ThaiPublica > Native Ad > AIS ร่วมต้านวิกฤตไวรัส จับมือ วิศวฯ – แพทย์ จุฬาฯ ใช้ 5G พัฒนาศักยภาพหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวัง COVID-19

AIS ร่วมต้านวิกฤตไวรัส จับมือ วิศวฯ – แพทย์ จุฬาฯ ใช้ 5G พัฒนาศักยภาพหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวัง COVID-19

16 มีนาคม 2020


วิศวฯ และแพทย์ จุฬาฯ ผนึกเอไอเอส นำเทคโนโลยี 5G เสริมขีดความสามารถหุ่นยนต์ เฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด-19

AIS ร่วมต้านวิกฤตไวรัส จับมือ วิศวฯ – แพทย์ จุฬาฯ ใช้ 5G พัฒนาศักยภาพหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวัง COVID-19

ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ภาครัฐ เอกชนและประชาชนต่างจับมือกันร่วมฝ่าฟันวิกฤตที่แม้วันนี้ยังไม่เห็นทางออกเท่าไรนัก

มีหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงการนำขีดความสามารถมาใช้ในสถาการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี ก็คือ AIS ในฐานะผู้นำเครือข่ายโอเปอร์เรเตอร์อันดับ 1 นับเป็นอีกกำลังสำคัญที่เข้ามาช่วยฝ่าฟันวิกฤต โดยนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์เพื่อลด ‘ความเสี่ยง ’ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิด และสัมผัสผู้ป่วย

จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ “AIS” ในการพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะเฝ้าระวังไวรัส COVID-19

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำเทคโนโลยี 5G เข้ามาใช้กับการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทำงานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์สำหรับติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19

โดยหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์นี้ เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมายกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษาและให้คำปรึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบ Telemedicine

จากเดิมที่หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ถูกพัฒนาและนำไปใช้งานเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุ และผู้ที่ทำกายภาพบำบัด แต่เมื่อปัญหาเชื้อไวรัส COVID-19 หุ่นยนต์จึงถูกดัดแปลงตามสถานการณ์ เพื่อดูแลผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์

เมื่อเสริมกับสัญญาณความเร็วของ 5G ยิ่งทำให้การสื่อสารระหว่าง ‘แพทย์ ’และ ‘ผู้ป่วย ’สามารถตอบโต้กันได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ศ. ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้าน ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์เฝ้าระวังไวรัส COVID-19 กล่าวถึง คุณสมบัติเด่นในการใช้งานหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 3 ข้อ ได้แก่

(1) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างแพทย์ และกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังหรือผู้ป่วย ได้สื่อสารโต้ตอบผ่านระบบ VDO Conference ด้วยภาพความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์สามารถคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ตลอดจน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

(2) แพทย์ พยาบาล สามารถควบคุม สั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล เช่น ติดตามอาการของผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกเฝ้าระวังด้วยตนเอง

(3) หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign)เช่น วัดความดัน,วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), วัดชีพจร, วัดอุณหภูมิ และส่งต่อข้อมูลไปยังแพทย์

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์

ศ.ดร.วิบูลย์ กล่าวต่อว่า หุ่นยนต์เฝ้าระวัง COVID-19 มี 2 รูปแบบคือแบบตั้งโต๊ะและแบบเคลื่อนที่ โดยแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับตั้งในห้องแล้วคนไข้มาเข้ารับการตรวจกับหุ่นยนต์โดยมีแพทย์คอยสื่อสารจากทางไกล และแบบเคลื่อนที่สำหรับเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีห้องจำนวนมาก เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถสร้างแผนที่และสามารถควบคุมได้ แต่ทั้งสองแบบมีหลักการทำงานเหมือนกันคือตรวจคนไข้เบื้องต้นเช่น วัดความดัน วัดไข้ โดยมีแพทย์คอยโต้ตอบผ่านจอ

“เรามีคุณหมอที่ชำนาญการไม่เพียงพอ เช่นอยู่ต่างจังหวัด สถานที่ไกลๆ จำเป็นต้องมีหุ่นยนต์ช่วย” ศ.ดร.วิบูลย์ กล่าว


หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ แบบตั้งโต๊ะ และแบบ Mobile Robot

โดยปัจจุบัน AIS ได้เตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายสัญญาณ 5G เพื่อใช้กับสถานพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติม

ในเบื้องต้นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ เริ่มถูกนำไปใช้งานเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้ว 3 แห่ง ได้แก่ (1) โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 2 ชุดเป็นแบบตั้งโต๊ะ (2) โรงพยาบาลทรวงอก จำนวน 1 ชุด เป็นแบบ Mobile Robot (3) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 1 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ

นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก

นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก ในฐานะตัวแทนโรงพยาบาลที่ได้รับการจัดสรรหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รุนแรงมากขึ้น ฉะนั้นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของแพทย์

“ลองนึกภาพว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเยอะขึ้น หรือมีวอร์ดสำหรับคนไข้โรคติดต่อร้ายแรงเช่นโควิด แทนที่จะให้หมอหรือพยาบาลเข้าไปดู ก็ให้หุ่นยนต์ทำงานแทน เพราะหุ่นยนต์ไม่มี barrier ตรงนี้ เช่นให้ไปวัดไข้ วัดความดัน เอายาเอาอาหารไปส่งหรือสอบถามอาการ หมอหรือพยาบาลอาจเข้าไปเจาะเลือดหรือไปช่วยชีวิตอย่างเดียว” นายแพทย์เขตต์ ขยายความ

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์” ไม่ได้สะท้อนเพียงความก้าวหน้าของวงการสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกก้าวของการประเดิมการใช้งาน 5G ในประเทศไทย

ในแง่หนึ่งคือการประยุกต์ศาสตร์ 3 แขนงเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง ‘5G ’จนเกิดเป็นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์รับมือกับเชื้อไวรัส COVID-19

ท่ามกลาง COVID-19 ที่หลายฝ่ายกังวล ยังมีความร่วมมือจาก AIS ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้

เพราะในวิกฤติ ยังมี 5G ที่เป็นโอกาสเสมอ