ThaiPublica > Native Ad > เจาะปฏิบัติการเชิงรุก “นักรบเสื้อเทา” เบื้องหลังความสำเร็จปราบโควิด-19 ด้วยแอปฯ “อสม.ออนไลน์”

เจาะปฏิบัติการเชิงรุก “นักรบเสื้อเทา” เบื้องหลังความสำเร็จปราบโควิด-19 ด้วยแอปฯ “อสม.ออนไลน์”

5 มิถุนายน 2020


นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

เจาะปฏิบัติการเชิงรุก “นักรบเสื้อเทา” เบื้องหลังความสำเร็จสาธารณสุขชุมชนปราบโควิด-19 ด้วยแอปฯ “อสม.ออนไลน์”

เอไอเอส สานต่อ ภารกิจ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19” ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดปีกดิจิทัลให้กับ อสม. นักรบเสื้อเทา นำเทคโนโลยี ซิมแพ็กเกจพิเศษ และประกันโควิด-19 เสริมประสิทธิภาพ-สร้างความอุ่นใจในการปฏิบัติงาน ทั้งติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19 ทั่วประเทศ ตั้งศูนย์ AIS Robotic Lab by AIS NEXT เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมการแพทย์ และการพัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอไอเอสได้ทุ่มงบประมาณ 177 ล้านบาท ภายใต้โครงการ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 และมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อสม. สามารถขับเคลื่อนสาธารณสุขชุมชนในการป้องกันโควิด-19

สิ่งที่เอไอเอสได้ทำในโครงการ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด-19” ได้แก่

  • ติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19 ทั่วประเทศ
  • ตั้งศูนย์ AIS Robotic Lab by AIS NEXT เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมการแพทย์
  • การพัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์
  • เพิ่มฟีเจอร์ในแอปพลิเคชั่น “อสม.ออนไลน์” ช่วยเฝ้าระวังโควิด-19
  • นำเทคโนโลยี “ซิมฮีโร่” แพ็กเกจพิเศษ และประกันโควิด-19 เสริมประสิทธิภาพและสร้างความอุ่นใจในการปฏิบัติงาน
อสม. ใช้แอปฯ อสม.ออนไลน์ ดูแลสุขภาพคนในชุมชน

นายสมชัย กล่าวต่อว่า “ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส เราได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับ อสม. ทุกพื้นที่ เพื่อจะทำให้การทำงานอาสาสมัครมีความสะดวก สบาย รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชัน ‘อสม. ออนไลน์’ ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากรูปแบบกระดาษมาเป็นออนไลน์ 100% ทั้งการสนทนา การส่งรายงานประจำเดือน ก็สามารถทำผ่านแอปฯ ได้ทันที”

“ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เราได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้าไปในการที่จะให้อสม.มีเครื่องมือในการเช็คประวัติ กรอกประวัติ รวมถึงการติดตามผล ให้อสม.ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้”

ตัวอย่างพื้นที่ต้นแบบที่อสม. เกือบ 100% ทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ อย่าง “อสม.ออนไลน์” ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่ ‘ประสบความสำเร็จ’ ในการเฝ้าระวังโรคระบาดจนไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา(30 เมษายน- 27 พฤษภาคม 2563) ขณะที่กลุ่มที่มีประวัติการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงก็ได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดจากอสม.ในพื้นที่

การปฏิบัติงานเชิงรุกระหว่างอสม. และ รพ.สต. เสม็ดใต้ ทำให้สุขภาพของคนในชุมชนเสม็ดใต้ที่มีอยู่กว่า 1 พันครัวเรือน ปลอดภัยจากโควิด-19

นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา(เสื้อขาว)

นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทราที่ดูแลและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง กองกำลังสำคัญที่ทำให้จังหวัดฉะเชิงเทราสามารถควบคุมและยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายเป็นวงกว้างคืออสม. ที่ประจำอยู่แต่ละหมู่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ในการตรวจตรา เฝ้าระวัง ให้คำแนะนำผู้ที่มาจากต่างประเทศหรือต่างถิ่น พร้อมทั้งกับทำรายงานสรุปทั้งหมดเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้ทางจังหวัดสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ในระดับชุมชนได้อย่างใกล้ชิด

ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวอีกว่า ในสถานการณ์ปกติ อสม. มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสุขภาวะอนามัยของคนในชุมชน คอยปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดูแลให้คำปรึกษา รวมไปถึงทำหน้าเป็นตัวกลางระหว่างชาวบ้านและหน่วยงานของภาครัฐ และการที่เอไอเอสได้เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. ผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และช่วยยกระดับงานสาธารณสุข เพราะเทคโนโลยีจากเอไอเอสช่วยทำให้การปฏิบัติงานราบรื่นมากยิ่งขึ้น

“ผมขอขอบคุณ บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อสม. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ดูแล ฟื้นฟูรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างดีเยี่ยม และขอบคุณเอไอเอส ที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านสาธารณสุขที่ทำให้การทำงานสะดวก สบายมากยิ่งขึ้น” นายระพี กล่าว
ขณะที่นายสมเจตน์ สถิตสมิทธ์ นายแพทย์สาธารณสุขอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ในการทำงานที่ผ่านมาของอสม. ได้มีการใช้แอปพลิเคชั่นในระบบสาธารณสุขในพื้นที่ เช่น เรื่องการป้องกันเชิงรุก การติดตามกลุ่มเสี่ยง การดูแลกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น ทั้งหมดเป็นการทำงานโดยอาศัยสรรพกำลังหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชั่นอสม.ออนไลน์

อสม. ใช้แอปฯ อสม.ออนไลน์ คัดกรองและติดตามโควิด-19

ด้านนายนฤพนธ์ จินดาวัลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ดใต้ เล่าว่า ตั้งแต่เอไอเอสเปิดตัวแอปพลิเคชั่น ทางรพ.สต.ได้ส่งเสริมให้อสม.ในพื้นที่ใช้แอปพลิเคชั่นอสม.ออนไลน์ในการรายงานข้อมูล โดยก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แอปฯ ได้ถูกนำไปใช้เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และคัดกรองสารเคมีเกษตรกร ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เอไอเอสได้เปิดตัวฟีเจอร์เฝ้าระวังโควิด-19 ทำให้รพ.สต.ส่งเสริมให้อสม.ใช้แอปพลิเคชั่นมากยิ่งขึ้น

“พื้นที่เรามีอสม. 96 ราย เราใช้วิธีการให้อสม.มาประชุมเป็นรายหมู่ โดยมีเจ้าหน้าที่ประกบเพื่ออธิบายเป็นรายคน เพราะอสม.บางคนสูงอายุแล้ว เราเลยเชิญมาทำความเข้าใจไปทีละคน ซึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ก็ครอบคลุมทั้งหมด อายุอสม.สูงสุด 73 ปี เด็กสุดประมาณ 30 กว่าปี ถามว่าช่องว่างอายุเป็นอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีไหม ผมว่าไม่เป็นอุปสรรค” นายนฤพนธ์ กล่าว

ในส่วนของโรงพยาบาลในฐานะส่วนกลางที่บริหารระบบสาธารณสุขในพื้นที่ก็ได้รับข้อมูล ‘เรียลไทม์’ และสามารถวางแผนการลงพื้นที่ได้ทันที

“รายงานจากแอปพลิเคชั่นจะถูกส่งมาที่ส่วนกลาง ‘รพ.สต.’ เรามีเจ้าหน้าที่แอดมินคอยดู แล้วเราก็ทราบพิกัดว่าอยู่ตรงไหน วันรุ่งขึ้นเรานัดลงพื้นที่เพื่อมาติดตามคัดกรอง” ผอ.รพ.สต.เสม็ดใต้กล่าว

ผอ.รพ.สต.เสม็ดใต้ และอสม. ใช้แอปฯ อสม.ออนไลน์ ดูแลสุขภาพคนในชุมชน

ส่วนนางสาวฉวีวรรณ พุ่มพวง ในฐานะตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เสม็ดใต้ จังหวัดฉะเชิงเทรา และอาสาสมัครดีเด่นระดับเขตสาขาส่งเสริมสุขภาพ กล่าวว่า “กรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ อสม. เสม็ดใต้ เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ประกอบกับจำนวนครัวเรือนในชุมชนที่มีมากกว่า 1 พันครัวเรือน แต่ด้วยการทำงานเชิงรุกที่มุ่งเน้นตรวจสอบประชาชนที่เดินทางเข้าพื้นที่ 100% พร้อมทั้งมีการติดตามบ้านเรือนที่ต้อนรับประชาชนต่างถิ่นอย่างใกล้ชิด ทำให้ที่ผ่านมามียอดติดเชื้อสะสมเพียง 21 ราย ถือเป็นผลงานของชาวฉะเชิงเทราทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19 กันอย่างเต็มที่”

ทั้งนี้เครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับการทำงานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคือแอปพลิเคชั่น “อสม.ออนไลน์” ซึ่งแอปพลิเคชั่นดังกล่าวกลายเป็นอาวุธของนักรบเสื้อเทาที่สำคัญไม่แพ้กับหน้ากากอนามัย เฟซชิลด์ และเจลล้างมือ

นางสาวฉวีวรรณ เล่าว่า ตนเป็นอสม.เป็นเวลากว่า 10 ปี โดยการทำงานในอดีตจะต้องเขียนรายงานลงกระดาษ แล้วขับรถมอเตอร์ไซค์ส่งให้ประธานหมู่บ้าน จากนั้นประธานหมู่บ้านส่งให้รพ.สต. ซึ่งเป็นวิธีการทำงานที่ลำบากและหลายขั้นตอน แต่หลังจากมีแอปพลิเคชั่น “อสม.ออนไลน์” และอสม.เริ่มหันมาใช้งานอย่างจริงจังทำให้การทำงานสะดวก รวดเร็วและลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เนื่องจากส่งข้อมูลได้ทันที

“ในแอปจะมีข้อมูลการปฏิบัติตัว และประเมินผลโควิด-19 ว่าคนที่เราประเมินอยู่ในระดับไหน แล้วการใช้แอปฯ ทำให้เรารายงานหมอทันทีทันใด มีข่าวที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอสม.สามารถเอาไปถ่ายทอดให้ชุมชน หรือคุยกับคุณหมอในแอปฯ ก็ได้ ที่สำคัญมันเป็นการพัฒนาอสม.เองให้ใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพชุมชนให้เข้ากับยุคอสม.สี่จุดศูนย์” นางสาวฉวีวรรณ กล่าว

นางสาวฉวีวรรณ พูดถึงบทบาทของเทคโนโลยีในการทำงานสาธารณสุขว่า “สมัยนี้ไม่ว่าอายุรุ่นไหน ทุกคนก็ใช้สมาร์ทโฟนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเล่นไลน์และเฟซบุ๊ก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีในการทำงานอสม.ไม่ได้เป็นอุปสรรค ทุกอย่างมันเรียนรู้ได้ อย่างคนที่ใช้งานไม่เป็นรุ่นแรกๆ ตอนนี้ก็ชำนาญแล้ว แต่คนสูงอายุที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟน ก็จะมีอสม.คอยช่วยเหลือกันได้ ถ้าเราฝึกฝนใช้เทคโนโลยี ก็คงไม่เกินความสามารถของอสม.” นางสาวฉวีวรรณกล่าว

เอไอเอส มอบห้องผู้ป่วยความดันลบให้ รพ.พุทธโสธร
ห้องผู้ป่วยความดันลบ

นอกจากนี้ โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังได้รับการสนับสนุนจากเอไอเอส โดยได้มอบห้องผู้ป่วยความดันลบ (Negative Pressure Room) เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่ติดตั้งในห้องพักผู้ป่วยแยกโรคที่มีการติดเชื้อแบบ Airborne เช่น โควิด-19 วัณโรค ซาร์ส อีโบล่า ไข้หวัดใหญ่ และหัดเยอรมัน เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย