BangkokPublica : วาระกรุงเทพ
กรุงเทพมหานครกำลังจะมีอายุครบ 250 ปีในอีก 15 ปีข้างหน้า ทว่ายิ่งเติบโต ยิ่งพัฒนากลับยิ่งกลายเป็น “เมืองไม่น่าอยู่” และ “ไม่เป็นมิตร” เกิดอะไรขึ้นกับกรุงเทพฯ??…ไทยพับลิก้าย้อนรอยต้นเหตุแห่งปมปัญหาในการบริหารจัดการ มหานครแห่งนี้ และชวนผู้อ่านร่วมกันหาหนทางออกในอนาคตสู่การกำหนดวาระกรุงเทพฯ BangkokPublica เพื่อสร้างวาระกรุงเทพฯของประชาชน นับถอยหลังสู่การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16
12 ข่าวในประเด็นนี้
กทม. พัฒนา “โคกหนองนา” ในเมือง แก้น้ำแล้ง-น้ำท่วม ช่วยชาวนาหนองจอก ทำสัมปทานบึงใหญ่ “เรือนแพ ฟิชชิ่งปาร์ค” 30 ปี
โครงการ “ล้อ ราง เรือ” จะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาการจราจร แต่สิ่งน่าสนใจที่พ่วงมาด้วยจนนำไปสู่การขยายเส้นทางเดินเรือก็คือเรื่องของการท่องเที่ยว เนื่องจาก กทม.หันมาให้ความสำคัญและพัฒนาการคมนาคมทางน้ำมากขึ้น ประกอบกับการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เพิ่งเปิดให้บริการไป ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่อยู่ในย่านฝั่งคลองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำรวจวิถีชีวิตริมฝั่งน้ำ
สำรวจคลองลาดพร้าว…สภาพจริงเมื่อคลองไม่ใช่ทางระบายน้ำ แล้วน้ำ(ท่วม)กทม.จะไหลไปไหน
คตง. ตรวจสอบพบโรงหนัง 241 แห่งละเลยระบบป้องกันอัคคีภัย จี้ผู้ว่า กทม. เร่งบังคับใช้ กม.คุมอาคารสูง
Urban movement เคลื่อนเมือง ให้เคลื่อนไป เพื่อเมืองน่าอยู่ โดยภาคประชาชน
รวมข้อกล่าวหา “ความไม่โปร่งใส” ของ กทม. ยุค “สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ก่อนพ้นตำแหน่งผู้ว่าฯ ต้นปี 2560
แอปฯ “ปั่นเมือง” เครื่องมือสร้างเมืองจักรยานภาคประชาชน ด้วย Big Data
กทม. จัดงบ 53 ล้านปั้น เป็น “มหานครแห่งอาเซียน” เริ่มจากทำแผนที่รถเมล์ – กส.บ. เดินหน้าปฏิรูประบบเดินรถฯ
ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบการชำระเงินกำลังเข้าสู่ National e-Payment ในอีกไม่ถึงเดือนข้างหน้า แต่อีกหลายภาคส่วนกลับแสดงท่าทีที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากในช่วงที่ผ่านมาคือประเด็นของ GrabBike และ Uber MOTO ซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้สร้างบริการขนส่งรูปแบบใหม่ ที่ถูก สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่ายกว่าระบบรถจักรยานยนต์สาธารณะแบบเดิม ท่ามกลางวิกฤติจราจรของกรุงเทพมหานคร ที่ระบบขนส่งสาธารณะไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง จำเป็นต้องใช้บริการขนส่งสารณะในหลากหลายรูปแบบมาเชื่อมต่อกัน
วาระกรุงเทพ 2560 (2) : “เมืองน่าเที่ยว” แต่ “ไม่น่าอยู่” เหตุเมืองไม่ปลอดภัย สถิติ 8 ปี อาชญากรรมลดลง 42% จาก 35,908 คดี เหลือ 20,913 คดี ในปี 2557
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรเกือบ 5 ล้านคน แต่หากนับประชากรแฝงต่างคาดกันว่าจะมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน กรุงเทพมหานครจึงเป็นเมืองหลวงที่มีความหลากหลาย เป็นวิถีแบบไทยๆ ยากที่ใครจะเลียนแบบได้ ด้วยความที่เป็นเมืองหลวงและได้รับความสำคัญมากจนกรุงเทพฯ เกือบจะเป็นประเทศไทย มีระบอบการปกครองและดูแลเป็นพิเศษแตกต่างจาก 76 จังหวัดอื่นของประเทศ เป็นระบอบเขตปกครองพิเศษที่มีอำนาจการบริหารอิสระเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากประชาชนโดยตรง การจัดเก็บและเบิกจ่ายงบประมาณของตนเอง มีสภากรุงเทพฯ ที่ทำหน้าที่ออกข้อบัญญัติต่างๆ ของตนเอง กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าเราจะกำหนด “วาระกรุงเทพฯ” ในอนาคตต่อไปอย่างไรให้ยั่งยืน โดยอาจจะเริ่มต้นจากย้อนดูผลงานที่ผ่านของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่าเป็นอย่างไร มีการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง
ในเมืองใหญ่ซึ่งผู้คนล้วนเข้ามาทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการบริการขนส่งสาธารณะที่เพียงพอและมีราคาที่เหมาะสมกับรายได้ของคนเมืองเมือง ไทยพับลิก้าจึงขอนำเสนอรายจ่ายด้านค่าเดินทางที่คนเมืองต้องเจอ โดยรวมค่าใช้จ่ายการเดินทางในโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถโดยสารไม่ประจำทางไว้ที่นี่ที่เดียว