ThaiPublica > คอลัมน์ > การประชุมระดมสมองการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต Administrative Reform in Action

การประชุมระดมสมองการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต Administrative Reform in Action

9 กุมภาพันธ์ 2022


ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ก.พ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) จัดการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 1/2565 และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้เชิญประธาน อ.ก.พ.ร. และคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อ.กพม.) ที่เกี่ยวข้องร่วมหารือวาระสำคัญเกี่ยวกับ “กรอบทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาระบบราชการไทยที่เป็นรูปธรรมในระยะต่อไป (Administrative Reform in Action)”

สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธาน อ.ก.พ.ร. ได้ขอให้ TDRI และและผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.ร. นำเสนอผลการวิจัย แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ และแนวโน้มในอนาคตที่จะกระทบต่อภาครัฐไทย ดังนี้

  • ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นำเสนอสรุปผลโครงการศึกษาภาพอนาคตของภาครัฐไทย และข้อเสนอแนวทางปรับบทบาทภาครัฐไทยไปสู่รัฐเครือข่าย โดยการปรับบทบาทภาครัฐให้เอื้อต่อการสนับสนุนการสร้างเครือข่าย กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และส่งเสริมศักยภาพของภาคประชาสังคม ลดอำนาจการควบคุมของภาครัฐ
  • ดร.วิรไท สันติประภพ นำเสนอสรุปแนวคิดที่ได้นำเสนอในเวทีต่าง ๆ ประกอบด้วย ปัญหาสะสมของภาครัฐไทย คุณลักษณะของภาครัฐในอนาคต ซึ่งการปรับเปลี่ยน Mindset เป็นสิ่งสำคัญ หลักคิด และแนวทางในการปฏิรูปภาครัฐโดยแบ่งออกเป็นเสาการเมือง เสาโครงสร้าง เสากฎหมาย และเสาแรงจูงใจ
  • คุณเชษฐา เทอดไพรสันต์ นำเสนอแนวโน้มในอนาคตที่ภาครัฐจะต้องเตรียมการรับมือที่เรียกว่า Next “C” Crisis ได้แก่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งขีดความสามารถภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น โดยนำสถานการณ์โควิด-19 มาเป็นบทเรียนในการเตรียมพร้อมรองรับกับวิกฤติ

จากนั้น อ.ก.พ.ร. และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป สรุปดังนี้

1. ปัญหาของระบบราชการไทย

  • ขาดการบูรณาการการทำงาน และมีโครงสร้างการบริหารแบบรวมศูนย์
  • ภาครัฐมีขนาดใหญ่ มีสัดส่วนต้นทุนบุคลากรสูงและเป็นภาระในการดูแลระยะยาว ทำให้กระทบต่อสัดส่วนงบลงทุนในการพัฒนาประเทศ
  • ยังมีการทุจริตคอรัปชัน ในขณะที่หน่วยตรวจสอบตั้งกฎกติกาที่ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานในภาพรวม
  • กฎหมายล้าสมัย ไม่ยืดหยุ่น และไม่รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากถูกจัดทำขึ้นตามกรอบของโลกเก่า
  • ปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลได้ช้าและมีค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสูง เนื่องจากไม่มีความพร้อมด้านทรัพยากรและไม่มีแหล่งเงินทุนที่จะช่วยชดเชยต้นทุนดังกล่าว
  • การยึดติดกับบทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติมากเกินไป และการให้บริการส่วนใหญ่ยังคงใช้แนวคิด Supply-driven ซึ่งไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกรับบริการจากภาครัฐ
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ไม่กล้าทำสิ่งใหม่ สาเหตุทั้งจาก Mindset และระเบียบ กฎหมายที่แข็งตัวมากเกินไป
  • ไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของราชการไทยในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจสภาพการทำงานและแนวทางการพัฒนา

2. แนวทางแก้ไขปัญหา

2.1 ลดบทบาทภาครัฐ ส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนอื่น

  • ปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้กำหนดนโยบาย สนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นผู้ควบคุมที่เข้มแข็ง และลดบทบาทผู้ปฏิบัติ
  • ถ่ายโอนภารกิจภาครัฐ ผลักดันให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
  • พัฒนาการให้บริการแบบ Demand-driven เช่น การสนับสนุนด้านการการศึกษาโดยให้คูปองกับผู้ปกครองสามารถเลือกสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้
  • กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารจัดการตามบริบทของพื้นที่มากขึ้น
  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างข้าราชการรุ่นใหม่-ประชาชนในพื้นที่-เอกชนในพื้นที่ ด้วยกรอบความคิด “ทำงานและเติบโตไปด้วยกัน”

2.2 โครงสร้างและการบูรณาการการทำงานภาครัฐ

  • หากลไกการทำงานข้ามกระทรวงในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากกลไกการจัดตั้งคณะกรรมการ
  • พัฒนาแนวทางการทำงานรูปแบบพิเศษให้กับหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นมันสมองหรือที่ต้องแข่งขันกับต่างชาติ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น ไม่ติดกับดักระเบียบ ขั้นตอน ของหน่วยงานกลาง
  • การปรับวิธีการทำงาน ระบบงบประมาณ และตัวชี้วัดให้เป็น Issue-based ที่สอดรับกับเป้าหมายของประเทศ

2.3 การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

  • เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ (อายุ 35 – 40 ปี) เข้ามาเป็นผู้บริหารมากขึ้น
  • ปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับ Life style ของคนรุ่นใหม่
  • สร้างข้าราชการรุ่นใหม่จากกลุ่มคนที่มีศักยภาพ เช่น การขยายผลโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) นักเรียนทุน และระบบ Lateral Entry
  • ปลูกฝังกรอบความคิด (Mindset) และทัศนคติ (Attitude) โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใสและการบริการดิจิทัล

2.4 การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

  • การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน
  • การสร้างระบบ Check & Balance ที่ป้องกันการทุจริต แต่ยังสร้างความคล่องตัวให้คนทำงาน

2.5 การปฏิรูปกฎหมาย