ThaiPublica > ประเด็นร้อน > BCG in Action > จับกระแสโมเดล “BCG” โอกาสธุรกิจใหม่ในยุค New Normal

จับกระแสโมเดล “BCG” โอกาสธุรกิจใหม่ในยุค New Normal

2 ตุลาคม 2020


EXIM E-News ฉบับเดือนกันยายน ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM Bank) เผยแพร่บทความเรื่อง”จับกระแสโมเดล BCG … โอกาสธุรกิจใหม่ในยุค New Normal”

  • วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านหรือการซื้อสินค้าออนไลน์โดยใช้บรรจุภัณฑ์ พลาสติกแบบครั้งเดี๋ยวทิ้ง การสวมหน้ากากอนามัย/ถุงมือยางนับเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสและโรคระบาดต่าง ๆ แต่ในอีกทางหนึ่งก็ส่งผลให้ปริมาณขยะทั่วโลกเพิ่มขึ้น ซ้ำเติมวิกฤตโลกร้อนและ Climate Change ให้รุนแรงยิ่งขึ้นทำให้คาดว่าในระยะถัดไปนานาประเทศจะกลับมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • BCG หนึ่งในโมเดลที่กำลังมาแรงในการแก้ป้ญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเป็นโมเดลที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
  • การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG จะสร้างโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ตามมาอีกมาก เช่น Functional Food การผลิตเนื้อสัตว์จากพืช ธุรกิจ Platform สินค้ามือสองออนไลน์ การผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น
  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดเป็นลำดับแรก เช่น การสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านหรือการซื้อสินค้าออนไลน์โดยใช้บรรจุภัณฑ์แบบครั้งเดียวทิ้ง การสวมหน้ากากอนามัย/ถุงมือยางแบบครั้งเดียวทิ้ง เป็นต้น แม้จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ แต่ก็เป็นการเพิ่มปริมาณขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมภาวะโลกร้อนและปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมให้รุนแรงขึ้น ทำให้คาดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะกลับมาได้รับความสนใจและหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    โดยหนึ่งในแนวทางที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นวงกว้างและเริ่มถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย คือ BCG Model ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาธุกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สอดรับกับแนวทางการพัฒนาในภาพใหญ่ของโลกตามเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ที่กำหนดโดยสหประชาชาติ (UN) ทั้งนี้ ปัจจุบันโมเดล BCG เริ่มถูกนำไปใช้ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ รวมถึงประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจในหลายประเทศ

    BCG สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแก่โลกต่อเนื่อง โดยในด้าน Bio Economyมูลค่าตลาดขยายตัวปีละ14% ไปจนถึง 2568 ขณะที่ Circular Economy สร้างมูลค่าเศรษฐกิจพิ่มปีละ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2573 และ Green Economy สร้างมูลค่าเศรษฐกิจพิ่มปีละ 26 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2573

    ส่องโอกาสธุรกิจใหม่จาก BCG

    Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มุ่งใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยมีตัวอย่างโอกาสธุรกิจดังนี้
    กลุ่มอาหาร เช่น
    – Functional Food อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มสารอาหาร หรือพัฒนาเพื่อผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น นม Lactose Free สำหรับผู้ที่แพ้นมวัว โยเกิร์ตผสมคอลลาเจนเพื่อบำรุงผิวพรรณ
    – เนื้อสัตว์แห่งอนาคด เนื้อสัตว์ที่ผลิตจากพืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้รสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริง ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพหรือรับประทานมังสวิรัติ

    กลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร
    -พลาสติกชีวภาพ เช่น ตะเกียบพลาสติกที่ผลิตจากข้าวโพด/มันลำปะหลัง
    -ชีวเภสัชภัณฑ์ การผลิตยาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและการตัดต่อพันธุกรรมเช่น การสร้างอินซูลินจากจุลินทรีย์เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ยาชีววัตถุสำหรับรักษาโรคมะเร็ง

    กลุ่มพลังงาน เช่น เชื้อเพลิงที่ผลิตจากผลผลิตที่เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย ซังข้าวโพด

    สำหรับตัวอย่างบริษัท ที่น่าสนใจ คือ Beyond Meat ธุรกิจสตาร์ตอัพในสหรัฐฯ ผลิตเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช (Plant-Based Meat) ที่มีสีและรสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์จริงแต่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าและไม่มีคอเลสเตอรอล กระบวนการผลิตลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้ที่ดินน้อยกว่าการผลิตเนื้อสู้ตว์จริง 90% ในปี 2562 มียอดขายเพิ่มขึ้น 287% (YoY)ในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ

    Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตขาดแคลนทรัพยากร ตลอดจนช่วยลดปริมาณขยะและผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวอย่างโอกาสธุรกิจ ได้แก่

    Reuse/Recycle เช่น การผลิตโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น การนำยางล้อรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วมาเป็นวัสดุผลิตพื้นรองเท้า การผลิตสินค้า/บรรจภัณฑ์จากขยะหรือวัสดรีไซเคิล เช่น การนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเครื่องแต่งกาย รองเท้ากีฬา
    Refurbishment เช่น การนำสินค้าที่มีตำหนิและถูกส่งคืนมาแก้ไขและเอามาวางขายอีกครั้งในราคาที่ถูกลง เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์
    Second Hand Economy เช่น การแชร์หรือส่งต่อสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น ธุรกิจให้เช่าเสื้อผ้า กระเป๋าแบรนด์เนม และการขายสินค้ามือสอง รวมถึงผู้ให้บริการ Platform ตลาดมือสองออนไลน์
    Upgradable Product เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้ใช้งานได้นานขึ้น เช่น แปรงสีฟันที่ผู้ใช้สามารถถอดหัวแปรงออกจากด้ามเพื่อเปลี่ยนได้ โทรศัพท์มือถือสามารถอัพเกรด Software เพื่อให้สามารถใช้งาน ได้นานขึ้น

    ตัวอย่างบริษัทที่น่าสนใจ คือ Adidas ร่วมกับ Parley (องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)ผลิตรองเท้ารุ่น UltaBOOST ที่ใช้วัสดุจากขวดพลาสติก
    ที่ถูกทิ้งในทะเล (1 คู่ใช้ขวดพลาสติก 11 ขวด)

    Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยตัวอย่างโอกาสธุรกิจ ได้แก่
    การใช้พลังงานสะอาดผลิตไฟฟ้าแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม
    การผลิตสินค้ารักษ์โลก เช่น เครื่องถ่ายเอกสารที่สามารถลบหมึกได้ด้วยเครื่องล้างข้อมูล เพื่อให้สามารถนำกระดาษแผ่นเดิมกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 5 ครั้ง
    การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไร้คนขับและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง Bloomberg คาดการณ์ว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนสูงถึง 55% ของตลาดรถยนต์โลกในปี 2583
    การบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ เช่น การใช้ระบบน้ำแบบหมุนเวียนซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากรน้ำสูงสุดถึง 50%
    ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มุ่งเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ การพายเรือล่องแม่น้ำ การดูนก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ
    Green Hotel เช่น เครือ Intercontinental Hotel Group ใช้ระบบปรับอากาศแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยลดก๊าชเรือนกระจกลง 15% ต่อห้อง