ThaiPublica > เกาะกระแส > เกาะกระแสเศรษฐกิจ > ผู้ว่า ธปท. วิเคราะห์ผลกระทบวิกฤติการเงินโลก นวัตกรรมการเงินถูกบิดเบือน-องค์กรกำกับอ่อนแอ แนะแนวป้องกันต้องทำเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง

ผู้ว่า ธปท. วิเคราะห์ผลกระทบวิกฤติการเงินโลก นวัตกรรมการเงินถูกบิดเบือน-องค์กรกำกับอ่อนแอ แนะแนวป้องกันต้องทำเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง

2 พฤศจิกายน 2014


เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ในงาน The 14th International Convention of the East Asian Economic Association (EAEA) จัดโดยคณะเศรษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ในงาน The 14th International Convention of the East Asian Economic Association (EAEA) จัดโดยคณะเศรษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ในงาน The 14th International Convention of the East Asian Economic Association (EAEA) จัดโดยคณะเศรษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ว่าวิกฤติการเงินโลกในรอบที่ผ่านมา (2550-2551) ได้ทิ้งผลกระทบและสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ของเศรษฐกิจโลกหลายประการ รวมไปถึงผลกระทบด้านลบที่เป็นไปได้หลายประการ ตัวอย่างเช่น 1) นวัตกรรมการเงินซึ่งบิดเบือนความเสี่ยงของภาคการเงิน และแพร่กระจายไปยังเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก 2) บทบาทที่เพิ่มขึ้นของสถาบันที่มิใช่ธนาคารและธนาคารเงา ซึ่งมีการกำกับดูแลอย่างอ่อนแอ และมักดำเนินกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง แม้จะส่งเสริมการแข่งขันในภาคการเงินก็ตาม 3) มีความเชื่อมโยงของระบบการเงินที่มากขึ้น ทำให้การเติบโตหรือวิกฤติสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีส่วนต่อการเกิดวิกฤติ รวมไปถึงการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะที่ผ่านมา

ดร.ประสารกล่าวอีกว่า สำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ 3 ประการ คือ 1) มีเงินทุนและสภาพคล่องไหลเข้ามาจำนวนมาก สร้างความผันผวนแก่ระบบ และความต้องการสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ 2) มีการกำกับดูแลธนาคารที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินการที่สูง และ 3) ภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง เนื่องจากอุปสงค์ในโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ ประเทศเกิดใหม่ยังต้องเผชิญกับทางเลือกเชิงนโยบาย ที่จะเลือกระหว่างการรักษาการเติบโตของประเทศ หรือการป้องกันผลกระทบจากต่างประเทศ ส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือใหม่ๆ นอกจากดอกเบี้ยนโยบาย เช่น การดำเนินนโยบานมหภาคอย่างเป็นระบบ (macro-prudential policies), เพิ่มความหยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยนรองรับเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อรับมือกับวิกฤติต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศใหม่ต่างๆ ยังสามารถรับมือกับวิกฤติได้ค่อนข้างดี แต่มีความท้าทายใหม่ในอนาคตอยู่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักที่ไม่เท่ากัน รวมไปถึงการกำหนดนโยบายที่ต่างกัน แต่เราสามารถอาศัยการสื่อสารที่ชัดเจนของประเทศเหล่านี้ในการเตรียมรับมือกับนโยบายต่างๆ ได้

ดร.ประสารกล่าวอีกว่า สำหรับอนาคต ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจตนเอง เปรียบเสมือน “แนวหน้า” ของการป้องกัน (first line of defense) เพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและนโยบายมหภาคที่มีความน่าเชื่อถือ

นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องมีการปฏิรูปผ่านการกำกับดูแลที่เหมาะสม รวมถึงการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพของนโยบาย, ทำลายข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในเชิงนโยบายและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะส่วนการผลิต และเพิ่มความสามารถในการรับมือผลกระทบต่างๆ

อีกด้านหนึ่ง ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับภูมิภาคต่างๆ เพื่อ 1) เรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน 2) เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบต่างๆ ได้ดีขึ้น ผ่านการกำกับดูแลซึ่งกันและกัน 3) เพื่อให้การแก้ปัญหามีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างกลไกมารองรับ เช่น สร้างสภาพคล่องผ่านธนาคารเพื่อความร่วมมือต่างๆ

ดร.ประสารยังได้กล่าวถึงการกำกับสถาบันการเงินของรัฐว่า จะดำเนินการเป็น 2 ขั้น โดยขั้นแรกจะอาศัยพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเบื้องต้นไว้แล้ว และคาดว่าจะดำเนินเสร็จในปีนี้ ขณะที่ขั้นถัดไปจะค่อยๆ ปรับแก้กฎหมายในส่วนที่จำเป็นในปีต่อๆ ไป เพื่อให้ ธปท. สามารถเข้าไปเอาผิดกับผู้บริหารสถาบันการเงินซึ่งกระทำผิดได้ โดยเชื่อว่าจะไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการกำกับดูแลในระยะสั้น

“เราต้องรีบทำเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อลดความกังวล ส่วนเกณฑ์ตั้งสำรอง จากที่แบงก์ชาติ เคยได้เข้าตรวจสอบ เราได้ประยุกต์ใช้บางระดับแล้ว แต่มันไม่ต้องใช้ตั้ง 100% แค่ใช้ให้เหมาะสม ก็น่าจะได้ตามวัตถุประสงค์แล้ว” ดร.ประสารกล่าว