การระบาดใหญ่ของโควิด-19 กำลังเร่งให้เกิดภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อีกทั้งธุรกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถแบกรับความรุนแรงของภาวะขาดเงินทุนหมุนเวียนได้ การปิดกิจการตามคำสั่ง และการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถพยุงกิจการต่อไปได้ภายใต้วิกฤตินี้ ส่งผลให้ผู้คนหลายล้านต้องตกงาน
แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลจะเริ่มยกเลิกข้อจำกัดการเว้นระยะห่างทางสังคม ผลที่ตามมาของการว่างงานและการดำเนินธุรกิจที่หยุดชะงักก่อนหน้านี้ ยังคงทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของธุรกิจขนาดเล็กมีความซับซ้อนและยากมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันยังมีปัจจัยของสถานการณ์วิกฤติพลังงาน และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีปัญหาทำให้ต้นทุนแพงขึ้นไปอีก
ในบทความนี้ KKP (กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร)ขอเสนอวิธีที่จะช่วยธุรกิจขนาดเล็กโดยการลดภาระด้านต้นทุน และเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ซึ่งอาจเป็นแบบถาวร หรือคงอยู่จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ในเมื่อวิกฤติยังคงมีอยู่และยังไม่สามารถคาดเดาทางออกที่สดใสในเวลาอันใกล้นี้ได้
1.ลดต้นทุนให้มากที่สุด : ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องวิเคราะห์ในรายละเอียดว่า กิจการของเรามีสัดส่วนต้นทุนอะไรที่สูงและสามารถที่จะลดลงได้โดยไม่ได้ลดทอนคุณค่าของธุรกิจที่ให้แก่ลูกค้าลงมากนัก อาทิเช่น ในหลายๆ กิจการ ต้นทุนพลังงานมีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางแผนกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้พลังงานทางเลือก การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ เช่น การขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไปและรับสินค้ากลับ ไม่ให้วิ่งรถเปล่า การรวมส่งครั้งละมากๆ ส่วนบางกิจกรรมที่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดคุณค่าต่อธุรกิจมากเท่าที่ควร อาจจำเป็นต้องหยุดและชะลอกิจกรรมเหล่านั้นออกไปก่อน หรืออาจเปลี่ยนจากการขนส่งที่ต้องแบกรับต้นทุนเอง เป็นการจ้างบริษัทที่ให้บริการรถรับจ้างขนส่งสินค้า หรือระบบโลจิสติกส์ ให้จัดส่งสินค้าแทน เพื่อไม่ให้แบกรับต้นทุนในส่วนนี้เอง
2.พัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโต หรือเพิ่มสภาพคล่อง : Covid-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปทั้งชั่วคราวและถาวร ผู้ประกอบการสามารถมองหาวิธีการขาย หรือการให้บริการใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติม เพื่อปรับเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจ รวมถึงธุรกิจควรมีการสำรองเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวไม่ให้การดำเนินงานติดขัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่มองหาโอกาสสร้างการเติบโตต่อไป
3.ลดผลกระทบจากเงินเฟ้อ : ต้นทุนของผู้ประกอบการบางธุรกิจอาจจะสูงขึ้นได้มาก จากภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะลากยาวไปถึงปลายปี การวางแผนการซื้อวัตถุดิบ และการบริหารเงินสดอาจจะต้องเปลี่ยนไปเพื่อเข้ากับสถานการณ์ และลดผลกระทบจากเงินเฟ้อให้ได้มากที่สุด รวมถึงการปรับราคาขายสินค้าและบริการ โดยการวิเคราะห์รอบด้านถึงคู่แข่ง และความอ่อนไหวต่อราคาของผู้บริโภค
4.ฟื้นฟูกิจการอาจจำเป็น : ในกรณีที่ธุรกิจโดนผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์ปัจจุบันจนไม่สามารถชำระหนี้ที่มีอยู่ได้ การยื่นขอฟื้นฟูกิจการอาจเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อทำให้ธุรกิจมีโอกาสได้ไปต่อ โดยจะได้รับความคุ้มครองกิจการและทรัพย์สิน รวมถึงสามารถใช้เวลานี้ทำแผนฟื้นฟูและปรับโครงสร้างการชำระหนี้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อได้ (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.led.go.th/brd/smes.asp
ปัจจัยข้างต้นจะส่งผลช่วยพยุงให้ธุรกิจ SME ไปต่อได้ภายใต้วิกฤตินี้ สิ่งที่สำคัญกว่านั้นที่เจ้าของกิจการต้องทำคือ การปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ หมั่นติดตามข่าวสาร วางแผนระยะสั้น และระยะยาวให้กับกิจการของตัวเอง เพราะในอนาคต ไม่ว่าผู้บริโภค โครงสร้างเศรษฐกิจ รวมถึงกฎระเบียบของรัฐ จะปรับเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ซึ่งเราต่างรู้กันว่าธุรกิจที่โดนผลกระทบหนักที่สุด คือธุรกิจที่ไม่มีการวางแผนอย่างชัดเจน และหากท่านต้องการสินเชื่อเพื่อเริ่มโครงการใหม่ หรือเพิ่มสภาพคล่องให้กิจการ เราขอแนะนำสินเชื่อธุรกิจ SME ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ยืดหยุ่นเรื่องหลักประกัน มีทั้งแบบใช้ทรัพย์สินหรือไม่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อธุรกิจ SME ผ่อนสบายเริ่มต้นแสนละ 2,400 บาท วงเงินสินเชื่อสูงสุด 25 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://link.kkpfg.com/RgmIf