ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > ปิดรับลงทะเบียนร่วมงานแล้ว!! Thsdg18#1 : งานสัมมนา Thailand SDGs Forum 2018 “ Localizing the SDGs (Thailand’s Sustainable Business Guide) 18 พฤษภาคม 2561 นี้

ปิดรับลงทะเบียนร่วมงานแล้ว!! Thsdg18#1 : งานสัมมนา Thailand SDGs Forum 2018 “ Localizing the SDGs (Thailand’s Sustainable Business Guide) 18 พฤษภาคม 2561 นี้

11 พฤษภาคม 2018


สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนา Thailand SDGs Forum 2018 : Localizing the SDGs (Thailand’s Sustainable Business Guide) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 นี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากที่นั่งภายในงานมีจำนวนจำกัดทางผู้จัดงานจึงขอปิดรับสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมงานทางออนไลน์ตั้งแต่บัดนี้

สำหรับท่านที่ลงทะเบียนแล้วทางทีมงานจะส่งเอกสารเพื่อยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมงานกลับไปภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 นี้ !!
และผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลงานสัมมนาได้ในwww.thaipublica.org เร็วนี้ๆ

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าและมูลนิธิมั่นพัฒนา เตรียมจัดงานสัมมนา Thailand SDGs Forum 2018: Localizing the SDGs (Thailand’s Sustainable Business Guide) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา 08.30 -12.30 น.

ครั้งแรกกับการเผยแพร่ชุดความรู้เรื่อง “แนวปฏิบัติธุรกิจยั่งยืน” ในบริบทไทย หรือ Thailand’s Business Guide พร้อมบทเรียนจากการประยุกต์ใช้ SDGs ของธุรกิจชั้นนำด้านความยั่งยืนระดับโลก จากการออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจจนถึงการลงมือปฏิบัติในประเทศไทย โดยงานครั้งนี้ถือเป็นการก้าวสู่ปีที่ 3 ของเวที Thailand SDGs Forum ซึ่งเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะเดียวกัน Thailand SDGs Forum ยังถือเป็นเวทีสำคัญในการสนับสนุนภาคธุรกิจไทยให้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

การจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จะต้องให้ความสำคัญกับบริบทของท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ จังหวัด เทศบาล หมู่บ้าน ตลอดจนท้องถิ่นในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมถึงในทุกท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างทั่วและเท่าเทียม (Inclusive Approach) ซึ่งองค์การสหประชาชาติมองว่า “Localizing the SDGs” จะเป็นหัวใจที่ทำให้ SDGs เกิดจริงในทางปฏิบัติของการบรรลุเป้าหมายในระดับโลกรวมถึงประเทศไทย

Localizing the SDGs สำคัญอย่างไร

สำหรับงานที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 นั้นจะเป็นอีกก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Localizing the SDGs”  เนื่องจากที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะเชื่อว่าการจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จะต้องให้ความสำคัญกับบริบทของท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ จังหวัด เทศบาล หมู่บ้าน ตลอดจนท้องถิ่นในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมถึงในทุกท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (Inclusive Approach) ซึ่งองค์การสหประชาชาติมองว่า “Localizing the SDGs” จะเป็นหัวใจที่ทำให้ SDGs เกิดจริงในทางปฏิบัติของการบรรลุเป้าหมายในระดับโลกรวมถึงประเทศไทย ในงานนี้ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยจะฉายภาพทิศทางใหม่และก้าวเดินในอนาคต ในปาฐกถาพิเศษหัวข้อ  “SEP for SDGs: Localizing the SDGs in Thailand Business”

เรียนรู้แนวทางปฏิบัติธุรกิจที่ยั่งยืน Thailand’s Sustainable Business Guide

ในเวทีเสวนาช่วงแรก Thailand’s Sustainable Business Guide: SEP Practices and the Sustainability Performance คุณกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะเล่าเกี่ยวกับความสำคัญของ Localizing the SDGs และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่จะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)  พร้อมด้วยมุมมองจากภาคธุรกิจโดย  คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร  ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กับมุมมองในการเชื่อมโยงความคิดความยั่งยืนจากมาตรฐานระดับโลก สู่บริบทแบบไทยและแนวปฏิบัติ ขณะที่ รศ. ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร รองคณบดีงานวิจัย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเปิดเผยถึงแนวปฏิบัติธุรกิจ Thailand’s Sustainable Business Guide จากข้อค้นพบเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืนและการศึกษาวิจัยองค์กรธุรกิจไทยในเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยมีคุณฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์ ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัดผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารความยั่งยืนเป็นผู้ดำเนินรายการ

ถอดรหัสความสำเร็จแบรนด์ระดับโลก

ในเสวนาช่วงที่ 2 กับเวทีเสวนา “Localizing the SDGs in Thailand Business” ภัทราพร แย้มละออ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด บริษัทวิจัยด้านความยั่งยืน จะชวนมองเทรนด์ของธุรกิจยั่งยืนปี 2561 และกรณีศึกษาองค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกกับ “วิธีการ” ของธุรกิจ โดยนำกรอบแนวคิดตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติสากลมาปรับใช้ในบริบทสังคมไทย (Localizing the SDGs) โดยมี 3 บริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืนระดับโลก ได้แก่ เทสโก้ โลตัส ที่ถือเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากจากพันธสัญญาระดับโลกของบริษัทในเรื่อง “ขยะอาหาร” ตามเป้าประสงค์ที่ 12.3  เชลล์กับการใช้ SDGs ตอบโจทย์ใหม่ด้านพลังงานซึ่งเป็นธุรกิจหลัก และอินเตอร์เฟซฟลอร์ หนึ่งในบริษัทระดับโลกที่เป็นผู้บุกเบิกเรื่องความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 1997 กับบริษัทพรมที่ตั้งเป้าที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือศูนย์มาตั้งแต่ปี 2020

โดย คุณสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการ ฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์ รองประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด คุณสงบ อูลุง รองประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาตอบคำถามว่าทำไมบริษัทระดับโลกแบบเขาถึงใช้ SDGs เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจ และบริษัทเหล่านี้คิด ทำ และสร้างผลกระทบเชิงบวกจากระดับโลกมาสู่ระดับท้องถิ่นได้อย่างไร

SDGs in Action: สำรวจสุขภาพองค์กรและเข็มทิศ SDGs

และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติ ในเวที Thailand SDGs Forum 2018 #1 ในงานจะมีเวิร์กชอปเพื่อให้ตัวแทนองค์กรได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติในเรื่อง SEP & Sustainable Business Practice(workshop) เพื่อตรวจสุขภาพองค์กรความยั่งยืน บนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดย ศูนย์วิจัยภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Center for Research on Sustainable Leadership) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และการบรรยายและเรียนรู้เชิงปฏิบัติจากกรณีศึกษา The guide for business action on the SDGs – SDGs Compass ตามขั้นตอนที่เสนอแนะใน “เข็มทิศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ SDG Compass โดย ดร.อำไพ หรคุณารักษ์ และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD)  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ SDG Compass GRI ร่วมกับ UN Global Compact และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการปรับแนวการดำเนินงานให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรธุรกิจและองค์กรอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ มีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำหนดทิศทางการดาเนินธุรกิจให้สอดคล้องและตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต