ตามที่สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้นำเสนอรายงาน “13 ปี สสส. ชูคนสูบบุหรี่-ดื่มเหล้าลด แต่รายได้จากภาษีบาปกลับเพิ่ม ได้งบรวม 3.5 หมื่นล้าน – จ่ายค่าสื่อสารฯ เกือบ 4 พันล้าน” หลังจากนั้นสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอชี้แจงข่าวที่นำเสนอ โดยมี ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุน สสส. และ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการกองทุน สสส.ได้ทำหนังสือชี้แจงพร้อมให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้รายงานข่าวที่นำเสนอเป็นเอกสารรายงานประจำปีของสสส.โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะฝ่ายเลขานุการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้บรรจุเรื่องพิจารณารายงานประจำปี 2557 ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ไว้ในวาระการประชุมของ สนช. ด้วย แต่เนื่องจากในวันดังกล่าว ใช้เวลาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ค่อนข้างมาก ทำให้ต้องเลื่อนวาระการพิจารณารายงานประจำปี 2557 ของ สสส. มาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2558
โดยสาระระบุถึงรายได้หลักของ สสส. มาจากภาษีสรรพสามิตที่กฎหมายบังคับให้หัก 2% ของภาษีที่รัฐเก็บได้จากการขายสุรา (เหล้า, เบียร์) และยาสูบ ส่งเป็นเงินบำรุง สสส.เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งข้อสังเกตว่าสวนทางกับตัวเลขจากรายงานประจำปีที่ระบุว่าผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ลดลง
ดร.สุปรีดาได้กล่าวว่า “ในรายงานข่าวระบุว่า สสส. อ้างว่าร่วมกับภาคีเครือข่ายผลักดันให้แนวโน้มบุหรี่ลดลงตามลำดับแต่รายได้สรรพสามิตและเงินบำรุงของ สสส. เพิ่มทุกปี แสดงว่า สสส. ล้มเหลวในการลดการบริโภคสุรา ยาสูบ หรือไม่”
“ผมจะพยายามตอบเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ในรายงานประจำปีจะเห็นข้อมูลว่าตัวนี้ลดตัวนี้เพิ่มอะไรก็ตาม แต่โดยรวมแสดงแนวโน้มการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ลดลงอย่างต่อเนื่อง จุดหนึ่งลดลงก่อนมี สสส. และหลังมี สสส. ลดลงอย่างชัดเจนต่อเนื่อง”
ก่อนเกิด สสส. กราฟการเพิ่มขึ้นของการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มันชันมาก นับตั้งแต่ปี 2502-2544 ตัวเลขเพิ่มขึ้น 33 เท่า ใน 43 ปี หลังเกิด สสส. ยังคงเพิ่มขึ้น เพียงแต่ความชันเริ่มแบนลง แต่ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีข้อมูลหลายด้านแสดงว่าการบริโภคบุหรี่ สุรา ลดลง ในรายงานของเราก็สะท้อนข้อมูลนี้
การสูบบุหรี่วัดจากอะไร ฐานข้อมูลอะไร เช่น ทั้งโลกจะใช้อัตราการสูบ วัดจากการสำรวจในคนอายุ 15 ปีขึ้นไป หารด้วยจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพื่อหาว่าคนอายุ 15 ปีขึ้นไปกี่เปอร์เซ็นต์ที่สูบ ข้อมูลของ สสส. ชัดเจนว่าเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขต่ำกว่า 20% กล่าวคือจากปี 2534 ประมาณ 32% ลงมาที่ 19.9% ส่วนปีล่าสุดมีการเปลี่ยนเกณฑ์การพิจารณานิดหน่อย
ฉะนั้น ข้อมูลที่นำมาอ้างอิงมาจากวิธีมาตรฐานสากล แต่อาจจะมีคำถาม แล้วทำไมขัดแย้งกับตัวเลขเงินภาษีที่จัดเก็บได้
ไทยพับลิก้า: ที่บอกว่าวัดตามมาตรฐานสากล มีการสำรวจทำอย่างไร
ดร.สุปรีดา : ทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำในลักษณะสำรวจอนามัยครัวเรือน ไม่ถามแค่เรื่องเหล้า บุหรี่ เท่านั้น ถามสารพัดเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องครัวเรือน เป็นการสำรวจตามมาตรฐานที่สำนักงานสถิติฯทำมาร่วม 30 ปี
ไทยพับลิก้า: ขอแย้งนิดหนึ่งที่เจอกับตัวเอง อย่างในหมู่บ้านมีการสำรวจสำมะโนประชากร หัวหน้าหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ดูแลลูกบ้านบอกว่าติ๊กๆไปเถอะ ติ๊กแทนคนในบ้านก็ได้ รู้สึกว่ามันไม่ใช่ของจริง มันบิดเบี้ยว แล้วข้อมูลที่ได้มันถูกต้องไหม
ดร.สุปรีดา : จริงครับ จุดอ่อนการสำรวจอนามัยครัวเรือนคือ ใช้ตัวแทนครัวเรือนในการให้คำตอบทั้งชุด บางคำตอบอาจจะเกี่ยวข้องเด็กเยาวชนในบ้าน โดยเฉพาะเรื่องบุหรี่ เป็นไปได้ว่าข้อมูลของลูก ของเยาวชนในบ้าน อาจจะคลาดเคลื่อน
