ThaiPublica > Native Ad > ‘ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง’ ปตท. รับรางวัลเกียรติยศ Thailand Green Design Awards 2022

‘ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง’ ปตท. รับรางวัลเกียรติยศ Thailand Green Design Awards 2022

16 กันยายน 2022


“ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” ปตท. รับรางวัลเกียรติยศ (Honorary Awards) จากเวที Thailand Green Design Awards 2022 (TGDA)

ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. นำโดย ‘ครองนวล ลิ่วมโนมนต์’ ผู้จัดการสังกัด สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. เข้ารับรางวัล Thailand Green Design Awards 2022 (TGDA) ในสาขารางวัลเกียรติยศ (Honorary Awards) ประเภทผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ด้านคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การยกระดับคุณภาพชีวิต และการตอบแทนทางสังคม (Social Contribution) ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือTGDA มุ่งหวังในการสร้างบรรยากาศของมหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมแห่งการสร้างสรรค์ ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมและให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ การพัฒนา ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมการวิจัยอย่างแท้จริง ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้สังคมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป

TGDA เป็นการประกวดที่เน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบในการผลิตว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรอบอย่างไร รวมทั้งกระตุ้น เกื้อหนุน และเอื้อประโยชน์ต่อสังคม ต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบอย่างสร้างสรรค์ เน้นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ประเภทที่ 2 การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resources Efficiency) และประเภทที่ 3 ยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิต (Life Enhancement) ผลงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและยกระดับคุณภาพการดำเนินชีวิต ช่วยอำนวยความสะดวก และสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์

นอกจากนี้ TGDA ยังได้มีการมอบ รางวัลเกียรติยศ (Honorary Awards) ประเภทผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ด้านคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การยกระดับคุณภาพชีวิต และการตอบแทนทางสังคม (Social Contribution) ซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มคน หน่วยงาน องค์กร หรือ ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างจุดเปลี่ยน รวมถึงการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อจุดประกายสังคมให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

ครองนวล ลิ่วมโนมนต์ ผู้จัดการสังกัด สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. เข้ารับรางวัล Thailand Green Design Awards 2022 (TGDA) ในสาขารางวัลเกียรติยศ (Honorary Awards)

“ป่าในกรุง-สร้างป่าให้กับคนกรุงเทพฯ”

จากนโยบายของ ปตท. ที่ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2537 ได้อาสาปลูกป่า 1 ล้านไร่ ทั่วประเทศ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 การดำเนินงานตลอด 25 ปี ในการฟื้นฟูป่าทั่วประเทศกว่า 1 ล้านไร่ ปตท. และได้พัฒนาต่อยอดและจัดตั้ง “สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.” ดำเนินภารกิจในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศ ส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเพื่อดูแลป่าอย่างยั่งยืน ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 3 แห่ง เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ จัดตั้งโครงการ “ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี” จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นบนที่ดินของ ปตท. อีก 2 แห่ง ได้แก่ “ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” จ.ระยอง และ “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” จ.กรุงเทพฯ

สำหรับ “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” มีแนวความคิด “สร้างป่าให้กับคนกรุงเทพฯ” โดยนำองค์ความรู้จากการปลูกป่ามาแล้ว 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ มาต่อยอดเป็น “ป่านิเวศ” จำลองป่ากรุงเทพฯในอดีต ที่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ดั้งเดิมและพันธุ์ไม้หายากกว่า 270 ชนิด ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปลูกป่านิเวศ ของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ร่วมกับองค์ความรู้การปลูกป่าของ ปตท. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องป่าและระบบนิเวศที่ผสมผสานความสวยงามด้านภูมิสถาปัตยกรรมให้คนกรุง หรือเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตในเมือง ได้มีโอกาสรู้จักและสัมผัสป่าอย่างใกล้ชิด ไม่ต้องเดินทางไกลและได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ บนที่ดินของ ปตท. จำนวน 12 ไร่ จากเดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นที่ทิ้งขยะ

ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงเริ่มก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อ “ป่าในกรุง” และทรงเป็นองค์ประธาน เปิด “ป่าในกรุง” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 การออกแบบจัดสรรสัดส่วนพื้นที่ จาก เป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่ปลูกป่ากว่า 9 ไร่ หรือ 75% พื้นที่แหล่งน้ำ 1 ไร่ ประมาณ 10 % และพื้นที่อาคารเพื่อการเรียนรู้ 2 ไร่ ประมาณ 15 %

พื้นที่ปลูกป่า ใช้แนวทางในการสร้างป่านิเวศ โดยทฤษฎีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติ ซึ่งการปลูกป่านิเวศนั้นจะต้องผสมผสานทั้งกลุ่มพันธุ์ไม้โตเร็ว ที่ช่วยสร้างร่มเงา และพันธุ์ไม้โตช้า หลากหลายชนิด ในลักษณะปลูกแบบเลียนแบบป่าธรรมชาติ ปลูกโดยไม่เป็นแถวเป็นแนว ปลูกพันธุ์ไม้ที่มีหลายระดับความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น (Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) และ ไม้พื้นล่าง (Herb) ต้นไม้บางส่วนที่ปลูกขึ้นในพื้นที่พบว่ามีความสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 1-2 เมตร

อาคารนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ กระตุ้นจิตสำนึกของคนเมืองให้เห็นคุณค่าของป่า ทำให้ “คน ป่า เมือง” กลับมาเกื้อกูลและพึ่งพากัน ผ่านพื้นที่ “ป่าในกรุง” โดยอาคารนิทรรศการและสำนักงาน บนพื้นที่ 2 ไร่ ใช้สำหรับการเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ ออกแบบโดยให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นหลัก คือ “กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม” เน้นให้ตัวอาคารกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น รูปทรงอาคารที่คล้ายกับลำต้นของต้นไม้ หลังคาใช้ปลูกต้นไม้ในรูปแบบ Roof Garden เมื่อมองจากมุมสูงจะพบว่าอาคารเขียวกลมกลืนกับธรรมชาติเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่า และ “ต้นแบบของนวัตกรรมอาคารเขียว”

นอกจากนี้ให้ความสำคัญต่อการวงจรชีวิตของวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในโครงการ โดยวัสดุที่นำมาใช้ต้องสามารถผลิตได้ภายในประเทศ มีการแปรรูปที่น้อย เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิต และการขนส่ง เช่น อิฐบล็อกประสานทำจากดิน ใช้ไม้ไผ่เพื่อลดการใช้ซีเมนต์ รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่ก่อเกิดมลพิษน้อย และควบคุมมลพิษจากภายนอกที่จะเข้าสู่อาคาร เช่น ติดตั้งพรมดักฝุ่นหน้าประตูทางเข้า และแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง รวมถึงการใช้แสงจากภายนอกช่วยให้ความสว่างในอาคารเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งหลังคาโรงจอดรถติดตั้งระบบดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ออกแบบเป็น ทางชมเรือนยอด (Skywalk) ทอดยาวไปตามพื้นที่ของป่าที่มีความสูงตั้งแต่ระดับพื้นดินถึงระดับความสูง 10.2 เมตร ระยะทาง 200 เมตร (สามารถรับน้ำหนักได้ 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) เป็นทางเดินเชื่อมไปยัง “หอชมป่า” (Observation Tower) ความสูง 23 เมตร เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้คุณจะได้เรียนรู้เรียนรู้สังคมพืชต่าง ๆ ระหว่างทางเดิน พร้อมเพลิดเพลินไปกับการชมผืนป่า ผ่านชั้นเรือนยอดตลอดเส้นทาง และชมทัศนียภาพต้นไม้ชนิดต่าง ๆได้รอบทิศทาง 360 องศา เรียนรู้พื้นที่ป่าในเขตเมืองโดยรอบด้วยกล้องส่องทางไกล นับเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าไม้ที่ให้มุมมองความแตกต่างที่น่าตื่นตาตื่นใจและได้อรรถรส

กิจกรรมการเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง มีกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับป่าไม้ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมประจำทุก ๆ เดือน รวมถึงสามารถเข้ามาติดต่อทำกิจกรรมธรรมชาติอื่น ๆ ตามที่สนใจ เช่น เกมเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิต, กิจกรรม Workshop ประดิษฐ์สิ่งของธรรมชาติ, หรือกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้ถึงการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างรู้คุณค่า และร่วมตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

9 สิ่งที่ห้ามพลาด “ป่าในกรุง”

1. พื้นที่ป่าธรรมชาติ ใช้ปลูกป่าในลักษณะ “ป่านิเวศ” หมายถึง ป่าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงสภาพป่าธรรมชาติ ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดที่มีความสำคัญและมีคุณค่าที่หลากหลายต่อการเรียนรู้
2. ผนังดินบดอัด (Rammed Earth) ใช้วัสดุดินธรรมชาติ มีสีสันสวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เป็นอีกจุดยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพ อีกทั้งผนังดินยังเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับตัวอาคาร
3. นิทรรศการเมล็ดไม้ (Seed wall) จุดเรียนรู้เมล็ดไม้กว่า 60 ชนิด เมล็ดถูกบรรจุในเรซิ่นใสตลอดแนวผนังดินบดอัด เป็นส่วนหนึ่งของชนิดไม้ทั้งหมดที่ปลูกในศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง
4. ห้องนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ นิทรรศการให้ความรู้สภาพป่าและสังคมพืชที่เคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในอดีต เรื่องราวการฟื้นฟูป่า 1 ล้านไร่ของ ปตท. สู่ “ป่าในกรุง” และสร้างจิตสำนึกให้คนเมืองเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้
5. ห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก (Mini Theater) ภาพยนตร์สั้น “Helping Hands” ภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจ ในการส่งต่อเมล็ดพันธุ์แห่งการแบ่งปัน ในการสร้างป่า สร้างคน เปลี่ยนแปลงโลกให้เป็นสีเขียว
6. หลังคาสวนสีเขียว (Roof Garden) มีการปลูกไม้นานาพรรณเป็นสวนสีเขียว และเสมือนการติดตั้งฉนวนอย่างดีแก่หลังคาอาคาร ช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร และสร้างความกลมกลืนของอาคารกับผืนป่า
7. ทางเดินชมเรือนยอด (Sky walk) ทางเดินยกระดับที่จะพาทุกคนสัมผัสป่าอย่างใกล้ชิด เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้คุณจะได้เรียนรู้เรียนรู้สังคมพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ผ่านชั้นเรือนยอดตลอดเส้นทาง
8. หอชมป่า (Observation Tower) ความสูง 23 เมตร เปิดมุมมองชมป่ามุมสูงแบบ 360 องศา และวิวทิวทัศน์ของพื้นที่สีเขียวท่ามกลางเมืองกรุง
9. หลังคา PV Cell หลังคาโรงจอดรถติดตั้งระบบดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาใช้เพื่อประหยัดการใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าในศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง

เชิญชวนเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง ท่องเที่ยว ศึกษาระบบนิเวศได้ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยสามารถจองล่วงหน้า 3 วัน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 0 2136 6380 เปิดทุกวัน วันอังคาร – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์) หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมผ่าน Facebook ของศูนย์ฯ “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ” , Instagram: pttmetroforest และ Line@ : @pttmetroforest รวมถึงสามารถติดต่อเพื่อทำกิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติอื่น ๆ ตามที่สนใจ

……….

เดินทางโดยรถโดยสาธารณะ

จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – นั่งรถเมล์สาย ปอ.92 (เคหะรมเกล้า-อนุสาวรีย์) หรือรถตู้ (อนุสาวรีย์-หัวตะเข้) คิวรถฝั่งตรงข้ามพงหลีภัตรคาร ค่าโดยสารรถตู้ 40 บาท ลงโรงพยาบาลสิริธร ข้ามถนน เพื่อต่อรถสองแถวสีฟ้า ตลาด 999 (นำชัย-วัดกิ่งแก้ว) ที่ฝั่งโรงพยาบาล ค่ารถ 8 บาท โดยโครงการจะอยู่ทางซ้ายมือ ถนนสุขาภิบาล 2 ระหว่าง ซอย 23 กับ 25 เห็นร้านกาแฟ @ เชียงใหม่ กดกริ่ง รถจะจอดหน้าโครงการ มีหอชมป่าเป็นจุดสังเกต

จาก BTS – ลง BTS สถานีอ่อนนุช ออกประตูทางออกหมายเลข 1 เดินไปบิ๊กซี เอ็กตร้าอ่อนนุชและข้ามถนน เพื่อต่อรถประจำทางสาย 1013 พระโขนง-หัวตะเข้ ค่าโดยสารรถแอร์ 18 บาท, รถธรรมดา 9 บาท ลงที่โรงพยาบาลสิรินธร แล้วข้ามถนนเพื่อต่อรถสองแถวสีฟ้าตลาด 999 (นำชัย-วัดกิ่งแก้ว) โดยโครงการจะอยู่ทางซ้ายมือ ถนนสุขาภิบาล 2 ระหว่าง ซอย 23 กับ 25 เห็นร้านกาแฟ @ เชียงใหม่ กดกริ่ง รถจะจอดหน้าโครงการ มีหอชมป่าเป็นจุดสังเกต หรือ ลง BTS สถานีอุดมสุข ออกประตูทางออกหมายเลข 5 เพื่อต่อแท็กซี่ ที่หน้าร้าน Lowson 108 shop ค่าโดยสารประมาณ 125 บาท

จากแอร์พอร์ตลิงค์ – ลงสถานีลาดกระบัง ขึ้นรถสองแถวหัวแดง ร.ร.เอกวิทย์-วัดลานบุญ-SCS ซอยสยาม ลงป้ายโรงพยาบาลสิรินธร จากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าตลาด 999 (นำชัย-วัดกิ่งแก้ว) โดยโครงการจะอยู่ทางซ้ายมือ ถนนสุขาภิบาล 2 ระหว่างซอย 23 กับ 25 เห็นร้านกาแฟ @ เชียงใหม่ กดกริ่ง รถจะจอดหน้าโครงการ มีหอชมป่าเป็นจุดสังเกต หรือ ลงสถานีบ้านทับช้าง เพื่อต่อแท็กซี่ ค่าโดยสารประมาณ 80 บาท 

เดินทางมาโดยรถส่วนตัว

จากรังสิต-นครนายก, ลำลูกกา, หลักสี่, รามอินทรา – ใช้ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกมุ่งหน้าบางนา เมื่อเห็นป้ายถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ให้ชิดซ้ายสุด ขับต่อตามเส้นทางจนพบป้ายยินดีต้อนรับเขตประเวศ แล้วจะพบ 3 แยก มีป้ายโครงการป่าในกรุง (สีน้ำเงิน) เป็นจุดสังเกตโครงการจะอยู่ทางซ้ายมือ ถนนสุขาภิบาล 2 ระหว่างซอย 23 กับ 25 สังเกตหอคอยสูงสีน้ำตาล

จากตัวเมืองศรีนครินทร์, ดินแดง, พระราม 9, วิภาวดีรังสิต – ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ มุ่งหน้าชลบุรี เมื่อผ่านนอกเมืองสังเกตถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก ให้ชิดซ้าย เพื่อเข้าทางขนาน ม้วนขึ้นไปมุ่งหน้าบางนา แล้วชิดซ้ายเข้าถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ขับต่อไปตามเส้นทางจนพบป้ายยินดีต้อนรับเขตประเวศ แล้วจะพบ 3 แยก มีป้ายโครงการป่าในกรุง (สีน้ำเงิน) เป็นจุดสังเกตโครงการจะอยู่ทางซ้ายมือ ถนนสุขาภิบาล 2 ระหว่างซอย 23 กับ 25 สังเกตหอคอยสูงสีน้ำตาล