ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > 11 เดือนรัฐบาลประยุทธ์ อนุมัติงบกลาง-งบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน 4.3 แสนล้าน

11 เดือนรัฐบาลประยุทธ์ อนุมัติงบกลาง-งบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน 4.3 แสนล้าน

25 สิงหาคม 2015


เป็นเวลา 11 เดือนแล้วที่รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลประสบปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนไม่ตามเป้าหมาย จึงมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้มีการเรียกงบดังกล่าวคืนประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มผันลงสู่ภาคการเกษตร พร้อมกับเร่งเบิกจ่ายงบลงทุน ในขณะเดียวกันก็ได้อัดฉีดเงินจากงบกลางและงบสำรองจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็นด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน

สำหรับปีงบประมาณ 2558 มีงบกลางที่รัฐบาลชุดนี้จัดสรรไว้ จำนวน 375,708.09 ล้านบาท และในงบกลางก้อนนี้ มีวงเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็นอยู่จำนวน 88,823.6 ล้านบาท

งบกลางปี 2558

จากการรวบรวมพบว่างบประมาณที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ได้รับการอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 391,942.58 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบกลางในส่วนของวงเงินสำรองจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็นถูกนำมาใช้ในรัฐบาลชุดนี้จำนวน 31,728.93 ล้านบาท จำนวน 49 โครงการ (โดยมาจากเงินเหลื่อมปีจากงบกลางปี 2557 จำนวน 9,194.24 ล้านบาท(ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม) และงบกลางจากปี 2558 จำนวน 22,534.69 ล้านบาท (ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม)) ดังนั้นรัฐชุดนี้ได้ใช้เงินในส่วนรายจ่ายเบ็ดเตล็ดและเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเบื้องต้นไปแล้ว 423,671.51 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ทั้งหมด

สำหรับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน วงเงิน 391,942.58 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(ใหม่)

1) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ได้แก่ ช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ รวม 45,000.00 ล้านบาท ช่วยเหลือชาวสวนยาง ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ รวม 7,704.27 ล้านบาท ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2557/2558 (รัฐชดเชยดอกเบี้ย) ออมสินรับรีไฟแนนซ์ ประชาชนทั่วไป รายละ 5000,0000 บาท ธ.ก.ส. รับรีไฟแนนซ์ เกษตรกร รายละ 100,000 บาท ธอส. ปล่อยสินเชื่อชำระหนี้ที่อยู่อาศัย แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ (มาตรการเร่งด่วน) 977.75 ล้านบาท แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ (มาตรการเร่งด่วน) 5,938.25 1.9 ล้านบาท

จ่ายเงินเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต ปี 2556/2557 16,856.52 ล้านบาท โครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวนาปี 2557/2558 2,796.07 ล้านบาท ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ปลูกมันสำปะหลังตามมาตรการระยะสั้นและระยะปานกลาง 2,775.00 ล้านบาท โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ห่างไกล 1,215.00 1.13 ล้านบาท ให้องค์การส่วนยางกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อรับซื้อยาง และดำเนินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน (คลังค้ำประกัน) 18,000.00 ล้านบาท

โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร (รัฐชดเชยดอกเบี้ย) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 400 บาท/ราย/เดือน 3,590.79 ล้านบาท (คำนวณจากจำนวนเด็กแรกเกิดปี 2556) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญ 9,000.00 ล้านบาท โครงการประกันภัยข้าวนาปี 2558 จำนวน 476.48 ล้านบาท อุดหนุนรถเมล์ รถไฟฟรี 1,123.00 ล้านบาท พักชำระหนี้เกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รัฐชดเชยดอกเบี้ย) 97.26 ล้านบาท พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (รัฐชดเชยดอกเบี้ย) 2,684.71 ล้านบาท ดึงงบจังหวัดจ้างงานเกษตรกร จังหวัดละ 10 ล้าน รวม 760.00 ล้านบาท หาที่อยู่อาศัยให้คนไร้บ้าน 4 ล้านครัวเรือน

2) มาตรการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ได้แก่ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2557/2558 1,342.36 ล้านบาท กรมชลประทานจ้างงานเกษตรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558/2559 จำนวน 957.00 ล้านบาท เพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท รวม 26,456 กองทุน รวม 26,456.00 ล้านบาท โครงการเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. การทำแผนฟื้นฟูกองทุนหมู่บ้านที่มีปัญหาด้านการบริหารงาน

3) มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือ SMEs ขนาดกลาง/ขนาดย่อม ได้แก่ โครงการ Policy Loan (งบดำเนินการ) 875.00 ล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) (งบดำเนินการ) 3,225.00 ล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5 (รัฐชดเชยค่าธรรมเนียม) 105,000.00 ล้านบาท และจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ระหว่างภาครัฐและเอกชน (รัฐร่วมลงทุนร้อยละ 10-50)

4) มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างอันตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ระยะที่ 1) มาตรการภาษีส่งเสริมการตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ และการตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศ มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สนับสนุนทุนวิจัย มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI และสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเทียวในประเทศ และขยายเวลาเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ปรับเกณฑ์เสียภาษีสรรพสามิต ECO car เครื่องยนต์ดีเซล

5) มาตรการอื่นๆ ได้แก่ มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย Nano Finance การตั้งนิติบุคคลร่วมทุนภายใน 31 ธันวาคม 2559 โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน จำนวน 78,295.58 ล้านบาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกข้าวนาปรัง ปี 2558 จำนวน 38,796.54 ล้านบาท ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงิน (Straight loan) จาก ธ.ก.ส. หรือธนาคารพาณิชย์ (รัฐชดเชยดอกเบี้ย) ให้องค์การส่วนยางกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อรับซื้อยาง และดำเนินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน (คลังค้ำประกัน) จำนวน 18,000.00 ล้านบาท