แต่เบื้องต้นคือการสำรวจนี้ใช้วิธีการเดียวกันที่ทำต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่มีวิธีที่ดีกว่า ตามมาตรฐานสากลจริงๆ การสำรวจเขาต้องถามเจ้าตัว (เยาวชน) โดยตรง ตอนนี้มี GAT (Global Annual Survey) ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับเลือกนำร่อง ผลการสำรวจชี้ว่ามันจะสูงกว่าผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติหน่อยหนึ่ง แต่มันไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่าเทรนด์แบบเดียวกัน(แนวโน้มลดลง)
ไทยพับลิก้า: จากผลสำรวจคนสูบบุหรี่น้อยลง ด้วยปัจจัยอะไร เหตุผล
ดร.สุปรีดา : การสำรวจนี้มีมานาน จะมีชุดคำถามเรื่องพฤติกรรม เช่น ถามว่าทำไมเริ่มสูบ คำตอบที่มากสุด ผู้ชายบอกว่าตามเพื่อน ส่วนผู้หญิงอัตราการสูบอยู่ที่ 2% มาต่อเนื่อง 20 ปี ซึ่งหลายประเทศในเอเชียเป็นแบบนี้ ส่วนคำตอบอื่นๆ คืออยากลอง
ความเป็นจริงอีกอย่าง เราถามอายุเริ่มสูบด้วย และทำไมถึงเริ่มสูบ สรุปว่าใน 100 คนที่สูบบุหรี่ ประมาณ 93% จะสูบก่อนอายุ 25 ปี นั่นหมายความถ้าเราประคองเยาวชนให้พ้นวัยเบญจเพสไปได้ มีประมาณ 7% เท่านั้นที่จะสูบหลังวัยนี้ นั่นเป็นที่มาของการกำหนดมาตรการต่างๆ ว่าทำไมนักสูบหน้าใหม่จึงเป็นหัวใจ กฎหมายที่ออกจะโฟกัสตรงนี้มาก เพราะว่าสูบแล้วมันติด เฉลี่ยอายุ 17 ปีขึ้นไป ติดกันยาวเลย คนที่บอกจะเลิกๆ ก็เลิกไม่ได้ คนเลิกได้หน่อยเดียว ซึ่งตัวเลขจะสูบนาน 20 ปี
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด ทำให้ไม่เข้าวงจร มีเด็กเกือบ 2 แสนคน เข้าวงจรนักสูบหน้าใหม่ทุกปี ข้อมูลเหล่านี้นำมาใช้กำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงาน
ไทยพับลิก้า: ในแง่จำนวนเด็ก ประเทศไทยสัดส่วนการเกิดน้อยลงเรื่อยๆ (ประมาณกว่า 8 แสนคนต่อปี) มีข้อมูลชัดเจนไหม
ดร.สุปรีดา : มีกราฟรายอายุ ธรรมชาติเส้นมันก็ขึ้นนะครับ เพราะว่าเด็กริสูบตั้งแต่อายุ 16-17 ปี ไล่ไปเรื่อยๆ สูงขึ้นจนสูงสุดที่ 24-25 ปี แต่หลังจากนั้นการสูบใหม่ไม่ค่อยมี มีแต่คนเก่าที่ยังสูบต่อเนื่อง ถ้าบอกว่าการลดประชากรเด็กจะทำให้คนเข้าใหม่ไหม น่าจะมีคนเข้าใหม่ แต่ในความเป็นจริงของโลก modernization/westernization ของโลก รวมทั้งผู้หญิง ที่เราเห็นว่าตัวเลขการสูบที่ต่ำมากๆ แต่วัยรุ่นผู้หญิงในเมืองจะมีแนวโน้มสูบเพิ่มขึ้น เพราะโลกของการสื่อสารมันเร็วกว่าสมัยก่อน
เพราะฉะนั้น หักกลบกันแล้ว เยาวชนหน้าใหม่ก็ยังเป็นหลักแสน ที่เข้ามาในแต่ละปี แต่โดยรวมแล้วที่แสดงอัตราลดลง คืออัตราของการเข้ามาของนักสูบหน้าใหม่ คนเก่าที่เลิก ทำได้ระดับหนึ่ง ผสมกันแล้ว ทำให้เราลดไป 12 ล้านคน
ดร.สุปรีดา : ตัวเลขทั้งหมดเป็นตัวเลขที่ใช้ระดับโลก เราเป็นหนึ่งที่ WHO อ้างอิงถึง
แต่ข้อมูลอย่างนี้ (จำนวนคนการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า) จะไม่มีใครเอาตัวเลขการจัดเก็บภาษีมาเป็นตัววัดว่ามันสูงมันต่ำ (คนสูบ คนดื่มเหล้า) เพราะมันเหตุผลเยอะ ที่จะแจกแจงดังนี้
1. ทำไมเราไม่ใช่เงินภาษีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สะท้อนว่าการบริโภคเหล้า บุหรี่มันขึ้นหรือมันลง เพราะตัวระบบภาษีเองไม่เหมือนกันทั้งโลก ภาษีสรรพามิตที่เก็บ exit tax คือภาษีที่เจตนาที่จะลดการบริโภคสิ่งนั้นเพราะมันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ทุกประเทศที่เก็บภาษีเหล้าและบุหรี่
นอกจากนี้ แม้จะเก็บภาษี แต่อัตราภาษีที่จัดเก็บมีความแตกต่างสูง เช่น ไวน์ต่างประเทศ เบียร์ เหล้าขาว เงินภาษีที่เก็บได้ ไม่สะท้อนว่าคุณบริโภคสูงขึ้นจากอะไรชัดเจน เช่น ใน 10 ปีที่ผ่านมา การบริโภคเหล้าขาวของคนไทยลดลงประมาณ 1.7% ทุกปี ขณะที่ดื่มเบียร์ วิสกี้ เพิ่มขึ้น สมัยนี้ในตู้เย็นมีเบียร์เป็นปกติมาก กลุ่มเบียร์ วิสกี้ อัตราภาษีสูงกว่าภาษีสุราทั้งหมด บอกไม่ได้ว่ามาจากประเภทไหนบ้าง บางทีโดยเฉพาะแนวโน้มที่ผมว่า ถึงจะดื่มเท่าเดิม แต่เปลี่ยนประเภทดื่ม ภาษีที่เก็บได้ก็สูงขึ้นกว่าเดิมอยู่แล้ว
นอกจากเหตุผลนี้แล้วยังมีอีกหลายข้อ ที่ทั้งโลกไม่ใช่เม็ดเงินภาษีเป็นตัวสะท้อนการบริโภคทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม
ในระยะสั้นๆ อัตราภาษีไม่ค่อยเปลี่ยนบ่อย แต่จะมีการปรับภาษีขึ้นตามทิศทางที่องค์การอนามัยโลกแนะนำประเทศส่วนใหญ่ให้ปรับอัตราภาษีขึ้น หากมองยาวอัตราภาษีกระทบแน่ เช่น บุหรี่ ภาษีขึ้นจากประมาณ 55% ในปี 2534 ปัจจุบัน 87% ต่างกันเกือบๆ เท่าตัว นี่แค่อัตรานะครับ
2. ต้นทุนในการผลิต เป็นอัตราที่นำไปคำนวณการจ่ายภาษี (ภาษีใหม่จะเปลี่ยนจากราคาต้นทุนเป็นราคาขายส่ง) แต่เนื่องจากต้นทุนไม่คงที่ มีการปรับทุกปี นี่เป็นเหตุผลที่สอง ที่บอกว่าภาษีเก็บได้เพิ่มขึ้น ไม่ได้แปลว่าดื่มมากขึ้น
3. จำนวนประชากร เช่น บุหรี่ในปี 2534 มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 38.5 ล้านคน เป็นฐานในการคิดคนสูบคนดื่ม ปี 2554 ขึ้นมาเป็น 54 ล้านคน ฉะนั้น เวลามองภาษี ต้องไม่ลืมว่าประชากรค่อยๆ เพิ่มปีละเกือบล้านคน ดังนั้น เม็ดเงินภาษีที่เอามาชี้วัดคนสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ย่อมไม่เที่ยงตรง
4. การอยู่ในระบบภาษี ของสินค้ายาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความผันแปรตามสัดส่วนของสินค้าไม่เสียภาษี ทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายซึ่งแปรผันตามนโยบาย
5. นักท่องเที่ยวที่บริโภคบุหรี่ เหล้า เพราะนักท่องเที่ยวตามธรรมชาติจะไม่ใช่ชีวิตตามปกติ จะหาความบันเทิง ยิ่งมาจากวัฒนธรรมการดื่มสูง การบริโภคกลุ่มนี้ไม่น้อย เม็ดเงินภาษีรวมกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้น ไม่มีประเทศไหนใช้เม็ดเงินภาษีมาบอกว่าการบริโภคเหล้า บุหรี่สูงหรือต่ำ
ไทยพับลิก้า: จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ข้อไหนมีน้ำหนักต่อการจัดการเก็บภาษีอย่างไรบ้าง
ดร.สุปรีดา : ไม่มีใครทำไว้ แต่ถ้าจะหยิบมาถามเป็นเรื่องๆ พอจะอนุมานได้ เช่น นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น น่าจะมีผลไหม ก็ใช้ตัวเลขนักท่องเที่ยว หรือการใช้ราคาต้นทุนก็ใช้ดัชนีราคาเงินเฟ้อในการไปปรับใช้ ดังนั้น ดึงข้อมูลกลางเหล่านี้มาใช้ประกอบได้ แต่เนื่องจากไม่มีใครเจตนาจะใช้ภาษีในการชี้วัดปริมาณการบริโภคคนดื่มหรือสูบบุหรี่ จึงไม่มีนักวิชาการใดทำชุดข้อมูลมาทำการศึกษา แต่ถ้าทำจริงน่าจะทำได้อยู่ ก็คงต้องอัปเดตตัวเลข ตัวแปรในสมการทุกปี เพราะมันไม่คงที่
ไทยพับลิก้า: สสส.จะมีการทำการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ว่าภาษีไม่สามารถใช้วัดหรือสะท้อนการบริโภคคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ได้หรือไม่
ดร.สุปรีดา : คำอธิบายผม ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตามหลักวิชาไม่มีใครใช้เม็ดเงินภาษีมาเป็นตัวชี้วัดว่าคนดื่มหรือสูบมากหรือน้อย หรือเพิ่มหรือลด เพราะมันใช้ไม่ได้ ใช้ได้ไม่เที่ยงตรง
ไทยพับลิก้า: แต่สามารถบอกเทรนด์ได้ใช่ไหม
ดร.สุปรีดา : ได้หยาบๆ ภายใต้ตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้น ต้องดูควบคู่ไปด้วย
ไทยพับลิก้า: ว่าตัวไหนน้ำหนักเยอะกว่ากัน
ดร.สุปรีดา : พอคร่าวๆ แต่ถ้ามันขัดแย้งกับข้อมูลที่เขาถือเป็นมาตรฐาน ก็ต้องยึดมาตรฐานเป็นหลัก
ไทยพับลิก้า: จากที่ถามข้างต้น ข้อมูลสำนักงานสถิติฯ ในแง่ความถูกต้อง
ดร.สุปรีดา :เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดแล้ว แต่การสำรวจประชากรให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ในระดับหลักหมื่นขึ้น ก็ไม่หมูเท่าไหร่ในการทำวิจัยคุณภาพ
ในการสำรวจประมาณในปี 2547-2548 ทางเราหารือว่าตามมาตรฐานสากลในการสำรวจ เขาให้การสัมภาษณ์เจ้าตัว ไม่มีตัวแทนในการตอบแทน ทาง สสส. ก็หารือสำนักงานสถิติฯ ว่าการสำรวจเหล้าบุหรี่เราอยากให้เหมือนสากล เราก็ให้เขาทำ ปีนั้นก็มีการเปลี่ยนวิธีการสำรวจ ผลก็คือตัวเลขมันสวิงหมดเลย คือตัวเลขเพิ่มขึ้นหมด อ้างอิงฐานเก่าไม่ได้ เราจึงตัดสินใจว่า ถ้าเราเปลี่ยน เราไม่มีข้อมูลอ้างอิงเก่าๆ เลย เพราะข้อมูลเก่ามันใช้วิธีการแบบเดิมๆ มาตลอด เราตัดสินใจขอถอน แล้วขอให้เขากลับไปใช้อย่างเดิมในปีถัดไป และข้อมูลในปีนั้นเราก็ไม่ใช้อ้างอิง เพราะมันคนละอย่างกัน
หลังจากนั้นไม่ได้หารือกันอีกเลย จนมาปีล่าสุด(2557) ทางสำนักงานสถิติฯ นำเสนอข้อมูลว่าจะใช้วิธีการสำรวจ กลับไปถามเจ้าตัวอีก เราก็บอกว่า อ้าว.. ไม่คุยกันเลย ซึ่งแนวโน้มตัวเลข (คนสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า) ก็จะสูงขึ้น จากที่เราเรียนรู้จากปี 2547 ขณะที่ global survey ที่ทำในระยะหลัง ซึ่งทำคู่ขนานกับสำนักงานสถิติ พบว่าตัวเลขการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อัตราจะสูงกว่าการถามตัวแทนครอบครัว
อย่างไรก็ตาม เรากำลังจะใช้ประสบการณ์ในปี 2547 มาหา adjust rate ว่าถ้าถามตรงกับคนในครอบครัว ได้ตัวเลขนี้ ถ้าเทียบกับถามตัวแทนครัวเรือนน่าจะลดลงสักเท่าไหร่ จากฐานความรู้ที่เรามี ถึงจะเทียบกันได้
ไทยพับลิก้า: จริงๆ แล้วควรจะเปลี่ยนใช้ฐานข้อมูลใหม่ตามวิธีการสำรวจใหม่ไหม
ดร.สุปรีดา : มันมีได้มีเสีย ที่ สสส. ตัดสินใจไม่เปลี่ยน ณ ปีนั้น วิธีการสำรวจตอนนั้น เพราะจะขาดข้อมูลอ้างอิงในอดีตทั้งหมด
ไทยพับลิก้า: แต่ถ้าวิธีการสำรวจใหม่ ถ้าเป็นวิธีที่ถูกต้อง แม่นยำกว่า จะดีกว่าหรือไม่
ดร.สุปรีดา : ก็มีข้อดี แต่ว่าจะเสียฐานข้อมูล 20 ปีก่อนไปเลย
ไทยพับลิก้า: แต่ถ้าใช้ฐานข้อมูลใหม่ สามารถระบุให้ชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนวิธีการสำรวจใหม่ได้หรือไม่
ดร.สุปรีดา: ก็เป็นไปได้ สิ่งที่เราเตรียมเจรจากับสำนักงานสถิติ มี 2 วิธี วิธีหนึ่งคือกลับไปใช้ฐานเดิม พอดีตอนหลังเรามีข้อมูล global survey มาใช้ประกอบ ซึ่งใช้มา 2 ปี เราไม่ค่อยห่วงตัวเลขที่เรานำมาใช้
Global survey เขามาสำรวจโดยใช้ระเบียบวิธีกลางของโลกที่เขาออกแรงสำรวจเพิ่ม แต่ยังทำไม่ได้ทำในทุกประเทศ ไทยเป็นหนึ่งใน 8 ประเทศแรกที่เริ่มนำร่องให้เขา ซึ่งเริ่มไปแล้ว และทำสำรวจครั้งที่สองแล้ว ผลสำรวจที่ออกมาเป็นแนวโน้มเดียวกับสำนักงานสถิติทำ แต่ว่าตัวเลขคนละตัว ซึ่งสูงกว่าสำนักงานสถิติ ซึ่งก็เหมือนกับตอนที่สำนักงานสถิติเปลี่ยนระเบียบวิธีสำรวจในปี 2547 ผลสำรวจก็สูงกว่าค่าปกติ
ดังนั้นก็สรุปได้ว่ามีช่องว่างนี้อยู่จริง หากเราหา adjust rate ได้ เพื่อใช้ค่า k ปรับให้อยู่ในฐานคิดเดียวกัน ก็อาจจะเริ่มเข้ามาตรฐานสากลต่อไปได้
ทพ.กฤษดา: ประเทศไทยจะมีปัญหาเรื่องข้อมูลเยอะมาก เช่น ข้อมูลตัวอย่างอุบัติเหตุ เราจะเห็นมี 2 ตัวเลข ตัวเลขหนึ่งเก็บโดยตำรวจ อีกตัวเลขเป็นงานวิจัยจากต่างประเทศ ที่บอกว่าประเทศไทยมีอุบัติเหตุอันดับสองของโลก คราวนี้เวลาเราทำเชิงนโยบาย ถามว่าพวกนี้มันจะเฉพาะกิจมาก มันจะใช้ไม่ได้ เวลาจะบอกว่าดีขึ้นหรือเลวลง ต้องเกาะตัวที่ base available แต่เรารู้ว่าตัว base available ตัวนี้ไม่ใช่ตัวเลขที่จริงทั้งหมด มันยังมีผิดพลาดบางส่วน แต่อย่างน้อยก็เทียบกับความผิดพลาดของตัวมันเอง
ไทยพับลิก้า: มีคนตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้วควรเอาตัวเลขอุบัติเหตุมาเป็นตัวชี้วัด (การดื่มแอลกอฮอล์) ด้วยไหม
ทพ.กฤษดา: อุบัติเหตุเราก็วัดด้วย
ดร.สุปรีดา: ก็มีหลายฐานข้อมูลเหมือนกัน หากจะคุยเรื่องข้อมูลต้องเข้าใจเรื่องระบบฐานข้อมูล ที่เราใช้เป็นหลักคือฐานข้อมูลตำรวจ เพราะทำต่อเนื่องมายาวนาน เป็นฐานข้อเดียวที่มีข้อมูลยาวนาน แต่ฐานข้อมูลตำรวจขึ้นอยู่กับคดี คือถ้าไม่ฟ้องร้องเรื่องไม่ถึงเขา เคสไม่ถูกนับ ส่วนสาธารณสุข หากไม่ถึงโรงพยาบาลก็ไม่ถูกนับ ดังนั้น แต่ละฐานข้อมูลมีความไม่สมบูรณ์
ไทยพับลิก้า: ถ้า สสส. ต้องการให้ข้อมูลฐานถูกต้อง จริงๆ แล้วควรเก็บข้อมูลสำรวจสัมภาษณ์คนในบ้านเจ้าตัวโดยตรง
ทพ.กฤษดา: จริงๆ เรามีสำรวจเป็นช่วงๆ ที่คอยเทียบดูในบางช่วง หากเราทำเป็นปกติเท่ากับเราไปทำงานแทนเขา (สำนักงานสถิติ)
ดร.สุปรีดา: นั่นคือธงการทำงานของเรา ดูในแผนการทำงานของเรา หนึ่งในสิ่งที่เราพยายามทำคือฐานข้อมูล แต่ว่าการทำงานของ สสส. ต้องเข้าใจว่าเราไม่ใช่ไปสร้างวิธีการสำรวจใหม่ให้ทุกคนมาใช้ ซึ่งความเป็นจริงก็จะไม่เกิด ทุกคนรักฐานข้อมูลตัวเอง และเชื่อมากกว่าอันอื่น ที่ สสส. ทำคือทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูล ต้องถือว่าตอนนี้ได้รับความสำเร็จมากขึ้น สสส. ไม่ใช่เป็นคนสร้างข้อมูลให้ทุกคนมาใช้ของเรา ซึ่งเขาจะไม่ใช้ เราจะกลายเป็นสำนักงานสถิติฯ แทนเขา
ทพ.กฤษดา: เมื่อก่อนผมดูข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ เขาจะเก็บว่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ เป็นโรคอะไรบ้าง เราเคยเข้าไปทำสำรวจเทียบ เช่น กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าการฉีดวัคซีนของคนไทย 99% ผมไปทำจริงๆ แค่ 70% เหตุผลก็คือราชการเวลาไปสำรวจ ทุกคนก็จะรายงาน 99% นี่คือความเป็นจริง ตอนนั้นคุณหมอมงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีสารณสุข เราตัดสินใจยกเลิกรายงานทั้งหมด ต่อไปนี้ให้ทุกจังหวัดสำรวจ เราไปสอนทั้ง 77 จังหวัด สุดท้ายมันไม่ยั่งยืน เพราะทุกปีมันต้องทำอย่างนี้ตลอด ก็ต้องถามว่าประเทศไทยพร้อมหรือยัง ที่ระบบพื้นฐาน การแจ้งการเกิด การแจ้งโรค จะเข้าสู่ระบบ คงต้องใช้เวลาหลาย 10 ปี
ตอนนี้รองนายกฯ และ รมช.สาธารณสุขเพิ่งให้วาระนี้มา อยากให้รื้อปรับฐานข้อมูลด้านสาธารณสุขใหม่ เราทำข้อเสนอ และต้องให้มีเจ้าภาพในการดำเนินการ เพราะถ้าหากให้ สสส. ทำ ก็จะเป็นหน่วยงานทำข้อมูลแทน ซึ่งสุดท้ายก็ไม่เชื่อเราอีก
ไทยพับลิก้า: ทำไมถึงไม่เชื่อ
ทพ.กฤษดา : ทุกคนจะเชื่อข้อมูลตัวเอง เขาจะรู้สึกว่าข้อมูลเขาโอเคแล้ว ก็จะเถียงไม่จบ
ไทยพับลิก้า: ขอกลับมาที่บทบาทของ สสส. ดูเหมือนกิจกรรมเบี้ยหัวแตก ในฐานะที่ตัวเองเสียภาษี ดูจะใช้เงินไม่ตรงวัตถุประสงค์ ที่พบเจอด้วยตัวเอง เช่น ให้การสนับสนุนโครงการพลังงานทางเลือกจัดอีเวนต์ หรือกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะ ก็อยากตั้งคำถามว่า เป็นเพราะ สสส. มีเงินเยอะหรือไม่ หาก สสส. โปร่งใสจริงๆ ต้องเปิดข้อมูลให้ชัดเจนว่างบปีหนึ่งใช้ทำอะไรบ้าง ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ให้แก่หน่วยงานต่างๆ เยอะมาก มีประโยชน์ต่อส่วนรวมแค่ไหน
ทพ.กฤษดา: ผมขอเล่าภาพใหญ่ของ สสส. ที่เห็นกิจกรรม สสส. เยอะแยะ พวกนี้จะเป็นงบประมาณ 7% ของงบทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นแผนงานเปิดรับทั่วไป แผนนี้มีวัตถุประสงค์ใหญ่ คือว่า สสส. เงินทั้งหมด 93% เราจะไปทำเรื่องใหญ่หมดเลย เราไม่ทำเรื่องเล็ก และเน้นในชนบท แต่ว่าบอร์ดมีความคิดว่าการทำสร้างเสริมสุขภาพ จะไปทำแต่กับพาร์ทเนอร์ใหญ่ๆ ไม่ได้ ต้องเปิดให้รายเล็กรายน้อยด้วย ก็เป็นเหตุผลให้มีโครงการเล็กโครงการน้อย ปีหนึ่งประมาณ 2,000 โครงการ โดยมีโครงการจิ๋วๆ โครงการละประมาณหลักแสนบาท ในช่วงหลังๆ เราลดขนาดลง บอร์ดบอกว่าอยากให้มากขึ้น ก็ต้องลดวงเงินจากหลักแสน เหลือหลักหมื่น ก็มีโครงการระดับ 5 หมื่นบาท
ไทยพับลิก้า: มีการกล่าวว่า สสส. ทำเหมือนประชานิยม แจกๆๆ
ทพ.กฤษดา: สสส. เวลาที่เราทำงาน กรรมการกองทุนบอกว่าเราโฟกัสที่ปัจจัยเสี่ยง คือ เราทำเรื่องเหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุ เพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย และปัจจัยเสริม คือ ออกกำลังและอาหาร นี่คือเรื่องหลักที่เราทำ 4 อันนี้ ครอบคลุมงบประมาณเราประมาณ 40% ในก้อนนี้จะเน้นการทำงานในเชิงระบบ เช่น ทำอย่างไรจะปรับฐานข้อมูล จะทำอย่างไรให้เกิดมาตรการ เกิดอะไรที่จะไปเปลี่ยน เกิดอะไรที่จะเกิดทำให้มีผลกระทบขึ้นมา
แต่ว่าถ้าทำเฉพาะตรงนี้มันจะไม่มีฐาน (ในการขับเคลื่อน) บอร์ดก็บอกว่าต้องไปทำกับองค์กรด้วย เช่น เราไปทำโครงการแฮปปี้เวิร์คเพลส คือเราไปชวนสถานประกอบการเอกชนที่มีหลายแสนแห่งทั่วประเทศ ตอนนี้เราชวนมาได้ประมาณ 2 หมื่นแห่ง กลุ่มพวกนี้เราไม่ได้ให้เงินเขาไปทำงาน แต่เราจัดกระบวนการเรียนรู้และขายคอนเซปต์ สมัยก่อนกระทรวงสาธารณสุข ไปเอาคอนเซปต์เฮลตี้เวิร์คเพลส โดยตั้งเกณฑ์ว่ามีอะไรบ้าง ผลก็คือพยาบาลในสถานประกอบการเป็นคนทำ แต่ตอนนี้เราทำแฮปปี้เวิร์คเพลส เราไปขายคอนเซปต์ใหม่ บอกว่าถ้าคุณอยากมีโพรดักติวิตี้ อยากแข่งขันได้คุณต้องดูแลคน โดยดูแล 8 ประการ ทั้งสุขภาพกาย ใจ สังคม ครอบครัว เงิน ฯ ลฯ เพราะเราพบว่าคนงาน 80% เป็นหนี้
ด้วยตัวคอนเซปต์นี้เราก็เข้าไปทำงานกับเขา ให้เขาทำงานสุขภาวะทุกมิติ แต่เราไม่ได้เอาเงินไปให้เขา ส่วนใหญ่เราทำเรื่องวิจัย ทำให้เกิดเวที โดยบริษัทมาเข้าร่วม จากนั้นเราไปทำกับโรงเรียน วัด หน่วยงานรัฐ และลงไปทำงานกับพื้นที่ โดยเฉพาะ อบต. ประมาณ 2,000-7,000 แห่ง เราบอกว่าท้องถิ่นมีหน้าที่ดูแลสุขภาพคนตั้งแต่เกิดจนตาย ดูและเด็กให้มีอาหารกิน ให้เติบโต มีพัฒนาการ ดูแลให้ห่างจากบุหรี่ เหล้า เราจะไปทำแบบนี้ โดยการป้อนเงินลงไปให้เขาจัดการเรียนรู้ แล้วก็หมุนไป ตรงนี้ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เพราะครอบคลุมประชากรใหญ่มาก ประมาณ 10 ล้านคน
เพราะฉะนั้น เวลาเราลงไป เราทำสองขา เราไม่ได้เอาเรื่องเหล้า บุหรี่ ลงไปตรงๆ แต่เป็นโครงการแนวตั้ง ทำไมท้องถิ่นสนใจ เราพบว่าท้องถิ่นที่ทำงานกับเรา หลายคนเป็นนายกฯ มา 4 สมัย เพราะชาวบ้านรักเขามาก เขาไปดูแลคนพิการ ไปดูแลผู้สูงอายุ ไปส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน
ส่วนที่เหลือคือระบบข้อมูล นี่คือก้อนใหญ่ของเราที่ใช้เงิน
ผมกลับมาที่เวลาไปดูแลเชิงระบบแต่ละเรื่อง เรื่องเหล้า บุหรี่ เราทำงานอย่างไร ขอยกตัวอย่างเรื่องอุบัติเหตุ หากจะทำงานอะไร เราต้องเชื่อมให้ดูก่อนว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง เราพบว่าหากจะลดอุบัติเหตุ กระทรวงสาธารณสุข ตำรวจ คมนาคมดูเรื่องเส้นทาง กระทรวงยุติธรรมที่บอกว่าเมาแล้วขับต้องจับเข้าคุก ไม่ใช่แค่ปรับ กระทรวงศึกษาต้องเปลี่ยนทัศนคติ เราต้องเห็นหน้ากระดานนี้ทั้งหมด
เราเริ่มจากการวิเคราะห์ว่า แต่ละหน่วยงานมีช่องว่างในเรื่องความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างที่ต้องเข้าไป และเราวิเคราะห์ strategic partner เช่น ตำรวจ เราใช้เวลานานมากกว่าเขาจะรับโจทย์นี้เข้าไป แรกๆ ตำรวจเขาบอกว่าตำรวจไม่มีหน้าที่มาจับคนเมา ตำรวจมีหน้าที่จับอาชญากรรม ก็ต้องไปโน้มน้าวว่า คนตายจากบนท้องถนนเยอะกว่าคนที่ถูกอาชญากรรม เราต้องเอาตำรวจคุณภาพดี ต้องเจาะเอาให้ได้ เอาไปดูงานในต่างประเทศ อย่างออสเตรเลียเขาทำอย่างนี้ ทำไม่คุณไม่ทำ เราต้องโน้มน้าวเขาจนถึงจุดหนึ่งที่เขาอยากทำ เราก็ชวนเขาทำโปรเจกต์ ตำรวจมาทำระบบข้อมูล มาตรวจจับ มาตั้งด่าน เราเริ่มป้อนเงินเข้าไป พอเขาเริ่มทำได้ เขาก็เริ่มตั้งงบของเขาเอง นี่คือวงจรของเราที่เราต้องทำแบบนี้กับทุกหน่วย ทำกับกระทรวงคมนาคม ตำรวจ ท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ศาล เราก็ไปขับเคลื่อนภาคีต่างๆ เราก็ไปร้อยเป็นภาพใหญ่ ทำให้ทั้งหมดเขาประสานกัน
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของ สสส. เราเหมือนน้ำมันเครื่อง ขายไอเดีย ไปกระตุ้นคนที่ควรทำให้เขาทำ ป้อนเงินให้เขาขยับ พอเขาขยับแล้วก็ต้องใช้งบของเขา
ดังนั้น แต่ละแผนของเราใช้เงินประมาณ 200-300 ล้านบาท เพื่อไปหมุนภาคีเครือข่าย ก็มีคนถามว่าทำไมเป็นภาคีหน้าเดิม นี่คือ ยังไงเราก็ต้องทำงานกับตำรวจ เราทิ้งเขาไม่ได้ ต้องทำงานกับศาล ต้องทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีคำถามว่าทำไมหน้าซ้ำ มันต้องซ้ำ เพื่อยกระดับเขาขึ้นมา
ทั้งหมดที่ใช้เงินหลักคือประมาณนี้ ส่วนที่เหลือ 7% ถึงเป็นโครงการเล็กโครงการน้อย
หลังจากที่เราไปทำโครงการแฮปปี้เวิร์คเพลสจนสำเร็จ ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาทำโปรแกรมเราหมดแล้ว เราก็เริ่มมองต่อว่า ต้องมี next step เราอยากยกระดับ CSR ขึ้นมาเป็น sustainable เรารู้ว่าเทรนด์ทั่วโลกตอนนี้บริษัทกำลังก้าวไปสู่การที่ถ้าเขาจะดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลทุกมิติ เขาคิดว่าเขาจะเติบโตอย่างยั่งยืนยังไง เรากำลังเริ่มตั้งประเด็นนี้แล้ว ตอนนี้ทางเราติดต่อไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศก็สนใจมากเลย และตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็บอกว่าจะตั้งเป็น SD award/Sustainable award ขณะที่ ก.ล.ต. ก็จะไปตั้งเกณฑ์ ก็ไปดึงคุณสฤณี (อาชวานันทกุล) มาทำด้านวิชาการ เพื่อทำความรู้เรื่องความยั่งยืน เพื่อจะไปขาย โดยหวังว่าอนาคตบริษัทใหญ่ๆ ซื้อไอเดีย ทุกคนจะดูแลคนงาน ไม่ไปกดขี่เรื่องค้ามนุษย์ ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายก็คือองค์รวม นี่คือเป้าของเราในการทำ
ไทยพับลิก้า: แต่เรื่อง CSR หรือเรื่องความยั่งยืน ภาคเอกชนเขาทำอยู่แล้ว ทางตลาดหลักทรัพย์ก็มี CSRI ทำไม สสส. ต้องไปทำเรื่องเหล่านี้
ทพ.กฤษดา: ผมเล่านิดหนึ่ง CSR นี่ สสส. เป็นคนจุดประเด็นนี้ขึ้นมาในสังคมเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว ตอนนั้นไม่มีคนทำ CSR สมัยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ทำอย่างไรให้เอกชนทำ CSR คุยจนตลาดหลักทรัพย์ตั้ง CSRI ขึ้นมา
ไทยพับลิก้า: เท่าที่ทราบน่าจะก่อนกว่านั้น คือ SVN เป็นคนริเริ่มเรื่องนี้ในเมืองไทย โดยอาจารย์ ส.ศิวรักษ์
ทพ.กฤษดา: ใช่ SVN ก็เป็นเครื่อข่ายที่ทำงานกับเรา ถูกครับเขาทำมาก่อน เพียงแต่เราเห็นกระแส เราก็พยายามจุดให้เป็นภาพใหญ่ จนสมัยนั้นก็ไปตั้งศูนย์ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และมันก็หมุนและเราก็พยายามเปลี่ยนคอนเซปต์ CSR ว่า ไม่ได้แค่แจกผ้าห่มนะ
ไทยพับลิก้า: การทำเรื่อง CSR เป็นหน้าที่/บทบาทของ สสส. หรือเปล่าที่ต้องมาขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้ เพราะจริงๆ sustainability ทุกองค์กรต้องทำอยู่แล้ว เพราะมันถูกมาตรฐานโลกบังคับอยู่ที่ต้องทำหากจะค้าขายกับเขา เช่นเดียวกับกรณีที่ สสส. ต้องมาทำหน้าที่เป็นคนประสานกับหน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยใช้เงินปีละ 200-300 ล้านบาท เช่น มาทำเรื่องเมาไม่ขับ ทั้งที่แต่ละองค์กรมีหน้าที่อยู่แล้ว ทำไมต้อง สสส. มาผลักดันให้คุณทำ เป็นการแก้ผิดจุดหรือไม่
ดร.สุปรีดา: แล้วถ้าถูกจุดต้องทำอย่างไรก่อน
ไทยพับลิก้า: แต่ละองค์กรมีบทบาท มีความรับผิดชอบของตัวเองอยู่แล้ว
ดร.สุปรีดา: ถ้าเขาไม่มี หรือทำในแนวดิ่งไม่มีแนวร่วม
ไทยพับลิก้า: อยู่ที่ผู้นำขององค์กรนั้นๆ อยู่ที่จิตสำนึกของผู้นำ ดังนั้น หาก สสส. ใช้เงินไปผลักดันขนาดนี้ เป็นต้นทุนมหาศาล
ทพ.กฤษดา: ผมแชร์นิดหนึ่ง ปีที่แล้ว ผมไปร่วมกับ WHO กลุ่มเวสต์แปซิฟิก พวกนี้เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีฐานะ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ขณะที่ไทยเป็นฝั่งที่ยากจน เราอยู่กับพม่า อินเดีย ผมเห็นสองโลกที่ต่างกันมากเลย โลกฝั่งโน้นเขาบอกว่าของเขาไม่ต้องทำอะไรเลย ทุกหน่วยงานดีหมด สิงคโปร์บอกว่ารัฐบาลของมีประสิทธิภาพ เขาไม่ต้องทำเลย นั่นคือประเทศใหญ่ที่เจริญแล้วเขาไม่ต้องทำอะไร วันหนึ่งเราจะไปถึงจุดนั้น
พอหันมาดูอีกฝั่งหนึ่ง มีปัญหาไปหมด แต่ละภาคส่วนที่ควรจะทำได้ก็ทำไม่ได้ คราวนี้พอได้เห็นก็คิดกันในเชิงกลไกในการเข้ามาประสาน สสส. อาจจะเป็นหนึ่งในนั้น และเราคงไม่มีความสามารถในการเข้าไปทำอะไรเยอะแยะ
อย่างเรื่องความยั่งยืนเราก็ฝัน เราคงไม่มีแรงมากมาย เราก็มีคนฝันด้วยกัน แต่เราไม่ได้ใช้ทรัพยากรเยอะ
ไทยพับลิก้า: กว่า 10 ปี สสส. มีการทบทวนบทบาทตัวเองไหมว่าต้องทำอะไร อย่างไร
ทพ.สุปรีดา : จริงๆ เราเพิ่งรีวิวไปเมื่อครบ 10 ปี ตอนนั้นคณะกรรมการประเมินผลอยากให้มีรีวิว ให้คนนอกมาประเมิน เขามีกลุ่มนักวิจัยเข้ามาจากธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก ร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้ามาดู เขามีข้อเสนอเยอะ ส่วนหนึ่งเรากำลังปรับทิศทางที่เขาบอกว่าเราต้องโฟกัสมากขึ้น
10 ปีที่แล้วเราอาจจะทำหลายเรื่องมาก แต่หลังๆ บทบาทหลักจะลงไปที่ตัวปัจจัยเสี่ยงหลัก หรือถ้าลงพื้นที่ลงเซตติ้ง เราจะมีกรอบชัด เราจะไม่พยายามทำเหมือนเมื่อก่อน เราต้องเรียนรู้มากขึ้น
และเขาแนะนำอีกว่า สิ่งที่ สสส. ต้องทำเพิ่มขึ้น เนื่องจาก สสส. มีองค์ความรู้เยอะ เราไปทำงานกับชุมชน เราต้องหาวิธีการในการจัดการความรู้เหล่านี้ และ สสส. ต้องเปลี่ยนจากการให้ทุนเป็นการให้องค์ความรู้ ให้พาร์ทเนอร์ชิป จึงเป็นนโยบายบอร์ดว่า สสส. ต้องสร้างพาร์ทเนอร์ใหม่ที่ไม่ใช่เรื่องเงิน
อย่างที่บอกว่าเราได้เงินมาหลายพันล้านบาทก็ยังไม่ค่อยพอนะ เพราะแต่ละเรื่อง เราไปสนับสนุนการสำรวจเรื่องหนึ่งก็หนักหนาสาหัส เราก็พยายามทบทวนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม บอร์ด สสส. ได้ตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาล ก็บอกว่า สสส. จะอยู่ข้างในอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเปิดให้คนนอกเข้ามาช่วยดู คอนเมนต์เรา เขาเลยเชิญคนนอกมาจำนวนหนึ่งเพื่อคอมเมนต์เรา ก็พยายามฟังให้มากที่สุด
“สสส. ระวัง หลายคนอาจจะรู้ว่าเราเงินเยอะ คนจะมองเราว่า เราหยิ่งไหม เราเงินเยอะก็เลยหยิ่ง เราจึงระวังมาก”
“สสส. มีปัญหาหนึ่งคือคนมีคนคาดหวังจากเราเยอะ พอเราส่งโครงการ พอไม่ได้ เขาก็ไม่พอใจเรา เราโดนแบบนี้บ่อยครั้งมาก เราก็จัดการลำบาก เราบอกว่าอนาคตเราไม่ให้เงิน มาทำงานด้วยกันดีกว่า เราพยายามเปลี่ยนบทบาท granting agency มันปวดหัวจริงๆ ”
ไทยพับลิก้า: จริงๆ แล้ว บทบาทสสส. ต้องให้ทุนไหม
ทพ.กฤษดา :กฎหมายไม่ได้บอกว่าต้องให้ทุน
ไทยพับลิก้า: ที่ผ่านมาเคยวัดผลสิ่งที่ทำไปแต่ละเรื่องไหม
ทพ.กฤษดา : เรามีทั้งหมด 15 แผนงาน แต่ละแผนงานต้องถูกประเมินผล ทุก 3 ปีในเชิงภาพรวมของแผนงาน และเราจะทบทวนตลอด
ไทยพับลิก้า: ประเมินในเชิงคุณภาพหรือปริมาณ
ทพ.กฤษดา : คุณภาพ เขาไม่ได้ดูแค่ผลสุดท้าย เขาต้องว่ากระบวนการเป็นอย่างไร มีการปรับปรุงด้วย และล่าสุดคณะกรรมการประเมินบอกว่า จะให้มีการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ เราได้ทีมจากทีดีอาร์ไอและจุฬาฯ มาทดลองทำนำร่อง ไป 10 กว่าเรื่อง ทำเป็นมูลค่าว่ากี่เท่าๆ บางอันก็ดีมาก เช่น บางโครงการดีมากเลย อุบัติเหตุ รีเทิร์นดีมาก 130 เท่า แต่กลุ่มผู้สูงอายุรีเทิร์นน้อยหน่อย แต่บอร์ดบอกว่าน้อยก็ต้องลงทุน
“ช่วงหลังบอร์ดมีนโยบายให้ดูแลกลุ่มด้อยโอกาส คนพิการ คนไร้สัญชาติ พอดูเรื่องสุขภาพ เราเริ่มมาทำเรื่องพวกนี้มากขึ้น”
ส่วนข้อมูล สสส. เป็นอย่างไร คณะกรรมการธรรมาภิบาลให้นโยบายเรื่องนี้ เรากำลังทำข้อมูล สสส. ทั้งหมดออกมา จริงๆ เมื่อก่อนโครงการทั้งหมดเราขึ้นเว็บหมด แต่ปัญหามันเยอะมาก มันดูไม่รู้เรื่อง บอร์ดบอกว่าให้จัดกลุ่ม เรื่องเหล้าทำอะไรบ้าง จะได้เห็นในปีนี้ เราอยากให้เป็นต้นแบบ เราเชื่อในความโปร่งใสมากๆ
“ก็พยายามเต็มที่แล้วล่ะ แต่ก็อาจจะไม่ทันใจ”
ไทยพับลิก้า: ไม่ใช่ไม่ทันใจ แต่บางเรื่องมันต้องเปิดเผยข้อมูลมากกว่านี้ ในเมื่อ สสส. ใช้เงินภาษี น่าจะเป็นตัวอย่างในการเปิดเผยข้อมูล
ทพ.กฤษดา: เรากำลังเริ่ม สมัยก่อนเรานึกว่าเราเอาโครงการขึ้นเว็บแล้วก็หมดหน้าที่แล้ว แต่คนบอกว่าดูไม่รู้เรื่อง
ไทยพับลิก้า: มีแต่โครงการที่ทำกิจกรรม หรืองบที่ให้ทำวิจัย ทำไมให้ซ้ำ เพราะอะไร
ดร.สุปรีดา: สสส. ต้องมีธง คือต้องทำงานนี้ให้สำเร็จ อันไหนต้องทำให้ลดลง หากเปลี่ยนคนทำทุกปีงานล้มเหลวแน่ ต้องมีพลัง หนุนนักวิชาการกว่าจะจับเรื่องนั้นอยู่ กว่าจะให้ข้อมูลวิชาการที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องเกาะติดเป็น 10 ปี นี่คือความจำเป็นที่ต้องซ้ำ เพื่อให้เกิดตัวจริงในงานขับเคลื่อน
คนอาจจะคิดว่ากองทุน สสส. ทำไม่แจกให้หลากหลาย แจกให้ทั่ว หากทำอย่างนั้นก็ไม่ต้องหวังผลงาน
ทพ.กฤษดา : เราถึงบอกว่ากันงบไว้ 7% เพื่อตอบสนองคนตัวเล็กตัวน้อยที่อยากทำอะไรดีๆ ให้พึงได้ทำ นี่ก็เงินของประชาชน
กระบวนการตัดสินใจทั้งหมด เป็นกระบวนการที่เปิดมากในการให้ทุน ต้องมีผู้กลั่นกรองโครงการ ต้องมีรีวิวทบทวนโครงการ มีผู้เชี่ยวชาญ
ไทยพับลิก้า: สสส. ใช้เงินไปหลายหมื่นล้านบาทตั้งแต่ดำเนินการมา แล้ววัดผลออกมาได้ไหม มีคำถามว่าจริงๆ คนเข้าใจเรื่องสุขภาวะมากขึ้นเพราะการสื่อสารที่ถึงกันง่ายขึ้นจากเทคโนโลยี หาข้อมูลเองได้ เพราะทุกคนรักสุขภาพตัวเอง เรียนรู้เองได้ อย่างนี้สามารถอ้างว่าเป็นงาน สสส. ได้ไหม
ดร.สุปรีดา: เป็นส่วนเล็กๆ เราอาจจะสื่อสารผลงานตัวเองไม่เก่ง คนรู้จัก สสส. จากทีวี เรายังไม่เก่งที่จะเล่าว่าทำงานที่ซับซ้อนพอประมาณยังไง ต้องหาทางสื่อสารความจริงให้คนรู้จักมากขึ้น
ไทยพับลิก้า: ถ้าจะทำเป็นตัวอย่างธรรมาภิบาล คุณพร้อมให้ตรวจสอบอย่างสง่าผ่าเผยอยู่แล้วใช่ไหม
ทพ.กฤษดา: ตัวอย่างงบสื่อสาร เราใช้ปีละ 250 ล้านบาท เป็นแผนใหญ่ และมีอีกส่วนที่เป็นกิจกรรม ถ้าลองไปเทียบงบประมาณหน่วยราชการด้วยกันของสำนักนายกรัฐมนตรี ปีหนึ่ง 1,300 ล้านบาท ซึ่งงบสื่อสาร สสส. ยังน้อยกว่าหลายกระทรวง
ไทยพับลิก้า: สสส. ได้งบประมาณเยอะกว่าบางกรมด้วยซ้ำไป 4,000 ล้านบาท บางกรมยังได้ไม่ถึงเลย
ทพ.กฤษดา: งบของกรม เป็นเงินเดือน 60-70 % แต่ของ สสส. 95% ลงไปที่โครงการทั้งหมด
ดร.สุปรีดา: จริงๆ ไม่ได้บ่นว่าเงินน้อย บ่นว่าจริงๆ เรื่องงบลงทุน ที่คนชอบคิดว่าใช้เป็นพันๆ ล้านในการสื่อสาร จริงแล้ว สสส. จ่ายเพื่อการสื่อสาร 250 ล้านบาท เราใช้แค่เสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับสำนักนายกฯ รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ คนชอบคิดว่าเราใช้เงินประชาสัมพันธ์เยอะ
ไทยพับลิก้า: แต่งบประชาสัมพันธ์ 250 ล้านบาทก็เยอะมาก
ทพ.กฤษดา: เทียบงบโฆษณาของเรา กับงบโฆษณาเหล้า เราขี้ประติ๋ว และเรารู้ว่าเราสู้เขาไม่ได้
ไทยพับลิก้า: แล้วทำไมต้องไปสู้กับเขา
ทพ.กฤษดา : เราไม่ได้สู้ เราใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อน เพราะถ้าไม่มีเลยก็อยากในการขยับ
ไทยพับลิก้า: จริงๆ สสส. ควรทำเรื่องเหล้า บุหรี่ มันขัดกันไหม เพราะเงิน สสส. ได้จากภาษีเหล้า บุหรี่
ทพ.กฤษดา: เป็นบทบาทของเราต้องลดให้ได้ จริงๆ ไม่ขัดแย้งนะครับ
ดร.สุปรีดา: จะบอกว่าเรากลัวรายได้ลด เราจึงหย่อนมือหรือเปล่า ที่จริงอย่างที่บอกว่าตัวเลขภาษีปกติ ด้วยราคาต้นทุนของผู้ผลิตมีแนวโน้มให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ไม่มีอะไรน่าพะวงขนาดนั้น เราประกาศบ่อยๆ ว่า ถ้าเราทำให้ได้ผลจนต้องปิดกองทุน สสส. เราจะฉลองความสำเร็จ และ สสส. ไม่มีคนเดือดร้อนมาก คนตกงานจริง 100 กว่าคน เพราะเล็กอยู่แล้ว
ไทยพับลิก้า: ถ้าต้องปิดกองทุน สสส. บริษัทเหล้าเบียร์คงเจ๊งไปแล้ว
ทพ.กฤษดา: แต่ที่แน่ๆ บริษัทเหล้าเบียร์ไม่ชอบเรามาก ทำให้เขาลำบาก
ไทยพับลิก้า: ถ้าลำบาก ยอดขายเขาคงไม่เพิ่มขึ้นทุกปี
ดร.สุปรีดา: ก็ยังไม่ลำบาก แต่เขารู้สึกเดือดร้อน ปัจจุบันคนไทยยังสูบ 9 ล้านคนเศษ แม้ว่าอัตราจะลดลง แต่ประชากรที่เพิ่มทำให้ยอดคนสูบไม่ได้ลดลง ธุรกิจไม่ได้ล่มจม
ทพ.กฤษดา: บริษัทบุหรี่เดือดร้อนมาก ก็มีการต่อสู้กันอยู่
อย่างไรก็ตามตอนที่ สสส. รายงานสภาทุกปี เราจะได้รับคำถามว่าจาก ส.ส. ว่าทำไม สสส. ไม่ทำเรื่องนั้น เรื่องนี้ เราก็ต้องกลับมาที่จุดตั้งต้นหลักของเรา เราพยายามแสดงผล วัดผล ในส่วนนี้ยังเผยแพร่น้อย และถ้าเห็นว่าตรงไหนมีข้อผิดพลาด สสส. ก็ต้องรับฟัง ว่าภายใต้ข้อจำกัดเราทำอะไรได้บ้าง
เราเชื่อว่าเราเป็นองค์กรหนึ่งที่ตั้งใจทำม