ThaiPublica > Native Ad > มาตรการรับมือวิกฤติพลังงานของประเทศต่างๆ

มาตรการรับมือวิกฤติพลังงานของประเทศต่างๆ

8 กันยายน 2022


ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติ ทั้งภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน การขาดแคลนพลังงาน เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยสูง การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ภาวะโลกร้อน ส่งให้แต่ละประเทศต้องออกมาตรการรับมือกับภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิกฤติพลังงาน” มาดูกันว่าแต่ละประเทศทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบ ออกมาตรการอะไรกันบ้าง (ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2565)

ยุโรป

อิตาลี

รัฐบาลอิตาลีประกาศว่ากำลังร่างแผนประหยัดพลังงานในสภาวะฉุกเฉิน (emergency savings plan) ประกอบด้วยมาตรการการจำกัดการเปิดเครื่องทำความร้อนที่อุณหภูมิ 19 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว และเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน ลดการเปิดไฟฟ้าริมถนนในเวลากลางคืน และปิดร้านค้าก่อนเวลาปกติ ทั้งนี้ การลดอุณหภูมิความร้อนของฮีทเตอร์ภายในอาคารลง 1 องศาเชลเซียส สามารถประหยัดก๊าซได้ถึง 2 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี(ที่มา: https://www.politico.eu/article/eu-countries-save-energy-winter/)

โปแลนด์

ปัจจุบันโปแลนด์ต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนถ่านหินเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากโปแลนด์ยุติการนำเข้าจากรัสเซียทั้งหมด 100% โดยอาจขาดแคลนถ่านหินจำนวน 1-2 ล้านตันเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าในช่วงฤดูหนาว รัฐบาลวางแผนจะสนับสนุนงบประมาณมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านยูโรให้กับโครงการ Clean Air Program โดยให้เงินอุดหนุนแก่ครัวเรือนสำหรับการติดตั้งระบบฉนวนของบ้าน และระบบทำความร้อนที่มีประสิทธิภาพสำหรับครัวเรือน (ที่มา:https://www.politico.eu/article/eu-countries-save-energy-winter/)

ฝรั่งเศส

เนื่องจากฝรั่งเศสพึ่งพาก๊าชจากรัสเชีย 1 ใน 5 ดังนั้นจึงประกาศแผนพลังงาน &energy sobriety" ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการร่างแผนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการประหยัดพลังงานในฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2019 ภายในปี 2024 รัฐบาลออกมาตรการประหยัดพลังงานโดยให้ห้างร้านต่างๆ ร่วมมือกันปิดประตูเข้า-ออกในขณะเปิดเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อน และห้ามเปิดใช้ป้ายโฆษณาที่ใช้ไฟฟ้าส่องสว่างในทุกเมืองระหว่างช่วงเวลา 1.00 น. ถึง 6.00 น. ซึ่งเป็นมาตรการที่บังคับใช้กับเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 800,000 คน (ที่มา:https://www.politico eu/article/eu-countries-save-enerey-winter/)

เยอรมนี

หลังจากสหภาพยุโรปคว่ำบาตรรัสเซีย เยอรมนีได้ปรับลดการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียลงเหลือเพียง 35% จากเดิมที่พึ่งพาการนำเข้ามากถึง 55% พร้อมทั้งให้คำมั่นที่จะยุติการนำเข้าทั้งหมด ด้านรัสเซียได้ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปโดยลดการส่งออกก๊าซผ่านท่อส่ง NordStream1 ลงไปมากถึง 20%

รัฐบาลเยอรมนีได้อนุมัติมาตรการประหยัดพลังงานสำหรับช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะจำกัดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารสาธารณะและอาคารสำนักงานต่างๆ โดยขอให้ปิดเครื่องทำความร้อนในห้องที่ไม่มีคนใช้งาน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปอาคารสาธารณะที่นอกเหนือจากโรงพยาบาลจะต้องจำกัดอุณหภูมิเครื่องทำความร้อนอยู่ที่ 19 องศาเชลเชียส

นอกจากนี้ ในบริเวณโถงทางเดินจะงดใช้เครื่องทำความร้อนอย่างสิ้นเชิง และระบบทำความร้อนสำหรับสระว่ายน้ำจะถูกระงับเช่นกัน

ส่วนกรุงเบอร์ลินยังระงับใช้กฎระเบียบสำหรับการเช่าที่พักอาศัย ที่เดิมเคยกำหนดอุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถใช้ในอพาร์ตเมนต์ต่างๆ เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน เยอรมนีจะหันมาใช้ถ่านหินสำหรับการเป็นพลังานของรถไฟทดแทนการใช้น้ำมัน
(ที่มา: https://www.bbc.com/news/business-62659247)

สเปน

สเปนได้ออกมาตรการให้ธุรกิจต่างๆ ลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลงให้ไม่ต่ำกว่า 27 องศาเซลเชียสในฤดูร้อนและเปิดใช้เครื่องทำความร้อนที่อุณหภูมิไม่เกิน 19 องศาเชลเชียสในฤดูหนาว รัฐบาลยังขอความร่วมมือให้ร้านค้าติดตั้งระบบล็อกอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้ประตูเปิดทิ้งไว้ในขณะที่ระบบทำความร้อนทำงาน และขอความร่วมมือประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 22.00 น. เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวสามารถลดความต้องการใช้ก๊าชและน้ำมันลงได้ร้อยละ 5ในระยะสั้นเท่านั้น
(ที่มา:https:/www.politico.eu/article/eu.countriessave-enerey-winter/)

เอเชียตะวันออก/กลาง/ใต้

จีน

จีนรณรงค์ประหยัดพลังงานให้ประชาชนในเมืองเฉิงตู ปิดไฟตกแต่งภูมิทัศน์นอกอาคาร โฆษณานอกอาคารตลอดถึงระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้าใต้ดินและป้ายชื่อของอาคารต่างๆ เพื่อประหยัดกระแสไฟฟ้า เนื่องจากสภาพอากศในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะเดียวกันปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงกว่าปกติ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตในปัจจุบัน

นอกจากนี้ โรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งโครงการร่วมทุนระหว่างเอกชนจีนกับโตโยต้าในเมืองเฉิงตู ต้องปิดโรงงานชั่วคราวขณะที่ประชาชนในเมืองต้าโจวเริ่มประสบปัญหาไฟฟ้าดับในระยะหลังๆ นี้เช่นกัน (ส.ค. 2565)
(ที่มา:https://www.freemalaysiatoday.com/categery/world/2022/08/19/chinas-chenedu-dims-lights-in-heatwave-power-crun)

จีนสั่งดับไฟตึกสูงเนื่องจากการขาดแคลนพลังงานฉับพลัน อุณหภูมิในประเทศจีนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประชาชนเปิดเครื่องปรับอากาศมากขึ้น และความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้แม่น้ำสายหลักของจีนเกิดภาวะแห้งแล้งอย่างมาก จนส่งผลกระทบให้ไม่สามารถผลิตกระแสฟฟ้าได้เพียงพอตามความต้องการ

สำนักงานบริหารชุมชนเมืองเทศบาลเมืองเฉิงตูออกประกาศรณรงค์ให้ประชาชนในเมืองเฉิงตู (20 ล้านคน) ปิดไฟตกแต่งภูมิทัศน์นอกอาคาร โฆษณานอกอาคารระบบไฟฟ้าของรถไฟใต้ดิน และป้ายชื่อของอาคารต่างๆ เพื่อประหยัดไฟฟ้า โดยบริษัทรถฟฟ้าใต้ดินเมืองเฉิงตูจะปิดไฟโฆษณาและปรับเครื่องปรับอากาศในสถานีรถไฟต่างๆให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมในระดับที่ประหยัด

ในขณะเดียวกัน โรงงานอุตสาหกรรมและโครงการร่วมทุนระหว่างเอกชนจีนกับบริษัทต่างชาติ เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทโตโยต้าของญี่ปุ่น ต้องปิดโรงงานชั่วคราว (ที่มา:จส. 100)

มาตรการประหยัดพลังงานของจีนในพื้นที่ว่าง

จีนขยายเวลามาตรการปันส่วนไฟฟ้าและการประหยัดไฟเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอสำหรับครัวเรือนในบางพื้นที่ของประเทศ

นครฉงซิ่ง (ประชากร 32 ล้านคน) สั่งให้ห้างสรรพสินค้าจำกัดเวลาเปิด-ปิดการให้บริการเหลือเพียงในช่วงเวลา 16.00 น. – 21.00 น. เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า

มณฑลเสฉวน (ประชากร 94 ล้านคน) สั่งปิดโรงงานส่วนใหญ่เพื่อประหยัดไฟฟ้านาน 6 วัน (ล่าสุดได้ขยายเวลาสั่งปิดโรงงานจนถึงวันที่ 25 ส.ค. 2565) นอกจากนี้ ยังมีการปิดเครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ และไฟในสำนักงานและห้างสรรพสินค้าอีกด้วย ทั้งนี้ มณฑลเสฉวนได้รับผลกระทบหนักเนื่องจาก 809 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ปัจจุบันจีนประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก) ขณะที่มณฑลอื่นๆ พึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน

นอกจากนี้ ยังมีการระงับและจำกัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่โรงงานหลายพันแห่ง และให้ปันส่วนการใช้ไฟตามครัวเรือน โดยหนึ่งในบริษัทที่ต้องระงับการผลิตชั่วคราวในช่วงครึ่งเตือนหลังนี้ คือ Toyota, Foxconn และ Tesla นครเซี่ยงไฮ้ปิดไฟประดับบริเวณเดอะบันต์ที่เป็นจุดชมวิวและทางเดินเลียบแม่น้ำหวงผู่ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญเพื่อประหยัดพลังงาน (ที่มา:เนชั่น)

สัปดาห์ประหยัดพลังงานแห่งชาติ ปี 2022 จีนได้มีการจัดสัปดาห์ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแห่งชาติประจำปี 2022 (13-19 มิ.ย. 2565) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมวิถีชีวิตอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สัปดาห์แห่งการรณรงค์ประหยัดพลังงานของจีนในปี 2565 นี้ ดำเนินงานทางออนไลน์โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงเทคโนโลยีและแนวทางประหยัดพลังงานของจีน

รัฐบาลจีนจะส่งเสริมมาตรฐานและสัญลักษณ์การอนุรักษ์พลังงานตลอดจนกิจกรรมประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมหลัก โดยมีการจัดกิจกรรมออนไลน์ เช่น การบรรยายเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การเผยแพร่วิดีโอเกี่ยวกับวิถีชีวิตแบบคาร์บอนต่ำ และแอนิเมชันส่งเสริมความรู้ด้านการประหยัดพลังงาน อนึ่ง สัปดาห์ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแห่งชาติถือเป็นกิจกรรมประจำปีตั้งแต่ปี 1991
(ที่มา:สำนักข่าว Xinhua)

ญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอความร่วมมือจากบริษัทและบ้านเรือนทั่วประเทศให้ช่วยกันประหยัดไฟ เนื่องจากอาจเกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว คาดว่าการจ่ายไฟฟ้าในญี่ปุ่นจะเข้มงวดมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว โดยกำลังการผลิตส่วนเกินโดยประมาณจะลดลงต่ำกว่า 3% ใน 7 จาก 10 ภูมิภาคทั้งหมดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ รวมถึงพื้นที่โตเกียวซึ่งคาดว่าจะลดลงต่ำกว่า 0% (มิ.ย. 2565)
(ที่มา: https://www.reuters.com/business/energy/japan-ask-householdscompanies-save-energy-this-summer-2022-06-07/)

ญี่ปุ่นเริ่มประหยัดไฟทั่วประเทศนาน 3 เดือนเป็นครั้งแรกใน 7 ปี ครัวเรือนและภาคธุรกิจญี่ปุ่นต้องเข้าสู่ช่วงเวลาประหยัดไฟฟ้านาน 3 เดือนนับจากวันที่ 1 ก.ค. 2565 เพื่อป้องกันการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงอากาศร้อนจัดทะลุสถิติ โดยรัฐบาลต้องประกาศใช้มาตรการนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี สภาพอากาศในกรุงโตเกียววัดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 37 องศาเซลเซียส และสูงเกินกว่าเกณฑ์อากาศร้อนจัดที่ 35 องศาเซลเซียสเป็นวันที่ 7 ติดต่อกันแล้ว และในจังหวัดไอจิวัดอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 38.2 องศาเซลเซียส ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนผิดปกติทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูงสุด และคาดว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ รัฐบาลจึงประกาศขอความร่วมมือจากภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ให้ร่วมกันลดการใช้ไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค. ถึง ก.ย. โดยไม่กระทบต่อชีวิตประจำวันและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลไม่ได้กำหนดเป้าหมายของปริมาณการประหยัดไฟฟ้าทั่วประเทศครั้งนี้ นอกจากแนะนำให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 17.00 น – 20.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลง ผู้ผลิตฟฟ้าบางรายจะเริ่มใช้ระบบสะสมคะแนนในเดือนนี้ เพื่อให้รางวัลแก่ครัวเรือนที่ร่วมประหยัดไฟ และรัฐบาลจะเริ่มให้แต้มสะสมมีมูลค่า 2,000 เยนแก่ครัวเรือนที่ร่วมประหยัดไฟในเดือน ส.ค.

รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ประชาชนผ่อนคลายการสวมหน้ากากกลางแจ้งอีกครั้งเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเป็นลมแดด (ที่มา: https://www.matichon.co.th/foreign/news3429809)

ญี่ปุ่นจะใช้พลังงานนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาวิกฤติ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศปรับนโยบายพลังงานครั้งสำคัญโดยจะกลับมาผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อบรรเทาวิกฤตราคาพลังงานพุ่งสูงและผลกระทบจากสงครามยูเครน

ญี่ปุ่นจะเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ที่ปิดไปนาน 10 ปี และเตรียมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นใหม่ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน และสำรองปริมาณฟฟ้าให้เพียงพอ

การตัดสินใจครั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานครั้งสำคัญหลังจากรัฐบาลสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ และสัญญาจะไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่อีก นับจากเกิดวิกฤตเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลายที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อปี 2554

ผู้นำญี่ปุ่นสั่งการให้เจ้าหน้าที่จัดทำมาตรการเกี่ยวกับนโยบายพลังงานนิวเคลียร์อย่างเป็นรูปธรรมภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานยั่งยืน และเขาเปิดเผยด้วยว่ารัฐบาลจะขยายเวลาอายุใช้งานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ปัจจุบันญี่ปุนกำหนดอายุใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไว้ที่ 40 ปี และสามารถขยายออกไปอีก 20 ปีหากมีการปรับปรุงความปลอดภัยดีขึ้นและผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ (ที่มา: https:/www.nationtv.tv/news/foreign/378884312)

อินเดีย

รัฐบาลอินเดียออกมาตรการข้อกำหนดสำหรับการปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยใหม่ โดยกำลังพิจารณากำหนดให้อาคารที่พักอาศัยแห่งใหม่ในอินเดียเป็นไปตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประหยัดไฟฟ้าได้ 120,000 รูปี ภายในปี 2573 โดยหลีกเลี่ยงการผลิตไฟฟ้า 3 แสนล้านหน่วย
(ที่มา: https://economictimes.indiatimes.com/industry/energy/power/energy-conservation-norms-may-be-must-for-residential-buildings/articleshow/90943985.cms)

อาเซียน

อินโดนีเซีย

นางศรี มุลยานี อินทราวาตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ได้เปิดเผยว่า อินโดนีเซียจะโยกงบประมาณแผ่นดินในส่วนของงบด้านพลังงานจำนวน 24.17 ล้านล้านรูปียะห์ (1.62 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นประมาณ 5% ของบประมารการอุดหนุนด้านเชื้อเพลิงทั้งหมด โดยจะโยกไปใช้ในโครงการทางด้านวัสดิการสังคมของประเทศ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนีเซียจะเพิ่มเงินอุดหนุนด้านพลังงานของปี 2022 มากขึ้นถึงสามเท่าตัวเป็นจำนวน 502 ล้านล้านรูปียะห์ (3.390 หมื่นล้านดอลลาร์) หรือร้อยละ 16 ของงบประมาณของประเทศเพื่อชดเชยงบประมาณด้านพลังงานที่ถูกยกมาก่อนหน้านี้
(ที่มา:https:/www.reuters.com/world/asia-pacific/indonesia-shift-16-oln-portion-fuel-subsidy-budeetwelfare-proerammes-2022-08-29/)

กระทรวงการประสานกิจการเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (Coordinating Ministry for conomic Affairs) ได้เปิดเผยว่า อินโดนีเซียจะขยายระยะเวลาของนโยบายการจัดเก็บภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นศูนย์ไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้

นายแอร์ลังกา ฮาร์ตาร์โต หัวหน้ารัฐมนตรีเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้ระบุว่า การขยายระยะเวลาดังกล่าวจะสามารถรักษาเสถียรภาพของน้ำมันปาล์มดิบให้มีความมดุลระหว่างการใช้ในภาคพลังงานและภาคอาหาร (ที่มา:https://english.news.cn/20220829/c616da04ade2467aac95bb43eb03856/c.html)

กัมพูชา

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนอนุมัติให้รัฐบาลกัมพูชาให้เงินอุดหนุนการไฟฟ้าแห่งกัมพูชา (EDC) จำนวนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพื่อรักษาอัตราค่าไฟฟ้าให้คงที่ และได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนประหยัดไฟ รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยมลพิษ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกัมพูชาเน้นย้ำถึงความสำคัญของเขื่อนไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยให้การผลิตไฟฟ้ามีเสถียรภาพและรักษาอัตราค่าไฟให้คงที่ท่ามกลางวิกฤติพลังงานโลก โดยมีประเทศจีนเป็นผู้พัฒนาเขื่อนไฟฟ้ารายสำคัญของกัมพูชา

ทั้งนี้ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนมีส่วนช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนชาวจีนเข้าลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพลังงานหมุนเวียน เช่น เขื่อนพลังไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มากยิ่งขึ้น (ที่มา: bttps://meroronline.com/indochina/a/detai1/9650000064498)

ฟิลิปินส์

รัฐบาลมีการประกาศแคมเปญ Energy Efficiency and Conservation Information Campaign เพื่อกระตุ้นความตระหนักในการประหยัดพลังงานของประชาชน โดยได้เรียกร้องให้ครัวเรือนขาวฟิลิปปินส์ประหยัดพลังงานด้วยการซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ฝึกฝนการประหยัดพลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งในส่วนของรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายลดการใช้ไฟฟ้าลง 10 เปอร์เซ็นต์ในอาคารของรัฐ โดยเปลี่ยนไปใช้หลอดแอลอีดีที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น และเปลี่ยนมาใช้เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ทั้งหมดภายในปี 2027 และในส่วนของห้างสรรพสินค้า ผู้บริหารของห้างใหญ่อย่าง SM Supermalls ได้มีการใช้มาตรการสำหรับห้างในเครือในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพยายามใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น
(ที่มา: bitps://www.pna gowph/anticles/1173675)

สิงคโปร์

การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแอลอีดีอัจฉริยะและพลังงานแสงอาทิตย์ในเมือง HDB จะช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ 15% ภายในปี 2573 ใช้มาตรการกาติดตั้งระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (CCS) ผลักดันโครงการฉลากพลังงานบังคับ (MELS) เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานของสินค้าควบคุมเพื่อตัดสินใจซื้ออย่างมีข้อมูล การประกาศใช้มาตรฐานประสิทธิภาพลังงานชั้นต่ำ (MEPS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยเฉลี่ยของเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศและเครื่องอบผ้า รวมถึงผลักดันโครงการนำร่องของ Customized Household Energy Efficiency Report (CHEER) สำหรับครัวเรือนในเขต (จูร่ง) ที่มีเครื่องวัดไฟฟ้าชั้นสูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจรูปแบบการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ดีขึ้น พร้อมคำแนะนำเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับวิธีการประหยัดพลังงาน
(ที่มา: https://www.twobirds.com/en/insights/2022/singapore/energy-effciency-a-singapore-perspective)

เวียดนาม

รัฐบาลได้ร่างแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยประสิทธิภาพพลังงาน การประหยัด และการอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงานการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

ความสำคัญสูงสุดสำหรับเวียดนามคือจัดการกับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น 10% ต่อปี โดยคาดว่าจะประหยัดพลังงานได้ 8-10% ของการใช้พลังงานทั่วประเทศ และลดการสูญเสียพลังงาน Power los ให้ได้6.0% จนถึงปี 2030 โดยมีมาตรการ ดังนี้

1. ลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการอุตสาหกรรมให้ต่ำกว่า 6.5% ลดอัตราการใช้พลังงานเฉลี่ย
2. ส่งเสริมให้ 70% ของนิคมอุตสาหกรรมและ 50% ของกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงและใช้มาตรการประหยัดพลังงานได้
3. ใช้ระบบจัดการพลังงานในสถานประกอบการและผู้ประกอบการขนส่ง โดยโปรแกรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการควบคุมยานพาหนะและการแก้ปัญหาทางเทคนิเพื่อประหยัดพลังงาน
4. ผลักดันให้เมืองและจังหวัดร้อยละ 90 ต้องพัฒนาโครงการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(ที่มา:https://www.trade.gov/market-intelligence/vietnam-energy-effciency)

ทวีปอเมริกาเหนือ/ใต้

อเมริกา

รัฐบาลมีการประกาศมาตตรฐานการประหยัดพลังงานขั้นต่ำของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ซึ่งอาจจะเป็นมาตรฐานที่กำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าสุงสุดไม่เกินพลังงานสูงสุดที่อนุญาต หรืออาจเป็นการกำหนดประสิทธิภาพการใช้ฟฟ้โดยเฉสี่ยในทุกรุ่นของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกัน

รัฐบาลประกาศกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร โดยมีการออกประมวลกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์และ/หรือที่อยู่อาศัยเพื่อบังคับใช้ข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงาน เช่น การออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง อีกทั้งยังได้ปรับปรุงมาตรฐานกฎหมายการก่อสร้างอาคารในรัฐต่างๆ ซึ่งอาจได้รับการแก้ไขโดยเขตอำนาจศาลท้องถิ่นเพื่อให้เข้มงวดเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงานมากขึ้น มีการออกมาตรการ energy efficiency resource standards (EERS) เพื่อกำหนดเป้าหมายประสิทธิภาพพลังงานสำหรับผู้ให้บริการพลังงาน มาตรฐานนี้จะช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานหรือการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการควบคุมในฝั่ง supply
(ที่มา: https://www.energy.gov/eere/slsc/enersy-efficiency-policies-and-programs)

เม็กซิโก

รัฐบาลมีการจัดทำมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน เพื่อกำหนดประสิทธิภาพพลังงานของผสิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำอุ่น โดยออกกฎบังคับองค์กรภาครัฐและเอกชนเฉพาะและทั่วไปสำหรับการดำเนินโครงการมาตรฐานดังกล่าว โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องได้รับการรับรองและการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดำเนินการโดยบุคคลที่สามเป็นผู้ทดสอบและให้การรับรอง

รัฐบาลเม็กชิโกดำเนินนโยบายจัดตั้งกองทุนเพื่ออำนวยความสะดวกในการลดการปล่อยมลพิษและลดการใช้พลังงาน โดยแทนที่หลอดไส้ด้วยหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ รวมทั้งสนับสนุนโครงการตู้เย็นประหยัดพลังงาน รัฐบาลออกมาตรการฉลาก Electric Power Saving Trust Fund (FIDE) เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติการประหยัดพลังงานตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานที่ผ่านการรับรองโดย FIDE ฉลาก FIDE ครอบคลุมผสิตภัณฑ์กลุ่ม Electric three phase induction motors, Lamps, ballasts and luminaries, Water pumps Commercial refrigerators, TV sets and monitors,Air conditioners

รัฐบาลประกาศใช้ Energy Conservation Code for Buildings เพื่อเป็นมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยมีการตรวจสอบวัดผลด้านการ อนุรักษ์พลังงานโดยหน่วยงานภายนอก หรือหน่วยงาน NGOs
(ที่มา: https://publicsectorassurance.org/case study/certification-supports-energy-efficiency-of-products-in-mexico/)

(ที่มา:https://www.climatescorecard.org/2020/10/world-resources-institute-mexico-analyzes-energy-efficiency-and-promotes-more-sustainable-buildings/)

แคนาดา

รัฐบาลได้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างรัฐต่างๆ ให้มีการออกมาตรการประหยัดพลังงานของอาคาร และอุปกรณ์พลังงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ

ในภาคขนส่งได้มีการออกกฎหมาย (Green Levy) เพื่อการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ไม่ประหยัดพลังงาน อย่างเช่น รถสเตชันแวกอน รถตู้ และรถอเนกประสงค์ โดยการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันของรถยนต์ดังกล่าว

ภาคอาคาร ทั้งอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยมีการให้เงินทุนสนับสนุนแก่รัฐต่างๆ ในการเพิ่มมาตการการประหยัดพลังงานในอาคาร รวมทั้งมีการใช้มาตรการ Energy Star for Homes ในการวัดการประหยัดพลังงานสำหรับที่อยู่อาศัย

(ที่มา: https:/fea.blob.c/assets/Tec2467c.78h44c0c-a966-a42b8861ec5a/Canada2022.pdf)

ทวีปแอฟริกา/ตะวันออกกลาง/ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์/นิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ขยายเวลาการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และยกเลิกค่าธรรมเนียมผู้ใช้ถนนและค่าโดยสารสาธารณะจนถึงสิ้น ม.ค. 2566 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่มกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้นและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ (ก.ค. 2565) หลังจากที่ช่วงก่อนหน้า ได้มีการลดภาษีเชื้อเพลิงลงแล้ว 25 เซนต์ต่อลิตร และลดภาษีน้ำมันดีเชล
(ที่มา:https://www.cnbc.com/2022/07/17/new-zealandextends-fuel-excise-duty-cut-until-end-jan-to-give-inflation-relief.html)

ออสเตรเลีย

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของออสเตรเลีย Chris Bowen ได้แถลงข่าวการขอความร่วมมือจากประชาชนในนิวเซาท์เวลส์กว่า 8 ล้านคน งดใช้ไฟฟ้าเป็นเวลา 2 ชั่วโมงในช่วงเวลา 18.00-20.00 น. ของทุกวันหากเป็นไปได้ เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน เพราะช่วงเวลาเย็นเป็นช่วงเสี่ยงไฟฟ้าดับสูง เนื่องจากผู้คนใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก แต่กลับกัน ในช่วงเวลานี้ กำลังไฟฟ้าจากกังหันลมและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นลดลง ทำให้ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ตามเป้าหมาย เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่านิวเซาท์เวลส์อาจไม่ถึงขั้นต้องเผชิญกับภาวะไฟฟ้าดับทั่วเมือง (มิ.ย. 2565)
(ที่มา: https://www.sdgmove.com/2022/06/27/australia-turnoff-energy-crisis/)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ออกมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย ท่ามกลางตันทุนเชื้อเพลิงสินค้าและบริการที่สูงขึ้นในประเทศ โดยให้การอุดหนุนรายเดือนเป็นจำนวนร้อยละ 85 ของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20.85 ต่อลิตรซึ่งมาตรการดังกล่าวเกิดจากข้อสั่งการของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการปรับโครงสร้างสวัสดิการสังคมสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยได้มีการเพิ่มงบประมาณเป็นสองเท่าหรือ 2.78 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หัวหน้าครอบครัวจะได้รับการอุดหนุนน้ำมันจำนวน 300 ลิตรต่อเดือน ในขณะที่ภรรยาที่ประกอบอาชีพจะได้รับการอุดหนุนจำนวน 200 ลิตรต่อเดือน ซึ่งมาตรการอุดหนุนดังกล่าวยังรวมไปถึงการสนับสนุนค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ และค่าที่พักอีกด้วย (ก.ค. 2565)
(ที่มา: https://www.arabianbusiness.com/politics-economics/uae-to-subsidise-petrol-price-for-lowincome-citizens-amid-rising-fuel-costs)

โอมาน

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัยษัม บิน ฏอริก อัสซะอีด ประกาศให้เงินอุดหนุนค่าไฟฟ้าร้อยละ 15 ของค่าไฟฟ้าปกติระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้ภาคครัวเรือนและสำนักงานต้องเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้น และกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน (มิ.ย. 2565)
(ที่มา: https://timesofoman.com/article/117458-additional-power-subsidy-for-summer-months-in-oman-welcomed)

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กองการต่างประเทศ