ThaiPublica > ประเด็นร้อน > Research Reports > Krungsri Research > วิจัยกรุงศรี ชี้ วัฏจักรลงทุนใหม่ นำทางไทยสู่โลกหลังโควิด (ตอน 1)

วิจัยกรุงศรี ชี้ วัฏจักรลงทุนใหม่ นำทางไทยสู่โลกหลังโควิด (ตอน 1)

15 เมษายน 2021


วิจัยกรุงศรีเผยแพร่รายงาน Industry Horizon ประจำเดือนเมษายน 2564 ในเรื่อง Taking steps towards new investment cycle ที่มองว่า การเริ่มต้นของวัฏจักรการลงทุนใหม่ ทั้งใน EEC และของบริษัททั่วไป จะนำทางประเทศไทยไปสู่โลกหลังโควิด

  • แนวโน้มที่สดใสของวัฏจักรการลงทุนใหม่ได้รับแรงหนุนจากสัญญาณที่เห็นได้ชัดเจน 3 ด้าน ได้แก่ (i) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี (ii) การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมกลับสู่ระดับก่อนการระบาดในที่สุด และ (iii) มีหลายอุตสาหกรรมที่แสดงความเชื่อมั่น
  • ภาคสารสนเทศและการสื่อสารมีการดำเนินงานที่เกินกว่ากำลังเล็กน้อย ขณะที่การผลิตและการเกษตรกำลังดำเนินไปอย่างเต็มกำลังการผลิต ภาคบริการที่พักและอาหารกับการขนส่งและคลังสินค้าฟื้นตัวได้ถึง 50% จากที่ตกลงลึก ภายในภาคการผลิตนั้น 29.1% ของอุตสาหกรรมไทย ดำเนินงานในอัตราการผลิตทั้งในระดับค่าเฉลี่ยหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์เคมีและเคมีภัณฑ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ไอซีและเซมิคอนดักเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และเครื่องยนต์ยานยนต์
  • สถานการณ์หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีการฟื้นตัวในรูปตัว K โดยส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมเริ่มไต่กลับขึ้นขณะที่อีกส่วนหนึ่งยังคงต้องฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อความอยู่รอดในโลกหลังการแพร่ระบาด ประเทศหรือธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป็นไปสู่การพึ่งพา การมีเทคโนโลยีและ/หรือบริการที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมโยงกับกระแสหลักทั่วโลก ธุรกิจไทยก็กำลังเดินตามกระแสนี้ และเตรียมลงทุนอย่างมากในอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ๆ
  • การค้าและผลผลิตของโลกอยู่ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์และสามารถปรับตัวรับการติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่
    การค้า สินค้า และการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของโลกปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมกราคมสู่ระดับสูงสุดใหม่ การค้าและการผลิตของโลกใช้เวลา 29 เดือนในการปรับตัวขึ้นสู่ระดับนิวไฮ หลังจากเกิดวิกฤติการเงินปี 2008 แต่ในวิกฤติปัจจุบันใช้เวลาเพียง 13 เดือนเท่านั้น

    สาเหตุที่ดีขึ้นมากส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของการนำเข้าและการส่งออกในจีน และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ของเอเชีย ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปการค้ามีการเติบโตเพียงเล็กน้อย ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองต่อการหยุดชะงักของอุปทานที่เกิดจากการระบาดของโรคระบาด และความต้องการที่ฟื้นตัว

    ประเทศไทย: เริ่มเห็นวัฏจักรการลงทุนใหม่

    แนวโน้มที่สดใสสำหรับวัฏจักรการลงทุนใหม่เห็นได้จากสัญญาน 3 ด้าน
    (i) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนพุ่งขึ้น 7.0% YoY ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี
    (ii) การใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมกลับมาสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดที่ 66.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ (เทียบกับ 66.8% ในเดือนธันวาคม 2020) ผู้ผลิตโดยเฉพาะในภาคที่เน้นการส่งออกยังคงเพิ่มการผลิตอย่างต่อเนื่อง
    (iii) หลังจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่เด่นชัดมากขึ้น มีหลายอุตสาหกรรมที่แสดงความเชื่อมั่น ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมของประเทศไทย (สมอ.) ของ 13 จาก 42 อุตสาหกรรมอยู่ที่ 100 (เกณฑ์ที่แยกการเพิ่มขึ้นและลดลง) มากที่สุดในรอบเกือบปี มาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็น การแปรรูปอาหาร ยา เครื่องใช้ไฟฟ้าอะลูมิเนียม ยาง พลาสติก เครื่องสำอาง การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ เคมีและซอฟต์แวร์

  • ธุรกิจ ICT กำลังดำเนินงานในระดับที่สูงกว่ากำลังการผลิต ขณะที่การผลิตและการเกษตรใกล้เต็มกำลังการผลิต
  • วิจัยกรุงศรีได้ตรวจสอบกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย โดยใช้ส่วนต่างระหว่างกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน กับ ประสิทธิภาพที่สามารถผลิตได้จริง (output gap) พบว่า ภาค ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ดำเนินงานสูงกว่ากำลังการผลิตเล็กน้อย ขณะที่การผลิตและการเกษตรกำลังดำเนินงานอย่างเต็มกำลังการผลิต ในทางกลับกัน ธุรกิจบริการที่พักและอาหารและการขนส่งและคลังสินค้า มีกำลังการผลิตเหลืออย่างมาก แม้ว่าสภาวะการณ์ฟื้นตัวแล้ว 50% จากที่ตกลงลึกที่สุด

  • ในภาคการผลิต กำลังการผลิตสำรองจะแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรม โดย 1 ใน 3 ดำเนินงานเหนือค่าเฉลี่ย
  • กำลังการผลิตสำรองสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอัตราการใช้กำลังการผลิตในปัจจุบันและอัตราการใช้กำลังการผลิต สูงสุดเป็นประวัติการณ์เทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2559-2563) เมื่อเทียบกับระดับในอดีต ข้อมูลบ่งชี้ว่า 29.1% ของอุตสาหกรรมไทยมีการดำเนินงานที่อัตราการผลิตเฉลี่ยหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมีและเคมีภัณฑ์ (คิดเป็น 8.0% ของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (manufacturing production index: MPI) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (7.2%) IC และเซมิคอนดักเตอร์ (5.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (3.8%) HDD (3.4%) และเครื่องยนต์ยานยนต์ (1.3%)

  • วัฏจักรการลงทุนใหม่ของอุตสาหกรรม S-Curve จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านไปสู่โลกหลังการแพร่ระบาด
  • สถานการณ์หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีการฟื้นตัวในรูปตัว K เพราะส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมเริ่มไต่กลับขึ้นมา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งยังคงต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอดในโลกหลังการระบาดของโรค ประเทศหรือธุรกิจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นอยู่บนพื้นฐานของการมีเทคโนโลยีและ/หรือบริการที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมโยงกับกระแสหลักของโลก (เช่น ประชากรสูงอายุ สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ความยั่งยืน ฯลฯ)

    ธุรกิจไทยก็กำลังดำเนินการตามกระแสนี้และเตรียมลงทุนอย่างมากในอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ ในปี 2563 มูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพิ่มสูงขึ้นของโครงการในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ (i) เทคโนโลยีชีวภาพ (30,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 233% จากปีก่อนหน้า) (ii) การแพทย์ (22.3 พันล้านบาท + 165%) (iii) การบินและอวกาศ (1.4 พันล้านบาท + 144%) และ (iv) ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (1.1 พันล้านบาท + 9.8%) นอกเหนือจากนี้แม้จะมีความไม่แน่นอน แต่การยื่นขอ BOI สำหรับโครงการในอุตสาหกรรม S-Curve กลุ่มแรกก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (3.6 หมื่นล้านบาท + 80%) และการเกษตรและการแปรรูปอาหาร (41.1 พันล้านบาท + 8.3%) อย่างไรก็ตามการยื่นขอของโครงการที่เน้นการท่องเที่ยวลดลง 72% เป็น 8,000 ล้านบาท

  • การควบรวมกิจการในประเทศไทยชะลอตัว แต่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง พลังงาน เฮลท์แคร์กำลังขยายตัว
  • โดยรวมแล้วการควบรวมกิจการได้ชะลอตัวลงลงในปี 2563 จำนวนธุรกรรมลดลงเหลือ 165 (จาก 171 ในปี 2562) และมูลค่ารวมของข้อตกลงลดลงเหลือ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (จาก 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562) อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด 5 อันดับตามมูลค่าธุรกรรมควบรวมกิจการ ได้แก่ (i) อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง (ii) พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ (iii) เฮลท์แคร์และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (iv) การบริโภคและค้าปลีก และ (v) อาหารและเครื่องดื่ม ภาคธุรกิจเหล่านี้รวมกันคิดเป็นเกือบ 90% ของมูลค่าดีลทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงข้อจำกัดด้านพรมแดน วิจัยกรุงศรีมองการควบรวมกิจการเหล่านี้ในแง่ดี เมื่อประเมินร่วมกับโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ก็ยังมองในทางบวกต่อแนวโน้มการควบรวมกิจการในประเทศไทย

    EEC: ความคืบหน้าล่าสุด

    แม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดขอโควิด-19 และการล็อกดาวน์ แต่รัฐบาลก็ยังคงยึดมั่นในคำมั่นที่จะพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ดังนั้น ภายใต้งบประมาณปี 2564 จึงได้จัดสรรงบประมาณ 22.71 พันล้านบาทสำหรับแผนพัฒนา EEC แบบบูรณาการ สูงกว่างบประมาณปี 2563 ที่จัดสรร 16.03 พันล้านบาทถึง 6.68 พันล้านบาท (หรือ 42%) ผู้ได้รับประโยชน์มากสุด 3 อันดับแรกของการจัดสรรงบประมาณครั้งนี้ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (เพิ่มขึ้น 2.79 หมื่นล้านบาท) กองทัพเรือ (เพิ่มขึ้น 2.16 พันล้านบาท) และสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เพิ่มขึ้น 1.38 พันล้านบาท)

    สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรัฐบาลเชื่อว่าหลังโควิด-19 ประเทศไทยจะยังคงเป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคอาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมสนับสนุน และ EEC จะดึงดูด FDI เข้ามาในประเทศมากขึ้น เนื่องจาก EEC มีโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง โลจิสติกส์คุณภาพสูง แรงงานที่มีทักษะในพื้นที่ สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยด้วยสิทธิประโยชน์จูงใจในการลงทุนสำหรับนักลงทุน การเข้าถึงวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต มีซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนที่หลากหลาย รวมทั้งมีนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก และที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ คือ อุตสาหกรรมการผลิตของไทยยังคงดำเนินงานต่อเนื่องท่ามกลางการแพร่ระบาด

  • ยุทธศาสตร์การพัฒนา EEC ปี 2564 จะมีหลายด้าน
    1) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรวมถึงสถาบัน IoT เพื่อพัฒนา
    2) อุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต และเปลี่ยน EEC ให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลระดับชาติ
    3) โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค มีความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจและเชื่อมโยงกับท่าเรือเฟอร์รีและท่าเทียบเรือที่สัตหีบรวมถึงเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ในพื้นที่
    4) ด้านการท่องเที่ยว มีการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
    5) ด้านแรงงาน มีการสร้าง (ให้ความรู้) และฝึกอบรมแรงงานที่มีทักษะ ยกระดับกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา และกระตุ้นนวัตกรรม ส่งเสริมความร่วมมือและการลงทุนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศเพื่อยกระดับกำลังแรงงาน โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โลจิสติกส์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และการบิน

