ThaiPublica > Native Ad > แอป “อสม.ออนไลน์” เอไอเอส แพลตฟอร์มเพื่อระบบสาธารณสุข คว้ารางวัลสาขา Well-Being

แอป “อสม.ออนไลน์” เอไอเอส แพลตฟอร์มเพื่อระบบสาธารณสุข คว้ารางวัลสาขา Well-Being

9 เมษายน 2022


AIS ผสานพลัง รพ.จตุรพักตรพิมาน และ อสม. คว้ารางวัล “PM Awards 2021” นำเอาแอปฯ อสม.ออนไลน์ มุ่งสร้าง Well Being ให้คนไทยในท้องถิ่น

กว่า 7 ปีนับตั้งแต่ปี 2558 ที่ ‘เอไอเอส’ พัฒนาแอปพลิเคชัน ‘อสม.ออนไลน์’ แพลตฟอร์มที่ช่วยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่า อสม. มีเครื่องทุ่นแรงและทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ยิ่งกรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19
ในช่วงปี 2563-2564 แอปพลิเคชันดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีจากอสม.ทั่วประเทศ

​ย้อนกลับไปปี 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วงการระบาดเริ่มต้นของโควิด-19 ในประเทศไทย ณ เวลานั้นระบบสาธารณสุขไทยประสบปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การคัดกรอง การตรวจหาผู้ติดเชื้อ การบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ ระบบการรักษา สถานที่กักตัว ตลอดจนเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นับว่าสำคัญต่อบุคลากรสาธารณสุข ทั้งแพทย์ พยาบาล ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และอสม.ตามที่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 1.4 ล้านคน

​ตัวอย่างที่ชัดเจนเมื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการทำงานของอสม.ในจังหวัดร้อยเอ็ด ผ่านแอปพลิเคชั่น ‘อสม.ออนไลน์’ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้ จนจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการจัดการควบคุมโรคโควิด-19
โดยความสำเร็จเกิดจาก 2 ด้านที่เชื่อมโยงกันคือ การผลักดันระบบสาธารณสุขเชิงรุกด้วยระบบดิจิทัลของสาธารณสุขจังหวัด ประกอบกับผู้พัฒนาแพลตฟอร์มอสม.ออนไลน์ อย่างเอไอเอส

นายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด (สสจ.)

​นายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด (สสจ.) ให้ข้อมูลว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประชากร 1.3 ล้านคน มีบุคลากรสาธารณสุขภายในโรงพยาบาลและสถานบริการประมาณ 7,000 คน อสม.ประมาณ 33,000 คน นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนอสม.สูง
เป็นอันดับ 4 ของประเทศ โดยอสม.1 คนในจังหวัดร้อยเอ็ดมีหน้าที่ดูแลคนประมาณ 50 คน หรือประมาณ 10-15 หลังคาเรือน

​“เราส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถเข้าถึงข้อมูลของการคัดกรองและการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงตามหลักระบาดวิทยา รวมทั้งสามารถวางแผนการทำงานร่วมกับ อสม.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทุกคนที่พร้อมจะเรียนรู้ ปรับตัว ก็จะยิ่งส่งผลทำให้การทำงานร่วมกันทั้งองคาพยพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือประชาชน
ได้อย่างทั่วถึง เท่าทัน และเท่าเทียม”

​นายแพทย์ปิติ กล่าวต่อว่า การทำงานของอสม.ก่อนหน้านี้เริ่มจากการลงพื้นที่ทำงานและจดบันทึกข้อมูลลงรายงานฉบับกระดาษ จากนั้นจะขับรถมอเตอร์ไซค์มาส่งรายงานให้ทางโรงพยาบาลเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง แต่เมื่อมีแอปพลิเคชันอสม.ออนไลน์ ทำให้ อสม.ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุรู้จักใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตอบโจทย์ระบบดูแลสุขภาพ (Health Care System)

​“เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปี 2563 ระบบของกรุงงเทพมหานครล่ม ไม่มีเตียง รัฐบาลบอกให้คนป่วยกลับบ้าน วันนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการรับผู้ป่วยกลับไปที่จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ต้องยอมรับว่าการสื่อสารเป็นหมื่นเป็นแสนคนไม่สามารถคุยตัวต่อตัวได้ แต่ใน
แอปอสม.ออนไลน์ตอบโจทย์การบริหารข้อมูล และช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที”

นายแพทย์สุพัชร์ศักย์ พันธุ์ศิลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

​ส่วนนายแพทย์สุพัชร์ศักย์ พันธุ์ศิลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า โรงพยาบาลนำแอปพลิเคชัน
อสม.ออนไลน์ มาช่วยเรื่องการลดการสัมผัสในช่วงโควิด-19 เพราะอสม.จะบันทึกข้อมูลผ่านแอป แล้วข้อมูลจะถูกส่งเข้าโรงพยาบาลทันที

​“แอปอสม.ออนไลน์ที่ติดตามสถานการณ์โควิดในชุมชนทำให้เราสามารถร่วมกันวางแผนบริหารจัดการ กลุ่มผู้ติดเชื้อ home isolation หรือ การติดตามกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลรายงานถึงฝ่ายบริหารระดับอำเภอ และระดับจังหวัด กรณีเกิดเหตุพบการแพร่ระบาดกลุ่ม (คลัสเตอร์) ได้อย่างฉับพลัน นำไปสู่การเฝ้าระวังได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”

​นางพิกุล สิงห์สถิตย์ ประธานอสม.หมู่ 1 ตำบลหัวช้าง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า อสม.ในพื้นที่ที่ตนดูแลมีทั้งหมด 427คน ครอบคลุม
15 หมู่บ้านที่มีประชากรประมาณ 8,000 คน โดยทุกคนเริ่มหันมาใช้แอปพลิเคชันเมื่อต้นปี 2564 จากคำแนะนำของแพทย์ และวางเงื่อนไขร่วมกันว่าอสม.ที่ใช้แอปพลิเคชันจะได้รับเงินค่าป่วยการซึ่งเป็นเงินตอบแทนของอสม.

​นางพิกุล ยังเล่าความรู้สึกของอสม.ที่มีต่อแอปพลิเคชันว่าทำให้การทำงานที่แต่เดิมมีข้อจำกัดลดลง เพราะมีฟีเจอร์ที่ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว คล่องตัว ลดการสัมผัสจนสามารถคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้เอง โดยไม่ต้องรอบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับภาระหนักอยู่แล้ว รวมถึงการติดตามกลุ่มเป้าหมาย พร้อมให้ข้อแนะนำ เพื่อช่วยในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เป็นเครื่องมือเชิงรุกช่วยดูแลสุขภาพองค์รวมของประชาชนได้อย่างดี

เอไอเอส – โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน – อสม. สานพลัง คว้ารางวัล PM Awards 2021

​ด้านนางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสในฐานะ Digital Life Service Provider มีเป้าหมายคือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย เห็นได้จากกรณีแอปพลิเคชัน ‘อสม.ออนไลน์’ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยยกระดับการทำงานของ อสม.ให้สามารถส่งเสริมและสร้างสุขภาวะมวลรวมด้านสุขภาพของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

​โดยปัจจุบัน อสม.ใช้งานแอปพลิเคชันกว่า 500,000 ราย พร้อมด้วยฟังก์ชันที่สอดคล้องกับเป้าหมายการดูแลสุขภาพประชาชน
ทั้งการคัดกรองโควิด, การสำรวจสุขภาพจิต, การติดตามสถานการณ์ลูกน้ำยุงลาย บ่อเกิดไข้เลือดออก รวมถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพต่างๆ

​“SD หรือ CSR ใครๆ ก็พูดได้ แต่การทำงานแบบนี้เข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของเรา และเราเชื่อมั่นว่าเราได้ลงรากแก้วไปแล้ว เราอยากให้คำว่า Well Being เมื่อคนนึกถึงแอปฯ โดยการได้รับรางวัล Prime Minister’s Digital Awards 2021 ในหมวด Digital Community of the Year สาขา Well being ผ่านการทำงานของ AIS พร้อมด้วย โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน และ สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้ง อสม. ในพื้นที่ ถือเป็นความภาคภูมิใจ และกำลังใจสำคัญ พร้อมเป็นบทพิสูจน์ถึงความแน่วแน่ในเป้าหมายของทุกภาคส่วนที่บูรณาการ การทำงานเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ส่งผลให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดผลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”

​ทั้งนี้ รางวัลในหมวด Digital Community of the Year เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ชุมชนที่นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จากงาน “HACKaTHAILANDNew Normal: Digital Possibilities” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (depa)

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส

นางสายชล กล่าวต่อว่า รางวัลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ากับระบบสาธารณสุขฟีเจอร์สำคัญอย่างการคัดกรองโควิด ที่เน้นติดตามคนที่มาจากต่างพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังใช้ฟีเจอร์คัดกรองสุขภาพจิตได้มากกว่า 6,000 คน ช่วยให้ภาพรวมการดูแลสุขภาพจิตประชาชนเป็นไปได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ พร้อมเป็นแบบอย่างที่สามารถส่งต่อโมเดลการทำงานที่บูรณาการทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐในระดับท้องถิ่น ส่วนกลาง และภาคเอกชน

​“ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติด้านสุขภาพจากการระบาดของโควิดไปทั่วโลก การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในท้องถิ่นคือ หัวใจสำคัญที่สุด ดังนั้น AIS จึงยังคงเดินหน้าพัฒนาเครือข่ายให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ พร้อมตั้งมั่นในเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลทุกรูปแบบมาพัฒนา เพื่อให้บุคลากรทุกภาคส่วนที่ต้องทำงานในพื้นที่ มีเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพมาช่วยให้ภารกิจดูแลสุขภาพคนไทยได้อย่างดีที่สุด” นางสายชล กล่าว

​นางสายชลกล่าวย้ำว่า ความสำเร็จของอสม.ออนไลน์มาจาก 3 ส่วน คือ (1) อสม. (2) แพทย์ สสจ. หรือผู้ให้บริการสาธารณสุข และ (3) เอไอเอส ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม โดยหัวใจสำคัญคือการลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้คน โดยเฉพาะในด้านโอกาสการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตอกย้ำเจตนารมณ์ที่บริษัทต้องการช่วยเหลือผู้คนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี