ThaiPublica > Native Ad > “เอไอเอส” สานพลัง “กรมควบคุมโรค” ใช้ ‘อสม.ออนไลน์’ ตอกย้ำ ‘เทคโนโลยีดิจิทัล’ ลดความเหลื่อมล้ำ

“เอไอเอส” สานพลัง “กรมควบคุมโรค” ใช้ ‘อสม.ออนไลน์’ ตอกย้ำ ‘เทคโนโลยีดิจิทัล’ ลดความเหลื่อมล้ำ

15 มิถุนายน 2022


“เอไอเอส” ตอกย้ำ ‘เทคโนโลยีดิจิทัล’ ลดความเหลื่อมล้ำ สานพลัง “กรมควบคุมโรค” ใช้ ‘อสม.ออนไลน์’ ป้องกันความสูญเสียโรคไข้เลือดออก

บนความตั้งใจของ AIS กับภารกิจการสร้าง Social Inclusion หรือหลักประกันทางสังคม ถือว่าก้าวหน้าไปอีกขั้นจากความสำเร็จของแอปพลิเคชัน ‘อสม.ออนไลน์’ ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในมิติสาธารณสุขผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ตลอด 7 ปีของแอปพลิเคชันอสม.ออนไลน์ ได้ช่วยให้อสม.มากกว่า 1 ล้านคนได้ทำงานบนเทคโนโลยีที่สะดวกรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีอสม.ที่ใช้งานอย่างต่อเนื่องกว่า 500,000 คน ขณะเดียวกันการทำงานด้วยแอปพลิเคชันซึ่งมาแทนที่กระดาษช่วยให้สถานการณ์สาธารณสุขในพื้นที่ต่างๆ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

ประเด็นสาธารณสุขหนึ่งที่สะท้อนความสำเร็จของแอปฯ คือ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนการใช้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ด้วยฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในไทย

สำหรับฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลายได้ถูกเพิ่มขึ้นบนแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ในปี 2562 โดยการทำงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีครัวเรือนที่ได้รับการสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แล้วกว่า 5 ล้านหลังคาเรือน โดยได้การสำรวจลูกน้ำยุงลายไปแล้วมากกว่า 1 ร้อยล้านครั้ง มีอสม.ที่ใช้ฟีเจอร์นี้เป็นประจำมากกว่า 280,000 คน โดยมีการให้คำแนะนำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านให้ถูกสุขลักษณะ ทำให้สุขอนามัยของประชาชนดีขึ้น และเมื่อสภาพแวดล้อมชุมชนดีก็ทำให้สังคมดีไปด้วย

ล่าสุด เอไอเอส พร้อมด้วยกรมควบคุมโรค ได้ตอกย้ำความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อยกระดับรูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชน รวมถึงมาตรฐานใหม่ในด้านสาธารณสุขพื้นฐานอย่างเท่าเทียม

ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” ( ASEAN Dengue Day) ถือเป็น สำหรับในประเทศไทยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดอย่างต่อเนื่องมากว่า 70 ปี โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 มิถุนายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยสะสม 3,386 ราย ซึ่งเมื่อเทียบในช่วงเดียวกันกับในปี 2564 พบว่ายอดผู้ป่วยสะสมลดลง 21% เสียชีวิต 5 ราย โดยในช่วงที่มีการระบาดจะเริ่มต้นในช่วงฤดูฝนหรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ซึ่งโรคไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย

“การดําเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนงานให้ประสบความสําเร็จ โดยเฉพาะ อสม. ซึ่งเป็นผู้นําในชุมชนให้ประชาชนดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อนําโดยยุงลาย โดยใช้แอปพลิเคชั่นอสม.ออนไลน์ เข้ามาเป็นปัจจัยสําคัญช่วยในการเพิ่มทักษะดิจิทัลด้านสุขภาพ (Digital Health)”

ดร.พญ.ฉันทนา เล่าว่า หลังจากอสม.เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีในการทำงานทำให้การปฏิบัติหน้าที่คล่องตัวมากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทั้งจำนวนบ้าน ลูกน้ำ ภาชนะ รวมถึงค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในชุมชนและในบ้าน เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการสรุปผลและติดตามการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างใกล้ชิด

อสม.ออนไลน์ยังช่วยให้อสม.แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพราะภายในแอปฯ มีข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการนําข้อมูลไปวิเคราะห์ร่วมกับจํานวนผู้ป่วยในพื้นที่ เพื่อคาดการณ์การเกิดการระบาดในพื้นที่ เพื่อแบ่งพื้นที่เสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงต่ำ

อย่างไรก็ดีการทำงานร่วมกันในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะการนำข้อมูลจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในแอปฯ อสม.ออนไลน์มาวิเคราะห์ร่วมกันและจัดการการแพร่ระบาดในพื้นที่ต่างๆ จนสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เป้าหมายเอไอเอสคือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม

นางสายชล กล่าวต่อว่า “วันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมในทุกพื้นที่โดยเฉพาะในท้องถิ่น อไอเอสยังคงยืนยันที่พร้อมจะทำงานกับบุคลากรทุกภาคส่วนที่ต้องทำงานในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม. ให้สามารถมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยให้ภารกิจดูแลสุขภาพคนไทย ก้าวเดินต่อไปอย่างดีที่สุด”

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลายบนแอปฯ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณสุขบนหลักการ ‘เตรียมการ’ ‘สื่อสาร’ และ ‘เตือนภัย’ และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนด้วยกันเองในการเฝ้าระวังปัญหาสาธารณสุข

สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ความร่วมมือกันของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เอไอเอส และทีมอสม.เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ลงตัว ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในอนาคตกรมควบคุมโรควางแผนที่จะใช้ข้อมูลผลสํารวจลูกน้ำยุงลายจากแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น ปริมาณน้ําฝน ความชื้น เป็นต้น เพื่อใช้ในการชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงของโรคไข้เลือดออกที่แม่นยํามากขึ้น