    ผลเชิงกลยุทธ์ของ EEC และโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งทางบก ทางทะเลและทางอากาศที่เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การสร้าง ‘แลนด์บริดจ์’ ที่เชื่อมแหลมฉบังกับท่าเรือชุมพรและระนอง และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง–อู่ตะเภาซึ่งจะเชื่อมต่อกับเส้นทางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ และนครราชสีมา ตลอดจนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt & Road Initiative) และแผนที่จะยกระดับการเข้าถึงวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิต ผลประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และศักยภาพของแรงงานไทย การพัฒนาเหล่านี้ยังได้ประโยชน์จากวิวัฒนาการ ของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกหลังโควิด-19 และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ที่ลงนามเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อรวมกันแล้วสิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และกระตุ้นให้ผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยและไปยังภูมิภาคในวงกว้างขึ้น

  • คณะกรรมการนโยบาย EEC กำหนด 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีศักยภาพสูง
    คณะกรรมการนโยบาย EEC ได้กำหนด 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีศักยภาพสูงภายใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และกำลังมุ่งเน้นความพยายามในการพัฒนาแนวทางส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาในด้านต่อไปนี้
    1) เฮลท์แคร์และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านการดูแลสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โดยรวม ซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพจีโนมิกส์ที่แม่นยำมาก
    2) เทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และรถยนต์รุ่นใหม่ กลุ่มนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้ระบบ 5G เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มและเกี่ยวข้องกับการลงทุนในการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) และ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
    3) โลจิสติกส์อัจฉริยะ ครอบคลุมการบินและโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยวและเพื่อสุขภาพกลุ่มคนมีเงิน ส่วนนี้เน้นการใช้ระบบการจัดการไฮเทคในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเชื่อมต่อกับสนามบินอู่ตะเภา

  • EEC กำลังพัฒนา 5 เขตส่งเสริมโดยมีการลงทุนมากใน EECd และ EECi
    EECd ตั้งขึ้นในจังหวัดชลบุรีเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัลในอนาคตและช่วยให้อุตสาหกรรม ICT ในปัจจุบันเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล “New S-curve” ในส่วนนี้ภาคเอกชนได้ลงทุน 4.34 พันล้านบาทเพื่อสร้างสถาบัน IoT มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดนักลงทุนมายัง EECd นอกจากนี้สถาบันยังจะเติบโตไปสู่ ‘Thailand Digital Valley’ และสิ่งนี้จะช่วย ผลักดันให้ไทยเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลฮับ สถาบันกำลังสร้างศูนย์ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ, ศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้ดิจิทัล, ศูนย์ร่วมสร้างสรรค์และนวัตกรรมดิจิทัล, Digital Edutainment Complex และ Digital Go Global Center

    EECi ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยองและชลบุรี ภายใน EECi สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เช่าพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบ ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนการสร้างอุตสาหกรรมไฮเทคใหม่ๆ มีความคืบหน้าในด้านต่อไปนี้

    1) Biopolis แพลตฟอร์มนวัตกรรมชีวภาพของ Biopolis ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 3.27 พันล้านบาทสำหรับการก่อสร้าง โรงกลั่นชีวภาพ biorefinery เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในท้องถิ่น ขณะนี้กำลังเซ็นสัญญาเช่าที่ดินและซื้ออุปกรณ์ รวมทั้งกำลังเจรจากับ Belgium Bio Base Europe Pilot Plant ของเบลเยียม เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในบริษัท Bio Base Asia Pilot Plant เพื่อบริหารจัดการโรงกลั่นชีวภาพใน EECi

    2) Aripolis แพลตฟอร์ม Aripolis สำหรับนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ นำโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งกำลังเตรียมศูนย์การผลิตที่ยั่งยืน (SMC) เพื่อขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและพัฒนา IoT ของภาคอุตสาหกรรม และ Data Analytics Platform (IDA) ซึ่ง IDA ก่อตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงการใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยการลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และกำหนดเวลาการบำรุงรักษา โดยนำร่องในโรงงาน 10 แห่งในปี 2563 และมีการจัดตั้งโครงการนำร่องเพื่อทดสอบการใช้ดัชนีความพร้อมของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry Readiness Index: SIRI)

    3) Innopolis Space Innopolis เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนานวัตกรรมด้านการบิน ขณะนี้กำลังทดสอบในแซนด์บ็อกซ์ 5G สำหรับนักบินและการทดสอบรถรางไร้คนขับที่ใช้ GNSS ที่มีความแม่นยำสูง โครงการนี้บริหารจัดการโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ซึ่งทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน

    4) การถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปยังชุมชนและอุตสาหกรรมในพื้นที่เหล่านี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและการรับรู้ทางเทคโนโลยีของเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัป คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ซินโครตรอน 3-GeV ดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2564-2570 โครงการนี้บริหารงานโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยังมีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอัจฉริยะให้กับชุมชนและเกษตรกรใน EEC และกำลังเปิดแปลงสาธิตการเกษตร นอกจากนี้ ปตท. ยังได้สร้างศูนย์โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในโซนนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย (i) โรงเรียนนานาชาติ (ii) พื้นที่สำหรับโรงแรมและอพาร์ตเมนต์ และ (iii) โซนมิกซ์ยูสที่จะใช้สำหรับร้านค้าต่างๆ มีพื้นที่ค้าปลีก

  • ศูนย์โลจิสติกส์จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ชายแดน
    ศูนย์กระจายสินค้าขนส่งสินค้าเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่จะอำนวยความสะดวกในการกระจาย การขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศที่เดินทางไปตามเส้น R3A เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ของไทย สปป.ลาวและจีนผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)

      ศูนย์มีกำหนดเปิดในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม 2564 แม้การดำเนินงานของภาคเอกชนจะสามารถเช่าพื้นที่ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน ศูนย์นี้เป็นโครงการ PPP ระยะเวลา 15 ปีในรูปแบบ Net Cost คือเอกชนได้รับสิทธิ์ในการจัดเก็บรายได้ และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง โดยภาคเอกชนจะเข้ามาดำเนินการในปี 2565

      ภายในศูนย์มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ คลังสินค้า และพื้นที่ควบคุมทั่วไป โครงการนี้จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ (ที่เกิดจากไปรษณีย์ชายแดนเชียงของ) และรองรับการเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษในท้องถิ่น

    โครงการอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางบกผลักดัน ได้แก่ ศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนม โดยจะวางศิลาฤกษ์ในปี 2565 และโครงการน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 ซึ่งจะรองรับการเปิดทางรถไฟทางคู่บ้านไผ่ นครพนม

  • รัฐบาลเดินหน้าสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์เชื่อมภาคใต้สู่ EEC
    โครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา ‘แลนด์บริดจ์’ ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามันซึ่งจะช่วยให้การขนส่งสินค้าข้ามคาบสมุทรไทย–มาเลย์ง่ายขึ้น

      โครงการแลนด์บริดจ์จะช่วยให้ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค สำหรับเครือข่ายการขนส่งทางทะเลที่เชื่อมโยงประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียน จีน และอินเดีย และต่อไปยังตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป นอกจากนี้แลนด์บริดจ์จะใช้ย่นเวลาเดินทางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกได้ถึง 2 วัน

      โครงการจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม การลงทุนได้ออกแบบให้เป็น PPP และการลงทุนเบื้องต้นคาดว่าจะมีการแบ่งสัดส่วน 30-70 ระหว่างผู้เล่นภาคเอกชนไทยและต่างประเทศ การก่อสร้างน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีและจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

      ในขั้นแรก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจะทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงการ วางแผนโครงการ และดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2566

  • การเชื่อมต่อตลาดและเครือข่ายการจัดจำหน่ายภายใน EEC
    การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการนโยบาย EEC ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor: EFC) โดยใช้ความต้องการเป็นตัวนำ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ห้องเย็นเพื่อให้ผลไม้สดนานขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด รวมทั้งเพิ่มมูลค่าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผลิตผลทางการเกษตร กรมอุตสาหกรรมเชื่อว่าจะสามารถสร้างความสนใจจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น

    การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และอมตะคอร์ปอเรชั่นได้ลงนามใน MOU เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าเรือบกใน Amata Smart & Eco City ใน สปป.ลาว ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งและโลจิสติกส์ชาติของประเทศ รวมทั้งจะสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าที่เชื่อมโยง สปป.ลาว (นาเตย) จีน (คุนหมิง) และไทย (ท่าเรือแหลมฉบังชลบุรี) การศึกษาความเป็นไปได้น่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 และการก่อสร้างจะใช้เวลา 3 ปี จึงคาดว่าการดำเนินการจะเริ่มในปลายปี 2567 หรือต้นปี 2568

    คลังสินค้า

    ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการจัดเก็บสินค้า/สต็อก
    ผู้ประกอบการเอกชน เช่น WHA V. Cargo และ Frasers Property Thailand มีแผนที่จะสร้างศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้ามากขึ้น และมีขนาดใหญ่ รวมทั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าอัจฉริยะ เนื่องจากนักลงทุนยังต้องการคลังสินค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในไทยหลังจากเปิดพรมแดนและยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง

    นิคมอุตสาหกรรม

    EEC ยังคงเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม
    จำนวนโครงการลงทุนใน EEC เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2563 การระบาดของโควิด-19 ทำให้ลดลง ในปี 2563 มีการยื่นคำขอรับการสนับสนุนการลงทุนสำหรับโครงการในพื้นที่ EEC ต่อ BOI ทั้งหมด 453 รายการ มีมูลค่ารวมถึง 2.10 พันล้านบาท (26% และ 43% ของการยื่นขอ BOI ทั้งหมดตามจำนวนและมูลค่า) ในขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่หลายแห่งใน EEC และนิคมที่มีอยู่เดิมบางส่วนได้ขยายพื้นที่มากขึ้น

    ใน EEC จะมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 3 แห่ง ในปี 2564 ได้แก่ (1) นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่จังหวัดชลบุรีเนื้อที่ 1,900 ไร่ (ii) นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกจังหวัดระยองเนื้อที่ 621 ไร่ ตอนนี้มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2565 และ (iii) นิคมอุตสาหกรรมเอเซียคลีนจังหวัดชลบุรีมีเนื้อที่ 1,294 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดเหล่านี้หวังที่จะดึงดูดผู้เล่นจากกลุ่มเป้าหมาย S-curve แรกของรัฐบาล และอุตสาหกรรม S-curve ใหม่ (เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะและชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต)

    ผู้ประกอบการต่างเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายนิคมอุตสาหกรรมและย้ายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ อมตะคอร์ปอเรชั่นอยู่ระหว่างการเพิ่มพื้นที่อีก 1,000 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ในจังหวัดระยองเพื่อรองรับความต้องการใหม่จาก บริษัทต่างๆ ที่ย้ายโรงงานผลิตมายังประเทศไทย ดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่นวางแผนที่จะพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ 5 แห่งด้วยการรวมพื้นที่กว่า 400,000 ตร.ม. เพื่อรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและจะขยายนิคมอุตสาหกรรมเดิม 3 แห่ง (1) นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด (2) อุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอระยอง และ (3) เขตอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ผู้เล่นรายใหม่บางรายในอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ Egco Group กำลังร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ที่ดำเนินงานด้านพลังงานอัจฉริยะเพื่อลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต