ThaiPublica > Native Ad > “Café Amazon” ผนวกแนวคิด “เศรษฐกิจ BCG” สร้างความยั่งยืนทุกมิติ

“Café Amazon” ผนวกแนวคิด “เศรษฐกิจ BCG” สร้างความยั่งยืนทุกมิติ

5 พฤศจิกายน 2022


“Café Amazon” combines the concept of “BCG economy” to create sustainability in all dimensions.

โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ ในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรจึงนำ BCG มาปรับใช้ให้เข้ากับแนวทางการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” ที่ปรับตัวสู่ความยั่งยืน เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว

หนึ่งในธุรกิจของโออาร์อย่างร้าน Café Amazon ร้านกาแฟที่มีสาขามากเป็นลำดับที่ 6 ของโลก จึงดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืนจากการผลิตและการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิตเริ่มต้นจนถึงการบริหารจัดการของเสียหลังการอุปโภคและบริโภค สอดคล้องกับ BCG Economy ในทุกด้าน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม

วิธีการสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ (Supplies Use) ภายในร้านให้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ เพื่อส่งต่อความยั่งยืนถึงผู้บริโภค โดยตรง

BCG ในเครื่องดื่ม 1 แก้ว

เมื่อเดินเข้าร้าน Café Amazon ผู้บริโภคจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่เป็นมิตรและร่มรื่น เนื่องจากการออกแบบที่จำลองมาจากธรรมชาติจริง เพราะร้านใช้แนวคิด Green ร้านกาแฟสีเขียวที่ใส่ใจเรื่องสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริหารจัดการขยะภายในร้าน การลดปริมาณการใช้พลาสติก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ตลอดจนเครื่องดื่มทุกแก้วก็มีรายละเอียดความยั่งยืนอยู่ข้างใน

ตั้งแต่การใช้พลังงานภายในร้าน ซึ่งปัจจุบันในปี 2565 โออาร์ ได้นำร่องติด Solar Rooftop ทั้งหมด 20 สาขา จากที่ในปี 2563 ได้ศึกษาการใช้พลังงานทางเลือก 5 สาขา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, วิทยุการบินแห่งประเทศไทย, กรมชลประทาน, สถาบันพัฒนาชลประทาน และสำนักงานฉลากกินแบ่งรัฐบาล และมีผลประหยัดที่จะได้รับหลังการติดตั้งทั้งโครงการ ประมาณ 83,000 บาทต่อเดือน หรือสาขาละ 3,000 บาท สำหรับ 6 กิโลวัตต์ 15 กิโลวัตต์ประมาณ 8,000 บาท, 10 กิโลวัตต์ประมาณ 5,000 บาท

พนักงาน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการดำเนินธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ “Café Amazon Go Green” ตามที่ประกาศในช่วงปลายปี 2562 ทำให้พนักงานได้สวมเสื้อและผ้ากันเปื้อนแบบ ‘Upcycled’ เพราะผลิตมาจากขวดน้ำพลาสติกที่มีปริมาณการใช้ 2,200,000 ขวดต่อปี หรือ แก้วพลาสติก ประเภท PET มีปริมาณการใช้ 300,000,000 ใบต่อปี แล้วนำมา ‘สร้างมูลค่าเพิ่ม’ ผ่านการแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก ผสานกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เรยอน (Polyester Rayon)และ เส้นใยฝ้าย ทอจนกลายเป็นเสื้อของพนักงาน ตลอดจนขึ้นรูปเป็นเส้นใย Non-woven เพื่อตัดเย็บเป็นกระเป๋าและที่รองแก้ว

แต่สิ่งสำคัญคือ แก้ว หลอด และถุงกระดาษ ก็ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ไม่ทิ้งสิ่งตกค้างให้โลก

เริ่มที่แก้ว ทั้งแก้วร้อน BIO ขนาด 4, 8 และ 12 oz. และแก้วเย็น PLA ขนาด 16 และ 22 oz. ทั้งหมดผลิตจากพืช ใช้เวลาย่อยสลายเพียง 6-24 เดือน โดย โออาร์ เริ่มใช้แก้วร้อนตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันช่วยลดปริมาณขยะได้ 224 ตันต่อปี ส่วนแก้วเย็นใช้มาตั้งแต่ปี 2558 ปัจจุบันใช้ใน 18 สาขา มีปริมาณการใช้ 560,000 ใบต่อปี ช่วยลดปริมาณขยะ 11 ตันต่อปี

หลอด Bio ห่อกระดาษ ผลิตจากพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ในระยะเวลาประมาณ 6-24 เดือน ปริมาณการใช้ต่อปี 316,570,000 เส้นต่อปี ช่วยลดปริมาณขยะ 296 ตันต่อปีนับตั้งแต่เริ่มใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562

สุดท้าย ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี ถุงกระดาษใส่เบเกอรี จำนวน 47,630,000 ใบ/ปี ช่วยลดปริมาณขยะ 1,300 ตันต่อปี

ตกแต่งร้านจากวัสดุรีไซเคิล

ด้านการตกแต่งร้านก็มาจากวัสดุรีไซเคิล และพลาสติกจากภายในร้าน เริ่มจากการตกแต่งเพดานภายในร้าน Café Amazon มาจากถาดพลาสติกชนิด Polystylene ที่ใช้ในร้านกว่า 75,000 ชิ้น ผ่านการบดเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 180-200 องศาเซลเซียส เพื่อผลิตออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จากนั้นจะถูกนำมาให้ความร้อนอีกครั้งและรีดเป็นแผ่นสำหรับตกแต่ง

ผนังตกแต่งภายในร้าน ก็มาจากถุงฟอยล์บรรจุเมล็ดกาแฟ จำนวน 4.2 ตันต่อปี ผ่านการตัดและบดอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น Eco-Board เพื่อใช้สำหรับเป็นผนังตกแต่งเช่นกัน

ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟเมล็ดกาแฟ จำนวน 50 ตันต่อปี ถูกนำมาอบเพื่อไล่ความชื้นจากนั้นนำมาผสมกับเม็ดพลาสติกและขึ้นรูปเป็นแผ่นแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าและชั้นวางของที่แข็งแรงทนทานใช้ภายในร้านคาเฟ่ อเมซอน

อย่างไรก็ตาม Café Amazon สาขาสามย่านภายในสถานีบริการพีทีทีสเตชั่นเป็นสาขาแรกที่มีวัสดุและเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุเหลือใช้ทั้งจากภายในร้านคาเฟ่ อเมซอน และโรงคั่วกาแฟ ดังนี้

  1. โต๊ะ (Upcycing Table) ตู้ (Upcycling Cabinet) และชั้นวางของ (Upcycing Shelf) ทำมาจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟที่เป็นของเสียจากโรงคั่วกาแฟ Café Amazon ผ่านบดและอบเพื่อไล่ความชื้นก่อน จากนั้นจะนำมาขึ้นรูปและประกอบเป็นโต๊ะ
  2. ผนังตกแต่งร้านรูปนกแก้วมาคอ (Upcycling Decoration Wall) ผลิตจากแก้วกาแฟพลาสติกโพลีโพรพิลีน หรือ PP ของ Café Amazon ซึ่งใช้แก้ว PP กว่า 5,000 ใบ
  3. โซฟา Upcycling Armchair จากขยะขวดน้ำดื่ม PET จำนวน 1,200 ขวดถูกนำมาใช้ใหม่นำมาใช้ผลิตเป็นชุดเก้าอี้และโซฟาที่ใช้ภายในร้านคาเฟ่อเมซอน
  4. Upcycling Ceiling เพดานจากถาดพลาสติกชนิด Polystyrene ที่ใช้ในร้าน Café Amazon กว่า 75,000 ชิ้น ถูกนำมาบดขึ้นรูปใหม่และติดตั้ง นำมาออกแบบติดตั้งเป็นเพดานร้าน
  5. แกลลอนนมพลาสติกของร้าน Café Amazon เปลี่ยนเป็น กระถางสวนแนวตั้ง และ ถุงบรรจุเมล็ดกาแฟถูกเปลี่ยนเป็นบอร์ดผนังตกแต่งร้าน
  6. ถุงฟอยดล์ที่ใช้ใส่เมล็ดกาแฟ สามารถนำมาผลิตเป็น Eco-Board เพื่อใช้เป็นผนังเมนูสำหรับลูกค้าเลือกสั่งเครื่องดื่ม

ผลิตภัณฑ์ Upcycling ช่วยเหลือสังคม-ชุมชน

จากวันคุ้มครองโลกในเดือนเมษายน ปี 2565 ที่โออาร์ร่วมขับเคลื่อนเจตนารมณ์ความร่วมมือ ร้านกาแฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Coffee Shop) โดยชูจุดเด่น ‘ร้านกาแฟรักษ์โลก’ ตอกย้ำการบริโภควิถีใหม่ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวคิด “ชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ทำให้ผู้บริโภคสนับสนุนสินค้าที่นอกเหนือจากเครื่องดื่มด้วย เนื่องจากสินค้าอื่นๆ ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ และผลิตโดยชุมชนต่างๆ เพิ่มมูลค่าหมุนเวียนกลับสู่ตลาดกับ “The Upcycling Collection”

ตัวอย่างเช่น กลุ่มชาวบ้านในโครงการกระจายรายได้สู่ชุมชน เขตจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มผู้ต้องขังในโครงการคืนคนดีสู่สังคม (สร้างงานสร้างอาชีพ) จากเรือนจำเขาพริก จังหวัดนครราชสีมา​ ได้ร่วมกันผลิตสินค้าพรีเมียมพิเศษ ‘The Upcycling Collection’ ได้แก่ กระเป๋าเครื่องสำอางรักษ์โลก กระเป๋าคาดเอวรักษ์โลก กระเป๋าแมสเซนเจอร์รักษ์โลกและ กระเป๋าโน๊ตบุ๊ครักษ์โลก โดยผลิตจากเศษถุงฟอยด์บรรจุเมล็ดกาแฟที่เหลือใช้ในโรงคั่วกาแฟ Café Amazon อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พันธมิตรที่แข็งแกร่ง

เศรษฐกิจ BCG จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากโออาร์ไม่มีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ดังนั้นในทุกกระบวนการทางธุรกิจ จึงต้องมีพันธมิตร ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงการยอมรับจากผู้บริโภค

โออาร์ได้ร่วมกับ GC และโครงการวน จัดทำโครงการเก็บแก้วกลับ โดยพัฒนาตู้เก็บแก้วติดตั้ง ณ ร้าน Café Amazon เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการคัดแยกขยะและนำขยะประเภทแก้วและฝาเครื่องดื่ม PET ที่ถูกทิ้ง กลับมาใช้ประโยชน์โดยการ Upcycling แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อพนักงาน ผ้ากันเปื้อน ฯลฯ ส่งเสริมให้เกิด Circular Economy จากการนำทรัพยากรมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยปัจจุบันดำเนินการติดตั้งตู้เก็บแก้วไปแล้ว 37 สาขา 

ถัดมาคือโครงการส่งเสริมการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเภทร้านกาแฟ (Green Coffee Shop) Green Coffee Shop ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ร้านกาแฟทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โครงการดังกล่าวจัดให้ร้านกาแฟมีจุดคัดแยกขยะ เพื่อส่งขยะบางชนิดกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือรียูส ช่วยให้ร้านลดต้นทุนการจัดการขยะ ตามโรดแมพการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 กับเป้าหมายเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในปีหน้า รวมทั้งเป้าหมายการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด 100% ภายในปี 2570

เจตนารมณ์ของโออาร์ คือ การเติบโตพร้อมไปกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการคำนึงถึงผู้บริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ เพราะหัวใจสำคัญของโออาร์คือการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกมิติ