ThaiPublica > คอลัมน์ > Ownership Economy เศรษฐกิจแบบมีความเป็นเจ้าของ

Ownership Economy เศรษฐกิจแบบมีความเป็นเจ้าของ

4 สิงหาคม 2021


จรัล งามวิโรจน์เจริญ Director (CEO Office) Carabao Group

ช่วงนี้มีแต่คนพูดถึง Blockchain กับ Crypto กันมากมาย ผู้อ่านคงหาความรู้กันได้มากมายจากผู้รอบรู้บนโลก Online สิ่งที่ผมเห็นในมุมของประโยขน์ของการเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลคือ กลไกของ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเครือข่าย Platform กระจายอำนาจและประสานการทำธุรกิจ ธุรกรรม ที่เกิดขึ้นได้โดยตรง ไม่มีคนกลาง ช่วยทำให้เกิดกลไกทางเศรษฐกิจ และ สังคมที่มีประสิทธิภาพหากถูกออกแบบมาให้มีความเท่าเทียม

โดยที่เครือข่าย Platform สามารถถูกสร้าง จัดการ ระดมทุน เป็นเจ้าของโดย ผู้ใช้ (คล้ายๆ co-op สหกรณ์) การเป็นเจ้าของ การมีส่วนได้ส่วนเสีย การมีส่วนร่วม ของเครือข่ายนี้ ทำให้เครือข่ายสามารถขยายตัวได้เร็ว กระบวนการที่ทำให้เกิด Transaction ก็เป็นข้อมูลที่นำไปในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลักษณะของธุรกรรมต่างๆมากขึ้น

ถ้าจะเปรียบเทียบกับ Platform แบบที่มีมาเช่น Wikipedia Youtube เนื้อหามาจากการสร้างของผู้ใช้ แต่รายได้หรือการเป็นเจ้าของยังเป็นของตัว Platform เอง (Youtuber ได้รายได้ทางอ้อมจากโฆษณาที่ไปตกลงกับ Sponsor เอง) ในขณะที่ Blockchain ที่มีการใช้ Smart Contract คล้ายสัญญาที่เขียนด้วยโปรแกรม ในการกำหนดวิธีการทำธุรกรรมร่วมกัน มาเป็นตัวในการบริหารจัดการ (Governance) ความร่วมมือของผู้ใช้

ยกตัวอย่างเช่น Celo ที่ใช้ Blockchain มาช่วยในการให้คนที่มีมือถือ Smartphone สามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินได้ ส่งเงินและซื้อของผ่านโทรศัพท์ คุณคงถามว่ามันต่างยังไงกับสิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ สิ่งที่ต่างคือระบบนี้ไม่ได้ถูกควบคุมโดยใครคนได้คนหนึ่ง เป็นระบบเปิดที่ให้กลุ่ม developer มาพัฒนาต่อยอดสร้าง นวัตกรรมด้านการเงินบนเครือข่ายนี้ (การกระจายอำนาจ สร้างความเป็นเจ้าของให้กับผู้ใช้และนักพัฒนา)

ในช่วงโควิด Celo ถูกนำไปใช้ในการส่งเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากกลุ่ม Celo Alliance for Prosperity (ที่มี Grameen Foundation ที่เป็น Social Enterprise ที่มีชื่อเสียงเป็นหนึ่งในสมาชิก)ให้กับผู้ประกอบการหญิงที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจจำนวน 733 คนในฟิลิปปีนส์ กระบวนการจัดการสามารถทำได้รวดเร็วภายใน 20 นาทีกับการโอนเงินข้ามประเทศด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าปกติถึง 99.5% (ค่าธรรมเนียมน้อย กว่า 33 สตางค์)

บริษัทที่ชื่อ Foundation เป็นตลาดแลกเปลี่ยนผลงานที่ศิลปินสร้างงาน Digital Art แล้วมาขายโดยศิลปินกำหนดราคาและให้ผู้ซื้อมาประมูลด้วยสกุลเงิน Crypto เช่น Ethereum งานแต่ละชิ้นจะมีชิ้นเดียวในโลก copy ไม่ได้เพราะถูกบันทึกไว้ในระบบสามารถตรวจสอบได้

โลกของ Blockchain กับการสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่มีความคล้ายสังคมอุดมคติที่มีการสร้างความเป็นเจ้าของโดยไม่มีคนกลางแต่ควบคุมด้วยระเบียบที่ถูกโปรแกรมทำให้การจัดการการทำงานร่วมกันของหลายๆภาคส่วนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดนี้จริงๆแล้วสามารถที่จะนำมาใช้กับองค์กร และ หน่วยงานที่ต้องทำงานประสานร่วมกันหลายฝ่ายได้ สิ่งต่างๆที่เป็นข้อมูลสามารถถูกบันทึกเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสได้ นี่เป็นอุดมคติของสิ่งที่องค์กร รวมทั้งรัฐควรจะเป็น

ถ้าประชาชนไทยเป็นเจ้าของประเทศนี้แล้วสุดท้ายแล้วเราจะมีกระบวนการแบบ Blockchain นี้มั้ยที่คนในประเทศสามารถที่จะมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการทำให้ประเทศนี้ดีขึ้น

อ้างอิง: https://celo.org/papers/covid-aid