ThaiPublica > Native Ad > “พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy” สถานีบริการที่เติมเต็มทุกความสุข ครอบคลุมทุก Lifestyle และเติบโตร่วมกับสังคมชุมชน

“พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy” สถานีบริการที่เติมเต็มทุกความสุข ครอบคลุมทุก Lifestyle และเติบโตร่วมกับสังคมชุมชน

30 มกราคม 2022


พีทีที สเตชั่น ซุปเปอร์โมเดล เขตสายไหม กรุงเทพฯ

“Empowering All toward Inclusive Growth” เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน วิสัยทัศน์ใหม่ของ โออาร์ ยิ่งตอกย้ำความมุ่งมั่น โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจหลักผ่านสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่เชื่อมโยงกับผู้คนทุก Lifestyle และสังคมชุมชนโดยรอบ เพื่อให้สถานีบริการน้ำมันเป็นมากกว่าธุรกิจน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อและห้องน้ำสะอาดเท่านั้น แต่โจทย์ของสถานีบริการน้ำมันยุคใหม่ในแบบของ พีทีที สเตชั่น คือการเป็น ‘Living Community’ เพื่อ ‘เติมเต็มความสุขให้กับผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม’

โออาร์ พัฒนา พีทีที สเตชั่น ให้เปิดโอกาสเติมเต็มทุกความสุขในด้านต่าง ๆ

1.เติมเต็มความสุข…ให้ผู้คน ผ่านโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น จุดช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน และจุดซ่อมรถเบา รวมถึงการออกแบบพื้นที่ใน พีทีที สเตชั่น ในรูปแบบ Friendly Design เพื่อให้เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย ที่สำคัญคือที่จอดรถสำหรับผู้ทุพพลภาพและที่จอดรถสำหรับสุภาพสตรี ทำให้รู้สึกสะดวกสบายและปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทางลาดสำหรับรถเข็น ไว้ในจุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางลาดจากที่จอดรถขึ้นทางเท้า หรือทางลาดเข้าร้านค้าต่าง ๆ รวมทั้งปรับทางเท้าให้เชื่อมโยงกันรอบปั๊ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุก ๆ คน ได้เข้าถึงจุดต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย

2.เติมเต็มความสุข…ให้ชุมชน พื้นที่ปันสุข…ให้รอยยิ้มของเกษตรกร ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการหาช่องทางจำหน่ายผลิตผล สนับสนุนและจัดสรรพื้นที่ใน พีทีที สเตชั่น ให้เกษตรกรมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตร ตลาดวิถีชุมชน เปิดพื้นที่ให้ชุมชนโดยรอบ พีทีที สเตชั่น เข้ามาจำหน่ายสินค้าของชุมชนสนับสนุนความภาคภูมิใจและสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจของชุมชน พร้อมส่งมอบองค์ความรู้ช่วยพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตกแต่งอัตลักษณ์…เติมเต็มความสุข สร้างความภาคภูมิใจให้ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจและรายได้ ด้วยเอกลักษณ์ของชุมชนนั้น ๆ

3.เติมเต็มความสุข…ให้สิ่งแวดล้อม พัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น เพิ่ม EV Station PluZ ให้ครบทุกเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยมลพิษ ให้โลกมีอากาศบริสุทธิ์ โครงการ แยก แลก ยิ้ม ให้กับโลกและชุมชน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และช่วยดูแลสังคม ด้วยการนำขยะที่แยกไปขายนำเงินไปสร้างสาธารณประโยชน์ให้ตามความต้องการของชุมชนรอบ พีทีที สเตชั่น

นอกจากนี้ Living Community เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญของ โออาร์ ที่ทำให้ดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการช่วยเหลือผู้คน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านธุรกิจหลักอย่างสถานีบริการ ‘พีทีที สเตชั่น’

ดังนั้น โจทย์ของ พีทีที สเตชั่น คือการผสมผสานแนวคิดเหล่านี้เข้าไปในหัวใจของธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy ถัดจากนี้


นายประสิทธิ์ โสวรัตนพงศ์ เจ้าของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น บริษัท ซุปเปอร์โมเดล เอนเนอจี จำกัด เขตสายไหม กรุงเทพฯ

นายประสิทธิ์ โสวรัตนพงศ์ เจ้าของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น บริษัท ซุปเปอร์โมเดล เอนเนอจี จำกัด เขตสายไหม กรุงเทพฯ เล่าความสำเร็จของการพัฒนา พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ โออาร์ ว่า ในอดีตสถานีบริการน้ำมันมีรายได้ควบคู่ไปกับธุรกิจเสริม มีสัดส่วนระหว่างน้ำมัน 35% และธุรกิจเสริม 65% แต่เมื่อใช้แนวคิดการพัฒนาสังคมชุมชนเข้ามาด้วย ทำให้สัดส่วนของธุรกิจเสริมเพิ่มเป็น 70%

ยิ่งกว่านั้นคือ การแข่งขันในธุรกิจนี้ได้เปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ จากที่ต้องมุ่งซื้อที่ดินบนนถนนไฮเวย์กลายเป็นการมองหาที่ดินที่มีศักยภาพแม้ว่าจะมีรถวิ่งผ่านไม่มากนัก เพราะกุญแจความสำเร็จของ โออาร์ ไม่ใช่แค่กำไรจากน้ำมันและธุรกิจเสริมเท่านั้น หากยังรวมถึงการพัฒนาผู้คน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันทั้งหมด ดังจะเห็นได้ในความสำเร็จของ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy ปากซอยสายไหม 56 แห่งนี้

เชื่อมต่อสังคมชุมชนบนทำเลถนนสายรอง

นายประสิทธิ์ เล่าต่อว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการสร้าง พีทีที สเตชั่น คือต้องเชื่อมโยงกับสังคมชุมชน ดังนั้นแนวคิดของการเป็น Living Community จึงเริ่มตั้งแต่การเลือกทำเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ถนนสายรอง’ ซึ่งตอบโจทย์ด้านนี้มากที่สุด

“เราแปลโจทย์ Living Community ของ โออาร์ คือ ‘ชุมชน’ เลยหาทำเลถนนสายรองที่แวดล้อมด้วยชุมชนหมู่บ้าน พอมาได้ทำเล ‘สายไหม’ ก็สำรวจว่าคนในชุมชนอยากได้อะไรในสถานีบริการน้ำมัน เพราะสถานีบริการฯ ขนาดใหญ่ ที่มีแค่ธุรกิจเสริมหรือพื้นที่ที่จอดรถ ห้องน้ำที่ดี มีหลังคาอาคารจ่ายน้ำมันที่ดีก็ยังไม่เพียงพอ”

พร้อมเล่าต่อว่า “ก่อนหน้านี้ ถนนสายไหมไม่มีใครรู้จัก แม้หมู่บ้านในถนนสายไหมก็จะ ‘สายไหม & พหลโยธิน’ หรือ ‘สายไหม & วัชรพล’ เพราะมองว่าสายไหมเป็นทำเลเกรด C แต่พอร่วมกับ โออาร์ มาเปิด พีทีที สเตชั่น มันไม่ใช่เกรด C แล้ว ถนนเส้นนี้กลายเป็น B+ หมู่บ้านจากราคาไม่แพง ก็แพงขึ้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เอาเราเป็นจุดขายว่า ถ้าคุณซื้อโครงการนี้ เพียงแค่ 300 ถึง 500 เมตร หรือสิบนาทีก็ถึง พีทีที สเตชั่น ทำให้เรารู้สึกว่าเราเข้าถึงชุมชนจริง ๆ”

นายประสิทธิ์กล่าวว่า “ทำเลเกรด C ที่มากถึง 3 ตัว ที่เรียกว่า Triple C เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าในอดีตพื้นที่สายไหมแห่งนี้ยังไม่เจริญมากนัก หรือระดับกลางค่อนไปทางล่าง แต่การที่พื้นที่ถูกพัฒนาจากระดับล่างไปสู่เกรด B ซึ่งเป็นระดับกลางค่อนไปทางบน ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ‘สายไหม’ คือทำเลที่มีศักยภาพสูง”

นอกจากนี้คนในพื้นที่ชอบเดินทางเป็นระยะทางสั้น ๆ ต้องการกินอาหารอร่อยโดยไม่จำเป็นต้องไปห้าง และไม่ต้องวนหาที่จอดรถ กระทั่งวันหยุดก็เป็นจุดรวมพลขึ้นรถไปงานต่างจังหวัด ผ้าป่า กฐิน หรือจอดรถซื้อเครื่องดื่มจาก Café Amazon ดังนั้นจึงพัฒนา พีทีที สเตชั่น แห่งนี้ให้มีพื้นที่กว้าง จอดรถได้สะดวก ร้านอาหารที่ตรงความต้องการของชุมชนและ Lifestyle ของลูกค้า

“พอมาเปิดบนถนนสายรองทำให้รู้ว่าคนต้องการใช้ชีวิตใกล้บ้านมากกว่าไปข้างนอก เทียบกับ พีทีที สเตชั่น บนถนนสายหลักที่มีโอกาสเจอรถวิ่งเป็นแสนคัน ช่วงผลัดเช้าแวะ พีทีที สเตชั่น เข้า Café Amazon เติมน้ำมัน 7-11 ทุกอย่างดีหมด พอบ่ายจะเงียบ แต่ที่นี่มีรถวิ่งผ่านวันละกว่าสองหมื่นคัน แต่เราอยู่ได้ทั้งวันโดยเฉพาะช่วงบ่ายถึงค่ำจะมีลูกค้าค่อนข้างเยอะ ขณะที่ถนนสายหลักจะค่อย ๆ เงียบลง แต่ที่นี่สี่ทุ่มยังคึกคักเพราะอยู่ในชุมชนและมีความเป็น Lifestyle”

ต่อยอดแบรนด์คู่ค้า

สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy แห่งนี้ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2562 นายประสิทธิ์เล่าวว่าในช่วงแรกกังวลว่าจะมีคนมาเช่าพื้นที่ภายในสถานีบริการหรือไม่ แต่เมื่อทำภาพแบบจำลองไปนำเสนอพันธมิตร คู่ค้าแล้วก็พบว่ามีคนเช่าพื้นที่ ต่อมาเป็นวิกฤติ COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบันก็ทำให้ พีทีที สเตชั่น ใช้โอกาสความเป็น Open Mall ตอบโจทย์แบรนด์คู่ค้าได้อย่างลงตัว

“แนวคิด Living Community ของ โออาร์ พิสูจน์ให้เราเห็นว่า ในสถานการณ์ COVID-19 ถึงคนจะล็อคดาวน์อยู่บ้าน แต่มนุษย์ก็ต้องออกจากบ้านไม่ไกลก็ใกล้ ทำให้ยอดขาย Café Amazon และ 7-11 สูงขึ้น 35% แม้ว่าน้ำมันลดลง 45% เพราะไม่มีรถสัญจร แต่พนักงานซึ่งเป็นคนในชุมชน ‘สายไหม’ ยังมีงานทำ ไม่ได้ลดพนักงานเพราะ COVID-19 ยิ่งขายดีกว่าเดิม แบรนด์คู่ค้าก็มองเห็นโอกาสที่คนไม่ต้องเข้าห้าง ทำให้ยอดขายสูงขึ้นกว่าเดิม”

โอกาสนี้ยังต่อยอดไปให้ Central Restaurant Group (CRG) ได้ไอเดียการควบทั้งสองแบรนด์มาทำระบบ Cloud Kitchen โดยสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น แห่งนี้เป็นต้นแบบของโมเดล Cloud Kitchen ระหว่างคัตสึยะ และ โยชิโนยะ บนพื้นที่เพียง 18 ตร.ม.

“มีหลายเจ้าเห็นความสำเร็จดังกล่าว ก็มุ่งหน้าสู่ พีทีที สเตชั่น อย่างสถานีบริการฯ ของเราก็มีแบรนด์โดนัทสองเจ้า หรือมีร้านปิ้งย่างร้านหนึ่งมาเปิดกับเรา ซึ่งเขามองว่ามันยังเหมือนห้างเลยทำโต๊ะสี่คน แต่เราบอกว่าเราหาข้อมูลมาแล้วว่าที่นี่เป็นกลุ่มครอบครัว ชุมชนใหญ่ พอทำโต๊ะสี่คน ลูกค้าหนึ่งบ้านมาหกคน ต้องนั่งสองโต๊ะ ลูกค้ารีเทิร์นน้อย พอร้านอาหารญี่ปุ่นมาเปิดทีหลัง เห็นคนยืนหน้าร้านแล้วเข้าร้านไม่ได้ เลยปรับเป็นโต๊ะหกคน ก็ตอบโจทย์และรับลูกค้าได้ ถือเป็นความคุ้มค่าในการลงทุน” นายประสิทธิ์กล่าว

นายประสิทธิ์เล่าต่อว่า แนวคิดการทำ พีทีที สเตชั่น แบบเดิมคือจาก 7-11 เซเว่นถึงห้องน้ำเป็นทำเลเกรด A ถัดจากห้องน้ำเป็นทำเลที่เกรดรองลงมา โดยส่วนใหญ่ทำเลเกรด D จะตั้งอยู่ในพื้นที่ลึก ทำให้ขายพื้นที่ไม่ได้ ทว่า พีทีที สเตชั่น แห่งนี้ ได้ลบแนวคิดเดิมทั้งหมด เพื่อให้แบรนด์คู่ค้าไม่มองแค่ว่าทำเลเกรด A คือเซเว่นถึงห้องน้ำเท่านั้น แต่ที่นี่จัดโซนนิ่งใหม่โดย “ไม่ขาดตอนทางธุรกิจ” คือเรียงโซนที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อาหารหรือโซนบริการ สำคัญคือที่จอดรถหน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้ทันที

ภายใน พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy ได้มีการจัดโซนนิ่งบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะร้านเสริมความงาม ร้านดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจส่วนนี้ ดังนั้นแบรนด์คู่ค้า-ผู้เช่าพื้นที่ไม่ใช่แค่แบรนด์ระดับใหญ่เท่านั้น แต่ยังให้โอกาสผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ตลอดจนการสร้างการจ้างงานในชุมชน

นายประสิทธิ์ เล่าว่า เมื่อผู้ประกอบการเข้ามาเช่าพื้นที่แล้ว โออาร์ จะแนะนำว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร มีการให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ ช่วยออกแบบพื้นที่ รวมไปถึงราคาค่าเช่าที่สมเหตุสมผล

“อีกร้านคือ ร้านข้าวแกงที่ขายดีมาก แต่ขับรถมาจะมองไม่เห็น เราเห็นเขาขายดีที่ริมถนนย่านเกษตรนวมินทร์ เลยชวนมา เขาก็กังวลว่าให้พื้นที่ด้านหลังตึก ใครจะขายใครได้ เราก็ดีไซน์ร้านให้เขา แล้วคุยในสิ่งที่เขาต้องการ ก็มีการเดิมพันด้านธุรกิจว่าถ้าเขามาจะต้องจับจ่ายใช้สอยในการทำร้านเป็นเงินเท่าไร แต่ถ้าเราลงทุนให้เขาในเครื่องครัวที่ลูกค้ามาใช้บริการเห็นแล้วอยากเข้ามารับประทานและสะอาด เราก็ลงทุนและให้เขาผ่อน พออยู่ครบสัญญาโดยที่ยังผ่อนไม่หมด เราก็ยกตรงนั้นให้เขา เราพึ่งพากัน ทำให้เขาลงทุนง่าย พอเขามา ก็มีการจ้างงานจ้างคน เขาก็ยังแปลกใจว่าทำเลลับ ๆ แต่ทำไมขายดี”

การออกแบบที่เป็นมิตร

อีกปัจจัยสำคัญคือการออกแบบและการใช้สอยพื้นที่ทั้งหมด โดยแนวคิดนี้ นายประสิทธิ์เล่าว่าตั้งใจทำรูปทรงให้ลืมความเป็นกรุงเทพฯ แต่สถาปัตยกรรมต้องเหมือนบ้านที่อบอุ่น และเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในเวลาเดียวกัน เพราะเวลาถ่ายรูปลงโซเชียลคนจะถามว่าไปเที่ยวไหนมา นี่เป็นแนวคิดที่ไม่เคยมีในสถานีบริการน้ำมันมาก่อน เพราะแต่เดิมคนคิดว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในปั๊มไม่เกิน 25 นาที แต่การออกแบบและร้านค้าต่าง ๆ ของ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy แห่งนี้ได้ตรึงให้คนใช้เวลาได้ถึง 2 ชั่วโมง

“คนคิดว่าแค่เป็นอาคารสวย ๆ สองหรือสามชั้น และมีสถานีบริการน้ำมันตั้งอยู่แล้วจบ พอเราเริ่มทำงานหาข้อมูลจริง ๆ พบว่าการจะสร้างอาคารสวย ๆ สองสามชั้นมันไม่สามารถตอบโจทย์คู่ค้าและการลงทุน พอมาทำพื้นที่ก็ใช้ความสูงให้เป็นประโยชน์ ถ้าอาคารหนึ่งมีความสูงสองชั้น ชั้นหนึ่งเจ้าหนึ่ง ชั้นสองเจ้าหนึ่ง ทุกคนจะไม่ขึ้นชั้นสอง เราเลยทำให้ชั้นสองเป็นอาคารต่อเนื่อง ทำให้ใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ เช่น ธนาคารกสิกรไทยที่ชั้นล่างเป็น Co-working Space ส่วนชั้นบนสำหรับทำธุรกรรมทั่วไป”

คืนกำไรให้ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

ตามหลักการการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน แต่สำหรับ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy แห่งนี้ใช้เวลาไปถึง 9 เดือน เนื่องจากกระบวนการพูดคุยกับชุมชนและหมู่บ้านที่ติดกับสถานีบริการฯ ซึ่งในตอนแรกคนในหมู่บ้านมองว่าสถานีบริการน้ำมันที่ตั้งอยู่ข้าง ๆ จะไม่ปลอดภัยและเป็นปัญหา แต่เมื่อมีการพูดคุยกัน คนในหมู่บ้านเปลี่ยนความคิดใหม่และมองว่า พีทีที สเตชั่น คือพันธมิตร

“ตอนเรามาก่อสร้างตรงนี้ ข้าง ๆ เป็นหมู่บ้าน แรก ๆ ต่อต้านเลย เพราะเขามองว่าบ้านอยู่ตรงนี้ คุณย้ายไปที่อื่นได้ไหม เราก็เข้าพูดคุยกับประธานหมู่บ้านว่าทำอย่างไรให้หมู่บ้านคุณสบายใจ ให้คุณเข้าใจเราว่าเรามาดี มาทำให้มันเจริญนะ แต่ก่อนเป็นทุ่งหญ้ามันอาจจะมีงูเลื้อยเข้าบ้านคุณได้ กำแพงก็ล้ม เรียกได้ว่าเราทำซีเอสอาร์กับชุมชนได้เลย เขาอยากให้เราทำแผนชัด ๆ บอกว่าการออกแบบของเราที่ระบุแล้วว่าถังน้ำมันตั้งตรงไหน ห้องน้ำตรงไหน ทำอย่างไรให้เขารู้สึกไม่รังเกียจ ประธานหมู่บ้านก็เห็นว่าบ้านนี้ติดเรา ก็ให้มาคุยทีละชุด ๆ ออกมาเป็นภาพรวมสัญญาใจว่าทำอะไรบ้าง”

“ผมใช้เวลากับที่นี่ 3 เดือน พอถึงขั้นตอนก่อสร้างสถานีบริการฯ เรื่องร้องเรียนไม่เกิดขึ้นเลย เราเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 7 โมงเช้าเสร็จ 3 ทุ่ม ไม่มีทอดเวลาและไม่มีเริ่มก่อน แต่ไม่มีการร้องเรียนใดๆ เพราะวันไหนเราจะส่งเสียงดังเราก็ไปคุยกับเจ้าของ เหมือนเราทำงานร่วมกับเขา แทนที่จะทำปั๊มแล้วต้องไปขออนุญาตหน่วยงานราชการ แต่เราต้องทำความเข้าใจกับชุมชนจริง ๆ พอเขาเห็นว่าเรามาดี มีภาพให้เห็นชัด ๆ ไม่ได้มีการหลอกลวง ทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจ”

Hidden Flower Station โซนพิเศษมีให้เข้าชมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นี้

นายประสิทธิ์ ย้ำว่าการยึดแนวคิด Living Community ไม่ใช่แค่การทำธุรกิจโดยเชื่อมโยงกับชุมชนเท่านั้น แต่จากตัวอย่างที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ต้องเป็นแบรนด์ที่ทำชุมชนรู้สึกพึ่งพาได้ในมิติชีวิตความเป็นอยู่ด้วย

พีทีที สเตชั่น เองก็มีการคืนกำไรให้สังคมและชุมชน โดยมีการบรรยายหัวข้อต่าง ๆ เช่นแคมเปญว่าอยากจะขายออนไลน์ให้ดังให้ปังอย่างไร ก็เชิญวิทยากรมาสอนวันอาทิตย์ หรือหัวข้อการลงทุน การฝากเงิน ซื้อกองทุนยังไงให้คุ้มค่ามาให้ความรู้ ทำให้ชุมชนรู้ได้ประโยชน์ขึ้น

“พอต้นปี 2565 ยังเจอ COVID-19 เลยทำสถานที่ถ่ายรูป Hidden Flower Station ซึ่งเปิดให้เข้าชมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยมีแนวคิดที่ว่าคนจะไม่ไปต่างจังหวัดแล้ว หลังจากนี้คนอาจจะเวิร์คฟอร์มโฮมเยอะขึ้น ผมเลยมาทำสถานีดอกไม้ลับแล เป็นการคืนกำไรให้ลูกค้าและทำให้คนรู้จักพื้นที่สายไหมมากขึ้น ถ้าลูกค้าไม่คิดไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็เที่ยวแถวบ้าน”

ภายในพื้นที่ พีทีที สเตชั่น Supermodel Energy จะมีการสร้างเฟสสอง เช่น สนามกีฬาแบดมินตัน ซูเปอร์มาร์เก็ต และอื่น ๆ อีก เพื่อสร้างประโยชน์ให้ชุมชนโดยรอบอย่างแท้จริง รวมถึงมี EV Station PluZ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหลักจาก โออาร์ ที่ต้องการให้มี EV Station PluZ ครบทุกเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ ตลอดจนแนวคิด Solar Rooftop และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใน พีทีที สเตชั่น พื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านและประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน

ดังนั้นวิสัยทัศน์ที่จะเติมบเต็มทุกความสุข เพื่อการเติบโต ร่วมกัน ของ โออาร์ ก็ได้ตอกย้ำการเป็นมากกว่า “สถานีบริการ” เพราะได้สร้างโอกาสเพื่อการเติบโตร่วมกับสังคมชุมชน ผ่าน พีทีที สเตชั่น แห่งนี้