ThaiPublica > เกาะกระแส > ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์ > ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์: “มวลชนรวมตัวคัดค้าน เหตุอายัดตัวไม่ชอบด้วยกม. 3 แกนนำ” และ “นาซาพบน้ำบนดวงจันทร์มีมากกว่าที่คิด “

ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์: “มวลชนรวมตัวคัดค้าน เหตุอายัดตัวไม่ชอบด้วยกม. 3 แกนนำ” และ “นาซาพบน้ำบนดวงจันทร์มีมากกว่าที่คิด “

31 ตุลาคม 2020


ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์ประจำวันที่ 24-30 ต.ค. 2563

  • มวลชนรวมตัวคัดค้าน เหตุอายัดตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย “เพนกวิน-รุ้ง-ไมค์”
  • ศาล รธน. พิพากษา “ธัญญ์วาริน” อดีตพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสภาพ ส.ส. ทันทีกรณีถือหุ้นสื่อ
  • กกต. มีมติดำเนินคดีอาญา ธนาธร 15 อดีต กก.บห. อนาคตใหม่ – ศาลรับฟ้องคดีธนาธรและพวกจัดแฟลชม็อบ 14 ธ.ค. 2562
  • ศาลยกฟ้องคดีวิสามัญ “ชัยภูมิ ป่าแส” รัฐไม่ต้องชดใช้
  • นาซาพบน้ำบนดวงจันทร์มีมากกว่าที่คิด อาจใช้ประโยชน์ได้ในการส้รางฐานระยะยาว

  • มวลชนรวมตัวคัดค้าน เหตุอายัดตัวไม่ชอบด้วยกม.การชุมนุม “เพนกวิน-รุ้ง-ไมค์”

    พริษฐ์ ชีวารักษ์ เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการชุมนุมคัดค้านการจับตัวอานนท์ นำภา และภาณุพงศ์ จาดนอก ที่ สน.บางเขน เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2563
    ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กแฟนเพจเพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwara

    วันที่ 30 ต.ค. 2563 ศาลยกคำร้องฝากขังครั้งที่ 3 ของ พริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน), ภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์), ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (แบงค์) และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) ในคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวง โดยอ้างถึงสิทธิของผู้ต้องหา มิให้มีการขังเกินกว่าความจำเป็น จนกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ

    การไม่อนุญาตให้ฝากขังต่อดังกล่าวทำให้ทั้ง 4 คนต้องได้รับอิสระ แต่กลับกลายเป็นว่า เจ้าหน้าที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ประชาชื่นได้มาอายัดตัวพริษฐ์, ปนัสยา และภาณุพงศ์ ตามหมายจับคดีการชุมนุมที่จังหวัดนนทบุรีและอยุธยา

    ทางทนายของทั้ง 3 คนเจรจากับ พ.ต.อ. อิทธิเชษฐ์ วงษ์หอมหวล ผู้กำกับการ .สน.ประชาชื่น โดยยืนยันว่า ทั้ง 3 คนรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ตามหมายจับทั้ง 3 ฉบับไปแล้ว หมายจับทั้งหมดจึงสิ้นผลไปซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 ทำให้ตำรวจไม่มีอำนาจในการอายัดตัว ต้องปล่อยตัวตามคำสั่งศาลอาญา แต่ตำรวจยืนยันว่ามีหมายอายัด ต้องนำตัวไป สน.ประชาชื่น ซึ่งเป็นท้องที่ของเรือนจำ ก่อนที่สถานีตำรวจภูธรต่างๆ ตามหมายจับจะมานำตัวไป

    เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบได้บังคับนำตัวพริษฐ์และภาณุพงศ์ขึ้นรถผู้ต้องขังออกจากเรือนจำโดยไม่ใช่ประตูหลักที่มีผู้สื่อขาวและมวลชนรออยู่ รวมทั้งได้ไปรับตัวปนัสยาจากฝั่งทัณฑสถานหญิงกลาง และนำตัวไปยัง สน.ประชาชื่น โดยมีผู้สื่อข่าวและมวลชนติดตามไป

    มีรายงานว่า ระหว่างมุ่งหน้าไปยัง สน.ประชาชื่นนั้น รถเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวพริษฐ์และภาณุพงศ์ได้เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของประชาชนจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บด้วย

    เมื่อถึง สน.ประชาชื่น พริษฐ์เล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังในการควบคุมตัว ทำให้ทั้งพริษฐ์และภาณุพงศ์ได้รับบาดเจ็บ ส่วนภาณุพงศ์หมดสติไปบนรถควบคุมตัว ทำให้มวลชนเรีกยร้องให้เจ้าที่ปล่อยตัวทั้ง 2 คนเพื่อนำตัวไปรักษาพยาบาล แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอม

    เมื่อตำรวจควบคุมตัวปนัสยามาถึงและพาตัวไปยังห้องสอบสวน ตำรวจที่นำตัวพริษฐ์และภาณุพงศ์มาถึงก่อนก็นำตัวทั้ง 2 คนลงจากรถ โดยภาณุพงศ์ยังคงไม่ได้สติ ส่วนพริษฐ์เองก็มีแผลเลือดออกและอยู่ในสภาพอิดโรย

    ภาณุพงศ์ได้รับการนำตัวส่งโรงพยาบาล ส่วนเพนกวินอารขัดขืนไม่ยอมเข้าไปในสถานีตำรวจเพราะถือว่าเป็นการอายัดตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในที่สุด ปนัสยาก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาพบกับเพนกวิน ท่ามกลางมวลชนที่มาชุมนุมกันอยู่หน้าโรงพัก

    ปนัสยาแถลงยืนยันว่าแม้จะมีผู้พยายามยั่วยุและสร้างโกรธแค้นให้ทุกคน แต่ทุกคนต้องมีสติ ยืนยันเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรงและไม่ก้าวร้าว พร้อมต่อสู้อย่างมีสมองและมีวุฒิภาวะ และยังยืนยันด้วยว่าตำรวจต้องเพิกถอนหมายจับที่แจ้งข้อหาไปแล้วทันที

    พริษฐ์ประกาศว่าทีมทนายความได้รับแจ้งว่า สภ.เมืองอุบลฯ ได้ถอนหมายจับตนในการชุมนุมร่วมกับคณะอุบลปลดแอกเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้มีตำรวจจาก สภ.เมืองพระนครศรีอยุธยากำลังเดินทางมาที่ สน.ประชาชื่น เพื่อเจรจาถอนหมายจับการชุมนุม “อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป” ซึ่งพริษฐ์ยังยืนยันว่าตำรวจไม่ต้องเดินทางมา ให้ดำเนินการถอนหมายจับไปเลย

    พ.ต.อ. เอกราช อุ่นเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.อยุธยา ที่เดินทางมาถึง ชี้แจงว่าจะสอบสวน ปนัสยา-พริษฐ์-ภาณุพงศ์ ที่ สน.ประชาชื่น ให้เสร็จในคืนดังกล่าว และทั้งสามมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อรับการตรวจรักษาจากแพทย์ ส่วนประชาชนต้องการให้เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าจะไม่ยื่นคำร้องขอฝากขังหลังสอบสวนเสร็จ แต่ทาง พ.ต.อ.เอกราช ไม่ให้คำตอบชัดเจน

    จนเวลาประมาณ 05.40 น. หลังจากปนัสยาและพริษฐ์ได้รับการส่งตัวไปโรงพยาบาลพระราม 9 แล้วพนักงานสอบสวนของ สภ.เมืองพระนครศรีอยุธยา แจ้งว่าจะไปทำบันทึกจับกุมภาณุพงศ์ที่โรงพยาบาลพระราม 9 ด้วย พร้อมกับระบุว่าจะไปยื่นคำร้องขอฝากขังทั้งสามที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเตรียมจะไปยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งนี้

    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังไปแสดงตัวจับกุมภาณุพงศ์ ที่ห้องผู้ป่วยของโรงพยาบาลพระราม 9 ขณะที่ภาณุพงศ์ปฏิเสธการจับกุม เนื่องจากการจับกุมเริ่มตั้งแต่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้ว ไม่ใช่ที่โรงพยาบาลตามที่ตำรวจได้แจ้งการจับกุม ภาณุพงศ์ยังยืนยันสิทธิของผู้ต้องหาเมื่อได้รับการบาดเจ็บต้องได้รับการรักษาตัวต่ออยู่ที่โรงพยาบาลนี้

    อ่านเพิ่มเติม
    เฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน — ++ ลำดับเหตุการณ์ ตร.อายัดตัว รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ ต่อในหมายจับที่สิ้นผลแล้ว ++
    เฟซบุ๊กแฟนเพจ The Reporters — ลำดับเหตุการณ์ปล่อยตัว รุ้ง- เพนกวิน- ไมค์ -หมอลำแบงค์

    ศาล รธน. พิพากษา “ธัญญ์วาริน” อดีตพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสภาพ ส.ส. ทันทีกรณีถือหุ้นสื่อ

    ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
    ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กTanwarin Sukkhapisit ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์

    วันที่ 28 ต.ค. 2563 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งเพื่ออ่านคำวินิจฉัย เรื่อง ที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. จำนวน 32 คน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยเป็นเรื่องพิจารณาที่ 17/2562 โดยรายชื่อผู้ถูกร้องทั้งหมดมีดังนี้

    ผู้ถูกร้องที่ 1 พล.ท. พงศกร รอดชมภู
    ผู้ถูกร้องที่ 2 นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
    ผู้ถูกร้องที่ 3 นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
    ผู้ถูกร้องที่ 4 นายสุรชัย ศรีสารคาม
    ผู้ถูกร้องที่ 5 นายชำนาญ จันทร์เรือง
    ผู้ถูกร้องที่ 6 นายวินท์ สุธีรชัย
    ผู้ถูกร้องที่ 7 นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
    ผู้ถูกร้องที่ 8 นายคารม พลพรกลาง
    ผู้ถูกร้องที่ 9 นายวาโย อัศวรุ่งเรือง
    ผู้ถูกร้องที่ 10 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
    ผู้ถูกร้องที่ 11 นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
    ผู้ถูกร้องที่ 12 นายวรภพ วิริยะโรจน์
    ผู้ถูกร้องที่ 13 น.ส.เบญจา แสงจันทร์
    ผู้ถูกร้องที่ 14 นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล
    ผู้ถูกร้องที่ 15 นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
    ผู้ถูกร้องที่ 16 นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์
    ผู้ถูกร้องที่ 17 นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ
    ผู้ถูกร้องที่ 18 น.ส.ธนภร โสมทองแดง
    ผู้ถูกร้องที่ 19 น.ส.พัชนี เพ็ชรจินดา
    ผู้ถูกร้องที่ 20 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
    ผู้ถูกร้องที่ 21 นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
    ผู้ถูกร้องที่ 22 นางลินดา เชิดชัย
    ผู้ถูกร้องที่ 23 น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช
    ผู้ถูกร้องที่ 24 นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล
    ผู้ถูกร้องที่ 25 นายนิยม ช่างพินิจ
    ผู้ถูกร้องที่ 26 นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม
    ผู้ถูกร้องที่ 27 นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
    ผู้ถูกร้องที่ 28 น.ส.กวินนาถ ตาคีย์
    ผู้ถูกร้องที่ 29 น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
    ผู้ถูกร้องที่ 30 นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์
    ผู้ถูกร้องที่ 31 นายปดิพัทธ์ สันติภาดา
    ผู้ถูกร้องที่ 32 น.ส.วรรณวรี ตะล่อมสิน

    ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพผู้ถูกร้องที่ 1, 4 และ 5 เป็นกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งสมาชิกภาพ ส.ส. สิ้นสุดลงเนื่องจากยุบพรรคอนาคตใหม่ จำหน่ายคดี 3 ราย คงเหลือ 29 คน

    โดยสมาชิกภาพของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลง ทำให้ตำแหน่งว่างลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย มีผลวันที่ 28 ต.ค. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากเห็นว่าก่อนหน้านี้ยุบพรรคอนาคตใหม่จึงไม่มีรายชื่อสมาชิกลำดับถัดไป อาศัยเหตุผลข้างต้นวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ส.ส. ของผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ นับแต่วันรับสมัครเลือกตั้ง 6 ก.พ. 2562 และให้ถือว่าวันที่ 28 ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย เป็นวันที่ตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อว่างลง 

    ส่วนผู้ถูกร้องอื่น 28 คน สมาชิกภาพ ส.ส. ไม่สิ้นสุดลง เนื่องจากมิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ

    คำตัดสินดังกล่าว ทำให้ กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) จะขอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 151 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฐานเป็นผู้สมัครรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ได้ลงสมัคร ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ถึง 10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี ส่วนหัวหน้าพรรคผู้ทำหนังสือรับรองและส่งสมัครขณะพบการกระทำผิด หรือก็คือ นายธนาธร จุงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ก็จะมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าว ต้องรับโทษ 2 ใน 3 ของฐานความผิดตามมาตรา 151

    ขณะเดียวกัน ก็มี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ที่ถูกร้องให้พิจารณาในกรณีเดียวกันนี้ ได้แก่

    ผู้ถูกร้องที่ 1 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
    ผู้ถูกร้องที่ 2 นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ
    ผู้ถูกร้องที่ 3 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร 
    ผู้ถูกร้องที่ 4 นายสิระ เจนจาคะ 
    ผู้ถูกร้องที่ 5 นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา 
    ผู้ถูกร้องที่ 6 นายสมเกียรติ วอนเพียร 
    ผู้ถูกร้องที่ 8 นายสุชาติ ชมกลิ่น 
    ผู้ถูกร้องที่ 9 นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์ 
    ผู้ถูกร้องที่ 10 นายภิญโญ นิโรจน์ 
    ผู้ถูกร้องที่ 11 นายวีระกร คำประกอบ 
    ผู้ถูกร้องที่ 12 นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ 
    ผู้ถูกร้องที่ 13 นายอนุชา น้อยวงศ์ 
    ผู้ถูกร้องที่ 14 นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ
    ผู้ถูกร้องที่ 15 นายฐานิสร์ เทียนทอง 
    ผู้ถูกร้องที่ 16 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง
    ผู้ถูกร้องที่ 17 นางกุลวลี นพอมรบดี 
    ผู้ถูกร้องที่ 18 นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์
    ผู้ถูกร้องที่ 19 นายชาญวิทย์ วิภูศิริ 
    ผู้ถูกร้องที่ 20 น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์
    ผู้ถูกร้องที่ 21 นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ 
    ผู้ถูกร้องที่ 24 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
    ผู้ถูกร้องที่ 25 นายอัศวิน วิภูศิริ
    ผู้ถูกร้องที่ 26 นายสาธิต ปิตุเตชะ
    ผู้ถูกร้องที่ 27 นายสมชาติ ประดิษฐพร
    ผู้ถูกร้องที่ 28 น.ส.วชิราภรณ์ กาญจนะ
    ผู้ถูกร้องที่ 29 นายภานุ ศรีบุศยกาญจน์
    ผู้ถูกร้องที่ 30 น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร
    ผู้ถูกร้องที่ 31 นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์
    ผู้ถูกร้องที่ 32 นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร

    โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องที่ 7 คือ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ สมาชิกภาพ ส.ส. สิ้นสุดลงเนื่องจากต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไปก่อนหน้านี้แล้ว ผู้ถูกร้องที่ 22 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และผู้ถูกร้องที่ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ 23 สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดลงเนื่องจากลาออก ศาลรับธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะ 3 รายดังกล่าว

    ส่วนสมาชิกสภาพ ส.ส.ของทั้ง 29 คนนั้น วินิจฉัยว่าไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากมิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ 

    อ่านเพิ่มเติม
    เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ — ด่วน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย “ธัญญ์วาริน” ถือหุ้นสื่อหลุด ส.ส. อีก 28 คนรอด
    เฟซบุ๊กแฟนเพจ The Reporters — เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ ธัญญ์วาริน” พ้นสภาพ ส.ส.
    เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ — ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดีถือหุ้นสื่อรอบแรก 29 ส.ส.รอด คงสมาชิกภาพ

    กกต. มีมติดำเนินคดีอาญา ธนาธร 15 อดีต กก.บห. อนาคตใหม่ ปมเงินกู้ 191.2 ล้านบาท

    นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

    วันที่ 26 ต.ค. 2563 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้สำนักงาน กกต. แจ้งความดำเนินคดีอาญากับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และอดีตกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ 15 คน จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากกระทำผิดมาตรา 66 ประกอบมาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กู้ยืมเงิน 191.2 ล้านบาท จากธนาธร หัวหน้าพรรค

    ต่อมาวันที่ 29 ต.ค. 2562 ศาลแขวงปทุมวัน รับฟ้องคดีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า, ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า, พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า, พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร อดีตผู้สมัครส.ส.พรรคอนาคตใหม่ จ.นครปฐม กรณีร่วมกระทำผิด พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ในการชุมนุมแฟลชม็อบ บริเวณสกายวอล์ก สี่แยกปทุมวัน หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2562 ภายใต้ข้อหาต่างๆ 6 ข้อหา ดังนี้

    1. ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง
    2. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออกหรือการใช้บริการสถานีรถไฟฟ้า
    3. ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ
    4. ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
    5. ทำการชุมนุมสาธารณะในระยะไม่เกิน 150 เมตรจากพระราชวัง
    6. พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งให้เลิกชุมนุมแต่ไม่ยอมเลิกชุมนุม

    โดยศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 ธ.ค. 2563 เวลา 10.00 น. ที่ศาลแขวงปทุมวัน พร้อมอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้ง 5 โดยไม่มีหลักประกันและไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ

    อ่านเพิ่มเติม
    เว็บไซต์วอยซ์ออนไลน์ — กกต. มีมติฟันอาญา ‘ธนาธร-15 อดีต กก.บห.อนาคตใหม่’ ปมเงินกู้ 191.2 ล้านบาท
    เว็บไซต์วอยซ์ทีวี — ศาลรับฟ้องคดี ‘แฟลชม็อบ 14 ธ.ค. 62’ ธนาธร และพวกรวม 5 คน

    ศาลยกฟ้องคดีวิสามัญ “ชัยภูมิ ป่าแส” รัฐไม่ต้องชดใช้

    ชัยภูมิ ป่าแส เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นักกิจกรรมเคลื่อนไหวแก้ไขปัญหาเยาวชนไร้สัญชาติ ที่ถูกวิสามัญฆาตกรรม ณ จุดตรวจสกัดยาเสพติดที่บ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    ที่มาภาพ: เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านเว็บไซต์บีบีซีไทย (http://bbc.in/2nKyeeF)

    วันที่ 26 ต.ค. 2563 ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาคดีที่ นางนาปอย ป่าแส แม่ของนายชัยภูมิ ป่าแส เป็นโจทก์ฟ้องกองทัพบก ให้ชดใช้ทางละเมิด กรณีทหารสังกัดกองทัพบก วิสามัญนายชัยภูมิที่ด่านรินหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ชัยภูมิ ป่าแส เป็นนักกิจกรรมเยาวชนสิทธิมนุษยชนชาวลาหู่จากประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสิทธิความชอบธรรมของชนกลุ่มน้อยภายในสังคม ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยกองทัพบกแถลงว่าเพื่อเป็นการสกัดชัยภูมิเนื่องจากขนส่งยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าชัยภูมิพยายามโยนระเบิดมาเพื่อประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ และหลบหนีการจับกุม

    การฟ้องร้องทางแพ่งนี้ เกิดจากการที่ทางครอบครัวของชัยภูมิเห็นว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ

    ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทยก์-จำเลย พบว่า นายชัยภูมิมีผลการเรียนดี เป็นนักกิจกรรมจิตอาสา เคยเป็นประธานนักเรียน ชอบช่วยเหลือครูและเพื่อน มีความกตัญญู ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

    ส่วนผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นทหารไม่รู้จักผู้ตาย โดยพยานอ้างว่า ขณะเกิดเหตุทหารเข้าไปค้นรถ ขณะที่ผู้ตายไม่ยินยอมให้เปิดฝาหม้อไส้กรองอากาศ ต่อมาทหารตรวจพบยาบ้า 2,800 เม็ด นายชัยภูมิจึงหลบหนีและใช้ระเบิดขว้าง ทหารจึงหยิบปืน M16 ยิงที่แขนซ้ายเพื่อหยุดการกระทำ

    ขณะที่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพยานฝ่ายผู้ก่อเหตุ แจ้งว่า พบนายชัยภูมิมีการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงเรื่องยาเสพติด เป็นบันทึกการโทรศัพท์เกี่ยวกับผู้ต้องหาคดียาเสพติด นอกจากนี้พยานอีกหนึ่งปากซึ่งเป็นเพื่อนของผู้ก่อเหตุ เชื่อว่าผู้ก่อเหตุน่าจะรู้เรื่องยาเสพติด ดังนั้นเมื่อประจักษ์พยานไม่พบพิรุธสงสัย ศาลจึงเห็นว่าผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นพลทหารได้ยิงนายชัยภูมิ เป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวสมควรแก่เหตุ จึงไม่ถือเป็นการละเมิดต่อนายชัยภูมิ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง

    หลังจากมีคำพิพากษาออกมาเช่นนี้ ทางโจทก์และญาติผู้เสียชีวิตได้ตัดสินใจจะดำเนินการยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป

    อ่านเพิ่มเติม
    เว็บไซต์ไทยพีบีเอส — ศาลยกฟ้องกองทัพคดีวิสามัญ “ชัยภูมิ” เชื่อเกี่ยวข้องยาเสพติด
    เว็บไซต์ WAY — ไทม์ไลน์ ‘ชัยภูมิ ป่าแส’ จากกระสุนปลิดชีวิต สู่กล้องวงจรปิดในตำนาน
    เว็บไซต์บีบีซีไทย — 4 ปีรัฐประหาร: ความตายของ ชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ยังไร้คำตอบ

    นาซาพบน้ำบนดวงจันทร์มีมากกว่าที่คิด อาจใช้ประโยชน์ได้ในการส้รางฐานระยะยาว

    เครื่องบินสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในบรรยากาศโลกชั้นสตราโตสเฟียร์หรือ “โซเฟีย” (SOFIA) ขององค์การนาซา ตรวจพบโมเลกุลน้ำบนพื้นผิวดวงจันทร์ด้านสว่างที่แสงอาทิตย์ส่องถึง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบน้ำบนด้านนี้ของดวงจันทร์ เพระเดิมทีจะพบแต่เฉพาะในแอ่งหลุมลึกที่ด้านไกลของดวงจันทร์ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงเท่านั้น

    แม้น้ำที่พบบนพื้นผิวดวงจันทร์ครั้งนี้จะมีอยู่โดยเฉลี่ยราว 12 ออนซ์ หรือเท่ากับน้ำดื่ม 1 ขวดเล็ก ในเนื้อดินทุก 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้อยมาก โดยโมเลกุลน้ำที่พบในพื้นผิวของทะเลทรายซาฮารายังมีมากกว่าถึง 100 เท่า แต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่ามีน้ำในดวงจันทร์ให้นำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด และน่าจะมีปริมาณเพียงพอต่อการตั้งฐานที่มั่นสำรวจดวงจันทร์ในระยะยาว อันจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่โครงการอาร์เทมิส (Artemis) ของนาซาที่จะส่งมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2024

    อ่านเพิ่มเติม
    เว็บไซต์บีบีซีไทย — นาซาพบน้ำบนพื้นผิวดวงจันทร์ คาดมีมากพอใช้ตั้งฐานที่มั่นระยะยาว