ThaiPublica > เกาะกระแส > เขื่อนดอนสะโฮงในลาว: ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม

เขื่อนดอนสะโฮงในลาว: ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม

25 กุมภาพันธ์ 2014


ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายจุฬานานาชาติ โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติและองค์กรแม่น้ำนานาชาติ ร่วมกันจัด “การประชุมสาธารณะระดับภูมิภาคเขื่อนดอนสะโฮงในลาว: ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม” เมื่อวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยมีแถลงการณ์ “หยุดเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลัก – หยุดการลงทุนทั้งหมด” เรียกร้องไม่ให้มีการลงทุนใดๆ ในโครงการเขื่อนทั้งหมดในแม่น้ำโขง ให้ทุกธนาคารหยุดให้กู้เพื่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงทั้งหมด และให้รัฐบาลประเทศแม่น้ำโขงตระหนักถึงผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

บรรดาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่สร้างขึ้นแล้วและมีแผนจะสร้างกำลังจะสร้าง บนลำน้ำโขงสายหลักทั้งตอนบนและล่าง กำลังก่อให้เกิดภัยคุกคามอันสำคัญยิ่งต่อแม่น้ำโขงและผู้คนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำนี้ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบอย่างมหาศาลของเขื่อนเหล่านี้ที่ถูกสร้างขึ้นแล้วและกำลังจะถูกสร้าง ให้กับภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลา หยุดยั้งการไหลของตะกอนในลำน้ำโขงซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้ คือการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของแม่น้ำโขงลง

จีนปิดเขื่อนซ่อม พร่องน้ำโขงที่หนองคาย ลดฮวบ 20 ซม. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 ที่มาภาพ : ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ
จีนปิดเขื่อนซ่อม พร่องน้ำโขงที่หนองคาย ลดฮวบ 20 ซม. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 ที่มาภาพ: เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ

เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำจำนวนหกเขื่อน ได้สร้างขึ้นแล้วบนแม่น้ำโขงสายหลักในเขตประเทศจีน ทั้งนี้ ล่าสุด นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ประชาชนตลอดลำน้ำโขงได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการที่ระดับน้ำของแม่น้ำโขงเกิดการท่วมสูงขึ้น และต่อมาได้ลดต่ำลงอย่างเฉียบพลัน

ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำที่เด่นชัดนี้สร้างผลกระทบโดยตรง ทันที และอย่างรุนแรง ต่อวิถีชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศทางตอนล่างของแม่น้ำโขง ในขณะที่เป็นไปได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจจะเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนทางตอนบนของแม่น้ำโขง แต่กลับไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ และไม่มีผู้ออกมาแสดงความรับผิดชอบใด ๆ

ในส่วนของแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่าง ในขณะนี้มีการเสนอชุดของเขื่อน และมีการผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้โดยปราศจากการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างพอเพียงและผลกระทบโดยรวม ไม่มีการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่และสาธารณชนในภูมิภาค ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ของประชาชนที่มีต่อสายน้ำถูกละเลย ปฏิเสธ และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเองก็ล้มเหลวในการดำเนินการให้แน่ใจว่ากระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้จริงในระดับภูมิภาคว่าเขื่อนเหล่านี้สมควรจะเดินหน้าต่อไปหรือไม่

เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนแห่งแรกบนลำน้ำโขงสายหลักตอนล่างในประเทศลาว กำลังถูกอ้างว่าการก่อสร้างเสร็จสิ้นไปแล้วร้อยละ 21 อย่างไรก็ตาม โครงการยังส่อเค้าถึงความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก ในขณะที่ยังไม่เคยมีการคำนวณความเสี่ยงที่แท้จริงของโครงการ ไม่มีการดำเนินการประเมินผลกระทบข้ามแดนที่เด่นชัด รวมถึงปราศจากความตกลงร่วมกันในระดับภูมิภาคในหมู่มวลรัฐบาลของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง อีกทั้งนักสร้างเขื่อนทั้งหลายก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า การบรรเทาผลกระทบด้านการประมงและการไหลของตะกอนตามธรรมชาติ จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

เขื่อนดอนสะโฮง อันเป็นเขื่อนแห่งที่สองที่เสนอสร้างโดยประเทศลาว ก็กำลังกลายเป็นมหันตภัยในลักษณะเดียวกันกับเขื่อนไซยะบุรี รัฐบาลลาวประกาศความตั้งใจที่จะสร้างเขื่อน โดยปราศจากการตกลงร่วมกันในระดับภูมิภาคและปราศจากการศึกษาในประเด็นข้ามพรมแดนที่เหมาะสมและเพียงพอ

ด้วยความไม่แน่นอนทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เพียงแต่แม่น้ำโขงและประชาชนในลุ่มน้ำเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่ผู้ลงทุนในโครงการ ก็จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สำคัญด้วยอย่างแน่นอน รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องผลประโยชน์จากโครงการที่พวกเขาคาดว่าจะได้รับ

เขื่อนดอนสะโฮง กำลังการผลิต 256เมกะวัตต์ จะปิดกั้น “ฮูสะโฮง” บริเวณพื้นที่ ‘สี่พันดอน’ (สี่พันเกาะ) ของเมืองโขง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ของลาว - พื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของลาวและของภูมิภาคแม่น้ำโขง อันประกอบไปด้วยเกาะแก่ง หุบห้วย และน้ำตกที่มีชื่อเสียง เช่น คอนพะเพ็ง และหลี่ผี พื้นที่แห่งนี้ห่างจากชายแดนลาว-กัมพูชาไม่ถึง 2 กิโลเมตร ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ
เขื่อนดอนสะโฮง กำลังการผลิต 256 เมกะวัตต์ จะปิดกั้น “ฮูสะโฮง” บริเวณพื้นที่ ‘สี่พันดอน’ (สี่พันเกาะ) ของเมืองโขง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ของลาว – พื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของลาวและของภูมิภาคแม่น้ำโขง อันประกอบไปด้วยเกาะแก่ง หุบห้วย และน้ำตกที่มีชื่อเสียง เช่น คอนพะเพ็ง และหลี่ผี พื้นที่แห่งนี้ห่างจากชายแดนลาว-กัมพูชาไม่ถึง 2 กิโลเมตร ที่มาภาพ: เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ

ด้วยความเกี่ยวข้องของเราที่มีต่อแม่น้ำโขงและชุมชนของภูมิภาคนี้ เรา สมาชิกของกลุ่มภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น ผู้เข้าร่วมในเวทีสาธารณะระดับภูมิภาคหัวข้อ “เขื่อนดอนสะโฮงในประเทศลาว: ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม ” ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ขอร่วมกันเรียกร้อง ให้รัฐบาลของประเทศแม่น้ำโขง ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้กำลังได้รับผลกระทบและต้องเดือดร้อนอย่างสาหัสจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนลำน้ำโขง รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และเคารพสิทธิของพวกเขาในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รัฐบาลของประเทศแม่น้ำโขงจะต้องใช้ความพยายามทั้งหมด ในการให้การก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักยุติลงทันที และทำให้แน่ใจได้ว่า จะไม่มีการทำข้อตกลงใดๆ อีกในอนาคตเพื่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงอีกต่อไป

เราขอเรียกร้องให้ธนาคารในประเทศไทยทุกธนาคาร รวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทิสโก้ และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หยุดการให้เงินกู้ต่อเขื่อนไซยะบุรีทันที และขอเรียกร้องให้หยุดการให้กู้ยืมเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมดต่อโครงการเขื่อนอื่นๆ และจะต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการที่เข้าไปเกี่ยวข้องแล้วให้ประชาชนรับรู้

ในท้ายที่สุด ในขณะที่สัญญาสัมปทานของเขื่อนดอนสะโฮงยังไม่ได้รับการลงนาม และยังไม่มีธนาคารใดที่ประกาศต่อสาธารณะว่าจะให้เงินกู้สำหรับโครงการนี้ เราขอเรียกร้องให้ไม่มีการลงทุนใดๆ สำหรับโครงการที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงนี้ โดยเด็ดขาด

แม่น้ำโขงที่เวียดนามใต้ ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ
แม่น้ำโขงที่เวียดนามใต้ ที่มาภาพ: เฟซบุ๊ก แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ

รายชื่อแนบท้าย
สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)
โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
ศูนย์ข้อมูลชุมชน
สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต (Nature Care Foundation)
ฮักน้ำโขง อุบลราชธานี
กลุ่มเกษตร-ประมงพื้นบ้านเชียงคาน จังหวัดเลย
องค์กรเอิร์ธไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights Internation)
องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)
นายสมพงษ์ ดาวเรืองรัมย์ สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน อุบลราชธานี
นางสาวเฉลิมศรี ประเสริฐศรี ศูนย์ข้อมูลชุมชน
นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน หนองคาย
นายธีระพงศ์ โพธิ์มั่น สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
นางสาวกมลชนก คุณยศยิ่ง สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
นางสาวจันทร์นภา คืนดี สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
นายมนตรี จันทวงศ์ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง
นางสาวฐาปนี เมืองโคตร สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน มุกดาหาร
นางสาวจินตนา เกสรสมบัติ สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน บึงกาฬ
นายชาญณรงค์ วงศ์ลา สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน เลย
นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล จังหวัดเชียงราย
พ.ต.ท. วิเชียร เสียงใส สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน อุบลราชธานี
นายบรรเจิด เสนจันทร์ฒิไชย สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน นครพนม
นางมัสยา คำแหง Nature Care Foundation
นางสมปอง เวียงจันทร์ ปากมูน (P Move)
นายพรม ทรายมูล ปากมูน สิรินธร
นายสุณี ผลดก ปากมูน โขงเจียม
นางสาวคำปิ่น อักษร ฮักน้ำโขง อุบลราชธานี
นายภูเบศ ใจขาน สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน หนองคาย
นายสง่า ก่ำเกลี้ยง ประธานสภาองค์กร
จ.สต. วีระ วงศ์สุวรรณ สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน อำนาจเจริญ
นายนิชล ผลจันทร์ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ
นายวชิรา นันทพรหม กลุ่มเกษตร-ประมงพื้นบ้าน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย