ThaiPublica > สู่อาเซียน > ASEAN Roundup เมียนมาเตรียมแจกในอนุญาตแบงก์ 10 แห่ง ลาวตั้งเป้าส่งออกไฟฟ้า 20,000 เมกะวัตต์

ASEAN Roundup เมียนมาเตรียมแจกในอนุญาตแบงก์ 10 แห่ง ลาวตั้งเป้าส่งออกไฟฟ้า 20,000 เมกะวัตต์

19 มกราคม 2020


ASEAN Roundup ประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2563

  • เมียนมาเตรียมแจกในอนุญาตแบงก์ 10 แห่ง
  • ลาวตั้งเป้าส่งออกไฟฟ้า 20,000 เมกะวัตต์
  • เวียดนามเล็งลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าโซลาร์
  • โฮจิมินห์มีแผนจำกัดรถเก่าลดมลพิษ
  • อินโดนีเซียปรับปรุงภาษีสินค้านำเข้า
  • เมียนมาเตรียมแจกในอนุญาตแบงก์ 10 แห่ง

    ธนาคารกลางเมียนมา หรือ Central Bank of Myanmar (CBM) เริ่มกระบวนการที่จะ ออกใบอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติประกอบธุรกิจรายย่อยได้ในปี 2021

    ระยะที่สามของการเปิดเสรีภาคธนาคารได้มีการประกาศมาแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2019 โดยที่ธนาคารกลางมีทางเลือกที่จะออกใบอนุญาต 3 แนวทางคือ ให้ธนาคารต่างชาติตั้งสำนักงานผู้แทน หรือออกใบอนุญาตให้ตั้งสาขา หรือเป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างชาติ

    ธนาคารกลางได้แถลงให้ยื่นเอกสารแสดงความจำนง เพื่อที่จะออกใบอนุญาตอย่างน้อย 5 ใบและออกใบอนุญาตมากถึง 10 ใบแก่สถาบันการเงินต่างชาติ และจากที่ประกาศ ใบอนุญาตจะเปิดให้บริการได้ทั้งสถาบันการเงินท้องถิ่นและสถาบันการเงินต่างชาติ นอกเหนือจากธุรกิจท้องถิ่นและธุรกิจต่างชาติ

    ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องมีส่วนร่วมในการยกระดับและการขยายภาคธนาคารในประเทศด้วยการมีส่วนร่วมในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank market) การให้เงินกู้แก่ธนาคารท้องถิ่น ให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกค้าบุคคล มีส่วนร่วมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและด้านอื่นๆ

    นอกจากนี้ผู้ที่ได้ใบอนุญาตจะสามารถให้สินเชื่อและรับเงินฝากจากบริษัท ธนาคารและบุคคลทั่วไป ได้ทั้งสกุลเงินต่างประเทศและเงินจ๊าดของเมียนมา

    สำหรับผู้ที่ได้ใบอนุญาตให้เปิดสาขานั้นจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 75 ล้านดอลลาร์ โดยที่ 40 ล้านดอลลาร์ต้องฝากไว้ที่ธนาคารกลางเมียนมา 2 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย และจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเพียงสาขาเดียวเท่านั้น

    ส่วนใบอนุญาตในฐานะบริษัทลูกนั้น จะต้องรักษาทุนจดทะเบียนชำระแล้วไว้ที่ระดับ 100 ล้านดอลลาร์ และจะสามารถให้บริการลูกค้ารายย่อยได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 อีกทั้งธนาคารที่เป็นบริษัทลูกจะสามารถเปิดสาขาได้ 10 แห่งหรือ ติดตั้งตู้เอทีเอ็มนอกสาขาได้

    การติดตั้งตู้เอทีเอ็มที่สาขาจะไม่ถือว่าเป็น สถานที่การประกอบธุรกิจเพิ่มเติม แต่หากเป็นตู้เอทีเอ็มนอกสาขาจะนับว่าเป็น 1 สาขา นอกจากนี้สาขาแต่ละแห่งในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์จะต้องเปิดในพื้นที่ห่างไกลนอกเมือง

    ลาวตั้งเป้าส่งออกไฟฟ้า 20,000 เมกะวัตต์

    ที่มาภาพ: https://jclao.com/electricity-powers-up-exports-towards-a-better-trade-balance/
    การส่งออกไฟฟ้าของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ สปป.ลาว ไปยังประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอาเซียนคาดว่าจะมีปริมาณสูงถึง 20,000 เมกะวัตต์ระหว่างปี 2020-2030

    พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งรายได้หลักของสปป.ลาว โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาและสิงคโปร์

    ลาวส่งออกไฟฟ้าไปประเทศอาเซียนผ่านสายส่งของไทย โดยการส่งออกครั้งแรกส่งไปมาเลเซีย จากนั้นส่งผ่านสายส่งของมาเลเซียไปสิงคโปร์

    ความต้องการใช้ไฟฟ้าในลาวเพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว เนื่องจากประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีโรงงานเพิ่มขึ้นด้วย ในปี 2019 การใช้ไฟฟ้าในลาวสูงถึง 1,222 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่คาดว่าการใช้ไฟฟ้าในลาวจะเพิ่มขึ้นอีก 1,800 เมกะวัตต์ระหว่างปี 2020-2025

    กระทรวงพลังงานฯและการไฟฟ้าของลาว(Electricite du Laos) มีแผนที่จะผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ และจะเพิ่มการจ่ายไฟเพื่อตอบสนองความต้องการของครัวเรือน เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม รถไฟ ทางด่วน รวมทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรมแปรรูปทั่วประเทศ

    ลาวมีศักยภาพที่จะส่งออกไฟฟ้าไปประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ไทย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา มาเลเซียและสิงคโปร์ ด้วยการบูรณาการสายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับข้อตกลงและการแลกเปลี่ยน

    การบูรณาการสายส่งกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นก้าวสำคัญของการส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศที่สองและประเทศที่สาม และลาวเป็นประเทศแรกที่ริเริ่ม

    กระทรวงพลังงานฯระบุว่า ลาวจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 20,000 เมกะวัตต์ในช่วงปี 2020-2030 ซึ่งในช่วงปีนี้ รัฐบาลไทยคาดว่าจะนำเข้า 9,000 เมกะวัตต์ จากลาว กัมพูชาจะนำเข้า 6,000 เมกะวัตต์ เวียดนาม 5,000 เมกะวัตต์ เมียนมา 3,000 เมกะวัตต์ และมาเลเซียอีกราว 3,000 เมกะวัตต์ ขณะที่สิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา

    กรมส่งออกและนำเข้าของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่า มูลค่าการส่งออกไฟฟ้าของลาวช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2019 มีมูลค่า 1,066 ล้านดอลลาร์ โดยที่ไทยนำเข้ามูลค่าสูงสุด 1,010 ล้านดอลลาร์ เวียดนาม 46 ล้านดอลลาร์และกัมพูชา 8 ล้านดอลลาร์

    เวียดนามเล็งลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าโซลาร์

    ที่มาภาพ: https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-to-lower-tariffs-for-solar-power-4042692.html

    กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน(Feed-in Tariff)จากแสงอาทิตย์ลง 32% จากที่กำหนดไว้เดิม มาที่ 7.09 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ จาก 9.35 เซนต์ที่เสนอต่อโครงการที่ก่อสร้างเสร็จก่อนวันที่ 30 มิถุนายนปีที่แล้ว

    อัตรารับซื้อไฟฟ้าใหม่จะบังคับใช้กับโครงการที่เริ่มขึ้นก่อนวันที่ 23 พฤศจิกายนปีที่แล้วและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างเดือนกรกฎาคมจนถึงสิ้นปี 2020 และเพื่อให้มีผลบังคับใช้นาน 20 ปี จึงไม่ได้รวมผลจากภาษีมูลค่าเพิ่มและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไว้ด้วย

    กระทรวงอุตสาหกรรมฯระบุว่า มี 7 โครงการซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 320 เมกะวัตต์เข่าข่ายที่จะใช้อัตรารับซื้อ 7.09 เซนต์

    แต่อัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT นี้จะไม่ครอบคลุมจังหวัดนินห์ ถ่วน ในภาคกลางตอนใต้ของเวียดนาม ซึ่งเป็นที่ตั้งสำคัญของการพัฒนาพลังงานโซลาร์ เนื่องจากได้ใช้แผนงานอื่นสำหรับโครงการที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 2,000 เมกะวัตต์ ที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2021 ดังนั้นอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดไว้ 9.35 เซนต์ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป

    นักลงทุนระบุว่าการลดอัตรารับซื้อไฟฟ้า FiT เป็นการลดความจูงใจที่จะสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของเวียดนาม(Vietnam Electricity:EVN) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีโซลาร์ฟาร์ม 90 แห่งมีกำลังการผลิตรวม 4,550 เมกะวัตต์ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว ทั้งหมดได้ก่อสร้างก่อนวันที่ 30 มิถุนายนซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากอัตรารับซื้อ แต่มีผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่โครงข่ายจะรับได้ จึงจำเป็นต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของสายส่ง

    กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาตสูงถึง 25,000 เมกะวัตต์ เกินเป้าหมายภายในปี 2025 ไป 4,000 เมกะวัตต์

    โฮจิมินห์มีแผนจำกัดรถเก่าลดมลพิษ


    สำนักงานบริหารเมืองโฮจิมินห์จะนำโครงการตรวจสภาพรถมาใช้บังคับภายในเดือนมกราคมนี้ ก่อนที่จะเดินหน้าตาม แผนการจำกัดจำนวนรถเก่าเพื่อลดปัญหามลพิษ

    โครงการนี้แย่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ระยะแรกปี 2020 ระยะที่สองปี 2021-2025 และระยะที่สามปี 2026-2030 ซึ่งครอบคลุมมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซจากรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ จำกัดจำนวนรถเก่า ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและเพิ่มรถยนต์สาธารณะ

    รถยนต์และรถมอเตอร์ไวค์จะต้องตรวจสภาพและควบคุมภายใต้หลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยทางเทคนิคและการรักษาสิ่งแวดล้อม รถคันไหนไม่ผ่านตามเกณฑ์นี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกวิ่งบนถนนในเมือง

    นอกจากนี้จะจำกัดบริเวณที่รถยนต์สามรรถวิ่งได้และจำกัดเวลาในการใช้รถ รวมทั้งการห้ามนำรถเข้ามาในเมือง การจำกัดรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ตามเส่นทางถนน ในเขต 1, 3, 5, และ 10 ย่านเมืองใหม่ทู เทียม ในเขต 2 และย่านฟุ มี ฮุง ในเขต 7 และจะขยายในพื้นที่รอบๆต่อไป

    สำนักงานบริหารเมืองยังได้เปิดเผยแผนที่จะหาแนวทางการพัฒนาเส้นทางขนส่งสาธารณะในเขตที่อยู่อาศัยใหม่ รวมทั้งเส้นทางบัสเลน เพื่อลดความหนาแน่นของการจราจร และส่งเสริมการใช้รถโดยสารสาธารณะ

    โฮจิมินห์ ซิตี้มีรถยนต์มากกว่า 9 ล้านคน จากข้อมูลกลางปี 2019 หรือมากกว่า 90% ของรถอยู่บนถนน ปัจจุบัรถมอเตอร์ไซค์ไม่ต้องตรวจสภาพหลังจากจดทะเบียน รถมอเตอร์ไซค์เก่าจำนวนมากยังมีการใช้งานและปล่อยก๊าซซึ่งมีผลต่อภาวะแวดล้อม

    อินโดนีเซียปรับปรุงภาษีนำเข้าสินค้า

    ที่มาภาพ: https://www.thejakartapost.com/news/2020/01/14/attention-shoppers-new-regulation-on-imported-goods-to-take-effect-jan-30.html
    รัฐบาลอินโดนีเซียจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ภาษีนำเข้าสินค้าใหม่ ในวันที่ 30 มกราคมนี้ โดยจะลดมูลค่าขั้นสูงของสินค้านำเข้าที่ไม่ต้องจ่ายภาษี ลงเป็น 3 ดอลลาร์ต่อการขนส่งหนึ่งครั้งจาก 75 ดอลลาร์ที่ใช้เดิม โดยอาศัยคำสั่งกระทรวงการคลัง

    สินค้านำเข้าที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีจะต้องชำระภาษีในอัตรา 7.5% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 10% ก่อนหน้านี้ผู้นำเข้าสินค้าต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกเหนือจากภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม

    ผลจากการทบทวนหลักเกณฑ์นี้ ภาษีโดยรวมทั้งต้องชำระอยู่ที่ 17.5% จากเดิม 27%

    การทบทวนหลักเกณฑ์เป็นการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างสินค้าในประเทศซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางหรือ เอสเอ็มอีกับ สินค้านำเข้าจากจีน เนื่องจากสินค้านำเข้าทะลักตลาด อีกทั้งเป็นสินค้านำเข้าที่ไม่ต้องจ่ายภาษี

    อย่างไรก็ตามอัตราภาษีใหม่นี้ไม่มีผลบังคับใช้กับกระเป๋า รองเท่า หรือเสื้อผ้า ซึ่งมีการจ่ายภาษีในอัตราปกติ และรัฐบาลเองต้องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ

    ข้อมูลกรมศุลกากรพบว่า การนำเข้าสินค้าชิ้นเล็ก เพิ่มขึ้นเกือยถึง 50 ล้านรายการในปี 2019 จาก 19.6 ล้านรายการในปีก่อน และ 6.1 ล้านรายการในปี 2017 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าหรือสั่งซื้อสินค้าจากจีน

    กรมศุลการกรและสรรพสามิตระบุว่า ผู้นำเข้าและผู้ให้บริการขนส่งสินค้าต้อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้วยการไม่แยกการจัดสินค้าออกเป็นกองย่อยๆ หรือจัดส่งภายใต้ใบสั่งสินค้านำเข้า และหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ก็คาดว่าการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า จะทำให้มีการนำเข้าเพื่อการใช้ส่วนตัวเท่านั้น