ASEAN Roundup ประจำวันที่ 10-16 เมษายน 2565
เวียดนามวาง 7 เกณฑ์ใหม่คัด FDI มุ่งเทคโนโลยี

เกณฑ์กลั่นกรองเฉพาะเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ถูกกำหนดไว้ในร่างแผนปี 2564-2573 ที่จัดทำโดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุน และจะเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้อนุมัติต่อไป
จากการประเมินสถานการณ์จริงในเวียดนามและประสบการณ์ระดับนานาชาติ กระทรวงMPI ได้เสนอ 7 เกณฑ์ในการดึงดูด FDI ได้แก่ เงินลงทุน แรงงาน เทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเชื่อมต่อและการสร้างผลในวงกว้าง สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงด้านการป้องกัน
เกณฑ์ด้านเงินลงทุนเพื่อลดให้เป็นโครงการขนาดเล็กแต่ใช้ที่ดินมาก ขณะที่เกณฑ์แรงงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แรงงาน และลดแรงกดดันต่อโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องที่ที่มีแรงงานหนาแน่นมากเกินไป
สำหรับเกณฑ์ด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ FDI จะได้รับความพึงพอใจในการลงทุน หากมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์เกี่ยวกับรายได้จากผลิตภัณฑ์ไฮเทค การใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาในเวียดนาม และอัตราส่วนของแรงงานที่มีทักษะสูง
การถ่ายทอดเทคโนโลยียังเป็นหนึ่งในสี่เกณฑ์สำหรับบริษัทที่ลงทุนจากต่างประเทศเพื่อรับสิทธิพิเศษในการลงทุน โดยอิงจากรายการเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอด ตลอดจนจำนวนองค์กรที่ได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างประเทศและธุรกิจในประเทศ กระทรวง MPI ได้กำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนของผู้ประกอบการในเวียดนามที่เข้าร่วมในสัญญาในการจัดหาชิ้นส่วน วัตถุดิบ และบริการพร้อมกับสัดส่วนของราคาผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยธุรกิจเวียดนาม
เกณฑ์ใหม่ที่จัดทำนี้ มีเป้าหมายแก้ไขข้อเสียเปรียบที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ คือ อัตราส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ(local content)ที่อยู่ในระดับ 20-25% เท่านั้น ในธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าและรองเท้ามีอัตราส่วน 40-45% สำหรับ 30-35% ในการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน ส่วนในธุรกิจผลิตรถยนต์มีเพียง 7-10% และอุตสาหกรรมไฮเทค 5-10%
สำหรับสิ่งแวดล้อม กระทรวง MPI ต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการลดการปล่อยมลพิษตามมาตรฐานระดับภูมิภาคและระดับสากล
ด้านการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันประเทศและความมั่นคงหรือโครงการที่อยู่ในพื้นที่ “อ่อนไหว” จะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นในทุกขั้นตอนของการออกใบอนุญาตการลงทุน
หลังจากที่ประสบภาวะตกต่ำสองปีอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 กระแส FDI ที่ไหลเข้าสู่เวียดนามกำลังแสดงสัญญาณการฟื้นตัวจากนโยบายการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติทั่วไป (GSO) รายงานว่า การยื่นขอลงทุนจาก FDI สูงถึง 8.9 พันล้านในไตรมาสแรกของปี 2565 ลดลง 12.1% จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม โครงการใหม่เพิ่มขึ้น 37.6% ในขณะที่โครงการเดิมที่ได้รับการลงทุนเพิ่มเติมเพิ่มขึ้น 41.6% ส่วนการเบิกใช้เงินทุนแตะ 4.42 พันล้าน เพิ่มขึ้น 7.8% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดสำหรับช่วงมกราคมถึงมีนาคมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติมองว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยและมีความเชื่อมั่นในบรรยากาศทางธุรกิจในเวียดนาม เนื่องจากได้ควบคุมการระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพและเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวภายใต้ความปกติใหม่ Le Trung Hieu จาก GSO ให้ความเห็น
ในเดือนมีนาคม เวียดนามได้ออกใบอนุญาตการลงทุนในโครงการแรกมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ได้แก่ โรงงานผลิตของเล่นเลโก้ของเดนมาร์ก มูลค่า 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในจังหวัดบิ่ญเซือง ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม สวนอุตสาหกรรมเวียดนาม-สิงคโปร์ในบั๊กนิญยังได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมอีก 941 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แนวโน้มการฟื้นตัวของ FDI ที่ไหลเข้าเป็นบวก อย่างไรก็ตาม เวียดนามจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่มีตลาดและระดับการพัฒนา เทคโนโลยี และแรงงานที่คล้ายคลึงกัน GSO ระบุ
ดังนั้น เวียดนามจึงต้องหามาตรการเพื่อพัฒนาบริการให้ลึกขึ้น เพื่อสร้างแรงผลักดันให้ผลิตภาพสูงขึ้นในด้านบริการ การผลิต และภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังต้องเตรียมเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อดึงดูดการลงทุน เช่น ที่ดินเปล่า การวางแผนไฟฟ้า กำลังแรงงานคุณภาพสูง และนโยบายสำหรับอุตสาหกรรมสนับสนุน
เวียดนามเล็งปรับเขตเศรษฐกิจเป็นท่องเที่ยวลักชัวรี

รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนเขตเศรษฐกิจเวิน ฟอง ในจังหวัด คั้ญฮหว่าทางตอนกลางของชายฝั่งทะเลให้กลายเป็น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและความบันเทิงระดับลักชัวรีด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์
ภายใต้การปรับแผนการก่อสร้างทั่วไป (ตามวิสัยทัศน์ปี 2040) สำหรับเขตเศรษฐกิจที่ลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรี เล วาน ถั่นห์ เมื่อวันพุธ(13 เม.ย.) รัฐบาลหวังว่า เจ้าหน้าที่ของ จังหวัด คั้ญฮหว่า “จะพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิงคุณภาพสูงที่สามารถแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคได้”
จังหวัดควรให้ความสำคัญกับการสัมมนา งานแสดงสินค้า นิทรรศการ บริการการท่องเที่ยวและความบันเทิงระดับไฮเอนด์กับคาสิโนและพื้นที่บันเทิง
บริการการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลจะได้มีการพัฒนาขึ้นในตอนใต้ของคาบสมุทร Hon Gom และเกาะHon Lon พื้นที่ท่องเที่ยวเกาะDiep Son พื้นที่ท่องเที่ยว Tuan Le-Hon Ngang – Da Son แหลม Dai Lanh และหาด Doc Let
ในปี 2050 ตามแผนเวิน ฟองจะกลายเป็น “พื้นที่น่าอยู่” ที่ผู้คนมีมาตรฐานการครองชีพสูงและมีชีวิตที่มีความสุข
เขตเศรษฐกิจพิเศษ เวิน ฟอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ครอบคลุมพื้นที่ 150,000 เฮกตาร์ เป็นที่ดิน 70,000 เฮกตาร์ และพื้นที่น้ำ 80,000 เฮกตาร์ในอ่าวเวิน ฟองของอำเภอเวิน นิ่ญ ใน คั้ญฮหว่า เป็นหนึ่งในสาม เขตเศรษฐกิจที่สำคัญในเวียดนาม โดยอีกสองแห่งคือเขตเศรษฐฟิจพิเศษฟูโกว๊กและเขตเศรษฐกิจพิเศษ เวิน โด่น
เขตเศรษฐกิจพิเศษ เวิน ฟอง เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจังหวัด คั้ญฮหว่า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดการลงทุน
ก่อนหน้านี้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเสนอว่าชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสู่เขตเศรษฐกิจเวิน ฟอง ควรได้รับการยกเว้นวีซ่า 60 วัน
คั้ญฮหว่า เป็นที่ตั้งของเมืองชายหาดที่มีชื่อเสียงอย่างญา จาง และ กามซัญ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40,000 คนในปีนี้
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานเวียดนามไตรมาส 1 เพิ่มขึ้น

Nguyen Trung Tien รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติทั่วไป (GSO) เปิดเผยว่า เงินเดือนพนักงานเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะที่โฮจิมินห์ซิตี้ จังหวัด บิ่ญเซือง และด่งนายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด
ในช่วง 3 เดือนแรกรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานในจังหวัด บิ่ญเซือง มีจำนวน 8.6 ล้าน ด่องหรือ 375 ดอลลาร์ ต่อคน เพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส หรือ 3 ล้านด่อง ต่อเดือน
พนักงานในโฮจิมินห์ซิตี้และด่งนายมีค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ย 8.9 ล้านดอง และ 8.5 ล้านดอง เพิ่มขึ้น 36.5% และ 32.9% หรือ 2.4 ล้านด่อง และ 2.1 ล้านด่องตามลำดับ
รายงานของ GSO เกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ต่อการจ้างงานในไตรมาสที่ 1 แสดงให้เห็นว่ารายได้เฉลี่ยในประเทศอยู่ที่ 6.4 ล้านด่องต่อเดือน สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า 1 ล้านดอง และเพิ่มขึ้น 110,000 ด่องเมื่อเทียบปีต่อปี
รายได้เฉลี่ยของคนงานชายอยู่ที่ 7.3 ล้านด่องต่อเดือน สูงกว่าแรงงานหญิง 1.36 เท่า (5.4 ล้านด่องต่อเดือน)
นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยของพนักงานในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงไตรมาสแรกยังฟื้นตัวแข็งแกร่งด้วยจำนวน 5.6 ล้านด่องต่อเดือน เพิ่มขึ้น 27.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี
Tien กล่าวว่า การดำเนินการนโยบายเพื่อสนับสนุนธุรกิจและโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้อัตราการว่างงานดีขึ้น ในไตรมาส 1 คนในวัยทำงานประมาณ 1.3 ล้านไม่มีงานทำ ลดลง 135,200 คนเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น 357,500 คนจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ฟิลิปปินส์สมาชิกอาเซียนรายแรกจะใช้อินเตอร์เน็ตดาวเทียม

การดำเนินการในเชิงรุกได้รับการยืนยันจาก นายรามอน โลเปซ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (DTI) ที่เปิดเผยว่า บริษัทสำรวจอวกาศคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในประเทศอย่างเป็นทางการในช่วง 3 เดือนที่เหลือของรัฐบาลปัจจุบัน
นายโลเปซปกล่าว หลังจากได้พบปะกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของบริษัทสำรวจอวกาศ หัวหน้า ว่า บริษัทกำลังสรุปการลงทุนเบื้องต้นในฟิลิปปินส์ โดยอยู่ในขั้นตอนของการเลือกสถานที่สำหรับ gateway
นายรามอนกล่าวว่า บริษัทชี้ว่า การลงนามในพระราชบัญญัติบริการสาธารณะฉบับแก้ไข (PSA) ซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของบริการสาธารณะในประเทศได้มากถึง 100% เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของบริษัทในการลงทุน เนื่องจากทรัพย์สินทั้งหมดของของบริษัทคือเทคโนโลยี
บริษัทจะให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศโดยใช้เครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำหรือ Low Earth Orbit (LEO) ซึ่งน่าจะเป็นดำเนินการครั้งใหญ่ เนื่องจาก ณ กลางปี 2564 มีดาวเทียมมากกว่า 1,600 ดวง และจะมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม จากการเปิดเผยของนายโลเปซ ระบบจะขยายและเสริมความสามารถบรอดแบนด์ที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพให้กับไมโครเอสเอ็มอี (MSMEs) และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ และฟินเทค
นอกจากนี้ยังสร้างความแตกต่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ นายโลเปซกล่าวอีกว่า การมีบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในประเทศจะช่วยในการพัฒนาพื้นที่ชนบท ซึ่งยังเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้ยาก รวมไปถึงรัฐบาล ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ให้คำมั่นว่าจะเลือกบริษัทให้สอดคล้องกับแผน Strategic Investment Priority Plan
ประโยชน์ของระบบ LEO มีความสำคัญ ดาวเทียมเหล่านี้อยู่ใกล้กับพื้นดินมาก โดยโคจรห่างจากโลกเพียง 500 ถึง 1,500 กิโลเมตร ระยะทางสั้น ๆ นี้ ช่วยให้สื่อสารได้เร็วขึ้นมีความล่าช้าน้อยที่สุด ดังนั้นสำหรับการสื่อสารที่เน้นข้อมูลมาก ระบบเหล่านี้ก็เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บริการที่มีความอ่อนไหวต่อความล่าช้า เช่น การสื่อสารด้วยเสียง ที่เห็นชัดอย่างแรก ส่วนข้อดีอื่นๆ ได้แก่ ความแรงของสัญญาณดีขึ้น, ใช้พลังงานน้อยลงในการส่งสัญญาณ,เวลาแฝงต่ำเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสื่อสารแบบเรียลไทม์, ไม่ต้องติดตั้งเครื่องรับขนาดใหญ่บนพื้นดินอีกต่อไป และค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสำหรับอุปกรณ์ภาคพื้นดิน
ฟิลิปปินส์กำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์พลิกโฉมทางดิจิทัลอย่างมุ่งมั่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ฟิลิปปินส์ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ทำงานร่วมกับรัฐบาลอเมริกันเพื่อสำรวจพลังงานนิวเคลียร์สำหรับประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเทียบเท่ากับส่วนที่เหลือของโลกในด้านการใช้พลังงานสีเขียว
นอกจากนี้ ยังได้ออกกฎหมาย CREATE ซึ่งเปิดให้ผู้ประกอบการเทคโนโลยีมีความคล่องตัวในการพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีไอซีที อีกทั้งเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีที่พัฒนาใหม่ ผู้นำ FinTech ของประเทศสะท้อนว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมควรเป็นประเด็นหลักของรัฐบาลชุดต่อไป โดยจะมีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ในเดือนพฤษภาคมนี้
ฟิลิปปินส์ทำแผนยุทธศาสตร์ลงทุนดึง FDI

สมาชิกสภาผู้แทน Joey Salceda ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า SIPP จะเปิดให้นักลงทุนในและต่างประเทศยื่นขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามประเภทธุรกิจ
Salceda กล่าวว่า คาดว่า ฟิลิปปินส์จะได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่แข็งแกร่งในปี 2565 จากปี 2564 เป็นปีที่ดึง FDI ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์
“ปี 2564 เป็นปีที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศแข็งแกร่ง เป็นผลจากได้ข้อสรุปแนวทางการปฏิรูป ปี 2565 เป็นปีที่การปฏิรูปเหล่านี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์จริง ๆ จึงคาดว่า FDI จะดีขึ้นในปีนี้”
Salceda กล่าวว่า การจัดทำ SIPP จะเปิดให้ภาคธุรกิจที่ไม่จัดอยู่ในแผนการลงทุนสำคัญปี 2563 สามารถใช้มาตรการจูงใจทางภาษีและลงทุนในฟิลิปปินส์ ซึ่งจะช่วยสร้างงานใหม่และโอกาสทางธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจฟิลิปปินส์
SIPP จะส่งเสริมให้นักลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีมูลค่าค่าสูงให้ตั้งในฟิลิปปินส์และใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุดในอาเซียน ”
กฎหมาย CREATE ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 ได้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 3% เป็น 25% สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ 20% สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีรายได้สุทธิทางภาษีไม่เกิน 5 ล้านเปโซ ซึ่งบรรเทาภาระทางการเงินนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ทำธุรกิจในประเทศ
ธนาคารกลางเมียนมาลดวงเงินบัตรระหว่างประเทศ

จากหนังสือเวียนของธนาคารกลางเมื่อวันศุกร์(15 เม.ย.) วงเงินสูงสุดรายเดือนต่อบัตรเติมเงินระหว่างประเทศ เช่น บัตรมาสเตอร์การ์ด, Visa และ UPI ที่ออกโดยธนาคารในประเทศจะต้องปรับจาก 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ในขณะเดียวกัน วงเงินสูงสุดรายเดือนสำหรับบัตรเครดิตระหว่างประเทศ เช่น บัตรเครดิต MasterCard, Visa, JCB และ UPI และบัตรco-brand ระหว่างประเทศของ MPU-UPI, บัตร MPU-JCB จะต้องลดลงจาก 5 ล้านจั๊ต (มากกว่า 2,702.7 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็น 2.5 ล้านจั๊ต (มากกว่า 1,351.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ธนาคารกลางได้รับรองออกบัตรระหว่างประเทศที่ออกในเมียนมา สำหรับประชาชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินรายย่อย และลดความยุ่งยากในการพกเงินเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