ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > ซีรีส์ 15 ปี วิกฤต 2540 “ทนง พิทยะ” อดีต รมว.คลัง “ขออภัยที่ทำให้หลายคนเจ็บปวด”

ซีรีส์ 15 ปี วิกฤต 2540 “ทนง พิทยะ” อดีต รมว.คลัง “ขออภัยที่ทำให้หลายคนเจ็บปวด”

13 กรกฎาคม 2012


ในโอกาสครบ 15 ปี วิกฤตปี 2540 สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้จัดทำ “ซีรีส์ 15 ปี วิกฤติ 2540” โดยสัมภาษณ์พิเศษบุคคลที่มีบทบาทและเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ช่วงนั้น เพื่อรายงานข้อเท็จจริงและบันทึกไว้เป็นข้อมูลประกอบศึกษา ค้นคว้า และอ้างอิง

ซีรีส์นี้พบกับบทสัมภาษณ์แรก “ดร.ทนง พิทยะ” ในฐานะรัฐมนตรีคลังที่ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตในช่วงนั้น นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสถาบันการเงิน หรือวิกฤต “ต้มยำกุ้ง”

ประเด็นสัมภาษณ์เน้นเจาะลึกเหตุการณ์และแนวคิดก่อนตัดสินใจ ขณะตัดสินใจ และหลังตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่ามีคนได้คนเสียประโยชน์จากการดำเนินนโยบายนี้ รวมถึงประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง ในปัจจุบัน และแนวโน้ม

ที่สำคัญยังเจาะลึกความในใจของ ดร.ทนง ซึ่งยอมรับการตัดสินใจเข้าสังเวียนการเมืองเป็นรัฐมนตรีคลัง 2 สมัย ในสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นเรื่องของ “บุญคุณต้องทดแทน” และนิยามตัวเองว่าเป็น “ยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุแล้ว” พร้อมประกาศ “ขออภัยที่ทำให้หลายคนเจ็บปวด”

การลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 แม้จะผ่านมา 15 ปีแล้ว แต่ผู้คนที่เกี่ยวข้องในขณะต่างจดทำเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ทำนโยบายในขณะนั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ดร.ทนง พิทยะ” ที่กระโดดเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังได้ไม่กี่วัน ก็ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทตามข้อเสนอของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ

เบื้องหน้าเบื้องหลังการตัดสินใจรับตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง และช่วงเวลาก่อนนำไปสู่การลอยตัวค่าเงินบาทเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมต้องมาลอยตัวค่าเงินบาทในจังหวะที่ดร.ทนง เป็นรัฐมนตรีคลัง

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 1

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=qhdqxu4Hflc&w=640&h=360]

เมื่อ ดร. ทนง ในฐานะรัฐมนตรีคลังต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท เขาต้องทำอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร รู้สึกกลัวหรือไม่กับผลกระทบที่จะตามมา และบอกกับ “พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ” อย่างไรเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ โดยไม่ให้ความลับรั่วไหล

ติดตามเนื้อหาช่วงนี้ได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 2

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=7O__CmkI9gk&w=640&h=360]

แม้วิกฤติเศรษฐกิจการเงินในปี 2540 จะผ่านมาแล้ว 15 ปี แต่เคยทราบไหมว่า ทำไมการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทต้องเป็นวันที่ 2 กรกฎาคม แล้วเมื่อกำหนดวันลอยตัวค่าเงินบาทชัดเจนแล้ว ใครล่วงรู้เรื่องนี้บ้าง ความลับสุดยอดนี้มีคนล่วงรู้และฉวยโอกาสทำกำไรได้จริงหรือ

ทั้งหมดนี้มีคำอธิบายสามารถติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 3

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=zuB9VE_1P4M&w=640&h=360]

หลังลอยตัวค่าเงินบาทเกิดอะไรขึ้นบ้าง สถาบันการเงินได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสขนาดไหน การตัดสินแก้ปัญหาในขณะนั้นทำอย่างไร และแนวทางแก้ปัญหาขณะนั้นเมื่อมองย้อนหลังแล้วถูกหรือผิดอย่างไรในมุมองของ ดร.ทนง ผู้ซึ่งเสนอมาตรการแยกหนี้ดี และหนี้เสียของสถาบันการเงิน เป็น Good Bank และ Bad Bank

รายละเอียดเรื่องนี้สามารถติดตามความคิดเห็นเรื่องนี้ได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 4

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=y94iczXWmLc&w=640&h=360]

ในปี 2540 ทำให้เกิดวิกฤต 2 วิกฤติพร้อมๆ กัน คือวิกฤตเศรษฐกิจ กับวิกฤตสถาบันการเงิน แต่เคยคิดหรือไม่ว่า การแก้ปัญหาวิกฤตแบบใดยากง่ายกว่ากัน และการแก้ไขปัญหาสร้างแรงกดดันต่อผู้ดำเนินนโยบายหรือไม่ เชื่อว่าเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยใคร่รู้ว่า ผู้มีอำนาจในขณะนั้นเขาคิดอะไรกันอยู่

ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีคนหนึ่งคือ อดีตรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น โดยติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 5

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=RplIqFsFKcw&w=640&h=360]

แม้วิกฤติ 2540 จะผ่านมา 15 ปีแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เกิดวิกฤติขึ้นอีก โดยเฉพาะประเทศที่มีรัฐบาลมุ่งเน้นทำนโยบาย “ประชานิยม” อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้งก็ได้ ซึ่งประเด็นนี้อดีตรัฐมนตรีคลัง 2 สมัยอย่าง “ดร.ทนง” แสดงความกังวล และตั้งคำถามเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจว่า ทำเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่

ความกังวลของอดีตรัฐมนตรีคลัง 2 สมัยน่าเป็นห่วงขนาดไหน ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 6

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=kQygy2e3Yv8&w=640&h=360]

บทเรียนจากวิกฤติ 2540 ทำให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย มีการปรับปรุงเปลี่ยนในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่น่าเป็นห่วง แต่ดร.ทนงเป็นกังวลกับ “นักการเมือง” โดยมองว่า “นักการเมืองล้าหลังตามพัฒนาการเศรษฐกิจไม่ทัน”

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และแนวทางพิสูจน์ว่านักการเมืองตามเศรษฐกิจไม่ทันทำได้อย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 7

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=3PkR_d1mzpA&w=640&h=360]

การเข้ามาเป็นรัฐมนตรีคลังของ ดร.ทนง ในสมัย “พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ” และสมัย “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ทั้งสองครั้งนั้น ดร.ทนงบอกว่า เป็นเรื่องของบุญต้องทดแทน และยืนยันว่า เขาไม่ใช่นักการเมือง พร้อมประกาศตัวว่าเป็น “ยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุแล้ว”

ความสัมพันธ์ของดร.ทนง กับอดีต 2 นายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร และดร.ทนงจะไม่กลับสู่เส้นทางการเมืองอีกแล้วจริงหรือ

สามารถติดตามจากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 8

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=OIAfJ8OSSZw&w=640&h=360]

การตัดสินใจลดค่าเงินบาท และแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ส่งผลให้หลายคนเจ็บปวด บางรายถึงกับล้มหายตายจาก ดังนั้นเมื่อนึกถึงวิกฤต 2540 หลายคนก็จะนึกถึงดร.ทนง ในแง่ลบ

แล้วดร.ทนงรู้สึกอย่างไรในเรื่องนี้ เชื่อว่าถ้าได้ฟังความในใจเรื่องนี้ของดร.ทนง อาจทำให้หลายคนหันไปนึกถึงดร.ทนง ในภาพลักษณ์อื่นแทน

สามารถติดตามคำสารภาพของดร.ทนง ได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ทนง พิทยะ” ตอนที่ 9 (จบ)

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=k1_RU2KMDxM&w=640&h=360]

ซีรี่ส์ 15 ปีวิกฤติ 2540 สนับสนุนโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)