ThaiPublica > ประเด็นร้อน > Research Reports > Krungsri Research > วิจัยกรุงศรีคาดคนไทยติดโควิด-19 กรณีเลวร้ายพุ่ง กว่า 20,000 ราย/วัน ส.ค.นี้

วิจัยกรุงศรีคาดคนไทยติดโควิด-19 กรณีเลวร้ายพุ่ง กว่า 20,000 ราย/วัน ส.ค.นี้

16 กรกฎาคม 2021


วิจัยกรุงศรีได้ปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 ใน Monthly Economic Bulletin ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เลวร้ายสุดของประเทศจะส่งผลในทางลบและกลบการส่งออกที่แข็งแกร่ง โดยได้ปรับลดประมาณการการเติบโตของ GDP ปี 2564 เป็น +1.2%

“แบบจำลองของเราชี้ว่า การติดเชื้อโควิด -19 ระลอกล่าสุดในประเทศจะสูงสุดในเดือนสิงหาคม และลดลงต่ำกว่า 1,000 รายในเดือนพฤศจิกายน เมื่อประเมินจากอัตราการแพร่กระจายในปัจจุบัน”

วิจัยกรุงศรีระบุว่า สถานการณ์กรณีเลวร้ายที่สุดในการคาดการณ์ครั้งก่อนกลายเป็นกรณีฐานสำหรับการคาดการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 10,000 รายต่อวันนับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้การติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและแพร่กระจายไปยังหลายจังหวัด

  • วิจัยกรุงศรีลดประมาณการ GDP อีกรอบโตแค่ 2% ระบาดระลอก 3 แรงกว่าคาด
  • วิจัยกรุงศรี ลดคาดการณ์ GDP ปี 64 เหลือ 2.2% ไตรมาส 2 เจอ Technical Recession
  • วิจัยกรุงศรีลดคาดการณ์จีดีพีปี ’64 เหลือ 2.5% จากโควิดระลอกใหม่
  • การคาดการณ์ล่าสุดของวิจัยกรุงศรีประเมินว่าการติดเชื้อในประเทศในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเกิดจากสายพันธุ์เดลต้าและเบต้า ดังนั้นจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของไทย อินเดีย แอฟริกาใต้ และสหราชอาณาจักร การล็อกดาวน์ในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม คาดว่าจะมีประสิทธิผล 70% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน 2563 และบ่งชี้ว่าผู้ป่วยรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 คนต่อวัน ภายในต้นเดือนสิงหาคม

    วิจัยกรุงศรีคาดว่าไทยจะฉีดวัคซีนได้ 250,000 โดสต่อวันในช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้วัคซีนประชาชนได้ทั้งหมด 55 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งอาจช่วยลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันได้ โดยเฉพาะหลังเดือนกันยายน ประสิทธิภาพของวัคซีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการลดจำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน (บนสมมติฐานสมมติว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ60%) อย่างไรก็ตามแม้จะฉีดวัคซีนประชาชนได้ทั้งหมด 55 ล้านโดส ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายการฉีดวัคซีนประชาชนทั้งหมด 100 ล้านโดส

    ภายใต้กรณีพื้นฐานล่าสุด วิจัยกรุงศรีคาดว่าจำนวนผู้ป่วยใหม่จะลดลงต่ำกว่า 1,000 ต่อวัน ภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ในกรณีที่เลวร้ายสุด ที่วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพมากพอและการล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอาจเกิน 20,000 ราย และการล็อกดาวน์จะยาวนานขึ้น

    “เราลดประมาณการการเติบโตของ GDP ปี 2564 ลง 0.8 จุด เหลือ 1.2% เพื่อสะท้อนการระบาดของ โควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุดของประเทศไทยและการสนับสนุนของนโยบายที่จำกัด การส่งออกที่มีแนวโน้มดีจะช่วยลดผลกระทบลงได้บ้าง

    จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่เกิดจากสายพันธุ์เดลต้า ความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน และโปรแกรมการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า ชี้ให้เห็นว่ามาตรการล็อกดาวน์จะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงเดือนตุลาคม จากปัจจัยทั้งหมดนี้ วิจัยกรุงศรีประเมินว่าผลกระทบเชิงลบที่รวมกันจากการผลิตที่ชะงักงัน ความต้องการที่ลดลงกว่าคาด และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อ่อนตัวลง จะมีผลต่อการเติบโตของ GDP ของไทยให้ลดลง 2.0 จุด ในปีนี้

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่แข็งแกร่งจะช่วยหนุนการเติบโตของ GDP ขึ้น 0.6 จุด นอกจากนี้วิจัยกรุงศรียังคาดว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมอีกในวเงิน 1 แสนล้านบาทในปีนี้ ซึ่งจะหนุนการเติบโตของ GDP ได้ 0.6 จุด แต่ทั้งการสนับสนุนนโยบายการคลังและการเงินค่อนข้างจะจำกัด เมื่อเทียบกับผลกระทบจากการระบาดใหญ่และมาตรการเยียวยาช่วงที่ผ่านมา

    ผลกระทบเชิงลบขนาดใหญ่จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งล่าสุด จะมีมากกว่าประโยชน์ที่ได้จากแรงหนุนของนโยบายที่จำกัดและการส่งออกที่แข็งแกร่ง ผลกระทบสุทธิต่อการเติบโตของ GDP ของไทยจะติดลบ 0.8 จุด ทำให้คาดการณ์การเติบโตทั้งปีในปี 2564 เหลือเพียง +1.2% เทียบกับ +2.0% ในการคาดการณ์ครั้งก่อน

    “เราคาดว่า GDP ของไทยจะติดลบทั้งในไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ของปีนี้เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส เป็นผลจากการระบาดที่ยืดเยื้อตั้งแต่ช่วงวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคใน ไตรมาสสามปีนี้”

    เราปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและการบริโภคของภาคเอกชนในปี 2564 ลง แต่เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของการส่งออก การฟื้นตัวในลักษณะ K-shape จะเห็นได้ชัดเจนขึ้น

    รัฐบาลมีแผนจะเปิดจังหวัดนำร่องสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเริ่มโครงการ Phuket Sandbox ในวันที่ 1 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคที่เลวร้ายและนานกว่าที่คาด ประกอบกับการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่มีมากในหลายประเทศ ทำให้วิจัยกรุงศรีลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าในปี 2564 เป็น 210,000 คน (จาก 330,000 คน)

    ภาคการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ ที่อ่อนแอ การว่างงานที่สูงขึ้น และรายได้ที่ลดลงเพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ วิจัยกรุงศรีจึงปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนสำหรับปีนี้เป็น +1.1% จาก +1.8%

    ในทางบวก จากมุมมองเชิงบวกที่มากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว วิจัยกรุงศรีได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของการส่งออกปีนี้ขึ้น (ตามข้อมูล BOT) เป็น +15% จาก +9.5% แนวโน้มการส่งออกที่แข็งแกร่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบบางอย่างต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนทางธุรกิจ

    ผลกระทบด้านลบของการระบาดครั้งล่าสุดจะยาวนานและรุนแรงมากขึ้นสำหรับกลุ่มธุรกิจและครัวเรือนหลายกลุ่ม รวมถึงอุตสาหกรรมการบริการที่ซบเซาอยู่แล้ว SMEs แรงงานทักษะต่ำและกึ่งทักษะต่ำ ตลอดจนครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยน่าจะเห็นการฟื้นตัวในลักษณะ K-shape