ThaiPublica > Native Ad > บทความร่วมมือ > กาแฟที่เราดื่มมาจากไหน? ตามรอยเส้นทางการจัดซื้อกาแฟที่ช่วยชุมชนและสิ่งแวดล้อมของ “คาเฟ่ อเมซอน”

กาแฟที่เราดื่มมาจากไหน? ตามรอยเส้นทางการจัดซื้อกาแฟที่ช่วยชุมชนและสิ่งแวดล้อมของ “คาเฟ่ อเมซอน”

31 ตุลาคม 2018


ที่มาภาพ: www.cafe-amazon.com

ในแต่ละปี แบรนด์กาแฟเบอร์ 1 ในไทยอย่าง “คาเฟ่ อเมซอน” (Café Amazon) ภายใต้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR มีความต้องการในการใช้เมล็ดกาแฟดิบมากกว่า 3,000 ตันต่อปี) เพื่อรองรับสาขา จำนวน 2,301 สาขา (ข้อมูล ณ 30 ก.ย. 2561) ในประเทศ และอีก 171 สาขาใน 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และโอมาน โดยแหล่งในการจัดซื้อเมล็ดกาแฟทั้งหมดมาจากประเทศไทย 100% (จัดซื้อเมล็ดกาแฟดิบที่ปลูกในประเทศไทยทั้งหมด)

ปริมาณความต้องการในการใช้เมล็ดกาแฟจะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ รับกับอนาคตและทิศทางการขยายตัวของตลาด และการเดินหน้าขยายธุรกิจของ PTTOR ในธุรกิจค้าปลีก ที่ตั้งเป้าอนาคตว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะมีสาขาไม่ต่ำกว่า 5,000 สาขาทั่วโลก

ในช่วงที่ผ่านมา คาเฟ่อเมซอนได้จัดทำโครงการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพเมล็ดกาแฟให้กับเกษตรกรจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ “โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกและผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ระหว่างมูลนิธิโครงการหลวง และกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 200 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ใน MOU ระยะที่ 1 ประมาณ 110 ไร่ และ MOU ระยะที่ 2 อีกกว่า 100 ไร่) และโครงการ “จัดหาซื้อขายเมล็ดกาแฟกะลา ภายใต้กระบวนการปลูกและผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ” (community coffee souring) ร่วมกับบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินงานโครงการธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่ม ปตท. (social enterprise) จึงเป็นส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมรองรับอนาคตในการยกระดับคุณภาพกาแฟไทย พร้อมไปกับการผลักดันชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจ

โดยตอบโจทย์หนึ่งในสี่แนวทางของ “คาเฟ่ อเมซอน” ในการเดินหน้าธุรกิจภายใต้โครงการเพื่อสังคมที่สร้างคุณค่าร่วม (creating shared value) ระหว่าง “ธุรกิจ” และ “สังคม” โดยความพยายามใช้สิ่งที่องค์กรทำได้ดี ในการสร้างคุณค่าให้กับทั้งสองฝั่ง นอกเหนือไปจากรูปแบบร้านที่หน้าตาสวยงาม (branding at store) การพัฒนาสินค้าใหม่ๆ (product development) และการให้บริการที่เป็นเลิศ (service excellence)

ทั้ง 2 โครงการสนับสนุนการจัดซื้อเมล็ดกาแฟกะลาจากชุมชน มีวัตถุประสงค์ในการทำงานหลักๆ ที่คล้ายกันในการสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายกาแฟให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ พัฒนาความรู้ และพัฒนาศักยภาพผู้ปลูกกาแฟ โดยมีเป้าหมายว่าจะทำให้ “เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ” มีชีวิตที่ดีขึ้นจากระบบราคาที่เป็นธรรม (fair trade)

ในการจัดซื้อเมล็ดกาแฟกะลาจากชุมชน ยังมีเป้าหมายสำคัญในเรื่อง “การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน” โดยสนับสนุนแนวทางการปลูกกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมา คาเฟ่อเมซอนได้สนับสนุนรับซื้อเมล็ดกาแฟสารโดยตรงจากมูลนิธิโครงการหลวงแล้วกว่า 630 ตัน และรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด แล้วกว่า 300 ตัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมื่อเทียบจากปริมาณความต้องการเมล็ดกาแฟในภาพรวมแล้วสัดส่วนจะยังไม่มากนัก แต่ในอนาคตทั้ง 2 โครงการนี้จะมาเติมเต็มความตั้งใจของ “คาเฟ่ อเมซอน” ที่เชื่อในเรื่องของก้าวเดินที่ต้องเติบโตไปร่วมกันระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องตลอดเส้นทางการเพาะปลูก การผลิต ไปจนการส่งมอบกาแฟถึงมือผู้บริโภค หลังแก้ว “กาแฟ” ที่มีคุณค่าและความหมายมากกว่าเครื่องดื่ม แต่สามารถส่งผ่านความปรารถนาดี ในการสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้ผู้คน รวมทั้งช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม

และนี่คืออีกหนึ่งในความมุ่งมั่นของ PTTOR ในการดูแลสังคมชุมชน สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดี ขึ้น มุ่งเน้นการสร้างงาน สร้างโอกาส เพื่อการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน