ThaiPublica > Sustainability > Social Change/Project > ธปท. จับมือคลัง-ธนาคารรัฐ-กองทุนหมู่บ้าน เสริมความรู้ทางการเงินคนไทย

ธปท. จับมือคลัง-ธนาคารรัฐ-กองทุนหมู่บ้าน เสริมความรู้ทางการเงินคนไทย

1 ธันวาคม 2021


การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการส่งเสริมความรู้ทางการเงินระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายบริหารความเสี่ยงองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน

  • ธปท.เปิดผลสำรวจ ทักษะทางการเงินคนไทยดีขึ้น แต่ยังออมไม่พอ
  • ตลาดหลักทรัพย์ฯ-กอช. ยกระดับแอปพลิเคชัน เพิ่มทักษะการเงินสมาชิกและตัวแทน
  • ตลาดหลักทรัพย์ฯ MOU พันธมิตร สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน โครงการ “Happy Money สุขเงิน สร้างได้”
  • กบข. ผสานตลท. ยกระดับการให้ความรู้การเงินการลงทุนสมาชิกทั่วประเทศ
  • การลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง 5 หน่วยงานในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือทางวิชาการและการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน เพื่อร่วมผลักดันนโยบายระดับประเทศในด้านการส่งเสริมให้คนไทยมีความตระหนักรู้ (Awareness) มีทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) และมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศน์ด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Mechanism & Ecosystem)

    โดยทุกฝ่ายมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในงานส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีทักษะทางการเงินที่จำเป็นและมีความรู้ในการหารายได้หรือประกอบอาชีพเสริม รวมถึงการวางแผนทางการเงิน การออม การจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย การบริหารจัดการรายรับรายจ่ายในภาวะปกติและภาวะวิกฤต การจัดการหนี้ การเงินในยุคดิจิทัล และการรู้เท่าทันภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนและบริหารจัดการทางการเงินในระดับครัวเรือนมีประสิทธิผลมากขึ้น และประชาชนและครัวเรือนมีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี