ThaiPublica > ประเด็นร้อน > BCG in Action > “สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชี้โมเดล ศก. BCG การปรับเปลี่ยนเชิงระบบและยุทธศาสตร์ Game Changer ที่แท้จริงของไทย

“สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชี้โมเดล ศก. BCG การปรับเปลี่ยนเชิงระบบและยุทธศาสตร์ Game Changer ที่แท้จริงของไทย

28 มกราคม 2023


ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาในหัวข้อ “Innovation Opportunities in the Age of Permacrises” ในงาน InnoSpace Summit 2023 ว่า

1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโลก (Global Structural Changes)

แม้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) จะเกิดขึ้นเมื่อ 200 – 300 ปีมาแล้ว แต่ผลของการปฏิวัติดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และนำมาสู่ “The Great Acceleration” ในช่วงไม่ถึง 100 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระแสการเปลี่ยนแปลงโลกไม่ได้เกิดแค่ในมิติของอุตสาหกรรมเพียงมิติเดียว ล่าสุดยังเกิดการปฏิวัติทางเทคโนโลยี (Technology Revolution) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่มิเพียงแต่ก่อให้เกิด Great Acceleration ที่เพิ่มมากขึ้น ยังนำมาสู่ “The Great Disruption” ทำให้เกิดความไม่สมดุลเชิงระบบ หรือ “Systemic Imbalances” และตามมาด้วย “Global Permacrises” (ดูรูปที่ 1 และ 2)

รูปที่ 1 Human Civilization in the Making
รูปที่ 2 The Great Acceleration

เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤติที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ เป็น “Global Permacrises” นั่นคือ เป็นวิกฤติที่ลุกลามไปทั่วโลก เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ และที่สำคัญเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่า ไม่หยุดหย่อน จนกลายเป็นสภาวะที่พวกเราต้องดำรงชีวิตท่ามกลางความไร้เสถียรภาพและไม่มั่นคงที่ยาวนานต่อเนื่อง จนเสมือนหนึ่งว่า มนุษยชาติกำลังเผชิญกับอนาคตที่มืดมน (A Bleak Future)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาสู่ Tyranny of Convenience ในขณะเดียวกันก็มีการผลาญทรัพยากรโลกจำนวนมาก นำมาสู่ Exploitation of the Commons ทั้ง Tyranny of Convenience และ Exploitation of the Commons ได้ก่อให้เกิด Great Acceleration และหนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับ System Collapse ในที่สุด ซึ่งหากเปรียบเทียบโลกเป็นระบบ ๆ หนึ่ง ระบบนี้ก็ใกล้จะพังทะลายเต็มที่แล้ว

2) ความไม่สมดุลเชิงระบบ (Systemic Imbalances)

ในปัจจุบันโลกกำลังตกอยู่ในความไม่สมดุลเชิงระบบในหลากหลายประการด้วยกัน ดังนี้

    -คำนึงถึงสุขภาวะของประเทศใครประเทศมันมากเกินไป คำนึงถึงสุขภาวะโดยรวมของโลกน้อยเกินไป
    -ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมากเกินไป ใช้ศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์น้อยเกินไป
    -เห็นแก่ผู้คนปัจจุบันมากเกินไป คิดเผื่อคนรุ่นหลังน้อยเกินไป
    -เน้นหนักการบริโภคมากเกินไป เน้นหนักคุณภาพชีวิตน้อยเกินไป
    -ตอบสนองต่อความต้องการที่ล้นเกินของคนรวยมากเกินไป ตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานของคนจนน้อยเกินไป
    -ให้ค่ากับประสิทธิภาพและผลิตภาพมากเกินไป ให้ค่ากับความยั่งยืนและความเป็นมนุษย์น้อยเกินไป
    -ให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์มากเกินไป ให้ความสำคัญกับปัญญามนุษย์น้อยเกินไป (ดูรูปที่ 3)
รูปที่ 3 Systemic Imbalances

ความไม่สมดุลเชิงระบบเหล่านี้ นำมาสู่วาระเชิงนโยบายสำคัญ ๆ อาทิ Climate Action, Human Security, Social Exclusion ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโจทย์สำคัญในการขับเคลื่อน BCG Economy Model

หรือหากมองในระดับที่สูงขึ้น โลกกำลังตกอยู่ในความไม่สมดุลระหว่าง “มนุษย์” และ “ธรรมชาติ” ซึ่งสะท้อนผ่าน Great Acceleration ในหลากหลายมิติ และพร้อม ๆ กับความไม่สมดุลดังกล่าว โลกกำลังเผชิญกับความไม่สมดุลของวงจรคาร์บอน หรือ “Carbon Cycle Imbalance” ซึ่งเป็นความไม่สมดุลระหว่าง “การปลดปล่อยคาร์บอน” (Carbon Emission) และ “การดูดซับคาร์บอน” (Carbon Absorption) ที่นำมาสู่ “วิกฤติสภาพภูมิอากาศ” (Climate Crisis) ในปัจจุบัน และถึงแม้ว่าจะมีการขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) แต่นั่นยังถือว่าไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลเหล่านี้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน Mindset และพฤติกรรมของผู้คนครั้งใหญ่ไปพร้อม ๆ กันด้วย (ดูรูปที่ 4)

รูปที่ 4 Carbon Cycle Imbalance

ในปัจจุบันโลกเผชิญกับคลื่นวิกฤติที่ถาโถมระลอกแล้วระลอกเล่า เรากำลังอยู่ในยุคของความสุดโต่งในหลากหลากมิติ หรือเรียกได้ว่าเป็น “The Age of Extremity” ที่มีความสุดโต่งทั้งในมิติของธรรมชาติ (Nature Extreme) เศรษฐกิจ (Economic Extreme) สังคม (Social Extreme) และภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Extreme) ในห้วงเวลาเดียวกัน

ความสุดโต่งในหลากมิติเหล่านี้นำมาสู่ความท้าทายที่ว่า ภายใต้โลกที่เป็นอยู่ เราจะแปลงเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างไร (ดูรูปที่ 5)

รูปที่ 5 Global Permacrises & The Age of Extremity

3) การปรับตัวของประเทศไทยภายใต้ภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนไป (Thailand in the Changing Global Landscape)

การเตรียมพร้อมเพื่อพลิกวิกฤติเป็นโอกาส จะต้องไม่ใช่แค่การปฏิรูปรายภาคส่วน หรือการปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ (Incremental Changes) อย่างที่ดำเนินการอยู่ แต่ต้องเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงระบบ (Systemic Transformation) ที่นำไปสู่การคิดค้นรังสรรค์นวัตกรรมการปรับเปลี่ยน (Transformative Innovation) เพื่อให้สามารถรับมือกับ The Great Disruption และ Permacrises ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดูรูปที่ 6)

รูปที่ 6 Turning Crises into Opportunities

การปรับเปลี่ยนเชิงระบบและนวัตกรรมการปรับเปลี่ยน จะเปิดพื้นที่แห่งโอกาสที่พวกเราต้องมาช่วยกันขบคิดท่ามกลาง Permacrises ซึ่งนี่คือที่มาของแนวคิด Thailand 4.0 ที่ผมได้มีโอกาสนำเสนอเมื่อหลายปีที่แล้ว

Thailand 1.0, 2.0, 3.0 จนถึง 4.0 เป็นพัฒนาการทางยุทธศาสตร์การปรับตัวประเทศไทยให้สอดรับกับพลวัตโลก กระแส Industrialization ในอดีต ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากสังคมเกษตรดั้งเดิม (Thailand 1.0) ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมเบา (Thailand 2.0) ตามมาด้วยกระแส Globalization ที่เริ่มมีการนำทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามา นำมาสู่ระบบเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมและบริการสมัยใหม่ (Thailand 3.0) จวบจนปัจจุบัน ที่พวกเรากำลังเผชิญกับ The Great Disruption ซึ่งเป้าหมายก็คือการปรับเปลี่ยนไปสู่ Thailand 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและปัญญามนุษย์ (ดูรูปที่ 7)

รูปที่ 7 Thailand 4.0

4) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเชิงระบบ (Systemic Transformation)

โลกในปัจจุบันเรียกหาความยั่งยืน (Sustainability) แต่ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากความเท่าเทียม (Equity) [และความเท่าเทียมจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมที่ขาดซึ่งความยุติธรรม!

ในขณะเดียวกันโลกยังต้องมีพัฒนาการเพื่อก้าวไปข้างหน้า (Progress) โดยอาศัยวิทยาการ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ประชาคมโลกอยู่ภายใต้ Global Commons ที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องตอบโจทย์ความมั่นคง (Security) ซึ่งในที่นี้หมายถึงความมั่นคงในระดับฐานราก เป็นความมั่นคงที่ส่งผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน น้ำ ตลอดจนความมั่นคงของรายได้และการมีงานทำ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องมองการปรับเปลี่ยนเป็นองค์รวม ที่ประกอบด้วย 4 มิตินี้ร่วมกัน ซึ่งจะนำมาสู่การขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า โดยสามารถตอบโจทย์ประเทศไทยและประชาคมโลกได้ในเวลาเดียวกัน นั่นคือการขับเคลื่อนความยั่งยืนควบคู่ไปกับความก้าวหน้า จึงจะนำมาซึ่งการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ในทำนองเดียวกัน การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับการสร้างความเท่าเทียม จึงจะเกิดความมั่งคั่งร่วมกัน (Shared Prosperity) เป็นการสร้างหลักประกันว่า แนวคิดไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง (No One is Left Behind) ไม่ใช่วาทกรรมทางการเมือง แต่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อม ๆกันนั้น บนความเท่าเทียมที่มีความมั่นคง จะทำให้เกิดศานติสุข (Secured Peace) ขึ้นอย่างถาวร ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีความเท่าเทียมเดินหน้าควบคู่ไปกับความยั่งยืน ก็จะนำไปสู่การรักษ์โลก (Saved Planet) ตามมา (ดูรูปที่ 8)

รูปที่ 8 Systemic Transformation

นี่คือโจทย์ท้าทายประเทศไทยและประชาคมโลก ภายใต้กรอบความคิด “Reimagineering Thailand” (Re-imagine + Engineering) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย Visionary Leaders, Strong Political Will และ People Engagement ที่จะทำให้เกิดการยึดโยงเชื่อมต่อ Thailand 4.0, Systemic Transformation, Thailand Grand Strategy และ โมเดลเศรษฐกิจ BCG เข้าด้วยกันอย่างสนิท (ดูรูปที่ 9)

รูปที่ 9 Reimagineering Thailand

5) ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทย (Thailand’s Grand Strategy)

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเชิงระบบจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ประเทศไทยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ในขณะที่ประชาคมโลกมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแม้ว่าเราพยายามผลักดัน SEP for SDGs แต่ทั้ง SEP และ SDGs ล้วนยังคงเป็นนามธรรม ซึ่งสิ่งที่จะมาเปลี่ยน SEP for SDGs กลายมาเป็นรูปธรรมได้คือ โมเดลเศรษฐกิจ BCG

อาจกล่าวได้ว่า SDGs คือ “Common Goals” SEP คือ “Common Value” และ BCG คือ “Common Ground” ที่จะเชื่อมโยง Common Goal และ Common Value เข้าด้วยกัน

การเชื่อมโยงเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติของ SEP, BCG และ SDGs เข้าด้วยกันได้ จะก่อเกิดเป็น Thailand’s Soft Power ชุดใหม่ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ในมิติของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว แต่เป็น Soft Power ที่หลากหลายมิติ อันเกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย บนฐานคิดของความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความก้าวหน้าและความมั่นคง จะเกิดเป็น Soft Power ในมิติของธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม และความยั่งยืน (Governance, Social Inclusion & Sustainability as Soft Power)

มิเพียงเท่านั้น การถักทอ SEP, BCG และ SDGs เข้าด้วยกัน ยังเป็นการตอบโจทย์การขับเคลื่อน ESG ที่กำลังผลักดันกันอยู่ได้เป็นอย่างดี (ดูรูปที่ 10)

รูปที่ 10 Thailand’s Grand Strategy

การปรับเปลี่ยนเชิงระบบ (Systemic Transformation) และ ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทย (Thailand’s Grand Strategy) ที่นำเสนอ จึงมีความแตกต่างจากการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่มีอยู่ เพราะเป็นการเชื่อมโยงการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างโลก และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไปพร้อม ๆ กัน โดยเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงระบบในทิศทางที่เป็น Win-Win Strategy ตอบโจทย์ความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความก้าวหน้า และความมั่นคง ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างเป็นรูปธรรม

6) โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับการปรับเปลี่ยนเชิงระบบ

BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทั้งในมิติของความยั่งยืน (Sustainability) ความมั่นคง (Security) ความเท่าเทียม (Equity) และความก้าวหน้า (Progress) ดังนี้

1.ความยั่งยืน: BCG เป็นเรื่องของการมองธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดทรัพยากร (Nature as Source) ที่ต้องใช้อย่างรู้คุณค่า การปกป้องทรัพยากรร่วม (Protecting the Commons) รวมถึงการผลักดัน Climate Action
2.ความมั่นคง: BCG สามารถตอบโจทย์ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคมได้ในเวลาเดียวกัน
3.ความเท่าเทียม: BCG เน้นคุณค่าของความหลากหลาย ยึดมั่นในแนวคิดไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงการเติมเต็มพลังประชาชน (People Power)
4.ความก้าวหน้า: BCG เป็นการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืน (Science for Sustainability) ไม่ใช่เพียงวิทยาศาสตร์เพื่อความทันสมัย (Science for Modernity) รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์มนุษยชาติ (Technology for Humanity) ไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพูนผลิตภาพ (Technology for Productivity) และจะต้องสร้างนวัตกรรมบน BCG ที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความครอบคลุมและทั่วถึง (Inclusive Innovation) (ดูรูปที่ 11)

รูปที่ 11 BCG Conceptual Design

7) BCG Modes of Production & Consumption

ในปัจจุบันพวกเรากำลังเผชิญกับความท้าทายในหลากหลายด้าน ในด้านความยั่งยืน พวกเราเผชิญกับวิกฤติระบบนิเวศน์ ควบคู่กับวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ในด้านความมั่นคง ที่เผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคม หรือในด้านความเท่าเทียม ที่เผชิญกับความท้าทายด้านความหลากหลาย ความทั่วถึงและครอบคลุม ซึ่งหากจะแปลง BCG Economy Model ให้เป็นกลไกที่เป็นรูปธรรม จะประกอบด้วย 5 Modes of Production & Consumption ดังนี้

1.Regenerative/Circular Mode of Production & Consumption: เป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ เพื่อไปสู่ Zero Waste ซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจให้กับ SMEs สตาร์ทอัพ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่มากมาย

2.Zero Carbon of Mode of Production & Consumption: จะเชื่อมโยงไปสู่ Net Zero, Carbon Neutrality, Carbon Capture & Storage หรือ Blue Carbon

3.Human Security Mode of Production & Consumption: BCG สามารถตอบโจทย์ความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน

4.Collaborative Mode of Production & Consumption: Competitive Mode of Production & Consumption ที่แต่เดิมมาต่างคนต่างทำ จะไม่ได้ผลอีกต่อไป จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ Collaborative Mode of Production & Consumption โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องเผชิญกับ Global Commons อย่าง Climate Crisis

5.Distributive Mode of Production & Consumption: BCG ไม่ได้มีเพียงแค่ Sectoral-Based แต่ยังมี Area-Based และ Career-Based ซึ่งบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อันนำมาสู่ Distributive Mode of Production & Consumption (ดูรูปที่ 12)

รูปที่ 12 BCG Mechanism Design

8) บทบาทของ BCG ในภาพใหญ่

นัยยะสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG สามารถสะท้อนผ่านการเชื่อมโยงใน 6 บทบาทดังนี้

1.ยกระดับ (Enhance): BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ช่วยยกระดับข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศไทย ซึ่งก็คือความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม

2.เชื่อมโยง (Connect): BCG เชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยตรง

3.เติมเต็ม (Fulfill): BCG สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างน้อย 10 ข้อจากทั้งหมด 17 ข้อ

4.ครอบคลุม (Cover): BCG ครอบคลุม 5 S-Curve แรก จาก 10 S-Curve ซึ่งถือเป็น 5 S-Curve ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็น 5 S-Curve ที่สามารถต่อยอดจากฐานเดิม ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่จากศูนย์

5.บูรณาการ (Integrate): BCG ทำให้เกิด Mode of Production & Consumption ที่หลากหลาย ซึ่ง 5 Modes of Production & Consumption ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้าถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการตอบโจทย์ประเทศและประชาคมโลก

6.ประสานร่วมมือ (Collaborate): BCG จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ (Multi-Stakeholder Engagement) ต้องอาศัยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ชุมชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเครือข่ายระดับโลก (ดูรูปที่ 13)

รูปที่ 13 Essences of BCG Economy Model

9) BCG ในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (BCG Environmental Economic Dimension)

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า BCG มีหลายมิติ และในมิติหนึ่ง BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดย

    -BCG ไม่ได้ชู Degrowth & Deindustrialization และไม่ได้ปฏิเสธ Growth & Industrialization แต่ต้องเป็น Growth & Industrialization ที่เน้น Decarbonization & Dematerialization
    -การทำธุรกิจบนฐาน BCG ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่การ Trade-off ระหว่าง Risk & Return แต่ต้องเน้นสมดุลระหว่าง Risk, Return & Responsibility
    -BCG เปลี่ยนมุมมองจาก Nature as Resources เป็น Nature as Sources
    -BCG เปลี่ยนจาก Imagining the Limitless ที่เคยคิดว่าโลกมีทรัพยากรไม่จำกัด เป็น Creating the Power of Limit เป็นการสร้างพลังให้เกิดขึ้นหลุดพ้นข้อจำกัด (ดูรูปที่ 14)
รูปที่ 14 BCG Environmental Economic Dimension

10) BCG ในมิติทางด้านสังคมและการเมือง (BCG Socio-Political Dimension)

สังคมไทยปัจจุบันเข้าใกล้จุดวิกฤติ เพราะเข้าใกล้ที่จะเป็น “Me-Society” หรือ “สังคมของตัวกูพวกกู” ซึ่งเราอยู่อย่างนี้ต่อไปไม่ได้ จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็น “We-Society” หรือ “สังคมของพวกเรา” BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์ Inclusive Growth, Inclusive Development และ Inclusive Wealth ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างความมั่งคั่ง โดย

    -BCG ไม่ใช่ Pro-Rich หรือ Pro-Poor แต่เป็น Pro-All ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเท่ากัน
    -BCG ไม่ได้เน้นการสร้าง Market Power แต่เน้นการสร้าง People Power (ผ่าน People & Local Empowerment)
    -BCG ไม่เน้น Redistribution แต่เน้น Predistribution ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากันตั้งแต่แรก มากกว่าที่จะให้คนบางกลุ่มได้โอกาสก่อน แล้วจึงค่อยแบ่งปันให้กลุ่มอื่นทีหลัง
    -BCG ไม่ใช่ Democracy from Above แต่เป็น Democracy from Below

ที่สำคัญ BCG ช่วยลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และการกีดกันทางสังคม ในขณะเดียวกัน ช่วยเพิ่มทุนทางสังคม ทั้งระหว่างคนในกลุ่มเดียวกัน (Bonding) และเชื่อมระหว่างคนต่างกลุ่ม (Bridging) พร้อมกันนั้นยังช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และทำให้เกิดการผนึกกำลังร่วมทางสังคมอีกด้วย (ดูรูปที่ 15)

รูปที่ 15 BCG Socio-Political Dimension

11) โอกาสการรังสรรค์นวัตกรรมชุดใหม่ ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยปกติแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปโอกาสมักจะลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลา แต่หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสภาวะโลกรวน แสดงให้เห็นแล้วว่าโอกาสของ BCG นั้นมีแต่จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการรับมือกับโอกาสดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากพวกเราช่วยกันผลักดัน BCG ก็จะทำให้เกิด Impact มหาศาลทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานภายใต้ดุลยภาพใหม่ที่เกิดขึ้น

หากมองในมิติของนวัตกรรม BCG มีความไม่แน่นอนของอุปสงค์ (Demand Uncertainty) และความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี (Technology Uncertainty) ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น BCG จึงเป็น Optimal Strategy ที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากภาวะการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ก้าวขึ้นมาเป็น Technology Independent Nation และ/หรืออาจไปร่วมกับพันธมิตรโลก ในรูปแบบของ Technology Interdependent ที่สำคัญ BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่สตาร์ทอัพมีโอกาสที่จะรังสรรค์นวัตกรรม (Propensity to Innovate) มากกว่าการลอกเลียนแบบนวัตกรรมจากคนอื่น (Propensity to Imitate) (ดูรูปที่ 16)

รูปที่ 16 BCG Innovation Opportunity x Capability Analysis

12) ช่องทางการพัฒนา BCG Startup

ช่องทางของ BCG Startup มีอยู่มากมาย อาทิ

1.Close the Gaps: แม้ว่า BCG จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังคงมีช่องว่างที่พวกเราต้องมาช่วยกันเติมเต็มอยู่อีกมากมาย ซึ่งนำมาสู่ช่องทางในการพัฒนา BCG Startup ในการสร้างมูลค่า (Value Creation) รวมถึงการยกระดับประสิทธิภาพ (Efficiency Improvement)

2.Create the Missing Links: การที่ BCG จะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายโลกได้นั้น พวกเราจะต้องช่วยกันเชื่อมโยงข้อต่อที่ขาดหาย (Missing Links) ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกฎกติกาที่จะช่วยควบคุมระบบนิเวศ (Ecosystem Governance) การพัฒนาตลาด (Market Creation) รวมถึงการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับโลก (Global Connect)

3.Connect the Dots: ประเทศไทยมีรากเหง้าของ BCG อยู่แล้ว เพียงแต่ขาดการต่อเชื่อมยึดโยงสิ่งเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ผ่านการสร้าง Enabling Platform และ System Integration (ดูรูปที่ 17)

รูปที่ 17 BCG Start-Up Opportunities

13) BCG Ecosystem

ระบบนิเวศที่จะทำให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เกิดพลัง จะประกอบด้วย 4 ตัวขับเคลื่อน และ 4 ตัวสนับสนุน (BCG 4 Drivers x 4 Enablers) 4 ตัวขับเคลื่อน (4 BCG Drivers) มีดังนี้

1.BCG Sectoral Development

    -Food and Agriculture
    -Medical and Wellness
    -Energy, Material and Biochemical
    -Tourism and Creative Economy

2.BCG Talent & Entrepreneur Development

    -BCG Startups
    -Innovative Driven Enterprises
    -Smart Farmers
    -High-Value Service Providers
    -Deep-Tech Developers
    -Creative Entrepreneurs

3.Area-Based BCG Development

    -Northern Economic Corridor (NEC)
    -North Eastern Economic Corridor (NEEC)
    -Eastern Economic Corridor (EEC)
    -Southern Economic Corridor (SEC)

4.BCG Frontier Research and Knowledge Development

    -Complex Microbiota
    -OMICs
    -Bioprocess Engineering
    -Gene Editing & Synthetic Biology
    -Terahertz
    -Decarbonization
    -HPC & AI
    -Advance Digital Platform (ดูรูปที่ 18)
รูปที่ 18 4 BCG Drivers

อย่างไรก็ตาม ในการจะขับเคลื่อน BCG นั้น เพียงแค่ 4 ตัวขับเคลื่อนยังถือว่าไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมี 4 ตัวสนับสนุน (4 BCG Enablers) ซึ่งประกอบด้วย

1.BCG Regulatory Framework

    -Regulatory Sandbox
    -Product Life-Cycle
    -Biodiversity Act
    -Bayh-Dole Act

2.BCG Facility & Infrastructure

    -National Biobank
    -National Quality Infrastructure (NQI)
    -Pilot Plant
    -High Performance Computing for AI & Big Data
    -Countrywide High Speed Internet Network

3.BCG Capacity Building

    -BCG Career Path
    -BCG Skill-Set
    -BCG Curriculum
    -Non-Degree Programs
    -Digital/Deep Technology Innovator

4.BCG Global Network

    -BCG Global Forum
    -International Organizations
    -Global University Network
    -Global Research Institutes
    -Global Digital & Tech Companies (ดูรูปที่ 19)
รูปที่ 19 4 BCG Enablers

14) BCG Enabling Technology

เทคโนโลยีสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) Technology as Competency คือเทคโนโลยีที่เป็นตัวสร้างขีดความสามารถ และ 2) Technology as Utility คือเทคโนโลยีที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐบาลควรจะหันมาพัฒนา Technology as Utility ให้มากขึ้น โดยมองเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคที่ไม่ต่างจากไฟฟ้าหรือน้ำประปา เป็นสิ่งที่ต้องใช้ได้ทุกวัน และเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ประชาชนทั่วไป หรือภาคเอกชน เพื่อที่จะไปส่งเสริมการเติบโต ยกระดับผลิตภาพ และคุณภาพชีวิต

กลุ่ม Technology as Utility หรือ Enabling Technology ที่จะมาช่วยยกระดับ BCG ประกอบด้วย Artificial Intelligence, Distributed Ledgers & Blockchain, Internet of Things, Autonomous Machines, 5G Networks และ Virtual, Augmented & Mixed Reality โดยรัฐและเอกชนต้องช่วยกันแปลงเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กลายเป็น Common Technology ที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ไม่ใช่เพียงแค่ในด้านเศรษฐกิจ (ดูรูที่ 20)

รูปที่ 20 BCG Enabling Technologies

15) ยกระดับ BCG ด้วยการผสมผสานปัญญามนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์

โลกจากนี้ไป ปัญญา (Wisdom) ของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากในอดีตที่ปัญญาเกิดมาจากความศรัทธา ต่อมาในยุคเรเนซองส์ เกิดจากความศรัทธาควบคู่กับความมีเหตุผล เนื่องจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามา แต่ในปัจจุบัน ปัญญาของมนุษย์จะมีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่ง AI เป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความเชื่อ จริยธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้น AI จึงเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพ โดยการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ควบคู่ไปกับปัญญามนุษย์ ในรูปแบบของ Collaborative Intelligence เพื่อตอบโจทย์ BCG Value Creation (ดูรูปที่ 21)

รูปที่ 21 Civilization Significance in the 21st Century

โดย AI ส่วนหนึ่งจะต้องนำไปใช้ในการวิเคราะห์ (Analysis) เพื่อทำให้ Data กลายมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ (Information) อีกส่วนหนึ่งต้องนำไปใช้ในการทำความเข้าใจบริบท (Contextualization) โดยแปลงข้อมูลสารสนเทศกลายเป็นชุดขององค์ความรู้ (Knowledge) และอีกส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการประมวลสรุป (Conviction) เพื่อถักทอองค์ความรู้ชุดต่าง ๆ ให้กลายเป็นปัญญา (Wisdom) (ดูรูปที่ 22)

รูปที่ 22 AI and our Human Future

16) Area-Based BCG

นอกเหนือจาก Sectoral Based BCG แล้ว Area-Based BCG เป็นอีก Domain หนึ่งที่เปิดโอกาสให้กับ Startup อีกมากมาย เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายเชิงชีวภาพและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หากพิจารณาลงไปถึงแผนการพัฒนาของแต่ละภูมิภาคตามศักยภาพภายในพื้นที่ จะพบว่ามีอยู่ถึง 18 คลัสเตอร์จังหวัด ซึ่งโดยส่วนมากครอบคลุมการเกษตร อาหาร เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ดังนั้นนี่ถือเป็นโอกาสของธุรกิจสตาร์ทอัพที่จะไปช่วยยกระดับ Value Creation ให้เกิดขึ้น ผ่าน การ Close the Gap, Create the Missing Link, และ Connect the Dot (รายละเอียดอยู่ในตอนที่สาม ที่ได้โพสต์ไปแล้ว) ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่พวกเราต้องมาช่วยกันขบคิด ดังนี้

    -ด้านการเกษตร: เราจะเปลี่ยน Traditional Farmers ให้เป็น Smart Farmers ได้อย่างไร
    -ด้านอุตสาหกรรมการผลิต: เราจะเปลี่ยน Traditional Enterprises ให้เป็น Innovation-Driven Enterprises ได้อย่างไร
    -ด้านการบริการ: เราจะเปลี่ยน Traditional Service Providers ให้เป็น High Value Service Providers ได้อย่างไร (ดูรูปที่ 23)
รูปที่ 23 BCG Innovation-Driven Enterprises & Startups

โดยธุรกิจสตาร์ทอัพจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ที่จะเป็น BCG Game Changer อย่างแท้จริง

หากบริหารจัดการดี ๆ Area-Based BCG จะเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวของ Place, People และ Product ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถลืมตาอ้าปากได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (Economic Democratization) รวมถึง BCG เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับท้องถิ่นผ่าน Area-Based BCG ระดับภูมิภาคผ่านกลุ่มประเทศ CLMV หรืออาเซียน และในระดับโลก อย่างที่ประเทศไทยได้ประกาศ BCG Economy Model ไปในเวทีการประชุมเอเปค ภายใต้ Bangkok Declaration

17) Career-Based BCG

หากมองในมิติของ Career-Based เราต้องส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดเป็นสตาร์ทอัพใหม่ ๆ อาทิ Water Management Startup, Waste Management Startup, Net-Zero Management Startup, Regenerative/Circular Startup, TeleMed Startup, Energy Tech Startup, BCG-Related IOT/Sensor, BCG-AI/Machine Learning เป็นต้น

โดยจะต้องทำให้ BCG เป็นเรื่องง่าย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ ผ่านการจัดหลักสูตร Non-Degree ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา โดยเน้นการลงมือปฏิบัติ อาทิ Smart Farming Academy, Herb Academy, Future Food Academy, Chef Academy, Affordable Energy Academy, Circular Economy Academy, Water Management Academy, Drone Academy, Community Development Academy, Sustainable Tourism Academy, Creative Economy Academy และ AI Academy (ดูรูปที่ 24)

รูปที่ 24 Career-Based BCG

บทสรุป

หากเรามีนโยบายและการบริหารจัดการ BCG ที่ดี ในระยะเวลา 5 ปี จะสามารถทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 21% ไปเป็น 24% จากมูลค่า 3.4 ล้านล้านบาท ไปเป็น 4.4 ล้านล้านบาท และยังทำให้เกิดการจ้างงานแรงงานมีทักษะเพิ่มขึ้นจาก 16.5 ล้านคน ไปเป็น 20 ล้านคน (ดูรูปที่ 25)

รูปที่ 25 BCG Model: Aim for Distributive Economic Prosperity

ที่สำคัญ คุณค่าที่แท้จริงของ BCG คือการที่สามารถตอบโจทย์ความก้าวหน้า ความเท่าเทียม ความยั่งยืน และความสมดุลได้ในเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ใน BCG ยังมีหุบเหวอีกมากมายที่รอการเติมเต็มจากสตาร์ทอัพและ SMEs รวมถึงจะต้องมองว่า โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นของประชาคมโลก ไม่ใช่ของประเทศไทย เพียงแต่ริเริ่มจากประเทศไทย และไม่ใช่ของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือของบุคคลใดบุคลหนึ่ง แต่เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ประชาชนทุกภาคส่วนเป็นเจ้าของ ทุกพรรคการเมืองต้องร่วมกันผลักดัน เพื่อร่วมปรับโลกเปลี่ยนประเทศไทย ให้เกิด Better World และ Brighter Future อย่างแท้จริง (ดูรูปที่ 26)

รูปที่ 26 Strategic Outcome of BCG Economy

ขอทิ้งท้ายให้กับชุมชน Startup ด้วย 3 Key Messages ครับ

1.No Room for Small Dreams

2.No One is Too Small to Make a Difference

3.No One is Left Behind
(ดูรูปที่ 27)

รูปที่ 27 Thailand in the New Global Landscape

ซีรี่ย์ BCG in Action สนับสนุนโดย