ThaiPublica > คอลัมน์ > เราจะอยู่กับโลกของความซับซ้อน (Complexity) อย่างไร

เราจะอยู่กับโลกของความซับซ้อน (Complexity) อย่างไร

2 กรกฎาคม 2021


จรัล งามวิโรจน์เจริญ Director (CEO Office) Carabao Group

เราเจอความซับซ้อน (Complexity) หลายอย่าง หลายระดับในชีวิตประจำวันของเรา ความซับซ้อนในโลกกายภาพ ในโลกดิจิทัล ในโลกชีววิทยา ในจักรวาล ในเมือง ในสมอง ในภาษา ในสังคม ในธุรกิจ ในสิ่งแวดล้อม ในเศรษฐกิจ

ผู้อ่านอาจจะคิดในใจว่าเราไปยุ่งกับมันทำไม ในยุคนี้เราหนีมันไม่ได้เราต้องอยู่กับมัน เราอาจเพิกเฉยกับมันก็ได้ แต่การทำความเข้าใจเบื้องต้นจะทำให้เราอยู่เป็นกับโลกซับซ้อนในยุคนี้ที่มีโควิดอยู่

ความซับซ้อน (Complexity) กับความยุ่งยาก (Complicated) ต่างกัน ความยุ่งยากเป็นเรื่องของความยากในการเข้าใจ บ่อยครั้ง ‘คน’ นี่และครับสร้างความยุ่งยากหรือเอามันมาจัดการปัญหาที่ซับซ้อน (ไม่ทำเรื่องให้มันง่ายขึ้นแต่ทำให้มันยุ่งยากขึ้น) เหมือนที่เรากำลังเจอกันกับประเทศเราตอนนี้

ความซับซ้อนมีลักษณะ 3 อย่าง

ความทวีคูณ (Multiplicity) เป็นเรื่องธรรมชาติที่เมื่อองค์ประกอบง่ายๆเริ่มซ้อนกันเป็น scale ใหญ่ขึ้นก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น นีกถึง net บ้าน กับ net ของ Internet

การพึ่งพากัน (Interdependence) องค์ประกอบต่างๆที่เชื่อมกันพึ่งพากัน อย่างสิ่งแวดล้อม คนต้องพึ่งป่าและทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต และควบคุมอุณหภูมิโลก

ความแตกต่างหลากหลาย (Diversity) ยกตัวอย่างเช่นความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ที่ลดลงในโลก จากการทำลายป่าและการประมงที่ไม่มีการควบคุม ทำให้เกิดการลดทอนของทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต

ระบบที่ยิ่งมีความซับซ้อนก็จะยิ่งมีคุณลักษณะ 3 อย่างนี้มากขึ้น การคาดการณ์ผลลัพธ์ของระบบที่ซับซ้อน มีความท้าท้าย เช่นระบบจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน ที่มีตัวแปรที่ต่างๆเช่น อากาศ เครื่องบินหยุดทำงาน และอื่นๆที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความซับซ้อนที่จะคาดการณ์ได้

การจัดการระบบที่ซับซ้อนเช่นในธุรกิจ อาจต้องใช้แนวคิดของการบริหารจัดการความเสี่ยงเพราะเราไม่รู้ว่าผลลัพธ์ของการที่เราจะทำอะไรลงไปกับระบบจะเป็นอย่างไร เราสามารถใช้ข้อมูลมาช่วยในการคาดการณ์เบื่องต้นโดยดูตัวแปร 3 ประเภท

  • ข้อมูลล้าหลัง (Lagging Data) สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ข้อมูลหรือ KPI ทางการเงิน ส่วนใหญ่อยู่ในประเภทนี้
  • ข้อมูลปัจจุบัน (Current Data) เช่น ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ
  • ข้อมูลชี้นำ (Leading Data) เช่น ข้อมูล trend ตัวแปรที่จะมีผลต่ออนาคตของธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมัน มีผลต่อค่าใช้จ่ายระบบขนส่ง

การจัดการควรทำโดยใช้ข้อมูลชี้นำเพื่อบริหารความเสี่ยงในอนาคต ในยุคนี้ของการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนเราต้องคลี่คลายความซับซ้อนด้วยการทำงานร่วมกันกับทีมงานที่มีความหลากหลาย (Diversity) เพื่อได้การตัดสินใจที่รอบครอบ คิดครบ ถ้าเป็นไปได้ควรลดความไม่แน่นอนด้วย การลองผิด ลองถูก ที่ไม่แพงและทำได้เร็วเพื่อจะได้เห็น feedback เร็วของการจัดการระบบ หวังว่าเราจะเห็นสิ่งเหล่านี้กับการจัดการความเสี่ยงของประเทศนี้

References:
https://hbr.org/2011/09/learning-to-live-with-complexity
https://www.theguardian.com/environment/2021/feb/02/economics-of-biodiversity-review-what-are-the-recommendations