ThaiPublica > Sustainability > NaTive AD > ชวนคิดแก้ฝุ่นพิษ PM 2.5 สร้างสังคมอากาศบริสุทธิ์ ในหัวข้อ AIR INNOHACK กับโครงการ “JUMP Thailand 2021”

ชวนคิดแก้ฝุ่นพิษ PM 2.5 สร้างสังคมอากาศบริสุทธิ์ ในหัวข้อ AIR INNOHACK กับโครงการ “JUMP Thailand 2021”

5 มีนาคม 2021


AIS NEXT ชวนคนไทยร่วมโครงการ “JUMP Thailand Hackathon 2021” สร้างสังคมไทยยั่งยืน แก้ “ปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5” กับโจทย์ AIR INNOHACK

ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ปัญหาฝุ่นพิษโดยเฉพาะฝุ่นขนาดจิ๋วหรือ PM 2.5 กลับมาเป็นปัญหาซ้ำซากที่คนไทยต้องเผชิญ และดูจะรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับมาตรฐานได้ โดยเฉพาะในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี ที่ประเทศไทยได้รับผลจากปัญหาฝุ่นควัน พร้อมอิทธิพลจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุม ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศปิด ลมสงบ และชั้นบรรยากาศผกผัน ทำให้ฝุ่น PM 2.5 ไม่เกิดการกระจายตัว และนำมาสู่ภาวะเกิดการสะสม และเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นทุกปี กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมไทยที่ต้องหายใจเอาฝุ่นพิษเข้าร่างกาย เรื่องนี้จำเป็นต้องร่วมกันทุกภาคส่วนในการสร้างความตระหนักรู้และร่วมกันแก้ปัญหา

AIS NEXT หน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของเอไอเอส จึงขออาสาเป็นแกนกลาง ชวนคนไทยกระโดดเข้าแก้ไขปัญหาและวิกฤติรอบตัวด้วยนวัตกรรม กับโครงการ “JUMP THAILAND 2021” เพื่อสร้างบิ๊กอิมแพคต่อสังคมและโลกอย่างยั่งยืน ผ่านการแข่งขัน Virtual Hackathon ครั้งแรกในไทยที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้มีส่วนร่วมระดมไอเดียกู้โลก ในหัวข้อ “AIR INNOHACK-นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน” ซึ่งมาจากการเก็บผลสำรวจปัญหาที่คนไทยอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด” จากโครงการ “JUMP Thailand 2021” ที่เปิดช่องทางให้คนไทยทั่วประเทศ ร่วมส่งปัญหาที่ต้องการแก้ไขผ่านเว็บไซต์ jumpthailand.earth ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา

โดยผลสำรวจปัญหาในใจคนไทยที่ต้องการแก้ไขมากที่สุด ได้แก่

  • อันดับ 1 มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่น PM 2.5 และควันพิษจากรถยนต์
  • อันดับ 2 ระบบการจัดการขยะที่ยังไมได้ประสิทธิภาพ
  • อันดับ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน
  • อันดับ 4 การศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน
  • อันดับ 5 ระบบการคมนาคม
  • อันดับ 6 สภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ มีคนตกงานจำนวนมาก
  • อันดับ 7 ปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่เกิดขึ้นจากความเครียด
  • อันดับ 8 การเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
  • อันดับ 9 ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นประจำทุกปี แต่ไม่มีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
  • อันดับ 10 ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลในออนไลน์ (Cyber security)
นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวว่า “จากปัญหาและวิกฤติรอบตัวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศกว่า 7 ล้านคนและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ เราจึงเชื่อมั่นว่า หากคนไทยรวมพลังกัน ระดมไอเดีย นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะสามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้นเอไอเอส ในฐานะพลเมืองของโลกและผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่มี Digital Platform และ Network Infrastructures ไม่ว่าจะเป็น 5G, Fibre, IoT, Big Data, Cloud และ AI จึงขออาสาเป็นแกนกลางชวนคนไทยทั้งชาติ ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นวัตกร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา มาร่วมระดมสรรพกำลัง ระดมความคิด สร้างสรรค์โซลูชันในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ผ่านการแข่งขัน Virtual Hackathon ครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี เพื่อพัฒนาให้เมืองมีความน่าอยู่ ปลอดภัย และมอบอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย และที่สำคัญที่สุดคือการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้

1. รับสมัครทีม ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.- 15 มี.ค.2564 ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ Jump Thailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth และประกาศรายชื่อทีมที่ได้เข้าแข่งในวันที่ 27 มี.ค. 2564

2. ช่วงการแข่งขัน Virtual Hackathon ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม

3. ช่วง Incubation ภายหลังจากโครงการจะมีการรับโครงการที่ผ่านเกณฑ์ เพื่อนำมาบ่มเพาะนวัตกรรมกับ AIS NEXT

โดยทีมที่เข้าร่วม JUMP THAILAND Virtual Hackathon ครั้งนี้ นอกจาก จะมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Block chain, Cloud, XR, Big Data รวมถึงได้ใช้พื้นที่ AIS PLAYGROUND ในการทดลองทดสอบนวัตกรรมต้นแบบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงแล้ว พร้อมมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ มาร่วมถ่ายทอดความรู้และเทคนิคดิจิทัลครบวงจร เพื่อเสริมไอเดียให้แข็งแกร่งขึ้น

ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะยังมีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดรวมกว่า 1 ล้านบาท นอกจากนี้โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาต่อ ยอด ขยาย Scale ได้ ก็จะได้โอกาสในการเข้าร่วมการบ่มเพาะนวัตกรรมร่วมกับทีม AIS NEXT เพื่อทดลองทดสอบโซลูชันในตลาดจริง ด้วยงบประมาณสนับสนุนที่มากที่สุดถึง 100 ล้านบาทอีกด้วย

หากคุณมีไอเดียที่อยากจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยให้ดีกว่าเดิม ฟอร์มทีม Hackathon แล้วสมัครได้เลยที่นี่ https://bit.ly/3qecgNo ตั้งแต่วันนี้ – 15 มีนาคม 2564 และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://jumpthailand.earth