สฤณี อาชวานันทกุล
ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกว้างไกลไปทั่วโลก คุกคามเศรษฐกิจ ชีวิต และสังคมของประชาชน รวมถึงเป็น “ความเสี่ยงทางธุรกิจ” ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไปของธุรกิจทุกสาขา รัฐบาลส่วนใหญ่รวมถึงรัฐบาลไทยยังเลือกที่จะทุ่มเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล อันเป็นอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศ ในปริมาณมหาศาลกว่าเงินที่อุดหนุนพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ หลายเท่า ไม่ว่าจะในรูปสิทธิประโยชน์ทางภาษี การตรึงและชดเชยราคา เงินอุดหนุนทางตรง หรือการอุดหนุนรูปแบบอื่น
Infographic ชิ้นนี้ชี้ชวนให้หันมามองข้อมูล “การอุดหนุนพลังงานของรัฐไทย” ในปี 2555 ปีเดียว ซึ่งพบว่ารัฐอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็นมูลค่าราว 178,000 ล้านบาท หรือเท่ากับประมาณ 24 เท่าของมูลค่าการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ
รวมถึงชวนคิดต่อไปว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” หรือ “เศรษฐกิจสีเขียว” จะบังเกิดเป็นความจริงได้อย่างไร ตราบใดที่เรายังมองไม่เห็น “ต้นทุนซ่อนเร้น” ของกิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน และตราบใดที่ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุน “กิจกรรมดีๆ” ก็จริง แต่ขณะเดียวกันโดยรวมแล้วยังสนับสนุน “กิจกรรมแย่ๆ” มากกว่ากันหลายเท่า แทนที่จะกำจัดหรือลดทอนกิจกรรมอย่างหลังให้เหลือน้อยที่สุด
หากเปรียบกับการอนุรักษ์ป่าไม้ – กิจกรรมปลูกป่าต่างๆ จะมีความหมายอันใด หากถึงที่สุดแล้วป่าไม้ดั้งเดิมยังถูกตัดในปริมาณและอัตรามากกว่าการปลูกกล้าใหม่?
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

ข้อมูลประกอบ:
