเห็นทิศทางการดำเนินงานในระยะต่อไปและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้นด้วย

    โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรียังได้กำชับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ขับเคลื่อนการทำงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนต่อไป เพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการแก้ไขและโครงสร้างหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการไทยเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติม รวมทั้งพิจารณาแนวทางการสร้างรายได้เพิ่มเติม และการสร้างความรู้ทางการเงินให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนเกิดผลอย่างยั่งยืน บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด

    จัดงบกลาง 3,092 ล้านบาท ซ่อมอาคารชลประทาน 48 จว.

    นายอนุชา กล่าวว่าที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,092.72 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลประทานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยปี 2565 รวม 1,167 รายการ ในพื้นที่ 48 จังหวัด ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังแรงและพายุโนรูเมื่อเดือนกันยายนปี 2565 เพื่อช่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร และระบบชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และการใช้งานให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีสภาพพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้ดีขึ้น สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากได้ และสามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรเพื่อการอุปโภค-บริโภค หรือกิจกรรมอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งน้ำและระบายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ทันในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน

    โดยมีแผนงานซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลประทานที่ได้รับความเสียหายครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค จำแนกเป็น 1)การปรับปรุงงานชลประทาน 11 โครงการ วงเงิน 191.76 ล้านบาท 2)การซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ 39 โครงการ วงเงิน 152.98 ล้านบาท 3)การซ่อมแซมฝาย/อาคารบังคับน้ำ 31 โครงการ วงเงิน 64.21 ล้านบาท 4)การซ่อมแซมคลอง/ระบบส่งน้ำ 523 โครงการ วงเงิน 1,079.34 ล้านบาท และการซ่อมแซมระบบระบายน้ำ 563 โครงการ วงเงิน 1,604.43 ล้านบาท

    “นายกรัฐมนตรีกำชับให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ คำนึงถึงศักยภาพ ภารกิจเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม คุ้มค่า โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องมีความโปร่งใส และตรวจสอบได้” นายอนุชากล่าว

    ล้ม “บ้านคนไทยประชารัฐ” 7 จว. โยกที่ดินทำโครงการอื่น

    นางสาวทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม. รับทราบผลการดำเนินโครงการ “บ้านคนไทยประชารัฐ” บนที่ดินราชพัสดุ และมีมติอนุมัติให้กำหนดระยะเวลาการให้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน (Pre Finance และ Post Finance) สำหรับธุรกรรมนโยบายภาครัฐ (PSA) โครงการฯ จากเดิม ที่ ครม. ได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 โดยขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2566 – 2 มกราคม 2567 เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยคงเดิม โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติ ตามประกาศ ธปท. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมติ ครม. อย่างเคร่งครัด

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มุ่งมั่นดำเนินโครงการบ้านคนไทยประชารัฐ จำนวน 2,757 ยูนิต เพื่อให้ประชาชน 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ได้รับสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีรายได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน และประชาชนทั่วไปได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยเป็นโครงการบ้านแฝด/บ้านแถว/อาคารชุดพักอาศัย ที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 28 ตร.ม. ในระดับราคา 350,000-700,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการการผ่อนชำระสู่การเช่าระยะยาว กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเป็นของผู้ได้รับสิทธิอยู่อาศัยและผู้ได้รับสิทธิพัฒนาโครงการ ซึ่งมีมาตรการสินเชื่อ ดังนี้

      1. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) กำหนดอัตราดอกเบี้ย คือ อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนปีที่ 1-4 ร้อยละ 2.75 ต่อปี หลังจากนั้น กรณีรายย่อย MRR – ร้อยละ 0.75 ต่อปี หรือกรณีสวัสดิการหักเงินเดือน MRR – ร้อยละ 1 ต่อปี มีระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปีโดยมีการผ่อนปรนการกำหนดอัตราส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้/ราย/เดือน (DSR) หรืออัตราส่วนภาระผ่อนชำระหนี้รวมต่อรายได้สุทธิรวม (DIR) ตามที่ธนาคารกำหนด

      2. สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) กำหนดอัตราดอกเบี้ย คือ อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนปีที่ 1-3 ร้อยละ 3 ต่อปี หลังจากนั้น MLR – ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี ระยะการกู้ ไม่เกิน 5 ปี เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ และหรือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดที่เข้าร่วมพัฒนาโครงการ

    “โครงการบ้านคนไทยประชารัฐ 8 พื้นที่ ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ลำปาง นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ และอุดรธานี ได้ดำเนินการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วใน 1 พื้นที่ คือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนพื้นที่ใน 7 จังหวัด ที่เหลือที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ในวันนี้ ครม. จึงมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์นำที่ราชพัสดุที่รองรับการดำเนินโครงการดังกล่าวใน 7 จังหวัด เดินหน้ารองรับการดำเนินโครงการสำคัญอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล หรือ นำไปบริหารจัดการหรือพัฒนาจัดหาประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐต่อไป เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและรัฐมีการพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน” นางสาวทิพานัน กล่าว

    โชว์ผลงานจับยาบ้า 12 ล้านเม็ด-อาวุธปืน 2.7 หมื่นราย

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ให้กระทรวงยุติธรรมรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดในภาพรวมเสนอต่อ ครม. ภายใน 90 วัน โดยสรุปผลการดำเนินการตามมาตรการฯ รวม 4 ประการ ดังนี้

    1. มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน

      1.1 การอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เช่น เพิ่มเติมเอกสารใบรับรองแพทย์ ออกหนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือนายจ้าง และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขออนุญาต นั้น กระทรวงมหาดไทยได้หารือกับกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสุขภาพจิตและหาสารเสพติดของผู้ยื่นขอใบอนุญาต และได้ศึกษาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 เพื่อเพิ่มอำนาจให้นายทะเบียนท้องที่ออกคำสั่งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการตรวจสุขภาพจิตและหาสารเสพติดและตรวจสอบประวัติอาชญากรและการรับรองความประพฤติของผู้ขออนุญาตทุกราย

      1.2 กำชับนายทะเบียนท้องที่ให้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นคำขออนุญาตทั้งก่อนและหลังการออกใบอนุญาตและซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวภายในเขตจังหวัด

      1.3 เชื่อมโยงฐานข้อมูล โดยกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติสิทธิให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ส่วนกลาง) สามารถเข้าระบบเพื่อตรวจดูข้อมูลทะเบียนอาวุธปืน และอยู่ระหว่างหารือด้านเทคนิคการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

      1.4 กระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นในระบบกฎหมายกลางเพื่อจัดการอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต

      1.5 การป้องกันและปราบปรามในเชิงรุก ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน และสืบสวน ปราบปราม ตรวจค้นแหล่งค้า/ผลิตอาวุธปืนผิดกฎหมาย ทั้งนี้ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและวัตถุระเบิด (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 15 ธันวาคม 2565) รวม 29,464 คดี ผู้ต้องหา 27,637 ราย

      1.6 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการมาตรการทางดิจิทัล เช่น การป้องกันการค้าอาวุธปืนบนแพลตฟอร์มดิจิทัลและเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสมในการปิดกั้นแพลตฟอร์มหากมีข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอันเกี่ยวเนื่องกับอาวุธปืนและยาเสพติด

    2. มาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

      2.1 การควบคุมสารเคมีที่นำไปใช้ผลิตยาเสพติด เช่น ระงับการส่งออก และชะลอการนำเข้าวัตถุอันตรายบางรายการชั่วคราว ยึดและอายัดวัตถุอันตราย ที่ใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด โดยอายัดสารโซเดียมไซยาไนด์ 220 ตัน หากนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสารตั้งต้นจะสามารถนำไปใช้ในการผลิตยาบ้า 4,840 ล้านเม็ด

      2.2 การทำลายเครือข่ายนักค้ายาเสพติดและยึดอายัดทรัพย์สิน เช่น ดำเนินการสืบสวนและขยายผลเพื่อทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดโดยได้จัดทำรายงานข่าวสารยาเสพติดของเครือข่าย 739 ฉบับและรายงานเป้าหมายบุคคลในเครือข่าย 1,098 คน และสามารถอายัดทรัพย์สิน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 11,280 ล้านบาท (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2565)

      2.3 การติดตามจับกุมผู้มีหมายจับคดียาเสพติด สามารถดำเนินการเร่งรัดติดตามจับกุมผู้มีหมายจับคดียาเสพติดได้ 88หมายจับ โดยกระทรวงกลาโหมได้เพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้า-ส่งออกบริเวณชายแดน ทำให้สกัดกั้นจับกุมยาเสพติด ได้แก่ ยาบ้า 12.29 ล้านเม็ด เฮโรอีน 11 กิโลกรัม ยาไอซ์ 586,956.75 กรัม และยาอี 15,000 เม็ด (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 26 ธันวาคม 2565) และได้ปราบปรามยาเสพติดโดยในเดือนพฤศจิกายน 2565 สามารถจับกุม/ตรวจยึดยาเสพติด ผู้ต้องหา 18 คน ยาบ้า 11.93 ล้านเม็ด ยาไอซ์ 435.1 กิโลกรัม และเคตามีน 9.9 กิโลกรัม

      2.4 การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดทั่วประเทศ เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้หารือร่วมกันในการบูรณาการฐานข้อมูลผู้เสพ ผู้ติด ผู้มีอาการทางจิตเวช โดยจัดตั้งฐานข้อมูลด้านยาเสพติดที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ Re X-ray ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ผู้มีอาการทางจิตเวช 158,333 ราย โดยผู้ใช้ ผู้เสพ เข้าสู่กระบวนการบำบัด 106,937 ราย ผู้มีอาการทางจิตเวชที่มีสาเหตุจากยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัด 25,586 ราย (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 20 ธันวาคม 2565)

      2.5 การตรวจสอบและติดตามข้อร้องเรียนของประชาชน มีการดำเนินการต่อข้อร้องเรียนของประชาชนผ่านสายด่วน 1386 มีการรับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 5,016 เรื่อง ดำเนินการแล้ว 2,256 เรื่อง และดำเนินการปิดล้อมตรวจค้นและจับกุมนักค้ายาเสพติดในพื้นที่ 330 หมู่บ้าน/ชุมชน (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2565

    3. มาตรการด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด มีระบบบูรณาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย 30 จังหวัดในพื้นที่ต้นแบบเพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำและไม่ก่อความรุนแรง และเร่งรัดสำรวจศูนย์คัดกรองให้ครอบคลุมทุกตำบล โดยได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนศูนย์คัดกรองแล้ว จำนวน 9,473 แห่ง รวมถึงเร่งรัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวแล้ว 659 ชุมชน และจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน 439 แห่ง รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของสถานฟื้นฟูผู้ติดยา และยื่นขึ้นทะเบียนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้ครอบคลุมทุกจังหวัดถึงระดับตำบล

    4. มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต เช่น จัดทำแนวปฏิบัติในการขอรับการตรวจประเมินปัญหาสุขภาพจิตสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งหอผู้ป่วยในจิตเวชและยาเสพติดทุกโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปให้ครอบคลุม 65 จังหวัด ใน 12 เขตสุขภาพ 97 แห่ง จัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลชุมชนให้ครบทุกแห่ง โดยได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนแล้ว 1,080 แห่ง และสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนเป็นกลไกอบรมเพื่อป้องกันยาเสพติดใน 603 กิจกรรม จำนวน 37,620 คนทั่วประเทศ

    ผ่านแผนจัดการขยะพลาสติก ตั้งเป้ารีไซเคิล 100% ในปี’70

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบและเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการต่อไป

    สาระสำคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ สรุปได้ ดังนี้

    1. วัตถุประสงค์หลักมี 2 ข้อ คือ 1.เพื่อเป็นทิศทางการดำเนินงานของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการและขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะพลาสติก และ 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาการบริหารจัดการพลาสติกของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การนำเข้า การจำหน่าย การบริโภค และการจัดการ ณ ปลายทาง

    2. กรอบแนวคิดการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการขยะรูปแบบใหม่และการบริหารจัดการขยะตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

      2.1 การจัดการ ณ ต้นทาง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการร่วมรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนตลอดวัฏจักรชีวิต

      2.2 การจัดการ ณ กลางทาง ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้ซ้ำ และเรียกคืนกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เหลือขยะที่ต้องกำจัดให้น้อยที่สุด

      2.3 การจัดการ ณ ปลายทาง โดยจัดให้มีระบบคัดแยกและนำกลับคืนวัสดุรีไซเคิล ระบบกำจัดแบบผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก่อนการฝังกลบขั้นสุดท้าย เช่น การเผาเพื่อผลิตพลังงาน และการหมักปุ๋ย เพื่อให้เหลือขยะที่ต้องฝังกลบให้น้อยที่สุด และ

      2.4 การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการขยะพลาสติก เช่น รูปแบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต มาตรฐานผลิตภัณฑ์พลาสติก (ภาคบังคับ) หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานและระบบการรับรองวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล

    3. มาตรการหลัก 4 ข้อ คือ 1. การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการควบคุม ป้องกัน เพื่อลดการเกิดขยะพลาสติก ตั้งแต่การออกแบบการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนากฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อใช้บริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เช่น การยกร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 2. การลดขยะพลาสติกในขั้นตอนการบริโภค มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินการต่อเนื่องและขยายผลให้ผู้ประกอบการและประชาชนสนับสนุนการลดขยะพลาสติก รวมทั้งรณรงค์สื่อสารต่อสาธารณะภายใต้แนวทาง “งดการให้-ปฏิเสธการรับ ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว” 3. การจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะจากบ้านเรือน อาคาร สำนักงานที่สอดคล้องกับวิธีการกาจัดที่ปลายทาง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ต้องนำกลับเข้าระบบรีไซเคิล และต้องทิ้งเพื่อนำไปกำจัด และ 4. การจัดการขยะพลาสติกในทะเล มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดขยะพลาสติกในทะเล เช่น การคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดและควบคุมกรณีมีการขนส่งขยะมากำจัดบนฝั่ง วางระบบคัดแยก รวบรวม และการจัดการขยะพลาสติกและขยะประเภทอื่น

    “รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา มุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องการจัดการขยะพลาสติกเพื่อ “ก้าวสู่การจัดการพลาสติกที่ยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยในแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) มีเป้าหมายให้ปริมาณขยะพลาสติกเป้าหมาย (เช่น ขวดพลาสติก ฝาขวด และถุงพลาสติกหูหิ้ว) ที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะลดลง 100% และผลิตภัณฑ์พลาสติกเป้าหมายเข้าสู่ระบบรีไซเคิล 100% รวมถึงลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสหลุดรอดลงสู่ทะเล 50% โดยทั้งหมดจะต้องมีเครื่องมือในการบริหารจัดการขยะพลาสติก 10 ประเภทตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” นางสาวทิพานัน กล่าว

    เห็นชอบแผนสิทธิมนุษยชนฯฉบับที่ 5 คุ้มครอง 11 กลุ่ม

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ พร้อมกับเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานที่ครอบคลุมการดำเนินการของหน่วยงานในสังกัดทุกระดับ และรายงานผลการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณปีละ 1 ครั้ง (ในห้วงเดือนตุลาคม – ธันวาคมของทุกปี) และให้หน่วยงานภาครัฐ (ระดับกรมหรือเทียบเท่า) บรรจุวิชา สิทธิมนุษยชน ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการทุกระดับตามขอบเขต และเนื้อหาหลักการสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยที่แผนสิทธิมนุษยชน ฯฉบับนี้ได้นำประเด็นที่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์จากแผนฉบับเดิมมาดำเนินการต่อ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ปัญหาสิทธิในการทำงานและสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสำหรับคนไทยและคนต่างด้าวทั้งในระบบและนอกระบบ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กและสตรี เป็นต้น และประเด็นข้อห่วงกังวลและประเด็นท้าทายต่าง ๆ จากระดับพื้นที่ เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปัญหาการเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐที่ต้องใช้ความรู้ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาการเคารพสิทธิผู้อื่นและการเคารพผู้เห็นต่าง

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จำแนกออกเป็นแผนสิทธิมนุษยชนรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ และยังครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิรายกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้เสียหายและเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มเด็กและสตรี กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เสพยาเสพติด กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ต้องหาผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ และสุดท้ายคือ กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้เป็นกรอบทิศทางของหน่วยงานในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้างสังคมที่ตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน

    นางสาวทิพานัน กล่าวว่า สำหรับประเด็นท้าทายของแผนสิทธิมนุษยชนรายด้าน 5 ด้านที่จะมีการดำเนินการ คือ 1. เร่งจัดสรรที่ดินและแก้ไขปัญหา การเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน 2. ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ ด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้รับรู้สิทธิในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ชั้น การสอบสวน การฟ้องร้อง และการดำเนินคดี 3. ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” 4. ปรับปรุงมาตรการของรัฐในด้านต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยประชาชนทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และ 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจ SME ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19

    “เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 นี้ ครม. จึงเห็นชอบให้มีกลไกการดำเนินการและการติดตาม โดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีหน้าที่ในการสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนฯ จัดทำคู่มือในการแปลงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานที่ขับเคลื่อนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และจัดให้มีช่องทางสื่อสารเพื่อรับแจ้งปัญหา อุปสรรค หรือข้อขัดข้อง ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ โดยมีตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (Process indicator) โดยการผลักดันและนำร่างกฎหมาย นโยบาย และมาตรการเพื่อสร้างหลักประกันสิทธิในแต่ละประเด็น/กลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้มีตัวชี้วัดด้านผลสัมฤทธิ์ (Outcome indicator) เช่น แนวโน้มสถานการณ์/สถิติข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็น/กลุ่มเป้าหมายลดลง สำหรับการติดตามและประเมินผล ได้กำหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบ ตามแผนฯ รายงานผลการดาเนินงาน ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคมของทุกปี และให้ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความเป็นกลางทำการประเมินผลการดำเนินการ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเชิงกระบวนการ หรือกลไกเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้แผนไม่บรรลุเป้าหมาย และเสนอ ครม. เพื่อทราบต่อไป” นางสาวทิพานัน กล่าว

    เพิ่มงบฯ – ขยายเวลาก่อหนี้ สร้างทางหลวง “บางปะอิน-โคราช” 4,970 ล้าน

    นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติการเพิ่มวงเงินงบประมาณ และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา จำนวน 12 ตอน วงเงิน 4,970.71 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ประกอบด้วย

    ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ 2559-63 เป็น 2559 – 66 จำนวน 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 5 , 20 และ 24 ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ 2559 – 63 เป็นปีงบประมาณ 2559 – 67 จำนวน 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 2 , 18 , 19 , 34 และ39 และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ จากปีงบประมาณ 2559 – 63 เป็นปีงบประมาณ 2559 – 68 จำนวน 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่1,4,21 และ23

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า วงเงินค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้จะทำให้กรอบวงเงินค่าก่อสร้างทั้งโครงการรวมการก่อสร้าง 40 ตอน เพิ่มจากเดิม 59,410.24 ล้านบาท เป็น 64,380.95 ล้านบาท และวงเงินลงทุนรวมทั้งโครงการ(รวมค่าจัดการกรรมสิทธิ์ 6,630ล้านบาทซึ่งเบิกจ่ายเสร็จสิ้นแล้ว) เพิ่มจาก 66,040.24 ล้านบาท เป็น 72,795.90 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบที่ ครม. อนุมัติงบประมาณสำหรับทั้งโครงการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 ที่ 76,600 ล้านบาท โดยค่าก่อสร้างรวมยังต่ำกว่าวงเงินค่าก่อสร้างที่ ครม. อนุมัติ ร้อยละ 7.99 ขณะเงินลงทุนทั้งโครงการต่ำกว่ากรอบวงเงินที่ ครม. อนุมัติร้อยละ 7.30 แต่ที่ต้องเสนอให้ ครม. อนุมัติครั้งนี้เนื่องมาจากค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาดำเนินการได้เกินกว่ารายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่ครม. เคยอนุมัติสำหรับการก่อสร้างแต่ละตอน

    สำหรับความจำเป็นที่ต้องขออนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างดังกล่าว กระทรวงคมนาคมรายงานว่าเนื่องจากมีงานก่อสร้างที่พบอุปสรรคจำเป็นต้องปรับปรุงแบบก่อสร้างให้เหมาะสม ใน 4 กรณี ได้แก่ 1. สภาพพื้นที่ในสถานที่ทำการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงจากเดิม 2. ต้องปรับปรุงรูปแบบทางวิศวกรรมให้สอดคล้องกับสภาพทางกายภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน 3. ปรับปรุงให้เหมาะสอดคล้องกับโครงสร้างสาธารณูปโภคหรือความจำเป็นของหน่วยงานที่โครงการตัดผ่าน และ 4. ปรับปรุงรูปแบบการก่อสร้างเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อข้อร้องเรียนของประชาชนในพื้นที่และให้สอดคล้องกับโครงข่ายถนนที่ประชาชนใช้ทางในปัจจุบัน

    ทั้งนี้ ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 โครงการฯ มีความคืบหน้างานก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 87.67 จากแผนที่ ณ เวลาดังกล่าวต้องมีความคืบหน้าร้อยละ 89.67 หรือล่าช้าไปจากแผนร้อยละ 2 ซึ่ง ครม. ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงเร่งรัดดำเนินการแก้ไขไขสัญญาเพิ่มเติมตามที่ได้อนุมัติในครั้งนี้ และกำกับการก่อสร้างงานโยธาในส่วนที่หลือให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด

    ขยายเวลาคนต่างด้าว 4 สัญชาติ ทำงานต่อถึง 15 พ.ค.นี้

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวหลังวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาให้คนต่างด้าวตามมติ ครม. วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ซึ่งประกอบด้วยแรงงาน 4 สัญชาติได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชาและเวียดนามซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำงานถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 และให้ยกเว้นการเปรียบเทียบปรับการอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาถึงวันดังกล่าว เพื่อให้แรงงานสามารถจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ครบถ้วนต่อไป และเป็นการช่วยเหลือนายจ้าง/สถานประกอบการที่ยังต้องการแรงงานเพื่อดำเนินกิจการในช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด19 โดยที่แรงงานยังอยู่ในกำกับและการบริหารของหน่วยงานรัฐ และแรงงานก็ยังคงได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ สวัสดิการตามกฎหมายตามสิทธิที่พึงได้

    นอกจากนี้ ครม. ได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการออกเอกสารรับรองของบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมาในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ระนอง และชลบุรีจาก 13 กุมภาพันธ์ 2566 เป็น 13 พฤษภาคม 2566 เนื่องจากปัจจุบันมีแรงงานเมียนมาประมาณ 300,000 คนอยู่ระหว่างการทำเอกสาร CI ส่วนทางการ ลาว และกัมพูชา หากประสงค์จะจัดเก็บข้อมูลเพื่อออกเอกสารประจำตัว ให้มีหนังสือผ่านช่องทางการทูตและสามารถดำเนินการได้ไปพลางก่อนโดยดำเนินการได้ถึง 13 พฤษภาคม 2566

    ทั้งนี้ เมื่อคนต่างด้าวยื่นเอกสารครบถ้วนตามกำหนดแล้ว ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 หรือ 13 กุมภาพันธ์ 2568 แล้วแต่กรณี

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับความจำเป็นที่ต้องมีการออกแนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวดังกล่าวนี้ เนื่องจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรให้ทำงานตาม มติ ครม. วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 จำนวน 2,425,901 คน ประกอบด้วย 1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน จำนวน 1,719,231 คน และ 2) คนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ได้รับการผ่อนผันอนุญาตทำให้ทำงาน จำนวน 706,670 คน ตามมติ ครม. ได้กำหนดว่าหากคนต่างด้าวทั้ง 2 กลุ่ม ประสงค์จะทำงานต่อจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

    อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าล่าสุดได้มีการยื่นขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมแล้ว 403,062 คน และยังไม่ดำเนินการยื่นคำขอ 2,022,839 คน เนื่องด้วยเอกสารหลักฐานยังไม่ครบถ้วนตามแนวทาง ที่ครม. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 กำหนด ได้แก่ อยู่ระหว่างจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับประเทศต้นทาง ตลอดจนเอกสาร CI จึงจำเป็นต้องมีการผ่อนผันให้คนต่างด้าวดังกล่าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและดำเนินการจัดทำเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน

    นอกจากนี้ ครม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้การบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป อาทิ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน ออกประกาศหรือระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และสำนักแพทย์ กรุงเทพมหานครปรับปรุงขั้นตอนการขยายประกันสุขภาพให้คนต่างด้าว ให้สามารถซื้อประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและสะดวก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับมติ ครม. ตลอดจนดำเนินการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลของคนต่างด้าว เป็นต้น

    คืนเงินกองถ่ายต่างชาติเพิ่มเป็น 20-30% สูงสุด 150 ล้าน

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบทบทวนมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยการปรับเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขมาตรการส่งเสริม ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ จะเป็นการปรับปรุงใน 2 ส่วน ได้แก่

      ส่วนที่ 1 ปรับอัตราการคืนเงิน (Cash Rebate) จากเดิม ร้อยละ 15-20 เป็นร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยสิทธิประโยชน์หลักอยู่ที่ร้อยละ 20 เมื่อมีการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ส่วนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งหลังจากนี้ให้กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาดำเนินการปรับปรุงประกาศกรมการท่องเที่ยวในส่วนของเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดังกล่าว โดยให้คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยโดยตรงเป็นลำดับแรก เช่น การกระจายรายได้สู่เมืองรอง การเพิ่มการจ้างงานคนไทย การเพิ่มมูลค่า ค่าใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประชาชนโดยตรง
      ส่วนที่ 2 เป็นการปรับเพิ่มเพดานการคืนเงินจากเดิม 75 ล้านบาทต่อเรื่องเป็น 150 ล้านบาทต่อเรื่อง ซึ่งจะทำให้เพดานเงินลงทุนสร้างภาพยนต์ต่อเรื่องเพิ่มเป็น 750 ล้านบาท จากเดิม 375 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับกับแนวโน้มที่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาในไทยเป็นผู้สร้างรายใหญ่ เงินทุนสูง โดยเฉพาะภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ โดยเรื่องที่เข้ามาถ่ายทำในไทยสูงสุดขณะนี้คือภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่อง Thai Cave Rescue

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับความจำเป็นที่ต้องมีการทบทวนมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำาภาพยนตร์ต่างประเทศ เนื่องมาจากปัจจุบันประเทศต่างๆ เห็นประโยชน์จากธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศจึงได้ออกมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำในรูปแบบการคืนเงิน (Cash Rebate) หรือคืนภาษี (Tax Rebate/Tax Credit)เพื่อดึงดูดผู้สร้างภาพยนตร์ให้เข้าไปถ่ายทำในประเทศตนอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับเกณฑ์และเงื่อนไขให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

    ทั้งนี้ การปรับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข สำหรับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทั้ง 2 ส่วน จะส่งผลต่อภาระงบประมาณในปี 2567-68 (มาตรการมีผลในปี 66 แต่การคืนเงินจะเกิดขึ้นในปี 67-68) รวม 2 ปี เพิ่มขึ้นจาก 821.82 ล้านบาท เป็น 1,845 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.54

    อย่างไรก็ตาม การเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพกว้าง มีเงินจากการลงทุนของบริษัทภาพยนตร์หมุนเวียนในเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น 900-1,200 บาทต่อปี กระจายรายได้ไปสู่ภาคส่วนต่างๆ และการที่ชาวไทยได้ร่วมงานกับคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศนอกจากจะให้คนไทยได้รับการจ้างงานเพิ่มกว่า 800 อัตราต่อปี ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มทักษะและประสบการณ์ เป็นโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่ระดับสากลด้วย

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ประเทศไทยได้เริ่มมีมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งได้มีคณะถ่ายทำได้เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2562 ก่อนเกิดโควิดฯ ประเทศไทยมีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ 4,463.74 ล้านบาท ส่วนปี 2564 ที่ยังมีโควิด19 ผู้สร้างภาพยนตร์ก็ยังคงเข้ามาถ่ายทำในไทยสร้างรายได้ 5,007 ล้านบาท

    โดยนับแต่มีมาตรการส่งเสริม ได้มีภาพยนตร์ 43 เรื่องที่ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในไทย 8,560 ล้านบท มีภาพยนตร์ที่ได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์ 34 เรื่อง เงินลงทุน 6,283 ล้านบาท โดยเงินเหล่านี้กระจายไปยังภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย เช่นค่าจ้างทีมงานชาวไทย ค่าเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ ค่าเช่าที่พัก ค่าเช่าสถานที่ ค่าเช่ารถ ค่าใช้จ่ายตามมาตรการป้องกันโควิด ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

    โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 รัฐบาลได้จ่ายเงินคืนภายใต้มาตรการดังกล่าวแล้วจำนวน 29 เรื่อง เป็นเงิน 772.13 ล้านบาท เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกระทรวงการท่องเที่ยวฯ 560.03 ล้านบาท และจากการจัดสรรงบกลางเพิ่มเติม 212.10 ล้านบาท

    เพิ่มงบฯสร้างอาคารผ่าตัด รพ.ปัตตานี เป็น 356 ล้านบาท

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการ เพิ่มวงเงิน และขยายระยะเวลาการก่อสร้างอาคารผ่าตัด ผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลปัตตานี ต.สะบารัง อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี 1 หลัง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

    โดยสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงานก่อสร้างครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) 7 ชั้น จากเดิมแบบแปลนเลขที่ 8135 พื้นที่ใช้สอยประมาณ 13,576 ตารางเมตร ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ 930 วัน เป็น แบบแปลนเลขที่ 8135 เอกสารเลขที่ ก.25/กุมภาพันธ์ /65 และรายการประกอบแบบก่อสร้างเอกสารเลขที่ ข.55/พ.ค./65 พื้นที่ใช้สอยประมาณ 14,703ตารางเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 1,395 วัน วงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มจาก 153.8 ล้านบาท เป็น 356.6 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2566 จำนวน 32.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 324.1 ล้านบาท ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567-69

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า เรื่องเดิมก่อนที่จะนำมาสู่การขออนุมัติจาก ครม. เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงการนั้นมาจากที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2565 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กิจกรรมพัฒนาระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ตาม Service Plan รายการอาคารผ่าตัดผู้ป่วยนอกฯ ร.พ.ปัตตานีฯ 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย 13,576 ตารางเมตร งบประมาณ 153.8 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 2565-67 ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่จะมาเสริมศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาลปัตตานี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งเดียวในจังหวัด มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,600 คน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่คับแคบแออัด จำนวนเตียงไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งโครงการก่อสร้างนี้จะทำให้โรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยได้จากเดิม 546 เตียง เป็น 700 เตียง เพิ่มศักยภาพการบริการด้านรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลปัตตานี และคณะกรรมการจัดทำแบบรูปรายการก่อสร้างและกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ได้พิจารณาแบบแปลนเลขที่ 8135 แล้ว พบว่าเป็นแบบแปลนเมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานป้องกันอัคคีภัยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารและมาตรฐานห้องให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งครอบคลุมถึงห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยหนัก และห้องฉุกเฉิน รวมทั้งรายละเอียดรายการวัสดุก่อสร้างและครุภัณฑ์บางรายการตามแบบแปลนดันกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันแล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแบบรูปรายการอาคารให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

    เห็นชอบร่าง จม.สนับสนุนการดำเนินงาน AIIB

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบต่อร่างจดหมายสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) พร้อมกับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือ ผู้แทนลงนามในร่างจดหมายสนับสนุนฯ ดังกล่าว

    สำหรับการให้ความเห็นชอบนี้ สืบเนื่องจากที่ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกตามข้อบทของความตกลงเพื่อการจัดตั้ง AIIB เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 และความตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันเมื่อ 29 ธันวาคม 2559 และข้อบทที่ 44 วรรคสอง ของความตกลงก็ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเพื่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้สถานะ ความคุ้มกัน เอกสิทธิ์ และการยกเว้นแก่ AIIB มีผลบังคับใช้ในดินแดนของตน

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า AIIB ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระกระทรวงการคลังขอให้ประเทศไทยในฐานะสมาชิกพิจารณาลงนามในร่างจดหมายสนับสนุนการดำเนินงานของ AIIB เพื่อรับรองว่าการดำเนินงานของ AIIB ในประเทศสมาชิกจะได้รับเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันตามที่กำหนด เช่น การคุ้มกันจากกระบวนการพิจารณาทางกฎหมาย การคุ้มกันทรัพย์สิน เอกสิทธิในการติดต่อประสานงาน ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง การยกเว้นภาษีอากร เป็นต้น ซึ่งกระทรงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและปรับปรุงร่างจดหมายสนับสนุนฯ ให้อยู่ในขอบเขตของข้อบทของความตกลงฯ โดยไม่เพิ่มภาระผูกพันแก่ประเทศไทย และให้สอดคล้องกับระเบียบของหน่วยงานแล้ว

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า พันธกรณีภายใต้ความตกลงยังได้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นผู้รับฝากสินทรัพย์ของ AIIB ในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายการสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งเป็นไปตามข้อบทที่ 33 ของความตกลงที่ให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งธนาคารกลางหรือสถบันอื่นใดเป็นสถานที่รับฝากเงินตราหรือทรัพย์สินของ AIIB

    นอกจากนี้รัฐบาลจะจัดเตรียมสกุลเงินตราอื่นที่พึงแลกเปลี่ยนได้สำหรับการทำธุรกรรมของ AIIB ในประเทศไทยโดยปราศจากภาษี โดยหากประเทศไทยจะดำเนินการกู้ยืมหรือกอกเอกสารทางการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ในการระดมเงินทุน ประเทศไทยต้องให้สิทธิ์แก่ AIIB ไม่น้อยไปกว่าที่ให้กับประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น และกรณีที่ AIIB เปิดสำนักงานหรือจัดงานอย่างเป็นทางการในประเทศสมาชิก รัฐบาลจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ที่จะให้คุ้มครองเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเพิ่มเติมสำหรับ AIIB และเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของ AIIB ตามความจำเป็น

    ปิดประชุมสภาสมัยสามัญฯ ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 มี.ค.นี้

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา(พรฎ.) ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่2 พ.ศ….. ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 66 เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ

    ทั้งนี้ ร่าง พรฎ. ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญฯ นี้ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 ซึ่งบัญญัติให้ 1 ปี มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา 2 สมัย สมัยหนึ่งให้กำหนดเวลา 120 วัน และการปิดประชุมให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งตามที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่2 พ.ศ. 2565 ตั้งแต่วันที่1 พ.ย. 65 จะสิ้นกำหนดเวลา 120 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 จึงสมควรที่จะกำหนดให้ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่2 ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 66

    เพิ่มจำนวนนิสิตโครงการ “เพชรในตม” เป็น 161 คน

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติการเพิ่มจำนวนการรับนิสิตโครงการเพชรในตม จากเดิม 45 คน เป็น 161 คน หรือ เพิ่มขึ้น 116 คน โดยแยกกลุ่มที่ 1 จาก 73 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 2 คน ยกเว้นผู้มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ และจังหวัดชายแดนใต้ และกลุ่มที่ 2 นิสิตจากจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา 4 อำเภอ (จะนะ, เทพา,นาทวี และสะบ้าย้อย) จำนวน 15 คน

    พร้อมกันนี้ ได้เห็นชอบให้บรรจุบัณฑิตจำนวน 161 คนตามโครงการ เป็นข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในโรงเรียนพื้นที่ภูมิลำเนาของนิสิตตามโครงการ หรือ หมู่บ้านใกล้เคียงโดยไม่ต้องสอบแข่งขันเป็นกรณีพิเศษ พร้อมกับให้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า การเพิ่มจำนวนนิสิตตามโครงการฯ ในครั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรการอำนวยการโครงการเพชรในตมได้รับทราบจากรายงานว่า จำนวนครูในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ตลอดจนพื้นที่แนวชายแดนยังคงชาดแคลนครูระดับชั้นประถมศึกษา ขณะที่การผลิตบุคลากรครูของโครงการปีละ 45 คนยังไม่เพียงพอ สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. จึงได้เสนอแนวทางการรับนิสิตตามโครงการเพิ่มเติมตามจำนวนดังกล่าว เพื่อเป็นการขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการกศึกษาให้กับเยาวชนทั่วประเทศ

    ทั้งนี้ กอ.รมน. ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการภายหลังเพิ่มจำนวนนิสิตร่วมโครงการว่า งบประมาณตามโครงการจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป โดยเบื้องต้นคาดว่าปี 2566-69 งบประมาณจะอยู่ที่ 14.48 ล้านบาท 18.98 ล้านบาท 24.33 ล้านบาท และ 29.09 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งปี 2566 ที่งบประมาณเพิ่มขึ้น 5.39 ล้านบาท จากเดิมที่ กอ.รม. จัดเตรียมงบประมาณไว้ 9.09 ล้านบาทนั้น ส่วนที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบของ กอ.รมน. จากนั้นจมีการตั้งงบประมาณตามโครงการเพิ่มเติมในในปี 2567 เป็นต้นไป

    ทั้งนี้ โครงการเพชรในตมจัดขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์การพัฒนาบุคลากรในหมู่บ้าน อพป. ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลให้มีความรู้ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง เพื่อให้มีบุคคลที่มีความสามารถไปเป็นครูผู้พัฒนาในท้องถิ่นของตนเองหรือพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งนับแต่เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2565 มีนิสิตเข้ารับการศึกษาตามโครงการรวม 37 รุ่น จำนวน 1,259 คน จบการศึกษาแล้ว 1,034 คน และกำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 225 คน

    อนุมัติงบฯ 2,330 ล้าน สร้างคนดีตามหลักศาสนาใน จว.ชายแดนใต้

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้อง เพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566-70 พร้อมกับอนุมัติกรอบวงเงินในการดำเนินโครงการฯ ประจำปี งบประมาณ 2566-70 จำนวน 2,330 ล้านบาท

    สำหรับโครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีการจัดการศึกษาทางศาสนาสำหรับเด็กหลายรูปแบบ อาทิ โรงเรียนตาดีกา ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนจริยธรรมสำหรับหรับเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลามอายุระหว่าง 5-12 ปี ในวันเสาร์-อาทิตย์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ศพอ.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนาที่มีความสำคัญต่อการปลูกฝังหลักการทางศาสนาเบื้องต้น ศอ.บต. ได้ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดให้มีการรับฟังข้อเสนอจากภาคประชาสังคมต่างๆ พบกว่าการดำเนินโครงการเพื่อขัดเกลาทางศาสนาแก่เด็กยังทำได้อย่างจำกัดเนื่องจากขาดงบประมาณ จึงหารือกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานศึกษาเอกชนจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และสรุปเป็นแนวทางดำเนินโครงการดังกล่าว

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการจะเป็นการสนับสนุนโรงเรียนตาดีกา และ ศพอ. ให้ได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวันที่ดีกับเด็กที่เข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักศาสนาเบื้องต้นเพื่อให้เกิดสมาธิในการเล่าเรียน ควบคู่กับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม พร้อมกับพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาของเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 203,606 คน แบ่งเป็น นักเรียนในการดูแลของโรงเรียนตาดีกา 2,088 แห่ง จำนวน 191,024 คน และนักเรียนในการดูแลของ ศพอ. 45 คน จำนวน 12,582 คน

    การดำเนินโครงการจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณสนับสนุนปีละ 466 ล้านบาท เพื่อดำเนินการใน 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) ค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตาดีกาเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และ ศพอ. จำนวน 203,606 คน สนับสนุนคนละ 20 บาทต่อคนต่อวัน รวม 378.84 ล้านบาทต่อปี และ 2) งบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายพัฒนาศักยภาพเด็กแลผู้สอน 87.10 ล้านบาทต่อปี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนให้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรม ขัดเกลาและสร้างทักษะเพื่อให้เป็นคนดีตามหลักการของทุกศาสนา ขณะครูผู้สอนก็ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้มีหลักการในการสอนที่ถูกต้อง

    โยก “เอกพงษ์ หริ่มเจริญ” นั่งผู้ตรวจดีอีเอส

    นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติ/เห็นชอบ ในเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐมีรายละเอียดดังนี้

    1. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

    2. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

    3. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกะทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

    4. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอแต่งตั้ง นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

    5. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้

      1. นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนริศ ขำนุรักษ์)

      2. นายกูอาเซ็ม กูจินามิง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนริศ ขำนุรักษ์)]

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

    6. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จำนวน 3 คน ดังนี้

      1. ศาสตราจารย์เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ด้านกิจกรรมทางทะเล
      2. ศาสตราจารย์ชุมพร ปัจจุสานนท์ ด้านกฎหมาย
      3. พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ ด้านการทหารเรือ

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

    อ่าน มติ ครม. ประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มเติม